บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ marketing

เซ็นทรัล-เดอะมอลล์ เตะตาBusiness Model Club21

รูปภาพ
รูปแบบการค้าปลีก มีการปรับโมเดลกันมาโดยตลอดตามพฤติกรรมผู้บริโภค หากไล่เรียงตามลำดับ ก็ตั้งแต่การเป็น ร้านขายของชำ ห้าง+ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้าพลาซ่า แต่โมเดลมาเป็น สเปเชียลตี้สโตร์ (ภาษาโหดร้ายเรียกว่า Catagory Killer ) ดิสเค้าสโตร์ จนมาถึง Community mall นับว่าเมืองไทยเป็นประเทศที่ได้เห็นรูปแบบร้านค้าปลีกครบเกือบทุกรูปแบบในโลกนี้และโลกหน้า ผู้เล่นในตลาดของไทยคงเหลือที่แข็งแกร่งแข่งขันกัน ก็คงเห็นเพียง เซ็นทรัล กับ เดอะมอลล์ ที่ยังสู้กันได้ในสมรภูมิเมือง การสร้างความแตกต่างของตัวห้างสรรพสินค้า จึงเริ่มหันมาให้ความสนใจกับแบรนด์ที่จะดึงดูดคนเข้าห้าง คนไหนถือแบรนด์ที่ดึงดูดคนได้มากกว่า ก็สามารถช่วงชิงลูกค้าได้มากกว่า ซึ่งปัจจุบันโลกแคบลงการเข้าถึงแบรนด์มีมากขึ้นจำนวนแบรนด์ก็มากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาระบบจัดจำหน่ายแบบใหม่ๆ อย่าง Business Model ของ Club 21 ทีไปเตะตาต้องใจจนห้างใหญ่ปรับตัวปรับองค์กร ให้มีหน่วยบริหารจัดการตราสินค้า วิ่งหาแบรนด์อินเตอร์มาอยู่ในครอบครอง ยักษ์ ค้าปลีกตามรอยความสำเร็จ คลับ 21 เดินหน้าผุดร้านมัลติแบรนด์ นำเข้า "แฟชั่น-สินค้าหรู" เปิดตลาดใน

กลยุทธ์ร่วมกันสร้างแบรนด์ Sabina Nokair Seasons In Flight: Reveals All @SabinaClick

รูปภาพ
Sabina ยกระดับธุรกิจจากโรงงานผลิตชุดชั้นในสู่แบรนด์ Sabina จัดแฟชั่นโชว์ เดินแบบชุดชั้นใน กระแต เมย์ คริสหอวัง พิ้งกี้ และหยาดทิพย์ ใน งาน Seasons In Flight: Reveals All ร่วมกับนกแอร์ นับเป็นก้าวย่างสำคัญที่ธุรกิจไทยน่าดูเป็นตัวอย่าง รวมดารานางแบบในงานนี้ จากธุรกิจครอบครัวโรงงานรับจ้ างผลิต สู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่ อง สร้างมาตรฐานสินค้า เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ปรับกระบวนการบริหารจากครอบครั วสู่มืออาชีพ สร้างสรรค์แบรนด์ บุกตลาดต่างประเทศ เส้นทางแห่งความสำเร็จการเติบโตเป็นแบรนด์ระดับโลกเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆทั้งที่เจ้าของแบรนด์พยายามบอกว่า Sabina ขอเป็น ASEAN Brand สามปีที่ใช้ดารานางแบบคริสหอวัง เข้ามาร่วมสร้างแบรนด์ทำให้ ภาพลักษณ์จากชุดชั้นในเด็ กสาวปรับเป็นสาวรุ่นวัยทำงานกล้ าแสดงออก กับวลีติดหูว่า ดูมดูม คับที่อยู่ได้คัพเออยู่ยาก เป็นความกล้านำเสนอแบบตรงๆ เข้าถึงใจสาวๆ ที่คัพใจอยู่นานแต่ไม่กล้าเปิดเผย เมื่อเจอการเสนอแบบที่ โดนกลางใจแป๊ะอย่างที่ไม่เคยมี ใครกล้านำเสนอมาก่อนจึงทำให้แบรนด์นี้ติดตลาดอย่างรวดเร็ว และเมื่อสร้างแบรนด์ จนประสบความสำเร็จร่ว

ธนาคารกสิกรไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 บนโลกดิจิตอล แบงกิ้ง (Digital Banking) เปิดตัวยุทธศาสตร์เชิงรุก “New Possibility Happens KBank Digital Banking

รูปภาพ
ธนาคารกสิกรไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 บนโลกดิจิตอล แบงกิ้ง (Digital Banking) เปิดตัวยุทธศาสตร์เชิงรุก “New Possibility Happens KBank Digital Banking พร้อมสนับสนุนทุกความฝันด้วยพลังของโลกดิจิตอล” ชู “ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล แบงกิ้ง” ผนึกความแข็งแกร่งของผลิตภัณฑ์และบริการด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกด้านธุรกรรมการเงินอย่างครบวงจรตลอด 24 ชม. ได้ทุกที่ทุกเวลา ตั้งเป้าปีหน้าฐานลูกค้าเติบโตเพิ่มอีก 30% มีลูกค้าเพิ่มเป็น 6.5 ล้านราย นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มของโลกดิจิตอลที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคใน 3 ปีต่อจากนี้ไป กระแสหลักๆ ที่นักการตลาดคาดการณ์ ประกอบด้วย 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ SO (Social Media) หมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่จะมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ LO (Localized Marketing) ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรมการตลาดต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงตรงกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ MO (Mobile) อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่จะเข้ามาแทนที่คอมพิวเตอร์ และ CO (Commerce) คือการซื้อขายออนไลน์ ในรูปแบบ Everywhere Commerce ซึ่งสามารถทำได้ทุกที่

Tryvertising เครื่องมือของแบรนด์ในการสร้างกระแสใน Social Media

รูปภาพ
http://www.facebook.com/lilinclothshop อีกกระแส หนึ่งที่กำลังมาแรงและเป็นที่จับตามองของนักการตลาดคงหนีไม่พ้นเรื่องอีคอม เมิร์ซ แต่เป็นอีคอมเมิร์ซที่ใช้งานในเฟซบุ๊ค ที่เรียกเป็น Buzz ในขณะนี้ว่า “เอฟคอมเมิร์ซ” หรือ “เอฟสโตร์” ร้านค้าและแบรนด์เริ่มติดตั้งอีคอมเมิร์ซกันที่เฟซบุ๊คของตน เพื่อใช้ฐานของจำนวนแฟนในเฟซบุ๊คในการขายสินค้าให้แก่แฟนๆ เช่น Apple App Store, Lady Gaga f-store, Starbucks Gift Card หรือ Coca-Cola Store นอกจากอาศัยเป็นจุดจำหน่ายสินค้าผ่านเอฟคอมเมิร์ซแล้ว ยังพบว่าแบรนด์อย่างซอสมะเขือเทศไฮนส์ (Heinz) รุกตลาดโดยการประชาสัมพันธ์สินค้าในลักษณะ Tryvertising ผ่านเฟซบุ๊ค ด้วยการปล่อยไฮนส์รสชาติใหม่แก่แฟนๆ ก่อนการขายจริงในท้องตลาด เพื่อให้แฟนพันธุ์แท้ได้ทดลองสินค้าก่อนใคร ทำให้เกิดการพูดถึงปากต่อปาก (Word of Mouth) จากกลุ่มแฟนในเฟซบุ๊ค กลายเป็นเทรนด์ใหม่ในการประชาสัมพันธ์สินค้าโดยผ่านผู้บริโภคตัวจริงนั่นเอง สำหรับนักการตลาด บ้านเราแล้ว การอินทริเกตเครื่องมือใหม่ๆ บนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเข้ากับกลยุทธ์ด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เพื่อจับกระแสนิยมหรือทดสอบพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

ข้อมูลสถิติการใช้Social network ข้อมูลการใช้สื่อดิจิตอล และการใช้มือถือในเอเชีย ประจำเดือนตุลาคม2012

ข้อมูลสถิติการใช้Social network ข้อมูลการใช้สื่อดิจิตอล และการใช้มือถือในเอเชีย ประจำเดือนตุลาคม2012 จำนวนประชากรในเอเชีย มีอยู่ประมาณ 3,784,644,000 คน จำนวนประชากรในเอเชีย มากกว่าประในUSA 12 เท่า จำนวนประชากรในเอเชีย คิดเป็น54%ของประชากรทั้งโลก จำนวนประชากรในเอเชีย อยู่ในวัยทำงาน 57% จำนวนประชากรในเอเชีย มากกว่าครึ่งหนึ่ง อายุน้อยกว่า 30 ปี จำนวนประชากรในเอเชีย กลุ่มวัยกลางคน29.55% จำนวนประชากรในเอเชีย อายุต่ำกว่า15ปี (วัยพึ่งพิง) 26% We Are Social’s Guide to Social, Digital and Mobile in Asia (2nd Edition, Oct 2012) from We Are Social Singapore

Samsung galaxy S3 VS iPhone5

รูปภาพ
Marketing3.0  เป็นยุคของการทำการตลาดไม่ใช่แค่สร้างแบรนด์ให้โดดเด่นดึงดูดลูกค้าเข้ามาหา (Marketing1.0) หรือ รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าสร้างประสบการณ์ที่ดี(Marketing2.0) แต่ต้องสร้างให้ลูกค้ามาติดตามสนใจ ใส่ใจในแบรนด์ของเรา หรือเรียกว่าเป็นสาวกเลยให้จงได้ แบรนด์ที่เป็นตัวอย่างชัดเจนมากที่สุดแบนด์หนึ่งคือ Apple  มีเวปของแฟนคลับมากมาก มีคนเขียนถึงเล่าเรื่องราวบอกต่อๆกันมากที่สุดแบรด์หนึ่งของโลก หากมีใครมาแหย่ แบรนด์ที่เราชอบสาวกย่อมไม่ยอมเป็นธรรดา แถมไม่นิ่งดูดายด้วยด้วย ยกตัวอย่างที่ หลักเปิดตัวสินค้าใหม่ iPhone5 สาวกร้องยี้ (แต่ก็จะซื้อ) Samsung เห็นได้ทีรีบออก Ad ตัวหนึ่งออกมาเพื่อเทียบให้ดูในสิ่งที่เหนือกว่า ไม่นานนัก เรียกว่าไม่ทันข้ามวัน ก็เจอเหล่าสาวกของขึ้น ออกมาปกป้องแบรนด์ที่เรารัก ไม่ต้องมาดูอะไรมาก แกมันน่าเกลียด อี๊ นังพลาสติก ของขั้นเลิศกว่ายาวกว่านะ ยาวกว่าเมื่อกี้แถมยังมีอะไรมากกว่าที่แกรู้นะ พาดหัวให้ใหม่เลย จะมีแบรนด์ไหนในโลกที่ทำได้อย่างนี้มั๊ยเนี่ย หวังว่าจะมีแบรนด์ไทยซักแบรนด์เป็นได้เช่นนี้

Public Relationship Strategy(การประชาสัมพันธ์เชิงรุก) for SME

  ดร.พจน์ แนะว่า “เป้าหมายขององค์กรอยู่ที่ลูกค้าต้องเป็นศูนย์กลาง  เพราะหากลูกค้าไม่พอใจก็จะเกิดการร้องเรียน  ซึ่งนอกจากไม่เป็นไปในทิศทางที่ต้องการแล้วจะส่งผลเสีย เป็นอุปสรรคถึงภาพลักษณ์องค์กรได้  และ การที่เรามีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนก็จะทำให้คนจำองค์กรได้ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง แบบพนักงาน บุคลิกหรือสีขององค์กร ที่นำไปสู่ความผูกพันธ์แนบแน่นกับองค์กร และยังนำมาซึ่งมูลค่าทางการตลาด ก็คือการที่ลูกค้าหันมาเลือกใช้สินค้าและบริการมากขึ้นนั่นเอง” เราควรจะต้องสื่อสารกลยุทธ์อย่างไรในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรเพื่อให้เป็นไปในทิศทางและเป้าหมายที่ต้องการ ดร.พจน์ เสนอเครื่องมือ (Communication Tools) ในการสร้างภาพลักษณ์ไว้ดังนี้ 1. ต้องมีการเน้นย้ำเผยแพร่ข่าวสาร (Publicity) อย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างให้เกิดการจดจำองค์กรให้ได้ 2.  มีกลยุทธ์ในการใช้สื่อต่างๆ (Media Strategies) ทั้งสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อส่วนกลางหรือสื่อท้องถิ่น รวมถึงสื่ออื่นๆ โดยที่เนื้อหาจะต้องมีความแปลกใหม่ฉีกแนวและน่าสนใจ 3. มีการรุกด้านชุมชนสัมพันธ์ (Community relations) จะต้องทำให้ชุมชนรอบข้างรู้สึกว่าองค์กรเราเป็นเ