รวมบทสัมภาษณ์ วีระ เจียรนัยพานิชย์ จากสื่อต่างๆ
เขียนบันทึกเก็บไว้ให้ลูกหลานได้มาอ่าน 5555 ไม่ได้รู้สึกว่าเราเก่งหรืออะไร แค่ยังรู้สึกดี ว่าตัวเรายังมีคุณค่าทางอาหาร(สมอง) แก่คนอื่นๆบ้าง ติดตามเรื่องราวของ โอวีระ ได้ ณ บัดนี้
เนชั่น สุดสัปดาห์
ครั้งแรกที่ได้รับการสัมภาษณ์แบบเป็นครอบครัว ทั้ง โอ วี เอ็ม เรื่องของเรื่องคือเราสามคนตัวอยู่กรุงเทพ ต่างคนต่างใช้ Social Media ในงานที่ต่างๆกัน เอ็ม เขียนบล๊อกเรื่อง Macthai.com น้องวี ใช้เพื่องานอาสา ส่วน โอวีระ ก็ใช้เรื่อยเปื่อย ตั้งแต่ ติดต่องาน หาPartner เชิญวิทยากร รวมถึง ข่าวสารสำหรับSME แล้วหลายๆงาน เราก็ได้รับเชิญไปร่วมงาน พร้อมกันบ้างแยกกันบ้าง มีพี่น้องเพื่อนฝูงหลายคนทักทาย อ้าว! เป็นพี่น้องกันเหรอ จนวันหนึ่ง พี่เล็กแห่งเนชั่น ก็เห็นเข้าเลยชวนมานั่งสัมภาษณ์ เราพึ่งรู้ว่ากระบวนการสัมภาษณ์ลงสื่อเป็นยังไง คุยกัน สามชั่วโมง พี่นักข่าวเก็บประเด็น มาเป็นบทความ น่าทึ่งจริงๆเนชั่นสุดสัปดาห์ ครอบครัวโซเชียลมีเดีย |
เนชั่นสุดสัปดาห์ ครอบครัวเจียรนัยพานิชย์ |
ครอบครัว 'เจียรนัยพานิชย์' โซเชียลมีเดีย คือสายใยรักและผูกพัน 17 พฤษภาคม 2556
The Nation
ครอบครัว เจียรนัยพานิชย์ ได้ลงหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษกับเค้าด้วย "เด็กบ้านนอกจากขอนแก่นดีใจ" มากๆครับ
กรุงเทพธุรกิจ มือขวาของมืออาชีพ
นักข่าวสายการตลาดอีกท่านหนึ่งที่รู้จักพูดคุยกันในทวิตเตอร์ เห็นเราพูดเรื่องค้าปลีก ค้าส่งบ่อยๆ และก็เรื่อง AEC จนมีTag ประจำของตัวเอง ASEANTWT เลยชวนมาแชร์ความคิดเห็น เป็นกรณีศึกษา ขอบคุณจริงๆสำหรับเครดิต ต่อจากชื่อสกุล เป็นศรีแก่วงศ์ตระกูลมากครับนักการตลาดผู้เชี่ยวชาญประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
ศึก4เส้า สงครามน้ำดำ est ส่อบล็อกเป๊ปซี่2แสนร้านค้า 29 ตุลาคม 2555
ด้าน วีระ เจียรนัยพานิชย์ นักการตลาดผู้เชี่ยวชาญประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการแข่งขันของตลาดน้ำดำในไทยว่า การแข่งขันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเพราะมีแบรนด์อื่นๆ เพิ่มเข้ามาในตลาดไทยเป็น 4 แบรนด์ คือ โค้ก เป๊ปซี่ est และบิ๊กโคล่า“เรื่องราคาเอง ผมมองว่าเล่นมากไม่ค่อยได้เพราะราคาน้ำดำในระดับปัจจุบันก็ถือว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ผู้ผลิตเองคงไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มาก”
ดังนั้นเขาจึงเห็นว่า แคมเปญหรือโปรโมชั่นที่โดนใจผู้บริโภคจะกระตุ้นตลาดได้มากกว่า นอกจากนี้ยังอยากจะให้จับตาเครื่องดื่มแบรนด์ใหม่ est ที่จะทยอยเข้ามาทำตลาดหลังวันที่ 1 พ.ย.นี้โดยเชื่อว่าเสริมสุขคงจะใช้วิธี "บล็อก” ให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่าย Traditional Trade (ร้านค้าปลีกดั่งเดิม) กว่า 2 แสนร้านค้า ให้รับเฉพาะสินค้าของเสริมสุขเพียงรายเดียว เพื่อถอยร่นเป๊ปซี่ออกจากช่องทางการจำหน่ายนี้ในที่สุด
“เป๊ปซี่ต้องหลุดออกจากร้านค้าเดิมของเสริมสุขแน่นอน โดยเสริมสุขเคยใช้กับวิธีนี้กับโค้กมาแล้วจนโค้กไม่สามารถอยู่ร่วมชายคาเดียวกับเป๊ปซี่ได้ เสริมสุขเก่งในเรื่องการตลาดการกระจายสินค้ามากอยู่แล้วไม่เช่นนั้นเขาคงไม่ทำให้เป๊ปซี่อยู่ในอันดับหนึ่งได้นานขนาดนี้”
วีระ บอกด้วยว่า ช่องทาง Modern Trade (ร้านค้าปลีกสมัยใหม่) นับจากนี้จะมีสีสันมากขึ้น เพราะผู้ผลิตน้ำดำทั้งหลายจะต้องนำสินค้าเข้าสู่ช่องทางนี้มากขึ้น เพื่อรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC ) โดยเฉพาะ อีกทั้งช่องทางที่เป็น Traditional Trade ถูกจองโดยทางเสริมสุขเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้การแข่งขันของน้ำดำจะรุ่นแรงมากขึ้น แต่กลุ่มผู้บริโภคบางส่วนก็ยังยึดติดกับรสชาติ และจงรักภักดีในแบรนด์อยู่ ดังนั้นแม้เป๊ปซี่จะเปลี่ยนแปลงไป แต่ผู้บริโภคก็จะยังคงติดอยู่ จึงไม่น่าจะมีผลกระทบมากนักในความเห็นของเขา อีกทั้งหากเปิด AEC เป๊ปซี่เองก็มีทางออกโดยการตั้งโรงงานผลิตหรือใช้โรงงานผลิตในประเทศเพื่อนบ้านแทน เพื่อส่งสินค้ามาจำหน่ายในไทย
ระยะยาวเขาจึงมองว่า ปัญหาด้านการผลิตก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นในปัจจุบัน.
--------------------------------------------
ไม่ใช่แค่ 4 มีอีกเป็น 10 "ราคาคือตัวแปร"
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินภาวะการแข่งขันตลาดน้ำอัดลมของไทยว่า กำลังจะเผชิญกับความท้าทายอีกครั้ง ไม่เพียงผู้ประกอบการหน้าใหม่ในไทยที่จะเข้าสู่ตลาด แต่ยังรวมทั้งผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมในประเทศกลุ่มอาเซียน ที่ไม่ได้ผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ของผู้ประกอบการน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลก ซึ่งคาดว่าจะสนใจเข้ามาทำตลาดน้ำอัดลมในไทย ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ในอาเซียน จนอาจทำให้ตลาดน้ำอัดลมไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพราะเออีซี เป็นเหตุ
โดย "กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา" อาจจะเป็น "กลยุทธ์แรก" ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างฐานการตลาดช่วงเริ่มต้น และในทางกลับกัน คาดว่าผู้ประกอบการในธุรกิจน้ำอัดลมของไทย จะมีโอกาสเข้าไปรุกขยายตลาดในกลุ่มอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยไทยมีความพร้อมในการผลิตน้ำอัดลมที่ดีกว่าอีกหลายประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบสำคัญคือ น้ำตาล รวมทั้งอุตสาหกรรมสนับสนุน อาทิ บรรจุภัณฑ์พลาสติก และกระป๋องอะลูมิเนียม ซึ่งสามารถผลิตเพื่อสนองความต้องการและส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ
ทั้งนี้ตลาดน้ำอัดลมไทย มีขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน สัดส่วนประมาณร้อยละ 35.2 ของปริมาณการจำหน่ายน้ำอัดลมในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ทำให้ไทยเป็นตลาดที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมากจากผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อรอจังหวะที่จะเข้ามาทำตลาดน้ำอัดลมในไทย และเริ่มมาประสบความสำเร็จในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายหลังการก้าวเข้าสู่ตลาดน้ำอัดลมของผู้ประกอบการรายใหม่จากต่างประเทศ ที่อาศัยกลยุทธ์ทางด้านราคารวมทั้งปริมาณสินค้าที่มากกว่า เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
ด้านความพร้อมด้านการประหยัดต่อขนาด (อีโคโนมี ออฟ สเกล) ไทยเป็นตลาดที่มีความต้องการบริโภคน้ำอัดลมค่อนข้างสูง ประมาณ 2,700 ล้านลิตร/ปี และมีการบริโภคน้ำอัดลมต่อหัวประชากรสูงสุดประมาณ 43 ลิตร/คน/ปี ซึ่งทำให้โรงงานน้ำอัดลม สามารถใช้กำลังการผลิตขนาดใหญ่เพื่อรองรับตลาดในประเทศ รวมถึงตลาดส่งออก จึงเกิดการประหยัดต่อขนาดและสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต
ความพร้อมทางด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน ทั้งบรรจุภัณฑ์แก้ว พลาสติก กระป๋อง กระดาษ และฝาจีบ และเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนต่ำกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน
การเป็นศูนย์กลางของประเทศในภูมิภาค ช่วยให้การขนส่งและการกระจายสินค้าไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศCLMV ซึ่งไทยสามารถขนส่งสินค้าข้ามแดนได้สะดวกและมีต้นทุนต่ำ
กรุงเทพธุรกิจ มือขวาของมืออาชีพ
อีกหนึ่งครั้งที่น่าประทับใจ เราพึ่งเขียนบล๊อกเรื่อง AEC และเรื่อง Macro กับ 7-11 อยู่ก็มีสายเข้ามาเลยนับว่า ทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือสื่อสาร Personal ที่ดีมากๆ เชื่อมโยงเรากับสื่อ กับผู้ฟัง
"ยักษ์ค้าปลีก" เท 7 หมื่นล. ดักโอกาส "เออีซี" 23 กรกฎาคม 2555
วีระ เจียรนัยพาณิชย์ นักการตลาดผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เชื่อว่า การเปิดเออีซี ในปี 2558 จะเป็น "ปัจจัยบวก" ต่อธุรกิจค้าปลีกไทย เนื่องจากธุรกิจนี้ถือว่ามีความเข้มแข็งมากกว่าอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ทั้งด้วยขนาดและศักยภาพ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) ที่ผ่านมา ยังเห็นความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่หลายรายของไทย ต่างมีแผนตักตวงโอกาสจากการเปิดเออีซี
"ห้างไทยหลายๆ ราย เก่งกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้มาก ในอาเซียนไม่มีใครรุกธุรกิจค้าปลีกไปจีนเหมือนอย่างกลุ่มเซ็นทรัล นอกจากนี้ ยังเข้าไปตั้งห้างตามหัวเมืองใหญ่ รอยต่อประเทศ ในจุดสำคัญๆ ที่จะเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เชียงราย ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังพม่า จีน หรือห้างที่อุดรธานี และขอนแก่น ล้วนแต่รองรับกลุ่มลูกค้าที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว"
นอกจากนี้ ทีวี และสื่อบันเทิงอื่นๆ จากไทย ที่ไปได้รับความนิยมในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องประดับ รองเท้าและกระเป๋า จากนำเข้าจากไทยพลอยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อธุรกิจค้าปลีกไทย
อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกไทยจะมีความเข้มแข็ง แต่ยังมีคู่แข่งที่น่าจับตา คือ กลุ่มทุนค้าปลีกจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ พ่วงด้วยกลุ่มทุนค้าปลีกจากจีน ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ คือ การรุกคืบเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือการส่งเสริมการขายระหว่างกัน (Merchandise) กับธุรกิจขนาดกลางในต่างจังหวัด
“กลุ่มทุนจีนเข้ามาทางภาคเหนือค่อนข้างเยอะ อย่างเชียงราย ขณะที่กลุ่มทุนสิงคโปร์ และมาเลย์จะเน้นที่โซนหัวหินและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ของไทย” เขาตั้งข้อสังเกต
ผู้จัดการ
สื่อสารการตลาดสร้างโอกาสธุรกิจ 9 พฤศจิกายน 2552
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000132225
สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องเถ้าแก่ ร่วมกับ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการเรื่อง “สื่อสารการตลาดสร้างโอกาสธุรกิจ SMEs” นำเสนอศิลปะการใช้งานและเทคนิคของผสมผสานเครื่องมือสื่อสารการตลาด สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงแนะนำ การประยุกต์ใช้เครือข่าย Social Network ในอินเทอร์เน็ตเครื่องมือสื่อสารการตลาดทางเลือกที่กำลังมาแรงชี้หากใช้เป็นและถูกวิธี จะกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่ทรงประสิทธิภาพและลดระยะห่างการได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างธุรกิจเล็กกับกิจการขนาดใหญ่
ทั้งนี้การสร้างโอกาสธุรกิจให้กับ SMEs ด้วยการเพิ่มศักยภาพด้านการสื่อสารการตลาด ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจของท่านได้โดยอาศัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่นำเสนอแนวทางในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้เครื่องมือการสื่อสารที่เหมาะสมสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้ข้อมูล ข่าวสาร จากองค์กรสามารถดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี
นายวีระ เจียรนัยพานิชย์ หัวหน้าส่วนฝ่ายบริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจสายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การสื่อสารการตลาดสำหรับธุรกิจ SMEs มีความจำเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบัน เพราะ SMEs เป็นธุรกิจที่มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ร้านเบเกอรี่ 1 ห้องแถว จนไปถึงขนาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น โรงงานผู้ผลิต หรือ โรงแรม/บูติกรีสอร์ท เป็นต้น ซึ่ง SMEs ส่วนใหญ่จะนิยมสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง เพื่อให้สินค้าหรือบริการมีความแตกต่าง แต่ปัญหาคือ ลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่รู้จักแบรนด์เหล่านี้ หากไม่มีการสื่อสารการตลาดเพื่อทำให้คนทั่วไปรับรู้ว่ามีแบรนด์นี้บนโลก สิ่งที่จะช่วยผู้ประกอบการได้ก็คือ การสื่อสารการตลาดที่ถูกวิธีและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เป็นปัจจัยหลักในการทำการตลาดของ SMEs เลยทีเดียว เพราะจะสามารถช่วยให้ธุรกิจ SMEs ในยุคที่มีการแข่งขันรุนแรงในตลาด สามารถประสบความสำเร็จได้
อาจารย์บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงเหตุผลที่ โครงการเถ้าแก่ติดดาว ได้หยิบยกประเด็นเรื่อง “สื่อสารการตลาดสร้างโอกาสธุรกิจ SMEs” มาเป็นหัวข้อเสวนาเพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการว่า ในวันนี้มีเครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เลือกหยิบยกมาใช้เพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าทั้งเก่า ใหม่ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเครื่องมือประเภท Social Network อย่าง บล็อก ไฮไฟท์ ทวิสเตอร์ เฟสบุค เว็บบอร์ด ยูทูบ ฯลฯ
ความคิดเห็น