ใกล้ได้เวลา
ยื่นภาษีปี 2555 (ภ.ง.ด.91/ ภ.ง.ด.90) แล้วจร้า... เลยอยากนำเรื่องการลดหย่อนภาษีมาเล่าให้ฟัง...ในมุมที่บางคนไม่เคยสัมผัสมาก่อน....เนื่องจากปีนี้ได้ไปงานแต่งงานเยอะมาก เลยอยากบอกคู่แต่งงานว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจ...ถึงการเปลี่ยนแปลงหลังแต่งงานแล้วนั้น...นอกจากที่เรามีคนต้องดูแลเพิ่ม 1 คนแล้ว...เรายังต้องมีการ
จ่ายภาษีแบบคู่แต่งงานด้วยนะ...อาจมีหลายคนไม่อยากปวดหัวเรื่องนี้ก็เลยใช้วิธีขึ้นไปอยู่บนที่สูง...อย่างขื่ออย่างคานแทน..และเรียกตัวเองว่าโสดอย่างมีคุณภาพ...แต่รู้มั๊ยแต่งงานนี้ก็ลดหย่อนภาษีได้เยอะซะด้วยนะลองดูรายละเอียดหน่อย...เผื่ออยากแต่งงานบ้าง
|
แต่งงานแล้ว ยื่นภาษียังไง ??? สองคนนี้คงไม่ต้องถาม |
ก่อนอื่นมาเข้าใจกันก่อนว่า ลดหย่อนภาษีมีสองประเภท
- การลดหย่อนที่ไม่เป็นตัวเงิน คือ ค่าลดหย่อนที่กฎหมายกำหนดจากสถานภาพที่ผู้มีเงินได้มี หรือ ได้ช่วยเหลือดูแลบุคคลอื่นๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว, ค่าลดหย่อนจากคู่สมรส (กรณีจดทะเบียนสมรส), ค่าลดหย่อนบุตร, ค่าเลี้ยงดูบุพการี, ค่าเลี้ยงดูบุคคลทุพพลภาพ เป็นต้น
- การลดหย่อนที่เป็นตัวเงิน คือ ค่าลดหย่อนที่กฎหมายกำหนดจากการลงทุนหรือได้จ่ายเงินได้ไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลต้องการส่งเสริม เช่น ค่าลดหย่อนจากเงินค่าซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF), ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF), เบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ตามเงื่อนไขที่กำหนด, เบี้ยประกันแบบบำนาญ, ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากหนี้เพื่อซื้อบ้าน เป็นต้น
Link รายละเอียดรายการลดหย่อนเพิ่มเติมที่ บล๊อกของเพื่อนผม
Kafaak.com
แต่งงานแล้ว ยื่นภาษียังไง ??? แต่งงานแล้วได้ลดหย่อนภาษียังไง??
|
I go shopping , I go to work |
แต่งงานแล้วนี้หมายถึงต้องจดทะเบียนสมรสกันตลอดปีภาษีด้วยนะถึงเรียกว่าแต่งงานแล้ว...เมื่อแต่งงานจะทำการจ่ายภาษีอย่างไร ต้องตัดสินใจแบ่งภรรยาออกเป็น3ประเภท ภรรยาเด็ก,ภรรยาสาว,ภรรยาเหมือนแม่ เอ้ย!!! ไม่ใช่ภรรยาแบ่งเป็นสามประเภทตามแบบการยื่นภาษี(สำหรับสามีที่มีรายได้เป็นเงินเดือน)
- ภรรยามีรายได้เป็นเงินเดือน.. แบบนี้ควรแยกยื่นเพื่อกระจายฐานภาษีจะดีกว่าและใช้การลดหย่อนภาษีได้เต็มที่ของทั้งสองฝ่าย อย่างเช่นบุตรนำมาลดหย่อนได้ทั้งสองคน
- ภรรยามีรายได้อื่นๆที่ไม่ใช่เงินเดือน...ก่อนหน้านี้กฎหมายบอกแยกยื่นไม่ได้เนื่องจากจะต้องนำเงินได้(ของภรรยา)มายื่นในนามของสามี ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนของภรรยาสามารถยกมาให้สามีใช้ได้ แต่ ล่าสุด... มีการแก้กฎหมายเพื่อความเสมอภาค (19กันยายน2555)สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง หรือแปลว่า ยื่นรวมหรือยื่นแยกก็ได้แล้วไม่บังคับ ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ภรรยาไม่มีรายได้...อาชีพในฝัน(ของหลายคน)เลยครับภรรยาที่ไม่มีรายได้แสดงว่าไม่ต้องทำงานรับภาระการดูแลครอบครัวและลูกๆอย่างเต็มที่...แต่คนเหล่านี้มักมีรายจ่ายได้โดยไม่ต้องจ่ายเอง...ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ต้องขออนุญาติจากคนมีรายได้(สามี)ซะด้วย..โดยกรณีนี้สามีสามารถนำภรรยามาลดหย่อนภาษีได้ถึง30,000บาท...
เมื่อแต่งงานสามีสามารถนำ
ภรรยาที่ไม่มีรายได้มาลดหย่อนภาษีได้แล้วยังมีส่วนอื่นที่เป็นผลจากการแต่งงานสามารถนำมาลดหย่อนได้อีกได้แก่
- บุตรที่ศึกษาในประเทศ คนละ 17,000 บาท
- บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาในต่างประเทศ คนละ 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตของภรรยาที่ไม่มีเงินได้ 10,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตของบิดามารดาผู้มีเงินได้และบิดามารดาภรรยา ไม่เกิน15,000บาท
|
ใช้ลูกลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะครับ |
เบี้ยประกันชีวิตช่วยลดหย่อนภาษีได้
ทำประกันชีวิตนอกจากจะเป็นการบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากหัวหน้าครอบครัวหรือกำลังสำคัญเสียชีวิตแล้วและกระทบด้านรายได้กับคนข้่างหลังแล้ว...ประกันชีวิตยังมีผลดีช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย... ตามหลักเกณฑ์ง่ายๆคือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ลดหย่อนสูงสุดได้ 100,000บาท... ประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถลดหย่อนเพิ่มได้อีก200,000บาท แต่ต้องไม่เกิน15%ของรายได้
สามี-ภรรยาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตได้อย่างไร
ในการยื่นเสียภาษีเงินได้ของสามีภรรยาที่มีการทำประกันชีวิตนั้น การใช้สิทธิค่าลดหย่อนจากประกันชีวิต จะเป็นดังนี้
- กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท....สำหรับประกันชีวิตทั่วไป และไม่เกิน 200,000 บาทสำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญ
- กรณีที่สามีหรือภรรยามีเงินได้เพียงฝ่ายเดียว โดยทั้งสองฝ่ายมีการทำประกันชีวิตไว้ทั้งคู่ ถ้าความเป็นสามีภรรยามีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท...สำหรับประกันชีวิตทั่วไป และไม่เกิน 200,000 บาทสำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญ รวมทั้งสามารถหักเบี้ยประกันชีวิตส่วนของคู่สมรสซึ่งไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้จะสามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
ประกันชีวิตแบบไหนใช้ลดหย่อนภาษีได้
ตัวอย่าง เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ AIA 20 Pay life (Non-Par) (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม) สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ตามข้อกำหนดของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)
- ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักรไทย
- ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม (ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกันชีวิต หรือผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์)
- เบี้ยประกันชีวิตที่นำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ ต้องเป็นเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตหลักเท่านั้น
- เบี้ยประกันชีวิตสำหรับสัญญาเพิ่มเติม เช่น ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ เป็นต้น ไม่สามารถนำไปใช้หักลดหย่อนภาษีได้
ตัวอย่าง เอไอเอ บำนาญ 60/85 (บำนาญ) หรือ AIA Annuity 60/85
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องวางแผนชีวิตเกษียณ เพื่อเริ่มต้นชีวิตเกษียณอย่างสบาย และมั่นใจ การวางแผนทางการเงินสำหรับการเกษียณอย่างชาญฉลาด ได้รับเงินบำนาญคืนทุกปีในช่วงชีวิตเกษียณ และความคุ้มครองชีวิตสูงในช่วงเวลาที่ต้องการ พร้อมสิทธิลดหย่อนภาษี 200,000 บาท (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม)
- เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งการนับระยะเวลาคุ้มครองดังกล่าวให้เริ่มนับตั้งแต่อายุเริ่มทำประกันชีวิต จนถึงอายุสุดท้ายที่รับบำนาญ
- เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
- มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำนวนผลประโยชน์เงินบำนาญดังกล่าวจะจ่ายเท่ากันทุกงวด หรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้ โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน
- มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
- ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่รับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่า เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ยื่นภาษีปี2555 สำหรับผู้แต่งงานก็น่าจะมีสิ่งที่ต้องพิจารณาข้างบนนี้ ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางในการวางแผนภาษีได้มากขึ้น แต่คนที่ยังไม่ได้แต่งงานอ่านแล้วอยากแต่งงานขึ้นมารึยัง^_^
|
ขอคืนภาษีได้ทุกปีแต่ไม่รู้เงินหายไปไหนหนอ?? มีใครเห็นมั๊ยครับ |
สำหรับใครที่ปีนี้ยื่นภาษีแต่ได้คืนมาน้อยหรืออยากรู้ว่าวางแผนการเงินอย่างไรให้ครอบครัวมีความสุข ขอแนะนำโปรแกรมดีๆของ AIA เค้าให้เรามาทดลองเล่นฟรีครับ เป็นเครื่องมือเล่นๆน่ารักๆแต่ใช้ในการวางแผนการเงินได้ดีทีเดียว
เวป Online Advisor เป็น Interactive Website ที่ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน (Financial Health Check) และ ประเมินความเสี่ยง 4 กลุ่มโรคร้ายแรงด้วยตนเอง (Health Risk Index) ผมได้ลองใช้ดูแล้ว ง่ายกว่าการนั่งทำตามแบบประเมินทั่วๆไป ใช้เม้าท์คลิ๊กปรับแต่งค่าต่างๆ ให้เหมาะกับตัวเรา
ตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน (Financial Health Check)
- หลักประกันของครอบครัว (Family Income Protection)
- เงินออมเพื่อเกษียณที่สดใส (Retirement Plan)
- เงินออมเพื่อการศึกษา (Education Plan)
- ค่าใช้จ่ายเพื่ออุบัติเหตุและสุขภาพ (Accident & Health)
- เงินออมระยะสั้น (Short Term Goals )
แบบประเมินความเสี่ยง 4 กลุ่มโรคร้ายแรงด้วยตนเอง (Health Risk Index)
โรคมะเร็ง/โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง/ส้นเลือดหัวใจตีบหรือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน/เบาหวาน
ตัวนี้ก็ใช้ง่ายมาก เพียงเลือกข้อมูลที่ตรงกับตัวเรามากที่สุดระบบจะคำนวนความเสีี่ยงจากการ กิน อยู่ ประวัติครอบครัว สภาพแวดล้อม มาบอกกับเราว่าเรามีความเสี่ยงเป็นโรคต่างๆนี้แค่ไหน สำหรับผมผ่านทุกข้อครับไม่มีความเสี่ยงเลย แต่แล้วคุณหล่ะ ลองทำดูแล้วจะรู้
แถมเพิ่มเติม
รวมรายชื่อบริษัทประกันชีวิต ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้
20
บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด
www.aia.co.th
ขอขอบคุณผู้สนับสนุน : AIA Online Advisor
ความคิดเห็น