มาตรการช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

กสิกรไทยประเมินความเสียหายลูกค้าทุกกลุ่ม พร้อมปรับมาตรการช่วยเหลือรอบใหม่    
     ธนาคารกสิกรไทยประเมินความเสียหายของลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุกทภัย พบลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง พร้อมปรับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์  
     นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการที่สถานการณ์น้ำท่วมได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ธนาคารจึงได้ดำเนินการประเมินความเสียหายของลูกค้าอันเนื่องมาจากอุทกภัยร้ายแรงครั้งนี้ และได้ปรับมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติม
     โดยลูกค้ารายย่อยผู้ใช้บริการสินเชื่อบ้าน ธนาคารได้เพิ่มแนวทางความช่วยเหลือ โดยการปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 40% เป็นระยะเวลา 1 ปี หรือลูกค้าสามารถผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ธนาคารจะมอบวงเงินสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมบ้านได้สูงสุดเท่ากับยอดสินเชื่อบ้านที่ผ่อนชำระมาแล้ว โดยคิดดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน
     สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตกสิกรไทยที่ประสบภัยจากน้ำท่วม และไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด จะได้รับการผ่อนผันให้ชำระดอกเบี้ย 50% และปรับลดยอดผ่อนชำระขั้นต่ำให้เป็น 0-10% และสำหรับผู้ใช้สินเชื่อเงินสดทันใจกสิกรไทยที่ได้รับผลกระทบ จะได้รับการผ่อนผันให้ชำระดอกเบี้ย 50% และปรับลดยอดผ่อนชำระขั้นต่ำเป็น 0-5%
     สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์กสิกรไทย จะได้รับการปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 50% เป็นระยะเวลานานสูงสุด 1 ปี และขยายระยะเวลาการผ่อนสูงสุด 6 เดือน โดยรวมสัญญาเดิมแล้วไม่เกิน 7 ปี
     สำหรับลูกค้าธุรกิจธนาคารจะขยายระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น ให้แก่ลูกค้าที่ใช้วงเงินสินเชื่อกับธนาคาร ฯ เป็นเวลา 6 เดือน และต่อเพิ่มได้อีก 6 เดือนหากสถานการณ์ยังไม่กลับสู่สภาพปกติ ส่วนลูกค้าที่ใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (T/R) หรือวงเงินตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) สามารถต่อตั๋วออกไปได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องมีเอกสารการสั่งซื้อรองรับการต่ออายุตั๋วสัญญา นอกจากนี้ธนาคารยังพร้อมจะช่วยเหลือลูกค้าหลังภาวะน้ำท่วมด้วยการให้วงเงินกู้เพื่อฟื้นฟูกิจการ ซ่อมแซมสถานประกอบการ เครื่องจักร หรือเงินช่วยเหลือกรณีสินค้าเสียหาย ระยะเวลาผ่อนชำระ 5 ปี และมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นนาน 6 เดือน นอกจากนี้ สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการศูนย์ลูกค้าธุรกิจในพื้นที่ประสบภัยที่ปิดทำการ สามารถย้ายไปใช้บริการศูนย์ลูกค้าธุรกิจในพื้นที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง แม้ว่าจะไม่ใช่ศูนย์ที่เคยใช้บริการประจำก็ตาม ขณะเดียวกัน ลูกค้าผู้ประกอบการที่ใช้บริการ Cash Management ของธนาคาร ฯ สามารถทำธุรกรรมได้อย่างต่อเนื่อง โดยธนาคาร ฯ ตั้งศูนย์บริการลูกค้าฉุกเฉิน (Client Service Support Center) เพื่อรองรับการแจ้งเหตุขัดข้องและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นอกจากนี้ ในกรณีที่บริการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ และบริการจ่ายเงินเดือนพนักงานบริษัทที่ไม่สามารถทำรายการผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ได้ตามปกติ ธนาคารได้ประสานงานกับลูกค้าเพื่อการทำธุรกรรมดังกล่าว และสำหรับบริการธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ในจุดสำรองที่ธนาคาร ฯ จัดเตรียมไว้เพิ่มเติม และสามารถชำระเงินได้ที่สาขาของธนาคาร ฯ ที่เปิดทำการทุกสาขา  
     นายกฤษฎา กล่าวว่า ธนาคาร ฯ มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเต็มที่ ผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยบรรเทาความยากลำบากของลูกค้าในช่วงที่ประสบภัย และให้สามารถฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่และการดำเนินธุรกิจให้กลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็วที่สุด ลูกค้าบุคคลที่ได้รับผลกระทบ สามารถติดต่อสอบถามและขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ที่ K-Contact Center 0 2888 8888 สำหรับลูกค้าธุรกิจ ติดต่อ K-Biz Contact Center 0 2888 8822

Linkที่เกี่ยวข้อง
มาตรการช่วยเหลือน้ำท่วมจากภาครัฐ  ความรู้รอบตัวSME(5) : น้ำท่วมหรือยามวิกฤต SMEไทย ไม่เดียวดาย #ThaiFlood



Published with Blogger-droid v2.0.1

ความคิดเห็น

คนไทยไม่ทิ้งกันจริงๆ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน