บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2014

อยากเริ่มต้นทำธุรกิจเบเกอรี่เริ่มต้นอย่างไรดี...

ธุรกิจอาหารหรือเบเกอรี่อย่างแลกเลยต้องทำให้อร่อยได้มาตรฐาน  อร่อย = คนที่ไม่ได้รักเรายังพูดว่าอร่อย มาตรฐาน= รสชาติสม่ำเสมอ หากสินค้านิ่งแล้วจึงเลือก กลุ่มเป้าหมายกับช่องทางการตชาดครับ หากทำเค๊กpremium ก็ต้องเลือกสถานที่premium เพราะคนจะมีกำลังซื้อพอ หากระดับกลาง ก็เลือกร้านในชุมชน หรือการฝากขายกับร้านกาแฟ สวยๆจับกลุ่มคนชั้นกลาง กาแฟแก้วละ60-100 คำแนะนำไม่ควรเริ่ทจากสินค้าหลายตัวครับเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะขายดีให้เริ่มจากตัวที่มั่นใจที่สุดว่าอร่อย  มีตัวอย่างเคสนึงที่เจอมาลองอ่านดูนะครับ Sweet'n Soft Cake คู่รัก จบ ม 6 เรียนวิศวะไม่จบ ล้มละลาย เริ่มสร้างตัวด้วยเงินแค่ 2 พันบาท http://m.pantip.com/topic/32468387 *เก็บตกจากการให้คำปรึกษาธุรกิจSMEและStartup

เรื่องเล่าขาน ตำนานปลาใหญ่ (กินปลาเล็ก)

Big fish story. ปลาใหญ่กินปลาเล็กตำนานเล่าขานมานานในท้องทะเลสีครามหรือน่านน้ำสีเลือดเต็มไปด้วย(ธุรกิจ)ปลาเล็กว่ายทวนน้ำ หรือกำลังต่อสู้ ล้วนอยู่ในสายตา(ธุรกิจ)ปลาใหญ่ จ้องมองคอยเขมือบเพื่อตัวเองเติบโตใหญ่ขึ้นไปอีก เหล่าปลาใหญ่ชอบเลือกกินอาหารอย่างไร หลายคนคงอยากรู้เพื่อ หนีรอดให้ได้ หรือ จงใจให้ปลาใหญ่กิน เพื่อจะได้Exitอย่างเท่ห์ๆ ลองมาศึกษาเมนูโปรดของปลาใหญ่ดูซิว่ามีอะไรบ้าง เมนูแรก ปลาเล็กพริกขี้หนู ปลาใหญ่ชอบบริษัทที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว อาทิมีKnow how ที่น่าสนใจ หรือถือลิขสิทธิ์ที่ทำรายได้ อาทิ ลิขสิทธิ์เพลง,Software,หรือแม้แต่ที่ดินผืนงามจุดน่าสนใจเป็นพิเศษคือมองเห็นได้ว่าปลาเล็กพริกขี้หนูนี้ถ้าได้ใส่เงินลงไปอีกจะขยายได้ดีกว่านี้ เผ็ดได้กว่านี้ เมนูที่สอง ปลาก้างเยอะ ปลาเล็กที่มีจุดเด่นเช่น ลูกข่ายเยอะ มีตัวแทนจำหน่ายเยอะ หรือระบบLogisticดีเข้าถึงคนได้เยอะ หรือ application ที่มีคนใช้เยอะๆ เสริมสุขถูกซื้อโดยBJC เพื่ออาศัยช่องทางจัดจำหน่ายนำสินค้าใหม่ๆเข้าตลาด เมนูที่สาม ปลาหอกข้างแคร่ ปลาใหญ่หลายตัวชอบซื้อคู่แข่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในจังหว่ะที่คู่แข่งเพลี้ยงพล้ำ หรือ

จากวิกฤติ Tesco อังกฤษถึง Tesco lotus ในไทย...ทางเลือกทางรอดเชิงกลยุทธ์

รูปภาพ
จำนวนสาขาของเทสโก้โลตัสในไทย1,800สาขา  เม็ดเงินลงทุน1.5แสนล้านบาท  ประเมินมูลค่าไว้2.22-3.72แสนล้านบาท  เทสโก้ต้องการหาเงินทุน1.58แสนล้านบาทมาพลิกฟื้นกิจการในประเทศอังกฤษ นักการตลาดในไทยมองว่า วิกฤตินี้ไม่น่ากระทบในไทย เพราะเทสโก้ฯไทยแข็งแกร่งมากทำกำไรได้ดี  มุมมองผม คิดว่าการตัดเนื้อร้ายรักษาไว้ซึ่งเนื้อดีปรับยุทศาสตร์ตามสถานการณ์จริง น่าจะส่งผลดีที่สุด ประเทศที่เทสโก้ไปลงทุนแล้วไม่กำไรอย่างอเมริกา/จีน ควรขายทิ้งแม้ขายไม่ได้ราคาดีเท่าไทย  เพราะหากขายไทย ที่คู่แข่งอย่างWalmart ที่จ้องตาเป็นมันคงซื้อแน่นอน ยิ่งเหมือนเติมพลังให้คู่แข่ง  แต่ถ้าพลิกวิกฤตินี้แบ่งขายหุ้นให้บริษัทในไทย ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ทางเลือกนี้ทีหลายคนกำลังจ้องตาเป็นมันไม่แพ้ Walmart ไม่ว่าจะเป็น เซ็นทรัล/กลุ่มคุณเจริญ/CP หรือแม้แต่กลุ่มทุนจากเพื่อนบ้านในอาเซียน ผู้บริหารระดับสูงตอนนี้ของ เทสโก้โลตัส ก็คือ คุณสุนทร อรุณานนท์ชัย ซึ่งก็เป็นผู้บริหารใกล้ชิดกับเจ้าสัวธนินทร์อยู่แล้ว หากจะขายคงไม่พ้นมือของ CP แน่นอน #Retail #Strategy   Cr. ภาพจากโพสทูเดย์

เริ่มต้นทำธุรกิจ ควรคิดถึง "สายป่าน"

สายป่าน ในที่นี้หมายถึงเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจนะครับ คนเริ่มวางแผนธุรกิจมักคิดถึงเงินก้อนแรกที่เรียกว่า เงินลงทุน  หรือ เงินที่จะนำมาซื้อสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์ทำมาหากิน แต่หลายคนมักลืมคิดถึง เงินทุนหมุนเวียน (working capital) ที่ต้องมีเพียงพอสำหรับใช้จ่ายในธุรกิจ  อาทิ ค่าสินค้า ค่าจ้าง พนักงาน รวมไปถึงลูกหนี้การค้าด้วย ต้องคำนวนให้ดี เผื่อไว้สำหรับรายจ่ายฉุกเฉินด้วย ทางที่ดีการจะเริ่มทำธุรกิจ ควรมีเงินทุนหมุนเวียน หรือสายป่าน ประมาณ3เดือน ไม่มีสูตรคำนวนตายตัวครับแต่ผมเชื่อว่าไม่ควรมีสายป่านต่ำกว่า3เดือน เผื่อ ของผลิตไม่ทัน,ลูกค้าขอจ่ายช้า,หรือขายให้ห้างใหญ่เครดิต45วันเจอรอบจ่ายเช็คอีกต่างหาก ฝากรูปนี้ไว้ให้นักธุรกิจรุ่นใหม่จะได้จำคำนี้ไว้ว่าให้คิดถึง "สายป่าน" Post by Oweera SME Partnership .

เก็บตก 3 ยุทธศาสต์การสร้างแบรนด์ยุคใหม่ จากงาน Thailand corporate brand value

รูปภาพ
ปีนี้มีการประกาศ รางวัล   Thailand corporate brand value  ไ ปแล้วว่าใครได้รางวัลอะไรบ้างแบรนด์ไทยแต่ละหมวดแข็งแรงแค่ไหน มีมูลค่าสูงขึ้นมากน้อยอย่างไร คะแนนสามารถดูได้จาก Facebook.com/oweerablog เรื่องคะแนนคงเป็นที่สนใจขอสื่อและแบรนด์ใหญ่ทั่วไปแต่ สำหรับ SME มีมองไปข้างหน้า มีข้อมูลน่าสนใจจากงานวิจัย เรื่อง สามปัจจัยที่จะทำให้แบรนด์แข็งแรงจาก งาน Thailand corporate brand valueซึ่งแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่หากอยากไปให้ถึงการเป็นแบรนด์ที่ทรงคุณค่าและมีพลังในการสร้างธุรกิจ ควรให้ความสำคัญกับสามสิ่งนี้ Customer Centricity ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจที่ หัวใจลูกค้า สำหรับสินค้าที่ออกสู่ตลาดแล้วแน่นอนคือสินค้านั้นต้องช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ตามความคาดหวัง ยิ่งแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงใจมากเท่าไหร่ แบรนด์ยิ่งเข้าไปอยู่ในหัวใจลูกค้าได้มั่นคงเช่นนั้น ธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญฟังเสียงลูกค้าและเข้าใจความต้องการที่ซ่อนเร้น เช่น AIS เค้าไม่ได้ให้แค่บริการที่ดี สัญญาณชัด ทุกที่ทุกเวลา แต่มุ่งที่"ชีวิตในแบบคุณ" ถ้ามีไลฟ์สไตล์แบบไหนของลูกค้าที่ตอบสนองได้เค้าจะพัฒนาแล้วตอบสนองลูกค้า ท