ข้อมูลเปรียบเทียบ 7-Eleven, BigC mini, CJ Express และ Top Daily

เกมส์รุกเต็มสูบของเจ้าสัว
GAME ON
Convenience store




ในเกมส์ออนไลน์ดูเหมือนเจ้าสัวไทยแต่ละคนแทบไม่มีบทบาทในตอนนี้ ถามว่าทำไม ก็เพราะมูลค่าธุรกิจในบ้านเรายังมีส่วนของการบริโภคผ่านการซื้อปลีกอยู่มากนั่นเอง หากวันนี้เราเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีสินค้าในมืออยู่มากเราจะเลือกทุ่มเททรัพยากรไปทางด้านไหน

การทำให้สะดวกสบายคือไม้ตายของการทำธุรกิจ
ส่วนผสมการตลาดที่สำคัญตัวหนึ่งคือ Place จากเดิมคือเราแปลมันว่าช่องทางจัดจำหน่าย แต่เมื่อถึงยุคที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เราเปลี่ยนคำนี้เป็นคำว่า Convenience เมื่อทุกๆอย่างไม่แตกต่างกันนัก คนที่ชนะคือ คนที่ให้บริการได้สะดวกที่สุด

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ธุรกิจในประเทศไทยหลายแห่งต้องขายหุ้น หรือ รับเพิ่มทุนจากต่างชาติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ทั้งในเรื่องการเพิ่มสภาพคล่องของกระแสเงินสด หรือต้องการการถ่ายทอดเทคโนโลยยี เครือเซ็นทรัล ขายบิ๊กซี เครือซีพีขายโลตัส ได้ฝรั่งมาบริหารถ่ายทอดความรู้เรื่องการค้าปลีก แต่ก็ใช่ว่าต่างประเทศจะเข้าใจคนไทยได้ดีกว่าและการบริหารคนการบริการของไทยก็ไม่เป็นรองใคร เจ้าสัวที่มีทุนก็ซื้อ ก็ควบรวมกิจการห้างขนาดใหญ่มาอยู่ในมือทั้งหมด ต่างชาติม้วนเสื่อหอบเงินทองกลับบ้านหมดทุกราย

ตั้งแต่ กลุ่มคุณเจริญ ซื้อ ​BigC คาร์ฟู กลุ่มคุณธนินทร์​ ซื้อ โลตัส ซื้อแม็คโคร กลับมา ส่วนกลุ่มเซ็นทรัลก็ปรับตัวขยาย ​Tops จนเติบใหญ่แข็งแรง สมรภูมิค้าปลีกขนาดใหญ่ อิ่มตัว ห้างขนาดใหญ่กลายเป็นยานแม่กระจายสินค้า ลงลึกไปถึงภูมิภาคครบ จากนี้ก็ถึงเวลาเปิดศึกของยานลูกลงเข้ายึดพื้นที่

ยานลูกที่ว่านี้คือ Convenience store
วันนี้จึงอยากชวนมาส่องกลยุทธ์และภาพที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อที่แต่ละรายเริ่มเปิดแผนมาให้เราได้ชมกัน

เริ่มจากเจ้าสัวเจริญ​
1.ร้านโดนใจ (บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ หรือ BJC)

หลังจากที่เจ้าสัว "เจริญ สิริวัฒนภักดี" แห่งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย มีแผนจะบุกร้านของชำ 30,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนโฉมให้กลายเป็น "ร้านโดนใจ" ธุรกิจร้านสะดวกซื้อในเครือของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) ภายในปี 2570

สำหรับกลยุทธ์ของ "โดนใจ" ในการบุกตลาดร้านสะดวกซื้อนั้น เน้นไปที่การแปลงโฉมร้านโชห่วยที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งด้านสินค้า บริการ และการตกแต่งร้าน ด้านสินค้า โดนใจ จะเน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงสินค้าท้องถิ่นและสินค้าตามฤดูกาล เพื่อให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าในชุมชน

ส่วนบริการ โดนใจ จะเน้นบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น บริการฝากเงิน ถอนเงิน เติมเงินมือถือ ชำระเงินค่าบริการต่างๆ และบริการจัดส่งสินค้า

โดนใจไม่ได้มาเดี่ยวๆ แต่มีขุมกำลังสำคัญจาก BigC เป็นผู้สนับสนุนโดย BigC จะเป็นโมเดลของบริษัททำร้านเอง แต่โดนใจจะพันธมิตรธุรกิจ เป็นเจ้าเอง มีอิสระในการเลือกสินค้า มีที่ปรึกษา มีเทคโนโลยี มีมาตรฐาน โดยให้ทีมงานเข้าไปช่วยปรับโฉมร้านใหม่ ให้กำไรจากการขายเต็มจำนวน มีระบบจัดการร้านค้า จัดโปรโมชั่นร่วมกันได้

สำหรับผลการดำเนินงานช่วงไตรมาส 2/66 มีกำไร 1,209.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 1,203.09 ล้านบาท โดยมีรายได้รวมในไตรมาส 2/66 เท่ากับ 42,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.4% โดยเพิ่มขึ้นจากยอดขายและรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 39,402 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,299 ล้านบาท หรือ 3.4% จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และเทคนิค และค้าปลีกสมัยใหม่ ในขณะที่รายได้อื่นรวมอยู่ที่ 3,375 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 122 ล้านบาท หรือ 3.8% เนื่องจากรายได้อื่นของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เพิ่มสูงขึ้น จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของรายได้ค่าเช่า

สำหรับหุ้น BJC ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแคป 121,235.85 ล้านบาท P/E 24.13 เท่า ราคาปิด ณ วันที่ 6 ต.ค.66 ที่ 30.75 บาท

2.ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (บมจ.ซีพี ออลล์ หรือ CPALL)

ปัจจุบันมี 14,215 สาขา และเตรียมเปิดใหม่อีก 114 สาขา ทั่วประเทศประเทศไทย ล่าสุดกลุ่มซีพี ออลล์ ได้เปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีกที่ สปป.ลาว ในนครหลวงเวียงจันทน์ เป็นสาขาแรก

ในไตรมาส 2 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการรวม 102,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.1% YOY และเพิ่มขึ้น 8.3% QOQ โดยสัดส่วนของรายได้จากการขาย 75.5% มาจากสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และ 24.5% มาจากสินค้าอุปโภค

ทั้งนี้พบว่าปี 2566 ที่ผ่านมา รายได้ธุรกิจร้าน 7-Eleven มีจำนวน 399,558 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44,585 ล้านบาท หรือเติบโต 12.6% YOY และมีกำไรธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 15,403 ล้านบาท เติบโต 35.1%

คนเข้าใช้บริการต่อวันทำสถิติใหม่
ปี 2566 มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 965 คน
ปี 2565 มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 916 คน
ปี 2564 มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 805 คน
ปี 2563 มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 949 คน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวอาจจะยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนพรีโควิด (ปี 2562) ที่มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 1,187 คน

ยอดขายต่อร้านต่อวันแตะ 8 หมื่นบาท
ปี 2566 มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 80,837 บาท
ปี 2565 มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 76,582 บาท
ปี 2564 มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 65,928 บาท
ปี 2563 มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 70,851 บาท
โดยถือว่าปี 2566 ร้าน 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันปรับตัวเพิ่มขึ้น 4,255 บาท เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งอาจจะยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนพรีโควิด (ปี 2562) ที่อยู่ประมาณ 82,928 บาท แต่ถือว่าเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง

ยอดซื้อต่อบิล 83 บาท
ปี 2566 มียอดซื้อต่อบิล 83 บาท
ปี 2565 มียอดซื้อต่อบิล 84 บาท
ปี 2564 มียอดซื้อต่อบิล 82 บาท
ปี 2563 มียอดซื้อต่อบิล 75 บาท
ปี 2562 มียอดซื้อต่อบิล 70 บาท
รายได้เกือบ 4 แสนล้าน สูงกว่าพรีโควิด
ปี 2566 มีรายได้ขายสินค้าและให้บริการ 399,558 ล้านบาท
ปี 2565 มีรายได้ขายสินค้าและให้บริการ 354,973 ล้านบาท
ปี 2564 มีรายได้ขายสินค้าและให้บริการ 290,228 ล้านบาท
ปี 2563 มีรายได้ขายสินค้าและให้บริการ 300,705 ล้านบาท
ทั้งนี้นับเป็นตัวเลขสูงกว่าระดับก่อนพรีโควิด (ปี 2562) ที่มีรายได้ 334,061 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่าปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 ไปแล้ว

กำไรร้าน 7-Eleven นิวไฮ
ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 15,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.1%
ปี 2565 มีกำไรสุทธิ 11,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.21%
ปี 2564 มีกำไรสุทธิ 9,032 ล้านบาท ลดลง 36.8%
ปี 2563 มีกำไรสุทธิ 14,298 ล้านบาท ลดลง 29.1%
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขกำไรยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนพรีโควิด (ปี 2562) ที่มีกำไรสุทธิระดับ 20,180 ล้านบาท

ทั้งนี้ในปี 2566 กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน ซึ่งร้าน 7-Eleven ได้ปรับแผนกลยุทธ์โดยคำนึงถึงการรักษาฐานลูกค้าเดิม และขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ ๆ โดยนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ พร้อมกับโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า

และเพิ่มรูปแบบของช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการด้วยความสะดวก ในการซื้อผ่านทั้งรูปแบบร้านสาขา ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) รวมไปถึงแพลตฟอร์มบนช่องทางออนไลน์

ได้แก่ 7Delivery ที่เป็นการให้บริการสั่งและส่งสินค้าตามความต้องการ (On-demand Delivery) และ All Online ห้างใกล้บ้าน ที่เพิ่มทางเลือกให้บริการสั่งและส่งสินค้าถึงปลายทางตามที่ลูกค้าเลือกหรือรับสินค้าที่ร้านสาขา

สาขาทั่วประเทศ 14,545 แห่ง
สำหรับจำนวนสาขาร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ จนถึงสิ้นปี 2566 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 14,545 สาขา แบ่งเป็น

ร้านของ CPALL จำนวน 7,336 สาขา (คิดเป็น 50%) เพิ่มขึ้น 497 สาขา YOY
ร้าน Store Business Partner (SBP) จำนวน 6,335 สาขา (คิดเป็น 44%) เพิ่มขึ้น 191 สาขา
ร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 874 สาขา (คิดเป็น 6%) เพิ่มขึ้น 19 สาขา
โดยปีที่แล้วได้ขยายสาขาใหม่ไปจำนวน 707 สาขา ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะขยายสาขาทั้งหมด 700 สาขา

งบฯเปิดสาขา-ปรับปรุงร้าน 6.7-7.5 พันล้าน
นายเกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน CPALL รายงานว่า แนวโน้มธุรกิจร้าน 7-Eleven ในปี 2567 วางแผนจะพัฒนาช่องทางการขายสินค้าและบริการ ทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการขยายเครือข่ายร้านสาขาต่อเนื่องไปตามการขยายตัวของชุมชน โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ

แหล่งท่องเที่ยว และทำเลที่มีศักยภาพอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยบริษัทวางแผนที่จะลงทุนเปิดร้านสาขาใหม่ในประเทศไทยอีกประมาณ 700 สาขาในปี 2567 และมีเป้าหมายที่จะเปิดร้านใหม่เพิ่มในประเทศกัมพูชา และในสปป.ลาว ในปี 2567 อีกด้วย

โดยประมาณการใช้งบลงทุนประมาณ 12,000-13,000 ล้านบาท

เปิดร้านสาขาใหม่ประมาณ 3,800-4,000 ล้านบาท
ปรับร้านเดิม 2,900-3,500 ล้านบาท
ลงทุนโครงการใหม่, บริษัทย่อยและศูนย์กระจายสินค้า 4,000-4,100 ล้านบาท
สินทรัพย์ถาวรและระบบสารสนเทศ 1,300-1,400 ล้านบาท

โดยมมียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวัน 83,558 บาท เพิ่มขึ้น 6.1% QOQ และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมเพิ่มขึ้น 7.9% YOY โดยมียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณ 84 บาท อยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส 1/2566 ขณะที่จำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 995 คน เพิ่มขึ้น QOQ โดยไตรมาส 1/2566 มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 941 คน

สำหรับหุ้น CPALL ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแคป 550,214.96 ล้านบาท P/E 35.78 เท่า ราคาปิด ณ วันที่ 6 ต.ค.66 ที่ 61 บาท

3.Tops Daily (บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC)

หลังจากที่ยกเลิกกิจการ FamilyMart และเปลี่ยนมาเป็น Tops Daily หรือ ท็อปส์ เดลี่ ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ Tops Daily เป็นร้านสะดวกซื้อ มีขนาดพื้นที่ 600 - 1,000 ตารางเมตร จำหน่ายสินค้า อาหาร และบริการแบบมินิซูเปอร์มาร์เก็ต มีสาขากระจายทั่วประเทศ ทั้งแบบภายในศูนย์การค้า และแบบร้านค้า Standalone

ปัจจุบันมีสาขาประมาณ 290 สาขาทั่วไทย แบ่งเป็น (ชื่อเดิม) ท็อปส์มาร์เก็ตและท็อปส์ซูเปอร์สโตร์ 138 สาขา, ท็อปส์เดลี่ 135 สาขา, เซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ 14 สาขา ท็อปส์ไฟน์ ฟู้ด 12 สาขา และท็อปส์คลับ 1 สาขา ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการรีแบรนด์ไปแล้วประมาณ 22 สาขา

โดยในปีนี้ เซ็นทรัล รีเทลปรับกลยุทธ์เน้นความยืดหยุ่นนี้สอดรับกับแผนที่จะหันมาผลักดันแบรนด์ Tops ขึ้นเป็น Food Discovery & Destination และเบอร์ 1 Food Omni Retailer ด้วยการขยายสาขา Tops อีก 15 สาขา ครอบคลุมประเทศไทยและเวียดนาม

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม และอิตาลี บริหารงานใน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ฟู้ด แฟชั่น ฮาร์ดไลน์ พร็อพเพอร์ตี้ และเฮลท์แอนด์เวลเนส โดยมีแบรนด์ในเครือทั้งหมด 32 แบรนด์

โดยผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก เซ็นทรัล รีเทล สามารถกวาดรายได้ถึง 123,208 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 113,100.45 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 3,735.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 2,690.31 ล้านบาท และไตรมาส 2/66 มีรายได้รวม 60,002 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,567 ล้านบาท

สำหรับหุ้น CRC ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแคป 238,224.50 ล้านบาท P/E 28.98 เท่า ราคาปิด ณ วันที่ 6 ต.ค.66 ที่ 39.00 บาท

4.CJ MORE (บมจ.คาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG)

ย้อนกลับไปในปี 2548 CJ Express ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พี.เอส.ดี รักษ์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่ จ.ราชบุรี โดยอยู่ภายใต้การบริหารของ ‘วิทย์ ศศลักษณานนท์’

โดย CJ Express ถูกวางมาให้เป็นร้านสะดวกซื้อที่ขายสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ครบครันในราคาประหยัด เริ่มแรกนั้นวางหลักปักฐานในภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นหลัก เช่น ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ

แต่หมุดหมายสำคัญมาอยู่ที่ปี 2556 ในตอนนั้น CJ Express ขยายธุรกิจมาได้ราว 200 สาขา ‘เสถียร เศรษฐสิทธิ์’ ประธานกรรมการบริหาร และหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของคาราบาวกรุ๊ป เจ้าของเครื่องดื่ม ‘คาราบาวแดง’ พร้อมด้วยพันธมิตร เข้ามาเป็นซื้อหุ้นกว่า 80% นั่งแท่นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด

เมื่อจุดเริ่มต้นมาจากราชบุรี ‘เสถียร’ จึงใช้กลยุทธ์ ‘ป่าล้อมเมือง’ ในการขยายสาขา เขาเดินหน้าขยายสาขาไปในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงเขยิบเข้าใกล้กรุงเทพฯ และปริมณฑลมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งส่วนใหญ่สาขาที่เปิดใหม่จะใช้ชื่อว่า CJ Supermarket ซึ่งเป็นโมเดลที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่า และมีบริการต่างๆ เพิ่มเติมเข้ามา

ส่วน CJ Express เป็นร้านขนาดเล็กกว่า ในสาขาที่มีพื้นที่และทำเลมีศักยภาพ จึงจะเพิ่มบริการอื่นๆ เข้ามา แต่ยังใช้ชื่อเดิมเพราะเป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภคอยู่แล้ว

เสถียร เศรษฐสิทธิ์ แห่งคาราบาวแดง จับมือกลุ่มผู้ถือหุ้นในคาราบาวกรุ๊ป ‘แอ๊ด คาราบาว’ หรือ ยืนยง โอภากุล และณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ เปิดธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต (CJ Supermarket), ซีเจ มอร์ (CJ MORE) และ ร้าน ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’

บริษัทมีแผนตั้งงบประมาณปี 2566 ไว้ที่ 3,000 ล้านบาท กับการรีโนเวตสาขาเก่า ปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้า และขยายสาขาเพิ่ม 250 สาขา แบ่งเป็น ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต 150 สาขา และซีเจ มอร์ 100 สาขา ซึ่งในครึ่งปีได้เปิดไปประมาณ 100 สาขาแล้ว และตั้งเป้าที่จะเปิดให้ได้ 250 สาขาติดกันประมาณ 3-4 ปี

โดยจะเน้นทำเลกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้สิ้นปี 2566 ซีเจจะมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศรวม 1,100 สาขา จากเมื่อปี 2565 ขยายเพิ่ม 240 สาขาในทำเลภาคอีสานเป็นหลัก และในปีนี้ได้มีการหยุดขยายตัวในภาคอีสาน ดันรายได้อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้า

ทั้งนี้ ตั้งเป้าภายในปี 2569 จะขยายสาขาซีเจให้ครบ 2,000 สาขา แบ่งเป็น CJ Express 1,500 สาขา CJ MORE 500 สาขา จะสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 40,000 ล้านบาท กำไรมากกว่า 2,500 ล้านบาท และภายในในปี 2573 ซีเจ จะขยายครบ 3,000 สาขา พร้อมกับสร้างรายได้โตกว่า 100,000 ล้านบาท ขณะที่ ร้าน ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ จะขยายสาขาได้ครบ 8,000 แห่งภายในปีนี้

ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาส 2/66 ของ CBG กำไรสุทธิ 481.52 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.48 บาท ลดลง 35% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 742.45 ล้านบาท ขณะที่ผลงานงวด 6 เดือน 2566 กำไรสุทธิ 745.31 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.74 บาท ลดลง 47%เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,402.71 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 1.40 บาท

สำหรับหุ้น CBG ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแคป 76,500.00 ล้านบาท P/E 46.97 เท่า ราคาปิด ณ วันที่ 6 ต.ค.66 ที่ 74.50 บาท

5.Lawson108 (ลอว์สัน) (บมจ.สหพัฒนพิบูล หรือ SPC)

บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด ร่วมทุนกับบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC ที่ปรับเปลี่ยนจากร้าน 108 shop ร่วมกับกลุ่มลอว์สัน อิงค์ ที่เป็นร้านสะดวกซื้อระดับพรีเมี่ยม สไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งมีสาขาหลายสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น

โดยในช่วงปี 2563 ระบุว่า มีสาขาทั้งหมด 142 สาขา ให้บริการบนพื้นที่ที่หลากหลาย ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะสาขาภายในสถานีรถไฟฟ้า มุ่งเน้นความสะดวกให้กับลูกค้า และเน้นเจาะกลุ่มคนวันทำงาน คนรุ่นใหม่

สำหรับหุ้น SPC ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแคป 20,377.50 ล้านบาท P/E 10.83 เท่า ราคาปิด ณ วันที่ 6 ต.ค.66 ที่ 62.00 บาท

แล้วธุรกิจ SME อย่างเพื่อนๆสามารถสร้างโอกาสจากการแข่งขันกันของยักษ์นี้ได้อย่างไรบ้าง

1. เจ้าของสินค้า มองหาโอกาสในการขายสินค้ากับห้างเหล่านี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำให้ลูกค้าสะดวกในการซื้อมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกสินค้าเฉพาะสำหรับห้างนั้นๆ หรือ ปรับสินค้าให้มีขนาดเล็กลงเหมาะกับห้างแต่ละชนิด
ธุรกิจขายอาหาร: ธุรกิจ SME สามารถผลิตอาหารพร้อมทานและนำไปจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ
ธุรกิจขายเครื่องดื่ม: ธุรกิจ SME สามารถผลิตเครื่องดื่มและนำไปจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ
ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค: ธุรกิจ SME สามารถผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและนำไปจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ

2. ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก การมองรูปแบบพันธมิตรกับร้านค้าเหล่านี้ก็น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ ของ 7-11 / Tops daily / lawson หรือ พันธมิตรกับร้าน โดนใจ / ถูกดีมีมาตรฐาน

3. คนที่มีสถานที่ ร้านค้าเหล่านี้กำลังขยายมองหาพื้นที่จำนวนมาก เป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าที่ดิด แบ่งที่ให้ค้าปลีกเหล่านี้เช่า ที่ที่เหลือจะเพิ่มมูลค่าทันที

4.ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างบริการซ่อมบำรุง ในส่วนภูมิภาคเข้าร่วมให้บริการ รับสร้างรับซ่อมร่วมกับกลุ่มร้านค้าปลีกเหล่านี้

5. บริการขนส่งสินค้า ที่เชื่อมต่อกลับศูนย์กระจากสินค้า ส่งไปยังร้านค้า หรือ รับขนส่งสินค้าไปยังศูนย์กระจายสินค้าให้ SME

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

รับชำระเงินด้วย อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ทำยังไง