บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Ksme Analysis

ธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางและขนาดเล็กปี 2558 SME restaurant Strategy

รูปภาพ
ธุรกิจอาหารคือหนึ่งในธุรกิจแรกๆที่ผู้ประกอบการนึกถึง ในช่วงนี้ได้เจอกับ สถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ร้านอาหารเพื่อเพิ่มพูนความรู้ของธุรกิจร้านอาหารซึ่งกันและกัน พบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหาร เกิดใหม่ ปิดไป แต่ละปีเยอะมาก ความสามารถในการทำอาหารของคนไทยไม่ใช่ไม่ดี แต่ปัญหาอยู่ที่การบริหารร้านอาหารมากกว่า เพราะการบริหารร้านอาหารกับการทำอาหารเป็นคนละเรื่องกัน ร้านอาหารสำคัญคือต้องอร่อย แต่เมื่ออร่อยแล้วการจัดการไม่ดี ลูกค้าก็หนีไปในไม่ช้า ซึ่งเร็วๆนี้ คอยติดตามกิจกรรมดีๆ ที่ผมและ อาจารย์ เศรษฐพงศ์ จะร่วมกันทำกิจกรรมดีๆให้กับผู้ประกอบการ SME ที่ทำธุรกิจร้านอาหาร  ในการนำเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่มาสร้างกำไรให้ผู้ประกอบการร้านอาหารของไทย  คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์  (ขวาสุด) กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ที่ปรึกษากลยุทธ์ การเงินธุรกิจ และแฟรนไชส์ วิทยากรและผู้ตรวจมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  มีโอกาสได้อ่านบทวิจัย KSME Analysis จึงอยากรวบรวมเนื้อหาดีๆสำหรับธุรกิจร้านอาหาร เอาไว้ใช้ประโยช...

(Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ความร่วมมือระหว่างไทยและสิงคโปร์...ขยายลู่ทางการค้าและการลงทุน

รูปภาพ
STEER: ความร่วมมือระหว่างไทยและสิงคโปร์...ขยายลู่ทางการค้าและการลงทุน ( บทสรุปผู้บริหาร) อ่านบทวิเคราะห์ฉับเต็มได้ที่ www.ksmecare.com หากเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จะพบว่าระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกัน สิงคโปร์ ถือเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงที่สุด แม้จะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรอยู่เพียง 5 ล้านคน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในหลายๆด้านของสิงคโปร์ ดังนั้น เมื่อไทยและสิงคโปร์มีการประชุมหารือร่วมกันภายใต้กรอบความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนของการค้าและการลงทุนก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้สินค้าไทยมีโอกาสทางธุรกิจในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น  จึงเป็นที่มาของการหารือกรอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ( Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2540 การประชุมภายใต้กรอบ STEER เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2546 โดยสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ ในครั้งนั้นฝ่ายไทยได้สนับสนุนการลงทุนจากภาคเอกชนของสิงคโปร์ในสาขาที่ไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่การประชุมครั้งที่ 2 เมื่อเดือนพฤศจิ...

MedicalHub โอกาสทองของธุรกิจ SME ไทย(ตอนที่ 3)

รูปภาพ
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตอบรับกับการเติบโตของ การเป็น Medical Hub ของประเทศไทย แม้ว่าหลายๆ ฝ่าย จะมองว่าปัจจุบัน ไทยได้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub of Asia) แล้ว แต่ทั้งนี้ ยังมีคู่แข่งที่สำคัญอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย ที่มีความพร้อมที่จะขึ้นมาเป็น Medical Hub ได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรมีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพของธุรกิจร่วมกัน เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ได้อย่างมั่นคง โดยปัจจัยที่ผู้ประกอบการธุรกิจบริการทางการแพทย์ และธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจสปาและนวดแผนไทย ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก จะต้องให้ความสำคัญและมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับกับตลาด Medical Hub ที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ นับเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาความเป็น Medical Hub ของไทย เพราะการที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทย รวมถึงเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นทุกปีนั้น เป็นเพราะคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการของไทยที่...

MedicalHub โอกาสทองของธุรกิจ SME ไทย(ตอนที่ 2)

รูปภาพ
การเป็น Medical Hub ของไทย ... นำมาซึ่งโอกาสของหลากธุรกิจ จากปัจจัยหนุนข้างต้น นอกจากจะชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตอีกมากของธุรกิจการแพทย์ไทยแล้ว ยังมีธุรกิจอีกจำนวนมากที่มีโอกาสในการขยายตัว หรือได้รับอานิสงส์จากการเป็น Medical Hub ของไทย เพราะไม่เพียงแต่การเข้ามาใช้บริการของคนไข้ต่างชาติเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเข้ามาใช้บริการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ญาติหรือผู้ติดตามของคนไข้ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในลักษณะของการเป็นนักท่องเที่ยวด้วย โดยจากสถิติจะพบว่า ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประมาณร้อยละ 40 เป็นค่าใช้จ่ายด้านบริการทางการแพทย์ และอีกกว่าร้อยละ 60 จะเป็นค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ นอกจากนี้ โดยปกติแล้ว คนไข้ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทย 1 คน จะมีญาติหรือผู้ติดตามที่เดินทางมาด้วยประมาณ 2-4 คน ดังนั้น การผลักดันให้ไทยเป็น Medical Hub นั้น นับว่าเป็นโอกาสในการทำรายได้ของหลากหลายธุรกิจ ซึ่งธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเป็น Medical Hub มีดังนี้ 1 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจนำเที่ยว และธุรกิจที่พัก โดยเฉพา...

MedicalHub โอกาสทองของธุรกิจ SME ไทย(ตอนที่ 1)

รูปภาพ
ไทยชิงตลาดเมดิคัลฮับ ... โอกาสทองของธุรกิจ SME ไทย ไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ พยายามผลักดันให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub of Asia) ด้วยการวางยุทธศาสตร์เชิงรุกผสมผสานกันระหว่างการบริการทางการแพทย์กับการท่องเที่ยวของไทย ส่งผลให้มีจำนวนคนไข้ต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 (YoY) หรือมีคนไข้ต่างชาติเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยประมาณ 2.5 ล้านคนในปี 2555 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.8 ล้านคนในปี 2556 ทั้งนี้ การเร่งเสริมสร้างศักยภาพจนผลักดันให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ Medical Hub ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ แต่หมายรวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจนำเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความงาม อาทิ สปา นวดแผนไทย หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจค้าปลีก ก็มีโอกาสที่จะได้รับอานิสงส์จากการเป็น Medical Hub ของไทยด้วยเช่นกัน ดั...

ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ Thailand Car dealer Analysis

รูปภาพ
ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ นับเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเข้าไปอยู่ในส่วนของภาคการบริการ เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายรถยนต์เปรียบเสมือนทูตทางการค้าของบริษัทรถยนต์ที่จะทำหน้าที่นำเสนอรถยนต์และผลิตภัณฑ์ต่างๆของบริษัทรถยนต์ รวมถึงการมอบการบริการที่ประทับใจให้กับลูกค้าทั้งก่อนและหลังการซื้อขาย ซึ่งความสำเร็จทางด้านยอดขายของตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ก็คือความสำเร็จของบริษัทรถยนต์เจ้าของแบรนด์นั่นเอง โดยธุรกิจตัวแทนจำหน่ายทั่วไปที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ใหม่ที่ประกอบในประเทศ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นำเข้า และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มือสอง ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ที่มา : บริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อ, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทั้งนี้ เนื่องจากลูกค้าผู้เข้าใช้บริการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ ผู้ที่เข้ามาซื้อรถยนต์และผู้ที่เข้ามาใช้บริการซ่อมบำรุง ทำให้ลักษณะการดำเนินธุรกิจของตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆเช่นกัน คือ งานทางด้านการขาย ที่จะทำให้ลูกค้าได้รู้จักกับสินค้าหรือรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ แ...

การลงทุนธุรกิจวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาว #AECGEEK

รูปภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.ksmecare.com การลงทุนธุรกิจวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาว สปป.ลาว ต้องเตรียมประเทศให้พร้อมรองรับ AEC ในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ เนื่องด้วยโครงข่ายคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน รางรถไฟ ระบบประปา และไฟฟ้า ยังมีไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเมือง เพื่อรองรับการหลั่งไหลของการค้าและการลงทุนจากต่างชาติที่จะมีมากขึ้นในอนาคต และด้วยสภาพภูมิประเทศโอบล้อมด้วยภูเขาและทรัพยากรน้ำ ทำให้สปป.ลาวพยายามผลักดันให้ประเทศนี้กลายเป็น “Battery of Asia” จึงยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สปป.ลาวให้ความสำคัญกับภาคก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสแก่ธุรกิจวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างของไทยที่จะบุกตลาดสปป.ลาว พร้อมกับการเติบโตของการก่อสร้างในพื้นที่ สำหรับการลงทุนจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาว ผู้ประกอบการ SMEs ควรศึกษาถึงสภาพตลาด จำนวน คู่แข่งขัน ทำเลที่ตั้ง และลักษณะความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังมีความต้องการทั้งสินค้าวัตถุดิบ วัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ยกตัวอย่างเช่น โคร...

เครื่องมือบริหารจัดการธุรกิจ (Business Management tool) : สิ่งจำเป็นสำหรับ SME ไทย...ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง (ตอนที่1)

รูปภาพ
SME Management Tool  การดำเนินธุรกิจภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงและเข้มข้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกับผู้ประกอบการไทยด้วยกันเอง รวมทั้งผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่จะทยอยรุกเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย โดยเฉพาะภายหลังการก้าวเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ส่งผลให้ธุรกิจไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่ง และเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม(SME) ซึ่งส่วนใหญ่มีข้อจำกัดหลายๆด้านหากเทียบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งอำนาจในการต่อรองทั้งกับแหล่งเงินทุน แหล่งวัตถุดิบ ตลอดจนถึงการต่อรองกับลูกค้า ดังนั้น ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจ SME อยู่รอดได้ที่สำคัญคือ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ โดยการนำเครื่องมือบริหารจัดการทางธุรกิจสมัยใหม่ เข้ามาช่วยเพิ่มสมรรถนะขององค์กร เพื่อให้กิจการสามารถก้าวทันโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง และทำให้ธุรกิจมีความเข้มแข็งและดำเนินไปอย่างราบรื่นอย่างมืออาชีพ ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจ สามารถท...

ธุรกิจเครื่องสำอางแนวสปา ... ภูมิปัญญาไทยส่งออกระดับโลก (Start-Up Business)

รูปภาพ
ธุรกิจเครื่องสำอางแนวสปา ... ภูมิปัญญาไทยส่งออกระดับโลก (Start-Up Business)         ศูนย์วิจัยกสิกรไทย         เครื่องสำอางแนวสปา เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ที่กำลังได้รับการตอบรับอย่างดีทั้งในและต่างประเทศ และนับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่เติบโตคู่ขนานไปกับธุรกิจสปา อันเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมี มลภาวะต่างๆ และต้องการหวนกลับคืนสู่ความเป็นธรรมชาติอีกครั้ง ทั้งนี้ เครื่องสำอางแนวสปาของไทย ที่จัดได้ว่ามีชื่อเสียงอย่างมาก ในเรื่องของการนำเอาพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางตามภูมิปัญญาของคนไทย ถือเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก         โดยจะเห็นว่าในแต่ละปี ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสารสกัดธรรมชาติและสมุนไพรไทย มีมูลค่าตลาดสูงถึง 2,000-3,000 ล้านบาท ในขณะที่ไทยเองก็มีศักยภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องสำอางสูงเช่นกัน โดยข้อมูลจากกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท....