แฟรนไชส์ คืออะไร Franchise in Thailand

เก็บตกข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ให้คำนิยาม แฟรนไชส์ไว้อ่านเข้าใจง่าย ธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์หากออกแบบธุรกิจให้ยุติธรรมทุกฝ่าย จะเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตได้มากและลดโอกาสการเดินทางผิดพลาดทางธุรกิจได้มาก เพราะเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจและให้ใช้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจโดยแบ่งผลตอบแทนกลับไปให้ผู้คิดค้นพัฒนากระบวนการ

เสริมสร้างความรู้แฟรนไชส์แก่ผู้ประกอบการ
1.      แฟรนไชส์ คืออะไร
1.1  นิยามของคำว่า แฟรนไชส์  (franchise)
                แฟรนไชส์คือกระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรธุรกิจหนึ่ง ๆ ได้พัฒนาวิธีการและรูปแบบจนได้รับการพิสูจน์ด้วยระยะเวลาแล้วว่า ประสบความสำเร็จในการประกบอการและการจัดการธุรกิจในระดับหนึ่งและได้ถ่ายทอดสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจตามวิธีการและรูปแบบดังกล่าวพร้อมกับตัวสินค้าหรือบริการให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นภายใต้ตราเครื่องหมายการค้า/บริการอันหนึ่งอันใดโดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมระหว่างบุคคล2 กลุ่ม ในข้างต้น ในบางกรณีอาจรวมถึงบุคคลอื่นด้วย
1.2  นิยามของคำว่าแฟรนไชส์ซอ
                แฟรนไชส์ซอคือบุคคลผู้เป็นเจ้าของตราหรือเครื่องหมายการค้า/บริการซึ่งได้คิดค้นและพัฒนาวิธีการอันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจที่สามารถเลียนแบบและดำเนินการโดยบุคคลอื่นได้
1.3  นิยามของคำว่าแฟรนไชส์ซี่
                แฟรนไชส์ซี่คือบุคคลซึ่งได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายและหการดำเนินการธุรกิจภายใต้รูปแบบและตราหรือเครื่องหมายการค้า/บริการอันมีแฟรนไชส์ซอเป็นเจ้าขอ
2.      ได้อะไร เสียอะไรจากแฟรนไชส์
2.1  ข้อได้เปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์คือไร
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ร่วมกันของบุคคล 2ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งขาดซึ่ง ความรู้ ความชำนาญ
               คือ แฟรนไชส์ซี่  และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์คือ แฟรนไชส์ซอ หาก  แฟรนไชส์
               ซอ ไม่สามารถสร้างให้แฟรนไชส์ซี่ประสบความสำเร็จได้ก็เป็นการยากที่แฟรนไชส์ซอจะประสบ
               ความสำเร็จได้เช่นกันในทางกลับกันหากแฟรนไชส์ซี่ประสบความล้มเหลวก็ย่อมส่งผลกระทบถึงแฟ
               รนไชส์ซอได้เช่นกันการเข้าร่วมแฟรนไนส์จึงน่าจะมีข้อได้เปรียบ
(1.)โอกาสแห่งความสำเร็จที่สูงขึ้น
ในการทำธุรกิจใดๆย่อมมีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
            เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายแต่แนวคิดของการทำแฟรนไชส์ คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้
           ผ่านกระบวนการพัฒนาของแฟรนไชส์ซอมาเป็นระยะเวลาแรมปีแล้วยังสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้โดย
            เป็นที่ยอมรับของตลาด
     (2.)ย่นระยะเวลาการเรียนรู้
                  แฟรนไชส์ซอได้ทุ่มเทเวลาและเงินไปเป็นจำนวนไม่น้อยเพื่อที่จะสร้างและพัฒนาระบบพร้อม
    กับได้บันทึกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่งออกมาเป็นคู่มือซึ่งแฟ
    รนไชส์ซี่จะได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ความรู้ที่ถูกรวบรวมไว้
    จากแฟรนไชส์ซอ
    


     (3.) เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการยอมรับ
                        เครื่องหมายการค้า/บริการเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของทุกธุรกิจและเป็นสิ่งที่
      อาจเรียกได้ว่ามีค่าสูงสุดในบรรดาทรัพย์สินต่างๆ ยิ่งเมื่อทรัทย์สินต่างๆยิ่งเมื่อธุรกิจนั้นประสบ
      ความสำเร็จทั้งนี้ก็เพราะเครื่องหมายการค้าเป็นเสมือนตัวแทนของธุรกิจต่อสายตาของผู้บริโภคที่เป็น
       เครื่องหมายที่แสดงถึงความมีคุณภาพมาตรฐาน ธุรกิจแฟรนไชส์ก้เช่นกันเนื่องจากเครื่องหมายการค้า
      เป็นสิ่งจำเป็นที่ควบคู่ไปกับการให้สิทธิ์แฟรนไชส์ซอได้ผ่านการดำเนินการมาระยะเวลาหนึ่งตราหรือ
      เครื่องหมายทางการค้า/บริการของแฟรนไชส์ซอ ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและยอมรับในระดับหนึ่งของ
      ผู้บริโภค
        (4.)การประหยัดต่อขนาดจากการซื้อทีละมากๆ
                        ผู้ประกอบกิจการขนาดย่อมโดยทั่วไปมักพบว่าเป็นเรื่องยากั้ตนจะสามารถซื้อสินค้าและ
       บริการในราคาถูกเนื่องจากปริในการสั่งซื้อที่น้อยอย่างไรก้อตามเมื่อมีการทำแฟรนไชส์ซอสามารถ
      รวบรวมความต้องการสั่งซื้อสินค้าของแฟรนไชส์ซี่เข้าด้วยกันและเพิ่มอำนาจต่อรองของตนทำให้
      สามารถซื้อสินค้าและบริการในต้นทุนที่ถูกลงและแฟรนไชส์ซี่ย่อมได้รับสินค้าหรือวัตถุดิบในราคาที่ถูก
      ลงตามไปด้วย
(5) การโฆษณาและสนับสนุนการขายร่วมกัน
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเท่านั้นจึงจะสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการโฆษณาโดยเฉพาะการโฆษณาที่อาศัยสื่อแพงๆ เช่นหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น
ธุรกิจอิสระขนาดเล็กๆเป็นจำนวนมากที่มีสาขาน้อยเพราะเงินทุนไม่พอ การลงทุนค่าใช้จ่ายโฆษณา
              ยิ่งเกิดขึ้นได้ยากโดยเฉพาะการโฆษณาในระดับภาคหรือระดับประเทศ เห็นได้จากตัวอย่างจากร้านค้า
              ดังๆในจังหวัดต่างๆซึ่งก็ดูเป็นผู้นำในตลาดมีลูกค้ามากมาย แต่ก็ไม่สามารถจะลงทุนในการโฆษณา
              เพื่อสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์
แต่ด้วยเหตุที่การขยายตัวของแฟรนไชส์อยู่ภายใต้เครื่องหมายเดียวกันและเมื่อมีจำนวนสาขาที่ เพิ่มขึ้นจากการลงทุนของทั้งแฟรนไชส์ซอเองและการลงทุนของแฟรนไชส์ซี่ซึ่งต่างก็เป็นกิจการร่วมระบบทำให้มีความได้เปรียบในเรื่องของความประหยัดต่อขนาดการลงทุนด้านโฆษณา ก่อให้เกิดทั้งภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีกว่าร้านค้าอิสระทั่วไปที่ขยายตัวช้ากว่าเพราะเงินทุนที่จำกัดกว่าในทำนองเดียวกันแฟรนไชส์ซอสามารถรวบรวมทรัพยาการเข้าด้วยกันเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดโฆษณาและส่งเสริมการขายร่วมกันในต้นทุนที่ต่ำนอกจากนี้การทำแฟรนไชส์ยังเป็นผลดีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งและสอดคล้องกันซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการจากแฟรนไชส์ซี่

(6) การถ่ายโอนความเชี่ยวชาญ
โดยปกติแฟรนไชส์ซอจะมีการสั่งสมประสบการณ์และควมชำนาญในการประกอบธุรกิจเมื่อมีการขายสิทธิ์ แฟรนไชส์ซอจะถ่ายทอดความรู้ต่อแฟรนไชส์ซี่เพื่อส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความสำเร็จและผลกำไรของแฟรนไชส์ซอเกี่ยวโยงกับความสำเร็จของแฟนรไชส์ซี่โดยตรง



(7) การฝึกอบรม
แฟรนไชส์ซี่ย่อมได้รับการฝึกอบรมและแนวทางจากแฟรนไชส์ซอเพื่อช่วยส่งเสริมให้ประกอบการได้ดีขึ้นภายใต้มาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียว

(8) บริการช่วยเหลือจากแฟรนไชส์ซอ
แฟรนไชส์ซี่สามารถรับบริการช่วยเหลือจากแฟรนไชส์ซอในต้นทุนที่ต่ำยกตัวอย่างเช่น ความช่วยเหลือในการรับพนักงานทางบัญชี  ย้ายที่ตั้งไปสู่ทำเลที่ดีขึ้นและอื่นๆ

            2.2 ข้อเสียเปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์คืออะไร
                                แม้ว่าการทำแฟรนไชส์ (Franchising) จะเป็นแนวคิดที่ดีแต่ก็ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ดีที่สุด
               เนื่องจากการ ทำแฟรนไชส์ยังมีข้อจำกัดหรือไม่เหมาะสมสำหรับบางคนในเรื่องต่างๆพอสรุปดังนี้

(1.)   สูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ
ดังที่ได้กล่าวว่าแนวคิดของการทำแฟรนไชส์คือการทำธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชส์ซอการดำเนินธุกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จของแฟรนไชส์ซี่ดังนั้น แฟรนไชส์ซี่จึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจ อย่างเช่นควรขายสินคิอะไรที่ราคาเท่าใด หรือเมื่อไหร่ที่จะเสนอขายสินค้าลดราคาและอื่นๆนอกจากนี้แฟรนไชส์ซี่ยังไม่สามารถตัดสินใจทำการใดๆเพียงลำพังเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแฟรนไชส์ซอ หรือของแฟรนไชส์ซี่รายอื่นๆอย่างไรก็ตามยังมีแฟรนไชส์ซอจำนวนไม่น่อยให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือกับแฟรนไชส์ซี่อย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบความต้องการของลูกค้าซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่

(2.)   ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ
แม้จะมีโอกาศสูงในการประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์แต่ก็อาจมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
ถึงแม้ในแง่ของแนวคิดนั้นแฟรนไชส์นั้นจะดูดีแต่ความเสี่ยงนั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น เรื่องเงินทุนหมุนเวียนหากขาดสภาพคล่องก็จะทำให้ธุรกิจชะงักได้ หรือหากเลือกทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสมทำให่ไม่สามารถระบายสินค้าออกได้รวมไปถึงคุณสมบัติของผู้ดำเนินธุรกิจยังไม่เพียงพอ เช่น การขาดประสบการณ์

(3.) ค่าใช้จ่ายสูง
นอกจากแฟรนไชส์ซี่ต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อให้ได้ใช้สิทธิ์ในการประกอบการแล้วก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก เช่น เงินในการลงทุนตกแต่งร้านค้ารวมไปถึงค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แฟรนไชส์ซอเพื่อเป็นค่าสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชส์ซอเมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงดังนั้นเงินจำนวนนี้จะคุ้มค่า ก็ต่อเมื่อได้รับค่าตอบแทนที่สูงเช่นกันจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุนและเซ็นสัญญาด้านการลงทุน


ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
แวะเข้ามาเยี่ยมชมบล๊อคที่เข้าประกวดครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

รับชำระเงินด้วย อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ทำยังไง