MedicalHub โอกาสทองของธุรกิจ SME ไทย(ตอนที่ 1)
ไทยชิงตลาดเมดิคัลฮับ ... โอกาสทองของธุรกิจ SME ไทย
ไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ พยายามผลักดันให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub of Asia) ด้วยการวางยุทธศาสตร์เชิงรุกผสมผสานกันระหว่างการบริการทางการแพทย์กับการท่องเที่ยวของไทย ส่งผลให้มีจำนวนคนไข้ต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 (YoY) หรือมีคนไข้ต่างชาติเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยประมาณ 2.5 ล้านคนในปี 2555 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.8 ล้านคนในปี 2556
ทั้งนี้ การเร่งเสริมสร้างศักยภาพจนผลักดันให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ Medical Hub ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ แต่หมายรวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจนำเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความงาม อาทิ สปา นวดแผนไทย หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจค้าปลีก ก็มีโอกาสที่จะได้รับอานิสงส์จากการเป็น Medical Hub ของไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรเร่งเตรียมความพร้อม พัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อรองรับกับการก้าวไปสู่การเป็นเมดิคัลฮับของไทย
การก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub ของไทยในภูมิภาคเอเชีย ถูกผลักดันด้วยหลายปัจจัย ซึ่งถือเป็นจุดเด่น และทำให้ไทยแตกต่างไปจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญอื่นๆ โดยแต่ละปัจจัยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
1 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจนำเที่ยว และธุรกิจที่พัก โดยเฉพาะ Boutique Hotel ซึ่งเป็นรูปแบบที่พักที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ดังนั้น การขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในลักษณะของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น รวมไปถึงญาติหรือผู้ติดตาม ที่เดินทางมาพร้อมกับคนไข้ชาวต่างชาติ ก็จะเอื้อประโยชน์มากขึ้นต่อธุรกิจดังกล่าวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งปัจจุบันค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจประมาณ 2.9 แสนล้านบาท ขยายตัวกว่าร้อยละ 15-20 ต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวในทุกกลุ่มที่เดินทางเข้ามาใช้บริการในไทยมากขึ้น
2 ธุรกิจสุขภาพและความงาม โดยเฉพาะธุรกิจสปาและนวดแผนไทย นับว่าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพของไทย และมีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีการเปิดตัวธุรกิจสปาขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่ธุรกิจนี้ก็ยังคงโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจุบันที่เน้นปรับตัวในเรื่องเอกลักษณ์และบริการที่แตกต่าง ส่งผลให้ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี คิดเป็นมูลค่าตลาดกว่า 50,000 ล้านบาท และเมื่อสอบถามไปยังนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทย พบว่า สปาและนวดแผนไทยเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยม และมองว่า สปาและนวดแผนไทยมีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จนได้รับการขนานนามว่า “ไทยเป็นเมืองหลวงแห่งสปาของเอเชีย” ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยเท่านั้น ร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สปา โดยเฉพาะสมุนไพรและเครื่องสำอางไทย ก็มีโอกาสที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
3 ธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายของที่ระลึก ธุรกิจร้านอาหาร ที่อยู่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ หรืออยู่ตามย่านที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยว เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีโอกาสขยายตัวจากการเป็น Medical Hub ของไทย โดยในระหว่างที่คนไข้ทำการรักษาอยู่นั้น ญาติหรือผู้ติดตามก็สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ ซึ่งการ Shopping ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายสินค้าแบรนด์เนม รวมไปถึงร้านจำหน่ายของที่ระลึก นอกจากนี้ ด้วยความมีชื่อเสียงของอาหารไทยที่ดังไปทั่วโลก ก็นับว่าจูงใจให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะมาลิ้มรสอาหารไทยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติสร้างรายได้ให้กับธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายของที่ระลึกประมาณ 2.4 แสนล้านบาท ขยายตัวกว่าร้อยละ 10-15 ต่อปี ในขณะที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มกว่า 1.8 แสนล้านบาท ขยายตัวกว่าร้อยละ 20 ต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวในทุกกลุ่มที่เดินทางเข้ามาใช้บริการในไทยมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
มิถุนายน 2556
ไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ พยายามผลักดันให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย (Medical Hub of Asia) ด้วยการวางยุทธศาสตร์เชิงรุกผสมผสานกันระหว่างการบริการทางการแพทย์กับการท่องเที่ยวของไทย ส่งผลให้มีจำนวนคนไข้ต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 (YoY) หรือมีคนไข้ต่างชาติเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยประมาณ 2.5 ล้านคนในปี 2555 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.8 ล้านคนในปี 2556
ทั้งนี้ การเร่งเสริมสร้างศักยภาพจนผลักดันให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ หรือ Medical Hub ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ แต่หมายรวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจนำเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความงาม อาทิ สปา นวดแผนไทย หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจค้าปลีก ก็มีโอกาสที่จะได้รับอานิสงส์จากการเป็น Medical Hub ของไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรเร่งเตรียมความพร้อม พัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อรองรับกับการก้าวไปสู่การเป็นเมดิคัลฮับของไทย
หลากปัจจัยสำคัญชี้ให้เห็นถึงความเป็น ... “Medical Hub of Asia ” ของไทย
การก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub ของไทยในภูมิภาคเอเชีย ถูกผลักดันด้วยหลายปัจจัย ซึ่งถือเป็นจุดเด่น และทำให้ไทยแตกต่างไปจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญอื่นๆ โดยแต่ละปัจจัยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
- ความมีชื่อเสียงทางด้านการแพทย์ของไทย ความเชี่ยวชาญของแพทย์ไทย การให้บริการรักษาที่เทียบเท่ากับระดับสากลและราคาต่ำกว่า (World-Class Medicine at Developing-World Prices) เมื่อเทียบกับประเทศที่สำคัญอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และสิงคโปร์ ส่งผลให้ไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางของคนไข้ต่างชาติจำนวนมากที่เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทย ขณะที่แม้ภาพรวมของธุรกิจในประเทศหลักจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ และหนี้ยูโรโซน แต่ผลที่เกิดขึ้นต่อภาพรวมของธุรกิจ Healthcare ในไทยมีจำกัด โดยจะเห็นได้จาก ตัวเลขคนไข้ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทยกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางการแพทย์ของไทยที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก
- แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คนไข้ต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับการรักษาในไทย ยังสามารถพ่วงในเรื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นและมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทะเล ภูเขา หรือแม้แต่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และประเทศไทยก็ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่รองรับคนไข้เท่านั้น ยังสามารถรองรับกับกลุ่มญาติของคนไข้ หรือผู้ติดตามที่เดินทางเข้ามาในไทยอีกด้วย
- การให้บริการ (Service Mind) ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย ที่มีใจรักในการให้บริการ มีการบริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สร้างความประทับใจให้กับชาวต่างชาติ และดึงดูดให้ทั้งนักท่องเที่ยว และคนไข้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และรับบริการทางการแพทย์ในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
- การทำการตลาดอย่างต่อเนื่องของทางภาครัฐและเอกชน สิ่งสำคัญที่จะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ได้อย่างมั่นคง คือ นโยบายภาครัฐและแผนรุกตลาดของภาคเอกชน ที่ร่วมมือกันผลักดันให้อุตสาหกรรมสุขภาพของไทยมีอนาคตก้าวไกล และยังส่งผลดีต่อเนื่องไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจสุขภาพและความงาม ธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายของที่ระลึก เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดรัฐบาลได้กำหนด แผนการขับเคลื่อนรายได้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2558 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่ร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งรายได้ดังกล่าวจะเกิดจากการผลักดัน 7 โครงการที่ใช้สำหรับเจาะตลาด อาทิ โครงการ Health and Wellness in Thailand ที่จะนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจที่จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
การเป็น Medical Hub ของไทย ... นำมาซึ่งโอกาสของหลากธุรกิจ
จากปัจจัยหนุนข้างต้น นอกจากจะชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตอีกมากของธุรกิจการแพทย์ไทยแล้ว ยังมีธุรกิจอีกจำนวนมากที่มีโอกาสในการขยายตัว หรือได้รับอานิสงส์จากการเป็น Medical Hub ของไทย เพราะไม่เพียงแต่การเข้ามาใช้บริการของคนไข้ต่างชาติเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเข้ามาใช้บริการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ญาติหรือผู้ติดตามของคนไข้ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาในลักษณะของการเป็นนักท่องเที่ยวด้วย โดยจากสถิติจะพบว่า ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประมาณร้อยละ 40 เป็นค่าใช้จ่ายด้านบริการทางการแพทย์ และอีกกว่าร้อยละ 60 จะเป็นค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ นอกจากนี้ โดยปกติแล้ว คนไข้ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทย 1 คน จะมีญาติหรือผู้ติดตามที่เดินทางมาด้วยประมาณ 2-4 คน ดังนั้น การผลักดันให้ไทยเป็น Medical Hub นั้น นับว่าเป็นโอกาสในการทำรายได้ของหลากหลายธุรกิจ ซึ่งธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเป็น Medical Hub มีดังนี้
2 ธุรกิจสุขภาพและความงาม โดยเฉพาะธุรกิจสปาและนวดแผนไทย นับว่าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพของไทย และมีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีการเปิดตัวธุรกิจสปาขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่ธุรกิจนี้ก็ยังคงโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจุบันที่เน้นปรับตัวในเรื่องเอกลักษณ์และบริการที่แตกต่าง ส่งผลให้ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี คิดเป็นมูลค่าตลาดกว่า 50,000 ล้านบาท และเมื่อสอบถามไปยังนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทย พบว่า สปาและนวดแผนไทยเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยม และมองว่า สปาและนวดแผนไทยมีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จนได้รับการขนานนามว่า “ไทยเป็นเมืองหลวงแห่งสปาของเอเชีย” ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยเท่านั้น ร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สปา โดยเฉพาะสมุนไพรและเครื่องสำอางไทย ก็มีโอกาสที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
3 ธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายของที่ระลึก ธุรกิจร้านอาหาร ที่อยู่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ หรืออยู่ตามย่านที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยว เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีโอกาสขยายตัวจากการเป็น Medical Hub ของไทย โดยในระหว่างที่คนไข้ทำการรักษาอยู่นั้น ญาติหรือผู้ติดตามก็สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ ซึ่งการ Shopping ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายสินค้าแบรนด์เนม รวมไปถึงร้านจำหน่ายของที่ระลึก นอกจากนี้ ด้วยความมีชื่อเสียงของอาหารไทยที่ดังไปทั่วโลก ก็นับว่าจูงใจให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะมาลิ้มรสอาหารไทยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติสร้างรายได้ให้กับธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายของที่ระลึกประมาณ 2.4 แสนล้านบาท ขยายตัวกว่าร้อยละ 10-15 ต่อปี ในขณะที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มกว่า 1.8 แสนล้านบาท ขยายตัวกว่าร้อยละ 20 ต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวในทุกกลุ่มที่เดินทางเข้ามาใช้บริการในไทยมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
มิถุนายน 2556
ความคิดเห็น