ใครอ่ะ วีระ เจียรนัยพานิชย์ weera chearanaipanit





วีระ เจียรนัยพานิชย์

นักการตลาด นักสร้างเครือข่ายธุรกิจ 

startup consultant   stock2morrow  

+oweera SME Partnership 


ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน

กรรมการสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

Vice President : Head of SME Network Marketing Development 
SME Marketing Management Department KASIKORNBANK

ประสบการการทำงาน
Assistant Vice President, Senior SME Partnership Development KBank
ผู้จัดการด้านการบริหารงานจัดซื้อและการตลาดของธุรกิจค้าปลีกชั้นนำทั้งในเครือเซ็นทรัลและ7-11
ผู้จัดการฝ่ายเคลื่อนไหวสาธารณะ สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี


ประสบการณ์อื่นๆอาจารย์พิเศษ วิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์ ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ธุรกิจSME
ร่วมงานกับธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่ปี 2549 รับผิดชอบงานด้านการตลาดและงานส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจ SME เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ หน่วยงานและสมาคมส่งเสริม SME และสร้าง SME Networking
กรรมการสมาคมการบริหารทรัยพยากรมนุษย์



ผลงานภาคภูมิใจ

- โครงการส่งเสริมการจัดการที่ยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ KSME Care ได้รับเลือกเป็น Marketing Campaign of the year จากนิตยสาร Marketeer

- รายการ SME ตีแตก ได้รับรางวัลสุดยอดแคมเปญการตลาด Bronze Award จากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย MAT

- ร่วมเขียนหนังสือคู่มือการเป็นผู้เริ่มต้นธุรกิจ Startup เสี่ยยุคใหม่ 

ปัจจุบัน

ที่ปรึกษาประจำรายการ Startup เสี่ยยุคใหม่ ทางช่องเนชั่น TV ช่อง 22 วันอาทิตย์ เวลา 13:00 น.
ที่ปรึกษางานด้านเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อพัฒนาธุรกิจ SME



เชี่ยวชาญพิเศษ และกิจกรรมด้านสังคม


  • กรรมการตัดสินแผนธุรกิจ NEC / กรรมการรับเชิญรายการสมรภูมิไอเดียช่อง 3
  • วิทยากร กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่าย KSME Care
  • บรรยาย การบริหารเครือข่ายธุรกิจ Biz Club
  • เสวนา โครงการ ​CICT กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
  • เสวนา บนเส้นทางการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยทุนทางปัญญา
  • บรรยาย กลยุทธ์การค้าและเครื่องมือการเงินสำหรับAEC
  • บรรยาย ปรับกลยุทธ์ธุรกิจค้าส่งเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเครือซิเมนไทย ( SCG )
  • เสวนา อนาคตประเทศไทยกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ผู้เขียนหนังสือ Startup เสี่ยยุคใหม่ แปลงไอเดียของคุณให้เป็นธุรกิจร้อยล้าน
  • กิจกรรมพัฒนาองค์กร, Ice Braking Activity การจัดการความรู้ Knowledge Management Business Matching, Start-up Business
  • ที่ปรึกษาอาสา AEC GEEK
  • กรรมการสมาคม อีคอมเมอร์ช

ติดตามกิจกรรมบรรยาย

เดือน กันยายน 2558
http://oweera.blogspot.com/2015/08/oweera-partnership-lecture-in-august.html


เชื่อมโยงหน่วยงานรัฐและองค์กรเอกชนในการสร้างความรู้ AEC ให้กับ ​SME

บรรยายหัวข้อ เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการเครือข่ายธุรกิจ ​Biz Club 

เสวนา EICT e-Market place สู่ Supply chain ช่วยเพิ่มศักยภาพ SMEs ได้จริง?

อนาคตประเทศไทยบนเส้นทางการแข่งขันด้วยภูมิปัญญา

แขกรับเชิญในรายการสมรภูมิไอเดีย แนะนำเครืองมือ Social Media สำหรับธุรกิจ SME

งานวันสายใจไทย 

จัดกิิจกรรม เพิ่มความรู้ให้กับผู้ประกอบการ  KSME Value Plus และ KSME Business Matching

กูรูรับเชิญ ร่วมตัดสินผู้เข้าแข่งขันในรายการสมรภูมิไอเดีย
http://www.thaiecommerce.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=3&Id=539566764


รวมบทสัมภาษณ์ วีระ เจียรนัยพานิชย์ จากสื่อต่างๆ 
เนชั่น สุดสัปดาห์

ครอบครัว 'เจียรนัยพานิชย์' โซเชียลมีเดีย คือสายใยรักและผูกพัน  17 พฤษภาคม 2556
The Nation


กรุงเทพธุรกิจ

ศึก4เส้า สงครามน้ำดำ est ส่อบล็อกเป๊ปซี่2แสนร้านค้า  29 ตุลาคม 2555

    ด้าน วีระ เจียรนัยพานิชย์ นักการตลาดผู้เชี่ยวชาญประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแข่งขันของตลาดน้ำดำในไทยว่า การแข่งขันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเพราะมีแบรนด์อื่นๆ เพิ่มเข้ามาในตลาดไทยเป็น 4 แบรนด์ คือ โค้ก เป๊ปซี่ est และบิ๊กโคล่า
“เรื่องราคาเอง ผมมองว่าเล่นมากไม่ค่อยได้เพราะราคาน้ำดำในระดับปัจจุบันก็ถือว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ผู้ผลิตเองคงไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มาก”
ดังนั้นเขาจึงเห็นว่า แคมเปญหรือโปรโมชั่นที่โดนใจผู้บริโภคจะกระตุ้นตลาดได้มากกว่า นอกจากนี้ยังอยากจะให้จับตาเครื่องดื่มแบรนด์ใหม่ est ที่จะทยอยเข้ามาทำตลาดหลังวันที่ 1 พ.ย.นี้โดยเชื่อว่าเสริมสุขคงจะใช้วิธี "บล็อก” ให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่าย Traditional Trade (ร้านค้าปลีกดั่งเดิม) กว่า 2 แสนร้านค้า ให้รับเฉพาะสินค้าของเสริมสุขเพียงรายเดียว เพื่อถอยร่นเป๊ปซี่ออกจากช่องทางการจำหน่ายนี้ในที่สุด
“เป๊ปซี่ต้องหลุดออกจากร้านค้าเดิมของเสริมสุขแน่นอน โดยเสริมสุขเคยใช้กับวิธีนี้กับโค้กมาแล้วจนโค้กไม่สามารถอยู่ร่วมชายคาเดียวกับเป๊ปซี่ได้ เสริมสุขเก่งในเรื่องการตลาดการกระจายสินค้ามากอยู่แล้วไม่เช่นนั้นเขาคงไม่ทำให้เป๊ปซี่อยู่ในอันดับหนึ่งได้นานขนาดนี้”
วีระ บอกด้วยว่า ช่องทาง Modern Trade (ร้านค้าปลีกสมัยใหม่) นับจากนี้จะมีสีสันมากขึ้น เพราะผู้ผลิตน้ำดำทั้งหลายจะต้องนำสินค้าเข้าสู่ช่องทางนี้มากขึ้น เพื่อรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC ) โดยเฉพาะ อีกทั้งช่องทางที่เป็น Traditional Trade ถูกจองโดยทางเสริมสุขเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้การแข่งขันของน้ำดำจะรุ่นแรงมากขึ้น แต่กลุ่มผู้บริโภคบางส่วนก็ยังยึดติดกับรสชาติ และจงรักภักดีในแบรนด์อยู่ ดังนั้นแม้เป๊ปซี่จะเปลี่ยนแปลงไป แต่ผู้บริโภคก็จะยังคงติดอยู่ จึงไม่น่าจะมีผลกระทบมากนักในความเห็นของเขา อีกทั้งหากเปิด AEC เป๊ปซี่เองก็มีทางออกโดยการตั้งโรงงานผลิตหรือใช้โรงงานผลิตในประเทศเพื่อนบ้านแทน เพื่อส่งสินค้ามาจำหน่ายในไทย
ระยะยาวเขาจึงมองว่า ปัญหาด้านการผลิตก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นในปัจจุบัน.
--------------------------------------------
ไม่ใช่แค่ 4 มีอีกเป็น 10 "ราคาคือตัวแปร"
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินภาวะการแข่งขันตลาดน้ำอัดลมของไทยว่า กำลังจะเผชิญกับความท้าทายอีกครั้ง ไม่เพียงผู้ประกอบการหน้าใหม่ในไทยที่จะเข้าสู่ตลาด แต่ยังรวมทั้งผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมในประเทศกลุ่มอาเซียน ที่ไม่ได้ผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ของผู้ประกอบการน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลก ซึ่งคาดว่าจะสนใจเข้ามาทำตลาดน้ำอัดลมในไทย ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ในอาเซียน จนอาจทำให้ตลาดน้ำอัดลมไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพราะเออีซี เป็นเหตุ
โดย "กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา" อาจจะเป็น "กลยุทธ์แรก" ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างฐานการตลาดช่วงเริ่มต้น และในทางกลับกัน คาดว่าผู้ประกอบการในธุรกิจน้ำอัดลมของไทย จะมีโอกาสเข้าไปรุกขยายตลาดในกลุ่มอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยไทยมีความพร้อมในการผลิตน้ำอัดลมที่ดีกว่าอีกหลายประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบสำคัญคือ น้ำตาล รวมทั้งอุตสาหกรรมสนับสนุน อาทิ บรรจุภัณฑ์พลาสติก และกระป๋องอะลูมิเนียม ซึ่งสามารถผลิตเพื่อสนองความต้องการและส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ
ทั้งนี้ตลาดน้ำอัดลมไทย มีขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน สัดส่วนประมาณร้อยละ 35.2 ของปริมาณการจำหน่ายน้ำอัดลมในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ทำให้ไทยเป็นตลาดที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากจากผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อรอจังหวะที่จะเข้ามาทำตลาดน้ำอัดลมในไทย และเริ่มมาประสบความสำเร็จในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายหลังการก้าวเข้าสู่ตลาดน้ำอัดลมของผู้ประกอบการรายใหม่จากต่างประเทศ ที่อาศัยกลยุทธ์ทางด้านราคารวมทั้งปริมาณสินค้าที่มากกว่า เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
ด้านความพร้อมด้านการประหยัดต่อขนาด (อีโคโนมี ออฟ สเกล) ไทยเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคน้ำอัดลมค่อนข้างสูง ประมาณ 2,700 ล้านลิตร/ปี และมีการบริโภคน้ำอัดลมต่อหัวประชากรสูงสุดประมาณ 43 ลิตร/คน/ปี ซึ่งทำให้โรงงานน้ำอัดลม สามารถใช้กำลังการผลิตขนาดใหญ่เพื่อรองรับตลาดในประเทศ รวมถึงตลาดส่งออก จึงเกิดการประหยัดต่อขนาดและสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต
ความพร้อมทางด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน ทั้งบรรจุภัณฑ์แก้ว พลาสติก กระป๋อง กระดาษ และฝาจีบ และเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนต่ำกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน
การเป็นศูนย์กลางของประเทศในภูมิภาค ช่วยให้การขนส่งและการกระจายสินค้าไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศCLMV ซึ่งไทยสามารถขนส่งสินค้าข้ามแดนได้สะดวกและมีต้นทุนต่ำ


"ยักษ์ค้าปลีก" เท 7 หมื่นล. ดักโอกาส "เออีซี" 23 กรกฎาคม 2555 




วีระ เจียรนัยพาณิชย์ นักการตลาดผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เชื่อว่า การเปิดเออีซี ในปี 2558 จะเป็น "ปัจจัยบวก" ต่อธุรกิจค้าปลีกไทย เนื่องจากธุรกิจนี้ถือว่ามีความเข้มแข็งมากกว่าอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ทั้งด้วยขนาดและศักยภาพ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) ที่ผ่านมา ยังเห็นความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่หลายรายของไทย ต่างมีแผนตักตวงโอกาสจากการเปิดเออีซี

 "ห้างไทยหลายๆ ราย เก่งกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้มาก ในอาเซียนไม่มีใครรุกธุรกิจค้าปลีกไปจีนเหมือนอย่างกลุ่มเซ็นทรัล นอกจากนี้ ยังเข้าไปตั้งห้างตามหัวเมืองใหญ่ รอยต่อประเทศ ในจุดสำคัญๆ ที่จะเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เชียงราย ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังพม่า จีน  หรือห้างที่อุดรธานี และขอนแก่น ล้วนแต่รองรับกลุ่มลูกค้าที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว"

 นอกจากนี้ ทีวี และสื่อบันเทิงอื่นๆ จากไทย ที่ไปได้รับความนิยมในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องประดับ รองเท้าและกระเป๋า จากนำเข้าจากไทยพลอยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อธุรกิจค้าปลีกไทย

 อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกไทยจะมีความเข้มแข็ง แต่ยังมีคู่แข่งที่น่าจับตา คือ กลุ่มทุนค้าปลีกจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ พ่วงด้วยกลุ่มทุนค้าปลีกจากจีน ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ คือ การรุกคืบเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือการส่งเสริมการขายระหว่างกัน (Merchandise) กับธุรกิจขนาดกลางในต่างจังหวัด

 “กลุ่มทุนจีนเข้ามาทางภาคเหนือค่อนข้างเยอะ อย่างเชียงราย ขณะที่กลุ่มทุนสิงคโปร์ และมาเลย์จะเน้นที่โซนหัวหินและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ของไทย” เขาตั้งข้อสังเกต




ผู้จัดการ

สื่อสารการตลาดสร้างโอกาสธุรกิจ 9 พฤศจิกายน 2552

http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000132225


รวมบทสัมภาษณ์ วีระ เจียรนัยพานิชย์ จากสื่อต่างๆ


 Contact me

https://plus.google.com/u/0/photos/106434856452619784555/albums/profile

http://twitter.com/oweera @oweera ติดตามเรื่องราวสาระด้าน SME และ AEC ได้เลยจ้า

http://facebook.com/oweera ชีวิตส่วนตัวเรื่อยเปื่อย ติดต่องานได้แต่ไม่ตอบจ้า

http://www.facebook.com/SMEnetworkingThailand  บันทึกชีวิตการทำงานและเรื่องรวมที่เจอ ติดต่องานทางนี้เลย

http://www.linkedin.com/in/oweera ประวัติทำงานโดยละเอียด







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

รับชำระเงินด้วย อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ทำยังไง