กองทุนตั้งตัวได้ เปิดตัวแล้ว

“กองทุนตั้งตัวได้” หนุนนักศึกษาจบใหม่เป็นเถ้าแก่เอสเอ็มอี ระบุวงเงินกองทุน 5,000 ล้านบาท ให้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท และสามารถกู้จากแบงก์รัฐได้เพิ่มอีกรายละไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์บวกร้อยละ 2 ระยะคืน 7-10 ปี และต้องได้รับการค้ำจาก บสย. ตั้งเป้าผู้ขอสินเชื่อ 5,000-10,000 คน
กองทุนตั้งตัวได้ นำ กลไกของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจทำหน้าที่พี่เลี้ยงพัฒนาแผนธุรกิจ ให้คำปรึกษา และศึกษาความเป็นไปได้ให้เป็นมืออาชีพ สามารถสร้างเงิน สร้างรายได้ที่ยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่มีการย้ายการเจริญเติบโตมาสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือ SMEs จึงถือเป็นการเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม

กลุ่มธุรกิจที่สามารถนำมาเข้าร่วมโครงการ กองทุนตั้งตัวได้ ได้แก่
การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเกษตร การท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย และอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น





กองทุนตั้งตัวได้เป็นหนึ่งนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างงาน สร้างเงินและสร้างอาชีพ ให้กับนักศึกษาและบัณฑิตใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ ต้องการเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจ SME แต่ขาดทุนทรัพย์ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน
โดยกองทุนตั้งตัวได้เชื่อว่าการร่วมมือกันของ 3 ฝ่ายคือ

  1. มหาวิทยาลัย  สถาบันการศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งมีความพร้อมด้านองค์ความรู้ 
  2. ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่าง ๆ สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ได้
  3. สถาบันการเงิน 
จะร่วมกันประคับประคองดูแล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน จนกว่าจะสามารถตั้งตัวได้ สำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษา หรือจบไปแล้วไม่เกิน 5 ปี หรืออาจจะเป็นนักศึกษาที่จบแล้วและมีความต้องการที่จะเป็นเจ้าของกิจการสามารถกลับมาขอกองทุนตั้งตัวได้ ได้ที่สถาบันที่นักศึกษาเรียนจบ โดยสำนักประสานและส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รายงานมายังผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการถึงความพร้อมของศูนย์บ่มเพาะในมหาวิทยาลัย ที่จะให้บริการแล้วทั้งสิ้น 56 แห่ง ในการร่วมมือผลักดันกองทุนตั้งตัวได้ แบ่งตามรายภาคดังนี้


ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย
-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
-หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
และหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จ.เชียงราย

ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย
-หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ อาคารเรือนต้นสักชั้น 1มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
-มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก
และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จ.เลย
-มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
-มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จ.อุดรธานี
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา
-มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
-หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
-มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จ.สุรินทร์

ภาคกลาง ประกอบด้วย
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-มหาวิทยาลัยรามคำแหง
-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
-มหาวิทยาลัยศรีปทุม
-มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
-หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจและจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
-มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
-มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
-หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
-ศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-มหาวิทยาลัยศิลปากร
-ศูนย์บริหารทรัพย์สินทางปัญญามหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรุงเทพมหานคร
-มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี
-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จ.นครปฐม
และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จ.เพชรบุรี

ภาคตะวันออก ประกอบด้วย
-หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาฯและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ภาคใต้ ประกอบด้วย
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
-หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ อาคารโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
-มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จ.ภูเก็ต
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อาคารสำนักงานทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
-ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จ.สงขลา
-ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา
และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.พัทลุง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

รับชำระเงินด้วย อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ทำยังไง