กสิกรไทยเปิดมาตรการ “ลด ยืด เพิ่ม” กอบกู้ธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอี


กสิกรไทยเปิดมาตรการ ลด ยืด เพิ่ม กอบกู้ธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอี

กสิกรไทย ประเมินความเสียหายจากวิกฤตน้ำท่วม รวมมาตรการ ลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาผ่อน และ เพิ่มสภาพคล่อง พักต้นพักดอกเตรียมเงิน 1.5 หมื่นล้าน ช่วยฟื้นฟูลูกค้าเอสเอ็มอีหลังน้ำท่วม พร้อมตั้งศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูธุรกิจ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือลูกค้าทางด้านการเงินและด้านอื่น ๆ อย่างครบวงจร

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์  รองกรรมการผู้จัดการ  ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน 32 จังหวัด มีถึง 2.4 แสนราย เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญประมาณ 20% ของจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมดของประเทศ ส่วนลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารกสิกรไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยครั้งนี้มีทั้งสิ้น 14,118 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 37,173 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.6% ของสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคาร
สำหรับลูกค้าภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้าง โครงการหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ ภาคอุตสาหกรรมฮาร์ตแวร์ อาทิ เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร จากพื้นที่การเกษตรในหลายจังหวัดได้รับความเสียหาย ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนสำคัญของประเทศได้รับความเสียหายจำนวนมาก ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคที่ จ.อยุธยา และนิคมบางกระดี จ.ปทุมธานี  
            ธนาคารกสิกรไทยได้ประเมินความเสียหายของลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในครั้งนี้ และพบว่าลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ธนาคารจึงออกมาตรการช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและด้านอื่น ๆ โดยในส่วนของมาตรการด้านการเงิน ธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารด้วยการขยายระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นให้แก่ลูกค้าที่ใช้วงเงินสินเชื่อกับธนาคาร เป็นเวลาเดือน และต่อเพิ่มได้อีก 6 เดือนหากสถานการณ์ยังไม่กลับสู่สภาพปกติ สำหรับลูกค้าที่ใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (T/R) หรือวงเงินตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) สามารถต่อตั๋วออกไปได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องมีเอกสารการสั่งซื้อรองรับการต่ออายุตั๋วสัญญา

           นอกจากนี้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้เร็วขึ้นหลังน้ำท่วม ธนาคารจะให้การช่วยเหลือลูกค้าด้วยวงเงินสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจซึ่งเป็นวงเงินที่พัฒนาออกมาเพื่อช่วยลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างแท้จริง ประกอบด้วยวงเงินสินเชื่อเพื่อการปรับปรุงและซ่อมแซมสถานประกอบการ ด้วยการลดดอกเบี้ยพิเศษ คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4 % 3 ปีแรก และโครงการความร่วมมือกับภาครัฐ ด้วยการค้ำประกันสินเชื่อโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 3 ปีแรก ยืดระยะเวลาผ่อนชำระยาวสูงสุดถึง 10 ปี และการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน
            ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ ธนาคารได้จัดวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษแบบลดต้นลดดอก 4% ใน ปีแรก ยืดระยะเวลาผ่อนชำระยาวสูงสุดถึง ปี และเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน6 เดือน พร้อมให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100% ของมูลค่าเครื่องจักรด้วย
            นอกเหนือจากการสนับสนุนด้านการเงินแล้ว ธนาคารยังมีมาตรการการช่วยเหลือด้านอื่นๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าเอสเอ็มอีสามารถฟื้นฟูและดำเนินต่อไปได้ ด้วยการจัดตั้ง K SME ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูธุรกิจเอสเอ็มอีแบบครบวงจร ณ K SME Care Knowledge Center ชั้น 2 อาคารจามจุรีสแควร์ โดยมีแนวทางการช่วยเหลือ คือ 3 ด้าน คือ สินค้าและบริการราคาพิเศษจากลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคาร และสมาชิก K SME Care Network Club ซึ่งมีทั้งสินค้า วัตถุดิบ และบริการปรับปรุงซ่อมแซมต่าง ๆ ในราคาพิเศษ  การประสานงานกับหน่วยงานพันธมิตรของธนาคาร เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบและเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งความช่วยเหลือจากธนาคารและหน่วยงานพันธมิตร เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น อีกทั้งยังมีการจัดงานสัมมนาให้ความรู้ เกี่ยวกับมาตรการและข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการหลังน้ำลด เช่น การสื่อสารภายในองค์กรในช่วงวิกฤติ การฟื้นฟูเครื่องจักร และการลงบัญชี เป็นต้น หรือสามารถหาข้อมูลความช่วยเหลือของโครงการรวมถึงรายชื่อซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ได้ทาง www.ksmecare.com/floodrelief
            นายปกรณ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันมีลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยแจ้งขอรับความช่วยเหลือจากธนาคารแล้ว1,644 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 14,293 ล้านบาท และภายหลังน้ำลดธนาคารได้จัดเตรียมวงเงินสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจแล้วจำนวน15,000 ล้านบาท โดยลูกค้าสามารถขอรายละเอียดได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าของธนาคารที่ประจำอยู่ศูนย์ธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการทั่วประเทศ หรือ สอบถามและขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ที่ K SME ศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูธุรกิจ 0 2160 5203-4 และ   0 2888 8822

Link ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้รอบตัวSME(5) : น้ำท่วมหรือยามวิกฤต SMEไทย ไม่เดียวดาย
#ThaiFlood



มาตรการช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

KBank หนุนกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็ก จับมือพันธมิตร ททท สนท Google AIS ช่วยทุกมิติ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

รับชำระเงินด้วย อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ทำยังไง