บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2012

ธุรกิจบริการ Srevice : “รู้จัก-พร้อมรุก-ตั้งรับ” ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ธุรกิจบริการ :   “ รู้จัก-พร้อมรุก-ตั้งรับ ” ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC ) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มกราคม 2555         การเปิดเสรีบริการอาเซียนภายใต้ความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน ( ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) ทำให้มีการยกเลิกข้อจำกัดในการค้าบริการระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ทั้งในแง่ การเปิดเสรีเชิงลึก มากขึ้นผ่านการขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนชาติอาเซียนอื่นในแต่ละประเทศอาเซียน ซึ่งกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีไว้ที่สูงสุดร้อยละ 70 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด   และมีสาขาบริการเร่งรัดการเปิดเสรีในปี 2553 จำนวน 4 สาขาได้แก่ สาขาโทรคมนาคมและสาขาคอมพิวเตอร์ ( e-ASEAN ) สาขาบริการสุขภา พ สาขาท่องเที่ยว   และสาขาบริการขนส่งทางอากาศ จากนั้นจะมีการเปิดเสรีสาขาบริการโลจิสติกส์ในปี 2556 และทยอยเปิดเสรีสาขาบริการอื่นๆ ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าขยาย การเปิดเสรีในเชิงกว้าง ซึ่งจะทยอยเปิดเสรีบริการสาขาย่อยใน แต่ละสาขาบริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น   ซึ่งความคืบหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการตามเป้าหมายที่สมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันไว้นั้น พบว่า หลายประเทศอาเซียนค่อ

KBank รับมือ AEC ต่อยอดเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ASEAN+3 พาลูกค้าลุยญี่ปุ่น

รูปภาพ
กสิกรไทยรับมือตลาดอาเซียนบวกสาม ต่อยอดเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ตอกย้ำผู้นำตลาดจากญี่ปุ่นสู่เอเชีย KBank Global Business Strategy             ธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้าเป็นผู้นำธุรกิจต่างประเทศมุ่งสร้างเครือข่ายพันธมิตรในเอเซีย เน้นให้บริการครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องมีสาขา ตอกย้ำความร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรญี่ปุ่นกว่า 20 แห่ง ด้วยงานจับคู่ธุรกิจ ขนบริษัทไทยและญี่ปุ่นในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์และอาหารร่วมงานกว่า 100 บริษัท หวังไทยเป็นฐานขยายสู่ตลาดอาเซียนเพิ่มทางเลือกสำหรับการค้าและการลงทุน   นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลอด 7 ปีที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยสนับสนุนการทำธุรกิจระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์การสร้างพันธมิตรและต่อยอดทางธุรกิจผ่านความร่วมมือกับธนาคารท้องถิ่นในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 บวกกับความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน กับ ประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น หรือ “ อาเซียนบวกสาม ” (ASEAN+3) ทั้งนี้จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว ธนาคาร ฯ จะเน้นการสร้างเครือข่ายพัน

แนวโน้มทิศทางเศรษฐกิจหลังปรับ ครม.และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน Growth SMEs Society – Tea talk

ฝ่ายส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ จัดกิจกรรม Growth SMEs Society – Tea talk กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนแบ่งปัน แนวคิดการทำธุรกิจ ในบรรยากาศของการจัดกิจกรรมที่เป็นกันเอง รวมทั้งยังได้รับฟังความรู้ในเรื่องแหล่งเงินทุน เครื่องมือทางการเงินต่างๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงอัพเดตหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารความเสี่ยงอีกด้วย  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอยากช่วยประชาสัมพันธ์ เพราะงานแบบนี้่น่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจ หาคู่คิด และคำปรึกษาจากผู้รู้  http://register2.set.or.th/surveyonline2/TakeSurvey.asp?SurveyID=6KH9l351mm7MG2 โครงการ Growth SMEs Society – Tea talk แนวคิด      เนื่องด้วย InnobizMatching.org เป็นเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์พัฒนาธุรกิจตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้เปิดให้บริการเมื่อกลางปี 2554 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลของผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหล

ความรู้รอบตัวSME(6) Brandไทยเริ่มทำ Viral VDO ทาง youtube มากขึ้น

รูปภาพ
เดี๋ยวนี้มีมากจริงๆครับ โพสคลิป หรือวีดีโอแปลกๆ น่าสนใจให้ท้าวแชร์ น้กโพส ได้เอาไปส่งต่อเรียก Like หลายอัน แต่รู้หรือไม่ หลายๆอันนั้นเกิดจากกระบวนการคิดการวางแผนมาอย่างดีจากแบรนด์ มาดูกันว่าเคยเจอคลิปเหล่านี้รึป่าว มาจากแบรนด์ไหนบ้าง ขอแต่งงาน หากชีวิตเจอสิ่งมืดมน หากเป็น SME อยากทำบ้างแนวนี้ก็น่าสนใจดี

รวมข่าวความเคลื่อนไหว AEC ในประเทศ 10-31 มกราคม 2012

รูปภาพ
สสว.ขุดเหมืองข้อมูลธุรกิจ สร้างระบบเตือนภัยรับมือ  AEC สสว.จับมือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสมาคมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สร้างระบบเตือนภัยธุรกิจ ส่งเหมืองข้อมูล  SMEs  หวังเตือนภัยผ่านระบบออนไลน์ คาดได้รับการตอบรับดีจากศักยภาพและการประมวลผล ให้ ผปก.พัฒนาและปรับตัวได้ทันคู่แข่ง มั่นใจเสริมแกร่ง  SMEs  รับมือ  AEC  ได้ นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการจัดทำเว็บไซต์ "ระบบเตือนภัยธุรกิจ :  Business Warning System"  ว่าเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. กระทรวงอุตสาหกรรม และสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี  ( ไทย-ญี่ปุ่น) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ตรวจสอบสถานะทางธุรกิจของตนเองว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งเป็นระบบเตือนภัยผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งทั้ง  3  หน่วยงานได้ดำเนินโครงการนี้มาประมาณ  3  ปี ปัจจุบันมีความพร้อม  100%  ในการเปิดให้บริการกับภาคธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีจำนวนมากกว่า  90%  ในประเทศ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ และเพื่อทราบตำแหน่งของตนเองแล้วจะได้มีแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ถูกต้อง ร