ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ 3 กลยุทธ์รับAEC

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ
งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ SMEs Roadmap : เปิดแนวรุกบุก AEC
จัดโดยสำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2555 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ ถนนบรรทัดทอง กรุงเทพฯ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ หนึ่งในกูรูด้านการตลาดและยุทธศาสตร์ระดับอ๋องของเมืองไทยสะพานเชื่อมข้อมูลวิชาการสู่ผู้ประกอบการแบบเข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้จริงได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจในงาน SMEs Roadmap




การที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ตลาดใหญ่ขึ้นเป็น 10 เท่า ความโชคดีของประเทศไทย คือ ทำเลที่ตั้งอยู่ตรงกลาง เมื่อประเทศไหนจะเข้ามาค้าขายในอาเซียน ต้องอาศัยเส้นทางผ่านประเทศไทย แต่พอพูดถึงการจัดอันดับทางเศรษฐกิจในอาเซียน ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง อันดับ ที่ 4 - 5 ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน เพราะ เมื่อเราอยู่ตรงกลาง เป็นโอกาสให้เรามองดูตัวเองว่า เราจะไปแข่งกับใคร ที่สำคัญต้องรู้จักว่า เรามีความสามารถขนาดไหน ถ้ามีความสามารถมาก ก็ขึ้นไปขายในกลุ่มประเทศที่เหนือ เราอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ถ้าต้องการแข่งกับคนที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเรา อย่าง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม แต่ถ้าจะมองประเทศที่ต่ำกว่าเรา ไปที่พม่า กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย


ที่สำคัญ คือ SMEs ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลง เพราะหลังจากมีการรวมกลุ่ม 10 ประเทศเป็น AEC สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ ประชากร ครึ่งหนึ่ง เป็นแขก มุสลิม อย่างน้อยต้องรู้ภาษาแขก ภาษาอังกฤษ รู้วัฒนธรรมประเพณี การบริโภคสินค้า เพื่อที่จะได้หันมามองว่า จะผลิตอะไรและขายให้ใคร ที่สำคัญอย่าจับปลาหลายมือ ควรที่จะเลือกขายประเทศใดประเทศหนึ่ง เพียงประเทศเดียว และเข้าไปศึกษาอย่างจริงจัง แบบฝั่งตัว



วางแผนยุทธศาสตร์รับมือ AEC



การวางแผนธุรกิจ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้เราก้าวผ่านพ้นไปสู่คำว่า ความสำเร็จ ซึ่งเป้าหมาย ของการดำเนินการอยู่ที่การลดค่าใช้จ่าย ด้านงบประมาณ และการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร ได้อย่างคุ้มค่า



การวางแผนที่สำคัญ คือ การวงแผนกลยุทธ์ ซึ่งประกอบไปด้วย วิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดทิศทางที่จะทำธุรกิจในอนาคต โดยต้องมีกลยุทธ์ (Strategy) เป็นตัวระบุวิธีการสำคัญ และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีการขับเคลื่อน (Execution) ได้แก่ การดำเนินการตามแผนอย่ามองไปในทางเดียวกัน (Alignment) และมีการบูรณาการ (Integrating) ให้มากที่สุด เพื่อผลสำเร็จของงานตามวิสัยทัศน์นั่นเอง



การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic plan) คือ การวางแผนที่มองวิสัยทัศน์แบบองค์รวม เพื่อการขับเคลื่อนในทางธุรกิจ ไปพร้อมกันในหลายๆ หน่วยงาน เริ่มจาก การวางแผนระดับนโยบาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของ CEO หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย คณะกรรมการ ซึ่งมักจะเรียกแผนยุทธศาสตร์ 4 ประการ คือ 1. วิสัยทัศน์ธุรกิจ (Vision) คือ เป้าหมายขององค์การที่วางแผนจะดำเนินการในระยะยาว มีหลักเป็นรายปี ซึ่งสามารถวัดได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์นั่นหรือไม่ เพียงใด 2.พันธกิจธุรกิจ (Mission) หมายถึง เหตุผลในการจัดตั้งองค์การนั่น 3.นโยบายสำคัญ (Key policy) ข้อห้าม และข้อพึงปฏิบัติ ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ 4.กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง แนวทางหลักที่ได้คัดสรรแล้ว ในการเป็นกรอบในการขับเคลื่อนในทางธุรกิจ จะได้มีพลังและใช้ทรัพยากรอย่างเสริมกัน แบบมีผลิตภาพ



สำหรับคุณสมบัติของยุทธศาสตร์ ระดับองค์การจะเน้นหนักไปในเรื่องพิเศษ 5 ข้อได้แก่ 1. การมองภาพและการวางแผนเป็นองค์รวม 2. การวางแผนเพื่อดำเนินการหลายๆปี 3. การดำเนินการมากกว่า 1 สายงาน 4.การมีทางเลือก และการคัดสรร และ 5. การใช้ภาวะผู้นำบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลักในกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ ผู้วางแผนมักจะเรียกว่าการทำ SWOT ซึ่งย่อมาจาก S คือ Strengths (จุดแข็ง) W คือ Weakness(จุดอ่อน) O คือ Opportunities (โอกาส) และ T คือ Threats (ภัยคุกคาม) ซึ่งในส่วน ของ S กับ W เป็นส่วนของข้อเท็จจริงภายในองค์การ ส่วน O และ T เป็นส่วนของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ



ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมิน สิ่งแวดล้อมภายใน หมายถึง การตรวจพิสูจน์อย่างจริงจังว่า จุดแข็ง ที่ควรเน้นและนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย ในขณะเดียวกันก็ต้องเฝ้าระวังจุดอ่อน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เหมือนระเบิดเวลา และหลังจากที่เราได้แผนกลยุทธ์แล้ว ก็ต้องแปลงเป็นแผนการขับเคลื่อนในทางธุรกิจ โดยได้กำหนดตัวตรวจเช็คที่สำคัญ 2 ชุด คือ เครือข่าย S 7 ตัวของ แมค แคนซี่ ประกอบด้วย Structure โครงสร้าง System ระบบ Strategy กลยุทธ์ย่อย Staff คุณค่าของคน Skill ทักษะ Style สไตล์การทำงาน และสุดท้าย Shared Value ค่านิยมร่วม



ส่วนชุดตรวจเช็ค ชุดที่ 2 คือ BSC Balance Score Card โดยการแปลงกลยุทธ์มาเป็นการขับเคลื่อน โดยต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ ต่อเจ้าของเงิน ที่ให้เงินมาลงทุน FP ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย CP คำนึงถึงระบบการบริหารงานภายในIBS ความพร้อมในการเรียนรู้และเติบโต L&G ส่วนการวางแผนกลยุทธ์มี 2 รอบ รอบแรก วางจากบนลงล่าง คือเจ้าของเงินFP ต่อไป CP วางแผนในรองสอง การส่งร่างแผนรอบแรกไปยังผู้ปฏิบัติ การตามแผนเพื่อให้ศึกษาร่างนั้นๆ



สุดท้ายการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ควรที่จะมีการเขียนแผนดำเนินการตั้งแต่รายเดือน รายสัปดาห์ จนถึง รายวัน โดยมีเครื่องมือต่างๆ ดังนี้ การทำงานและความสำคัญก่อน หลัง แผนผังการดำเนินงานเชิงวิกฤต และตารางดำเนินการตามลำดับชิ้นงาน จาก เครื่องมือ 3 อย่างข้างต้นจะได้ เรื่องคนและงบประมาณมาแปลงเป็นกิจกรรมการดำเนินการ และสุดท้ายคือ ต้องกำกับดูแลในระหว่างดำเนินการ

ที่มา http://www.manager.co.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน