ความรู้รอบตัวSME(5) : น้ำท่วมหรือยามวิกฤต SMEไทย ไม่เดียวดาย #ThaiFlood

ก่อนเข้าถึงบทความขอมอบบทเพลงนี้ให้กำลังใจกับเจ้าของกิจการทุกท่านครับ
 "ยิ่งมืดยิ่งเห็นดวงดาว"




      

    น้ำท่วมครั้งนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ที่รายงานว่ามีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้วกว่า 559,895 ครัวเรือน หรือ 1,841,385 คน พื้นที่ประสบภัยทั้งสิ้น 23 จังหวัด ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2554


สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ประสบอุทกภัยประมาณ 60,000 ราย โดย SMEs ในอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งในเรื่องของเครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมจนเสียหายจนไม่สามารถทำการผลิตสินค้าได้ รวมถึงเรื่องวัตถุดิบที่ใช้ในการ การผลิตขาดแคลน และราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบทั้งหมดเป็นผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน


ในส่วนของผู้ประกอบการ SME ที่โดนกระทบ ทางภาครัฐภัคเอกชนก็ได้ออกมาร่วมกันช่วยเหลือ แต่ก็ในแบบไทยๆหน่ะครับ ต่างคนก็ต่างทำไป ยังหาศูนย์รวมไม่ค่อยจะได้ เลยขอโอกาสนี้รวบรวม ข้อมูลการช่วยเหลือที่กระจัดกระจายมาไว้ณ ที่นี้ มองในแง่ดี คือต่างหน่วยงานก็ต่างช่วย ก็ยังดีครับที่ไม่ปล่อยให้ SME เดียวดาย คิดซะว่าเรามีญาติผู้ใหญ่หลายคนคอยดูแลแย่งกันเอาใจนะครับ

มาตรการช่วยเหลือ SME 

มาตรการช่วยเหลือ จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  1. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากธุรกิจผู้ประกอบการและลูกจ้างแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 
  2. ให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจและผู้ประกอบการที่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 
  3. ผ่อนผันภาระของธุรกิจนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเรื่องการจดทะเบียน การยื่นงบการเงินที่มีรอบบัญชีอยู่ระหว่างที่เกิดอุทกภัย และการแจ้งบัญชี หรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหาย หรือ เสียหาย 
  4. ผ่อนผันการเปรียบเทียบปรับ และการดำเนินคดีแก่ธุรกิจที่ประสบอุทกภัย ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อ (3) ได้


โดยท่านสามารถร้องทุกข์ และมาขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนนทบุรี อาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2591-7881, 0-2589-4119, 0-2589-7958 โทรสาร 0-2591-7882

มาตรการช่วยเหลือ จาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 

  1. เปิดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมาลงทะเบียนรับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 325,000 ล้านบาท 
  2. มาตรการช่วยฟื้นฟู SMEs ตามโครงการคลินิกอุตสาหกรรม 
  3. การยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์รวมทั้งมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง 
  4. โครงการสำรองข้อมูลผ่าน Cloud Computing โดยความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัท ทีโอที จำกัด 
  5. โครงการฟื้นฟู SMEs ที่ประสบภัยน้ำท่วมผ่าน e-Marketplace 
  6. โครงการร่วมด้วยช่วยกันฟื้นฟูสิ่งปลูกสร้างผ่านกระทรวงอุตสาหกรรม ( หลังน้ำลด ) 
  7. โครงการฟื้นฟู SMEs โดยให้คำปรึกษาในการวางระบบไอที (หลังน้ำลด)
  8. รวบรวที่ปรึกษาจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือ SME 
  9. งบช่วยเหลือฟื้นฟูกิจการ 40,000 บาท 5,000 ราย และ 100,000 บาท 2,500 ราย โดยกระทรวงจะเป็นผู้พิจารณาผู้ได้รับการช่วยเหลือ (Update!) ลงทะเบียนภายใน 30 พ.ย.54
และเปิดเวปรับเรื่องร้องขอความช่วยเหลือ ช่วยน้ำท่วม.com

มาตรการช่วยเหลือ จาก สำนักงาน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 

.
  1. “ศูนย์ประสานความช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบอุทกภัย”ผ่านการให้บริการจาก สสว. Call Center 1301 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 
    1. เพื่อการให้ความช่วยเหลือ SMEs ผ่านการให้บริการคำปรึกษาเบื้องต้น รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
    2. เพื่อการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายของ SMEs ที่ประสบอุทกภัย นำไปเป็นฐานข้อมูลการกำหนดแผนงานความช่วยเหลือ
    3. เพื่อการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการความช่วยเหลือ ของ SMEs ที่ประสบอุทกภัย 
  2. จัดตั้ง SMEs Office Park และ Factory Park ใกล้พื้นที่ประสบอุทกภัย 
  3. เสนอให้รัฐบาลหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำในระดับไม่เกิน 5% และต้องการให้รัฐขยายวงเงินสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ของธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) จากวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท และต้องการให้ลดดอกเบี้ยต่ำลง
มาตรการช่วยเหลือ จาก กรมส่งเสริมการส่งออก


1.
  1. รวบรวมข้อมูลผลกระทบเสนอรัฐมนตรี กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์ กลุ่มสินค้าแฟชั่น และกลุ่มสินค้าสุขภาพ-ความงามทั้งนี้ กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนได้รับผลกระทบเสียหายมากที่สุด โดยพบว่ามี 4 ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการผลิตสินค้า ปริมาณการผลิต และมูลค่าการส่งออก คือ 
    1. โรงงานได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมากน้อยแค่ไหน 
    2. ปัญหาด้านการขนส่ง โลจิสติกส์ 
    3. การขาดแคลนวัตถุดิบและ 
    4. ปัญหาขาดแคลนคนงาน
  2. เชิญทูตพาณิชย์เร่งฟื้นความเชื่อมั่นสั่งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศทั่วโลก 65 แห่ง ได้แสวงหาแหล่งวัตถุดิบตามความต้องการของภาคเอกชน/ภาคการส่งออก ตลอดถึงการจัดหาเครื่องจักรเพื่อทดแทนที่ต้องใช้ในอุตสาหกรรม 
  3. สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกลไกการค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) วงเงินสินเชื่อค้ำประกัน 23,000 ล้านบาท และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยความร่วมมือของธนาคารออมสิน
มาตรการช่วยเหลือ จาก กรมสรรพกร

  1. ผู้ประกอบการได้รับยกเว้นการนำรายได้จากการรับของบริจาคและค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันมาคำนวนเป็นรายได้พึงประเมิน
  2. ขยายระยะเวลาการยื่นภาษีไปถึงเดือนธันวาคม
  3. กรมสรรพากรให้หักลดหย่อนภาษีได้เต็มตามสิทธิที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคผ่านหน่วยงานรัฐ หรือภาคเอกชน โดยกรณีเงินบริจาค ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถนำเงินบริจาคนั้น มาหักลดหย่อนได้ตามจริง รวมกับเงินบริจาคอื่นๆ ด้วย แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว (Linkที่มา)

นี่เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการภาครัฐที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือ SME เห็นมั๊ยยามวิกฤติเราก็ไม่เดียวดาย 

บทความก่อนหน้า

มาตรการช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ความรู้รอบตัวสำหรับSME เรียนรู้อะไรจากใบเสร็จ Mc donal
ความรู้รอบตัวSME(2) : การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยกระบวนการ ของ Cut&Curl
ความรู้รอบตัวSME (3): อาหารอีสานสู่น่านน้ำสีคราม Blue Ocean
ความรู้รอบตัวSME(4) : Li-bra-ry ร้านอาหารบ้านๆก็โดนใจถ้ารู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร

บทความเกี่ยวข้อง

กสิกรไทยเปิดมาตรการ “ลด ยืด เพิ่ม” กอบกู้ธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอี

    ความคิดเห็น

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

    รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

    K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน