รวมข่าวความเคลื่อนไหว AEC 1-9 กรกฎาคม 2555 ถนนทุกสายมุ่งสู่พม่า
สินค้าแนะนำสำหรับคนจะลุย AEC (คลิ๊กLinkซักครั้งนะ:-)
Wednesday, July 04, 2012 05:31
17661 XTHAI XCLUSIVE XECON DAS V%PAPERL P%PTK
ณกฤช เศวตนันทน์
Thai.attorney@hotmail.com
พม่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากชนิด ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ต่างเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทางอุตสาหกรรม และเป็นที่ต้องการสูงในตลาด นอกจากนี้พม่ายังมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุด และกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างจีนและอินเดีย ดังนั้นเมื่อพม่าเปิดประเทศ โดยมีการปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง พม่าจึงเป็นเป้าหมายที่น่าเข้าไปแสวงหาโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
อย่างไรก็ดี แม้ทรัพยากรและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในพม่าจะดูหอมหวานเพียงใด แต่เท่าที่ผ่านมาการลงทุนในพม่าก็ยังคงมีอุปสรรคอยู่หลายประการ หนึ่งในอุปสรรคที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ระบบกฎหมายที่ล้าสมัยไม่มีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือไม่คุ้มครองนักลงทุน
เดิมทีก่อนพม่าจะปฏิรูปประเทศ รัฐบาลพม่าเคยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment : FDI) โดยมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติ หรือ Myanmar Foreign Investment Law (FIL) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เพื่อจูงใจให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่า
กฎหมายฉบับนี้ได้ผลพอสมควร ผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนนั้นส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับเดิมจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพม่ามีศักยภาพด้านการลงทุนที่สูงกว่านี้ ขณะที่กฎหมายการลงทุนฉบับเดิมมีขีดจำกัดด้านการลงทุนโดย ชาวต่างชาติหลายประการ เช่น ไม่สามารถถือหุ้นในกิจการได้ 100% นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ ต้องเช่าจากรัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลพม่ามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดนักลงทุน จึงเล็งเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนให้ทันสมัย มีสิทธิพิเศษ ต่าง ๆ ดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น และที่สำคัญคือต้องคุ้มครองนักลงทุน ทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจว่ากิจการของตนจะไม่ถูกแทรกแซงโดยรัฐ
ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งพม่า ได้แถลงแผนปฏิรูปขั้นที่สองผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยแผนปฏิรูปขั้นที่สองนี้จะมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจและประชาชน ซึ่งต่างจากแผนปฏิรูปขั้นที่หนึ่ง ที่รัฐบาลเน้นปฏิรูปด้านการเมืองและการปรองดองภายในชาติเป็นสำคัญ
แผนปฏิรูปขั้นที่สอง รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็น 7.7% ต่อปีภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายการลงทุนรองรับแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งประธานาธิบดีเต็ง เส่งแถลงว่า รัฐสภาจะผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ในการประชุมสภาสมัยหน้าที่จะเริ่มวันที่ 4 กรกฎาคมนี้
สำหรับกฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ของพม่านี้ มีรายละเอียดที่แตกต่างจากฉบับเดิมคือ กฎหมายฉบับใหม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35%-100% ในบริษัทท้องถิ่น โดยผู้ที่ต้องการถือหุ้น 100% จะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ในเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษี กฎหมายฉบับใหม่กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติ 5 ปี จากเดิมที่ให้แค่เพียง 2 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ จากเดิมเช่าได้เฉพาะที่ดินของรัฐ อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นการคุ้มครองคนในชาติ เช่น แรงงานไร้ฝีมือทั้งหมดในบริษัทต่างชาติต้องเป็นคนพม่า ห้าปีต่อไปแรงงานฝีมือในบริษัทต้องเป็นคนพม่า 25% เพิ่มขึ้นเป็น 50% ในห้าปีต่อไป และ 75% ภายใน 15 ปีตั้งแต่เริ่มกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะพม่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มการจ้างงานของคนในชาตินั่นเอง
การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลงทุนของพม่าในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนไทย ซึ่งเดิมทีก็มีการเข้าไปลงทุนในพม่าในกิจการหลาย ๆ ประเภทอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี พม่ายังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยที่ปะทุอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทางที่ดีแบบนี้จนถึงเมื่อใด นักลงทุนจึงควรระมัดระวังต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังคำกล่าวเตือนของออง ซาน ซู จี ในงาน World Economic Forum 2012 ที่ไทยว่า "Optimism is good but it should be cautious optimism. I have come across reckless optimism. A little bit of healthy scepticism is in order."
ซึ่งแปลได้ว่า "การมองอะไรในแง่ดีนับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรเป็นการมองในแง่ดีที่ใช้ความระมัดระวัง ดิฉันเคยมองโลกในแง่ดีแบบไม่ระวังมาแล้ว ตอนนี้การมองโลกในเชิงสงสัยตามสมควรน่าจะดีกว่า"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 - 8 ก.ค. 2555--
Monday, July 02, 2012 02:34
32 XTHAI XECON XCORP XINSURE XBANK XFINMKT DAS V%PAPERL P%PTD
...สมภพ มานะรังสรรค์
อธิการบดีสถาบันการจัดการ
ปัญญาภิวัฒน์ (PIM)
ภาคเหนือตอนบนของไทยสามารถเชื่อมกับพม่าผ่านทางด้านต่างๆ เช่น รัฐฉานของไทยใหญ่ที่มีพื้นที่เกือบ 1 ใน 4 ของพม่าทั้งประเทศ ขณะที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของพม่าคือประมาณ10% ของประชากรรวมที่ประมาณ 60 ล้านคนทั่วทั้งประเทศ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ดังนี้
- การเชื่อมด่านกิ่วผาวอกที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ไปเมืองตองจีของรัฐฉาน ซึ่งมีระยะทางน้อยกว่า 200 กม.
- จากแม่ฮ่องสอนไปเนย์ปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่าก็มีระยะทางน้อยกว่า 200 กม. เพียงแต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการเปิดด่านถาวรของทั้งสองพื้นที่ข้างต้น และยังขาดการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างกันและกัน
มูลเหตุสำคัญที่พม่าย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปกรุงเนย์ปิดอว์ก็เพื่อกระจายโอกาสในการพัฒนาประเทศเพราะเป็นจุดที่เชื่อมโยงกับรัฐต่างๆ ได้โดยง่าย หรือเป็นข้อได้เปรียบของปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และสามารถบริหารจัดการด้านความมั่นคงของประเทศได้ง่ายกว่าด้วย
นอกจากนี้ เมืองหลวงใหม่ของพม่ายังช่วยกระจายโอกาสทางการพัฒนา ให้ถอยห่างจากเมืองหลวงเดิมที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลแต่ห่างจากรัฐอื่นๆทางภาคเหนือหรือพม่าตอนบนมาก
เพราะภายหลังการย้ายเมืองหลวง จะมีการพัฒนาด้านกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบการคมนาคมขนส่งตามมาอีกมาก รวมตลอดถึงการเร่งการขยายตัวของศูนย์กลางภาคเมืองใหม่ในเมืองหลวงใหม่และอาณาบริเวณรอบๆ เช่น การเชื่อมเมืองหลวงใหม่กับย่างกุ้ง โดยที่ย่างกุ้งจะแปรสภาพเป็นเมืองท่าสำคัญ การเชื่อมเนย์ปิดอว์กับรัฐต่างๆ ทางพม่าส่วนบน และการเชื่อมต่อกับมณฑลยูนนานของจีน ที่มีการเชื่อมโยงกับพม่ามากในช่วงที่ผ่านมาและจะมีมากยิ่งขึ้นในอนาคต เมื่อพิจารณาจากการให้ความสำคัญในด้านต่างๆของจีนต่อพม่า ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง
ในด้านเศรษฐกิจนั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีนและพม่า มีแนวโน้มไปในทางบวก เข้าข่ายต่างคนต่างได้ประโยชน์
เพราะขณะที่จีนมีลำดับขั้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยอาศัยเศรษฐกิจการผลิต เช่น การผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเป็น"หัวหอก"สำคัญในการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องสร้างหลักประกันด้านปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบจำพวกผลิตภัณฑ์โภคภัณฑ์พื้นฐานต่างๆ มากนั้น พม่าที่ยังมีลำดับขั้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจการรวบรวม คือ การ "รวบรวม"ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมีอยู่มากมายมาขายให้จีนด้วยสนนราคาที่จูงใจ และเพิ่มโอกาสในการแสวงหาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศมาใช้พัฒนาประเทศพม่าที่เพิ่งเปิดตัวออกปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกภายหลังจากที่ใช้ระบบเศรษฐกิจปิดมาเนิ่นนาน
นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว พม่ายังมีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารจัดการด้านความมั่นคงของจีน ในการใช้พม่าเป็นทางผ่านในการออกสู่มหาสมุทรอินเดียที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อจีนเป็นอันมาก
ยิ่งจีนมีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆว่าด้วยปัญหาเขตแดนในทะเลจีนตอนใต้ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆของจีนด้วยแล้ว ความจำเป็นในการหาทางออกสู่ทะเลผ่านทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางมณฑลยูนนานที่เป็นมณฑลที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ก็ยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้เป็นเพราะเส้นทางของมหาสมุทรอินเดียที่เชื่อมต่อกับช่องแคบมะละกาและลอมบ็อก ไม่เพียงเป็นเส้นทางลำเลียงสำคัญของสินค้าทั่วๆ ไปเท่านั้น หากยังจำเป็นต่อการลำเลียงขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางอันเป็นแหล่งอุปทานน้ำมันที่สำคัญที่สุดของจีน สู่จีนโดยทางทะเลอีกด้วย
นอกจากการลำเลียงขนส่งผ่านทางทะเลข้างต้นแล้ว พม่ายังเป็นทางเลือกสำคัญของการขนส่งผลิตภัณฑ์พลังงานไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบสู่แผ่นดินมังกร โดยทางมณฑลยูนนาน โดยผ่านระบบการขนส่งทางท่อหรือโดยทางรถไฟอีกด้วย
จากแผนการความร่วมมือในด้านต่างๆ ของพม่าและจีน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และด้านที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เช่น ด้านสังคมการเมือง และความมั่นคง จะยิ่งส่งให้แดนโสร่ง "เนื้อหอม"มากยิ่งขึ้น ที่จะ "กวักมือ"ให้ประเทศมหาอำนาจอื่นๆที่มองว่าจีนเป็นคู่แข่ง ต้องยิ่งหาทางเข้าสู่พม่ามากยิ่งขึ้นไปอีก
พลวัตพม่า ที่ปัจจุบันมีขนาดของมูลค่า GDP เพียงประมาณหนึ่งในสิบของ GDP ไทย ขณะที่มีประชากรไล่เลี่ยกับไทย (พม่าและไทยมีประชากรประมาณ 60 ล้าน และ 65 ล้านคนตามลำดับ) แต่มีขนาดของพื้นที่ใหญ่กว่าไทยมาก (พม่ามีพื้นที่ประเทศประมาณ678,000 ตร.กม. ขณะที่ไทยมีประมาณ 513,500 ตร.กม.) จะส่งแรงกระเพื่อมต่อไทยเป็นอันมากโดยเฉพาะในอาณาบริเวณที่มีเขตแดนติดกับพม่ามากๆ เช่น ภาคเหนือตอนบนของไทยไม่ว่าจะเป็น จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ
ยิ่งรัฐทางด้านเหนือของพม่ายังด้อยพัฒนาค่อนข้างมาก เพราะปิดตัวต่อโลกภายนอกมาเนิ่นนาน และยังมีโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจแห่งการรวบรวมคือการเน้นรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติมาขาย ก็ยิ่งมีโอกาสส่งผลทางด้านบวกต่อการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจที่มีโครงสร้างของเศรษฐกิจการผลิต และเศรษฐกิจที่อิงกับภาคบริการมากขึ้น เช่นเศรษฐกิจไทย m
หมายเหตุ :พบกับคอลัมน์รับมือ AEC ทุกๆ วันจันทร์ โดยจันทร์แรกของเดือนพบกับ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จันทร์ที่สองและที่สามของเดือนพบกับ ดร.เกษมสันต์ วีระกุล นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังจากธรรมศาสตร์จันทร์สุดท้ายของเดือนพบกับ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Saturday, June 30, 2012 06:06
21485 XTHAI XECON XCORP XSALES DAS V%PAPERL P%TSK
สุรีวัลย์ บุตรชานนท์
การเข้าสู่ความร่วมมือตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี2558 สำหรับธุรกิจไมซ์ในขณะนี้ภาพที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือการเริ่มมองเข้าไปปักธงขยายธุรกิจแสดงสินค้าหรือเอ็กซิบิชันของไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน และดูเหมือนตลาดซึ่งเป็นที่จับจ้องอย่างมาก คงหนีไม่พ้นพม่า ขณะเดียวกันเออีซี ก็ยังส่งผลดีต่อการขยายฐานของธุรกิจเอ็กซิบิชันในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ดังจะเริ่มเห็นการปรับตัวของธุรกิจเอ็กซิบิชันและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่จะผลักดันการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากเออีซี
รุกงานคอนซูเมอร์ในพม่า
นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการ บริษัทบางกอก เอ็กซิบิชั่นเซอร์วิสเซส จำกัด หรือ บี.อี.เอส. เปิดเผยว่าการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี2558 ถือเป็นโอกาสดีสำหรับธุรกิจแสดงสินค้าหรือเอ็กซิบิชัน ดังนั้นในขณะนี้บริษัทจึงเตรียมแผนในการเปิดตลาดเอ็กซิบิชันใหม่ โดยเฉพาะในพม่า ที่จะเริ่มจากการจัดงานคอนซูเมอร์ก่อน เพราะจัดงานได้ง่าย ขณะที่การจัดงานเทรดโชว์หรือธุรกิจต่อธุรกิจB2B บางประเทศอาจจะยังไม่พร้อม ทั้งนี้ตลาดที่คนสนใจไปสำรวจมากคือพม่า เพราะกำลังจะเปิดประเทศ รวมถึงมีฐานผู้บริโภคหรือคอนซูเมอร์ขนาดใหญ่กว่ากัมพูชาและลาว
"การมุ่งขยายการจัดเอ็กซิบิชันในพม่า ประเทศไทยจะไม่เสียเปรียบ เพราะเป็นการต่อยอดธุรกิจของประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ พม่า กัมพูชาและลาวเป็นต้น และต่างชาติยังเชื่อมั่นธุรกิจในไทยมากกว่าประเทศเหล่านี้ ขณะที่การแสดงสินค้าในพม่าเบื้องต้นจะเป็นสินค้าพื้นฐานเป็นส่วนมาก เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งประเทศไทยมีการผลิตจำนวนมาก แต่คาดว่าหลังจากพม่าเปิดประเทศเต็มที่และหลังจากเข้าสู่เออีซีราว2-3 ปีแล้วจึงจะเห็นสินค้าจำพวกเครื่องจักรโดยเออีซีจะผลักดันต่อยอดธุรกิจการแสดงสินค้าไทยได้ดี"
ประกอบกับการเปิดเออีซีจะส่งผลดีกับประเทศไทยมากกว่า เนื่องจากโลเกชันของไทยที่เป็นศูนย์กลางและแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่ใกล้เคียงกับไทย
สำหรับผู้ประกอบการก็ต้องมีการปรับตัวโดยจังหวัดที่มีศูนย์แสดงสินค้าอยู่แล้ว เช่นขอนแก่น หาดใหญ่ ก็ต้องส่งเสริมให้มี
งานแสดงสินค้าเพิ่มมากขึ้นและต้องเชื่อมโยงกับนักธุรกิจในท้องถิ่นอย่างอุบลราชธานีก็เป็นจังหวัดที่น่าจับตามอง เนื่องจากอยู่ติดชายแดน สามารถเชื่อมต่อการจัดงานที่ลาวต่อได้ เป็นต้น
ขณะเดียวกันสมาคมการแสดงสินค้า(ไทย)ก็มีการให้ความรู้ให้กับผู้ประกอบการและเข้าร่วมอีเวนต์และโรดโชว์กับกรมส่งเสริมการส่งออก เช่น กรมไปจัดงานที่ลาวปีละ1ครั้งและเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมด้วยโดยการจัดงานอุปโภคบริโภคที่ลาวมีความต้องการมากทั้งนี้ตลาดที่เป็นที่สนใจของผู้ประกอบ
การแสดงสินค้าคือพม่า ลาว และเวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่น่าสนใจเพราะเป็นตลาดใหม่สำหรับธุรกิจเอ็กซิบิชัน ประชาชนมีกำลังซื้อสูงและค่าแรงถูกมาก นับเป็นพื้นที่ที่น่าลงทุน ส่วนตลาดการแสดงสินค้าไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวมากกว่า20%
ศูนย์ประชุมเร่งพัฒนาคน
สำหรับโอกาสของการขยายฐานนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดไมซ์ในประเทศไทยจากเออีซี ทางผู้ประกอบการศูนย์ประชุมต่างก็อยู่ระหว่างการเตรียมรับมือโดยนายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทมีการเข้าไปจัดงานที่เวียดนามพม่าและอินเดีย ส่วนการจัดงานในประเทศก็จะเชิญให้ประเทศต่างๆ มาจัดงานในไทยมากขึ้น และเอ็น.ซี.ซี. ก็มีแผนในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจจากเออีซี โดยได้ฝึกเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษและจัดทำระบบเทรนนิ่งให้กับพนักงานมากขึ้น เพราะต่อไปการจัดงานก็จะเป็นงานระดับอินเตอร์เนชั่นแนลมากขึ้น บริษัทจากต่างประเทศเข้ามาร่วมจัดงานในประเทศไทยง่ายขึ้น มีการเทรดมากขึ้น และไทยจะมีโอกาสมากขึ้นเช่นกัน
ด้านนายอรุณ เทง ผู้จัดการทั่วไปบริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์จำกัด กล่าวว่า แผนในการรองรับการเข้าสู่เออีซีนั้น รอยัล พารากอน ฮอลล์ จะเน้นเตรียมแผนรองรับครอบคลุมในทุกด้านเช่นการเข้าร่วมโรดโชว์กับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ในต่างประเทศ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ค้นหาข้อมูลได้สะดวกและติดต่อสำรองการจัดงานได้รวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาบุคลากรโดยส่งไปอบรมหลักสูตรต่างๆ เพิ่มเติม เช่นการพัฒนาบุคลิกภาพภาษา และหลักสูตรที่เกี่ยวกับงานบริการ
นอกจากนี้ในอนาคตจะมีการพัฒนาฟังก์ชันที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในแต่ละกลุ่ม โดยขณะนี้มีการจัดงานราว10-12 งานต่อเดือน จึงได้วางกลยุทธ์การตลาดในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ที่จะปรับปรุงห้องประชุมใหม่ทั้งหมดใช้งบราวกว่า15 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายปีนี้เพื่อรองรับตลาดเอกชนและข้าราชการในการจัดประชุมต่างๆ ทั้งตั้งเป้ายอดรวมรายได้ทั้งหมดในปีนี้ราว150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ราว 130 ล้านบาท
28สถาบันผลิตบัณฑิตไมซ์
ในด้านของการพัฒนาบุคลากร ด้านไมซ์ในภาพรวม ขณะนี้ทางสสปน.มีแผนในการเตรียมเข้าสู่เออีซี ทั้งในด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และด้านการพัฒนาบุคลากร ล่าสุดได้ดำเนินการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา 28 แห่ง ในการกำหนดหลักสูตรไมซ์เข้าไปในสถาบันต่างๆโดย โครงการนี้จะเป็นการฝึกอบรมนักศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่เออีซี คาดว่าจนถึงปี2558 จะสามารถผลิตบุคลากรด้านไมซ์ได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นคนหรือเฉลี่ย5 พันคนต่อปีการศึกษา
นายธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สสปน. เปิดเผยว่าสสปน.จะผลักดัน "โครงการพัฒนาหลักสูตรไมซ์มาตรฐานสากล (MICE Curricu lum)" ชูผลสำเร็จผลิต "ตำราไมซ์" ต้นแบบฉบับสมบูรณ์เล่มแรกของภูมิภาคเอเชียในชื่อรายวิชา "การจัดประชุมและนิทรรศการ (Introduction to MICE IndustryMICE 101)"พร้อมผลักดันบรรจุหลัก สูตรเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาแล้วทั้งสิ้น28 สถาบัน ที่จะเริ่มเปิดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ปีการศึกษา2555 เป็นต้นไป โดยเป็นความร่วมมือเพื่อเร่งผลิต "บัณฑิตไมซ์"ป้อนสู่อุตสาหกรรมรับเออีซี
เออีซี เซ็นเตอร์ศูนย์ข้อมูลลงทุน
ขณะที่การเข้าไปขยายการลงทุนในอาเซียน หลังเออีซีนั้น ขณะนี้ก็จะเห็นหลายสถาบันได้มีการจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลสำหรับเรื่องเหล่านี้ด้วย โดย รศ.ดร.เสาวนีย์ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอการค้าไทยได้ร่วมกันจัดตั้ง AEC Strategy Center เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลเชิงลึกด้านธุรกิจ การค้า และการลงทุนของอาเซียน ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจากประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยศูนย์นี้จะเป็นฐานข้อมูลสำคัญด้านเศรษฐกิจและกฎหมายของแต่ละประเทศในเออีซี รวมทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนให้กับผู้ประกอบการตลอดจนมีหน้าที่ในการช่วยจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจและฝึกอบรมเพื่อสร้างให้ผู้ประกอบการมีความรอบรู้อย่างแท้จริงในแต่ละประเทศอาเซียน ทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยด้วย
ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิชคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าAEC Strategy Center จะเริ่มโครงการนำร่องในการศึกษากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในประเทศอาเซียน โดยจะเริ่มศึกษาที่พม่าก่อน ซึ่งภายใน 6 เดือนจะเห็นกรอบของพม่าชัดเจนขึ้น ทั้งนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของพม่าก่อนเข้าสู่เออีซี มีจีดีพีอยู่ที่ราว 6.7% แต่หลังจากเข้าสู่เออีซีแล้วคาดการณ์ว่าจีดีพีจะขยายตัวเพิ่มเป็น 7.6% และมีการขยายตัวเป็นอันดับ 2 เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน (ตารางประกอบ)
อย่างไรก็ดี การให้ความสำคัญกับพม่า เนื่องจากพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติมากและยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่สถานการณ์การเมืองคลี่คลาย อีกทั้งพม่ามีการแก้ไขกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องการลงทุน ซึ่งการลงทุนในพม่าต้องจ้างคนพม่ามากที่สุด และมีนักลงทุนไหลไปพม่าจำนวนมาก ตลอดจนพม่ามีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก เช่น ก่อสร้างท่าเรือ 4 แห่ง และก่อสร้างทางรถไฟ 5 พันกิโลเมตร เป็นต้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสการลงทุนที่พม่าหลังเปิดเออีซี โดยหนึ่งในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนคือธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมที่พักหรือธุรกิจการบริการด้านการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในทวายและย่างกุ้งซึ่งกิจการที่รัฐบาลพม่าส่งเสริมให้มีการลงทุนก็มีธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วย
ทั้งหมดเป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเพื่อรับมือเออีซีในขณะนี้
'ตลาดที่คนสนใจไปมาก คือพม่าเพราะกำลังจะเปิดประเทศ รวมถึงมีฐานคอนซูเมอร์ใหญ่กว่ากัมพูชาและลาว'--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 - 4 ก.ค. 2555--
"อินโดนีเซีย"ตลาดใหม่ประตูสู่ก้าวต่อไปของSCGกับการเป็นผู้นำตลาดอย่างยั่งยืน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th)
Friday, July 06, 2012 04:30
36359 XTHAI XECON XCORP XITBUS DAS V%PAPERL P%ASMD
ASTVผู้จัดการรายวัน - "ผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างในประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียที่มีการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันโดยมากยังลงทุน เพื่อป้อนความต้องการในประเทศ แต่ข้อแตกต่างของ SCG ที่เข้าลงทุนคือ การลงทุนเพื่อส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก ซึ่งเป็นโอกาสของ SCG ที่จะได้เปรียบคู่แข่งในภูมิภาค"
การปรับตัวรับการแข่งขันที่จะตามมาภายหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ของผู้ประกอบการธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน เริ่มเข้มข้นและสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ในแต่ละประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นกลุ่ม SCG หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) นับว่ามีความเคลื่อนไหวทางด้านการรับมือการแข่งขัน และการขยายการลงทุน ออกไปในภูมิภาคอาเซียน โดยวางเป้าหมายว่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า SCG จะเป็นผู้นำทั้งในด้านแบรนด์ผู้ผลิตจำหน่ายวัสดุก่อสร้างอุตสาหกรรมปิโตเคมี และอุตสาหกรรมกระดาษโดยมีเป้าหมายที่การผู้นำทางธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยอาศัยโอกาสจากการเปิด AEC สร้างประโยชน์ให้แก่ธุรกิจมากที่สุดอีกรายหนึ่ง
แม้ว่า SCG จะไม่มีการประกาศอย่างเป็นที่การว่า การว่างเป้าหมายว่าเป็นผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืน ในภูมิภาค คือ การเตรียมพร้อมรับมือด้านการแข่งขันจากผู้ประกอบการจากประเทศในภูมิภาค แต่เป้าหมายที่วางไว้นั้น ไม่ต่างอะไรกับการประกาศการเป็นผู้นำธุกิจวัสดุก่อสร้างและธุรกิจที่ทั้งเครือมีอยู่ SCG
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพ และเหมาะสมในการลงทุนมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ซึ่ง
ที่ผ่านมาอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสามารถแซงหน้าประเทศเวียดนามโดยมีจีดีพีเติบโตต่อปี 6% และมีสเถียรภาพด้านการเมืองที่ดี ทำให้เป็นประเทศที่นักธุรกิจมองอินโดนีเซียในด้านบวกมากๆ ขณะที่ AEC กำลังจะเปิดในปี 2558 การลงทุนของผู้ประกอบการในอินโดนีเซียเพียงเพื่อป้อนความต้องการในประเทศ ดังนั้นการไหลเข้าไปลงทุนของนักธุรกิจจึงมีโอกาสขยายตัวสูง เพราะสามารถป้อนความต้องการในประเทศควบคู่ไปกับการส่งออก
ดังนั้น การที่ SCG เข้าไปซื้อ กิจการของKIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิก และกระเบื้องหลัง และซื้อกิจการบริษัท KOKOH บริษัท จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ซึ่งใช้เม็ดเงินในการซื้อธุรกิจดังกล่าว 200 ล้านดอลลาร์ และก่อนหน้านั้น ได้เข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 30% ของบริษัท Chandra Asri Petrochemicals (CAP) ผู้ประธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรในอินโดนีเซียโดยใช้เม็ดเงิน400ล้านดอลลาร์ ทำให้ปัจจุบัน SCG มีสินทรัพย์รวมในอินโดนีเซียรวมมูลค่า 29,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เป้าหมายการลงทุนในต่างประเทศจากนี้ไป บริษัทจะเน้นให้น้ำหนักในการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก เนื่องจากโอกาสในการเติบโตของตลาดในอินโดนีเซียยังมีอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ทั้งการขยายตัวจากการลงทุนในประเทศและการเข้าไปลงทุนจากนักธุรกิจต่างชาติ และในอนาคตการขยายการลงทุนด้านสาธารณูปโภคมีอยู่มาก
ขณะที่ในประเทศเวียดนามนั้นจะมีการลงทุนเป็นอันดับ 2 ส่วนการลงทุนในประเทศอื่นๆเช่น พม่า นั้นยังต้องรอดูความพร้อมในด้านอื่นๆเช่น ระบบคมนาคมขนส่งและด้านพลังงานไฟฟ้าที่สามารถรองรับการตั้งโรงงานได้ส่วนในประเทศมาเลเซียแม้จะมีความพร้อมด้าน สาธารณูปโภคแต่มีขนาดเล็ก และมีจำนวนประชากรจำกัดตลาดขยายตัวได้ไม่มาก ทำให้ในอนาคตการลงทุนของ SCG จะเทไปที่อินโดนีเซีย เวียดนามและการลงทุนในประเทศรองลงไป
แหล่งข่าวจากบริษัท KIA กล่าวว่า สำหรับประเทศ อินโดนีเซีย มีจำนวนประชากรสูงถึง250 ล้านคน และมีการขยายตัวของจีดีพี 6%ต่อปี โดยการขยายตัวดังกล่าวเกิดจากนโยบายการส่งเสริมด้านการแข่งขันของรัฐบาลอินโดนีเซีย และการขยายการลงทุนของนักธุรกิจจากต่างประเทศ ทั้งนี้ประชากรในประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ในตลาดงานมีกลุ่มชั้นกลางสูงถึง56% ของจำนวนประชากร ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็ว จากจำนวนประชากรซึ่งเป็นกลุ่มของชนชั้นกลางสูงถึง 56%นี้ ทำให้ในอนาคตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างจะขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากกลุ่มคนชั้นกลางเหล่านี้มีกำลังซื้อและมีความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในวัยของการสร้างครอบครับ
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาการขยายตัวของตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างในอินโดนีเซียมีการขยายตัวสูงมาก ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีอัตราการขยายตัวสูงกว่า 100% ส่วนราคาซื้อขายที่ดินในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศก็มีการปรับตัวสูงมาก โดยในปี 2554 ที่ผ่านมาราคาที่ดินมีการปรับตัวสูงถึง 100% เช่นเดียวกันการขยายตัวของตลาด ซึ่งที่ดินเขตซีบีดีของกรุงจาการ์ตามีราคาขายสูงขึ้น 1.5 แสนบาทต่อตารางเมตร
หากแนวโน้มและภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงโอกาสในการขยายตัวของตลาดอสังหาฯ รวมถึงตลาดก่อสร้างดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามการคาดการณ์ของ SCG แน่นอนว่าการลงทุนของ SCG ในประเทศอินโดนีเซียนับเป็นก้าวสำคัญที่จะก้าวไปสู่การเป็นบริษัทผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศอาเซียนตลาดตามเป้าหมายได้อย่างไม่ยากเย็นนัก--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
Tuesday, July 03, 2012 05:53
20695 XTHAI XGEN MIDD DAS V%PAPERL P%MTCD
เหลือเวลาอีกเพียง 2 ปีครึ่ง เท่านั้น รั้วประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ก็จะเปิดออก หลอมรวม 10 ประเทศในอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศสมาชิกไปสู่ตลาดโลก ภายใต้กรอบการค้าแบบเสรี
ฐานการผลิตที่ว่า เฉพาะขนาดประชากรก็มีรวมกันกว่า 600 ล้านคน เท่ากับ 1 ใน 10 ของประชากรโลก มีจีดีพีรวมเกือบ 30,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 12 ภาคบริการที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ ฉะนั้น ถ้าผู้ประกอบการท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวขาดทักษะและประสบการณ์ ไม่สามารถแข่งขันในตลาดที่แข็งแกร่งขึ้นนี้ได้ อาจต้องปิดกิจการในที่สุด
ห้วงระยะเวลานี้จึงเหมือนเป็นช่วงเวลาของการติวเข้ม เตรียมความพร้อมประเทศก่อนประตูเออีซีจะเปิด ล่าสุด การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนท้องถิ่น จัดสัมมนาหัวข้อ "เตรียมความพร้อมท่องเที่ยวไทย ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)" ใน 5 เมืองท่องเที่ยวหลักที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับกลุ่มประเทศอาเซียน คือ เชียงราย นครพนม ตราด กาญจนบุรี และสงขลา โดยเริ่มที่ จังหวัดเชียงรายเป็นแห่งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา
เป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้าใจถึงโอกาสและอุปสรรคในการเปิดเสรีการค้าและเตรียมพร้อมสู่ เออีซี โดยนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการตลาด ท่องเที่ยว
สุรพล เศวตเศรณี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) บอกว่า ภาคบริการมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนอย่างมาก โดยมีสัดส่วนสูงถึง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพีประเทศสมาชิก จากรายงานของ ยูเอ็นดับเบิลยูทีโอ ให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทาง ท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2554 มีจำนวน 980 ล้านคน เดินทางเข้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 217.1 ล้านคน และจากจำนวนดังกล่าวเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนถึง 77.1 ล้านคน
ดังนั้น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ โดยในปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวกว่า 19 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 700,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังประมาณการว่าในปี 2563 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว มากถึง 1,600 ล้านคน โดยกลุ่มประเทศที่มีรายได้และศักยภาพในการ ส่งออกนักท่องเที่ยวในอนาคตคือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน
ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นคือ กลุ่มผู้สูงอายุ และสิ่งที่จะเป็นผลกระทบตามมาคือเรื่องของอาชญากรรม ซึ่งสิ่ง เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจเตรียมความพร้อม
ผู้ว่าการ ททท.บอกอีกว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมากเป็นที่ 2 รองจากประเทศมาเลเซีย แต่รายได้เรายังเป็นที่ 1 ของภูมิภาคนี้ ซึ่งเมื่อประตูเศรษฐกิจอาเซียนเปิดแล้ว สิ่งที่เราควรจะให้ความสำคัญประการหนึ่งคือการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของไทย เพราะเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วความคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านอาจทำให้นักท่องเที่ยวแยกเราไม่ออก
ทางด้าน ธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย บอกว่า กว่า 30 ปีที่ผ่านมา ทางจังหวัดพยายามส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมา ตลอด แต่ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะเรายังไม่พร้อม โดยเฉพาะในเรื่อง ของการท่องเที่ยวมีปัญหามาก เช่น การออกวีซ่า เนื่องจากพื้นที่บางส่วน ที่ยังมีปัญหาเรื่องความไม่สงบ ช่วงนี้นับเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจาก รัฐฉานมีการเจรจาหยุดยิงระหว่างพม่ากับชนกลุ่มน้อย ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น นอกจากนี้การเปิดเมืองลา เขตปกครองพิเศษของพม่าเป็นเมือง ท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา ยังช่วยส่งเสริมให้สถานการณ์การท่องเที่ยวดีขึ้น
พ่อเมืองเชียงรายบอกอีกว่า ในส่วนของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ซึ่งจะเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับเมือง ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น แม้ว่าจะติดขัดล่าช้าไปบ้าง แต่คาดว่าไม่น่าจะเกินกลางปีหน้า (พ.ศ.2556) จะช่วยให้การเดินทางจากไทยที่อำเภอเชียงของ ข้ามแม่น้ำโขงไปห้วยทราย ไปสิ้นสุดที่จีนที่เมืองคุนหมิงทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
"ผมได้ไปแขวงบ่อแก้วแล้วถนนที่นั่นดี นั่งรถไปพักที่ซือเหมาหรือ ผู่เอ๋อ (ยูนนาน) ซึ่งเป็นเมืองที่จะเปิดรับกับถนนเส้นอาร์ 3 เอ เป็น ถนนสายหลักจากเชียงรายวิ่งตรงไปจีนได้เลย
"...เชียงรายเราในขณะนี้ได้เตรียมรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยขอให้คนที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวไทย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน 'อู้คำเมือง กินอาหารเมือง และแต่งกายพื้นเมือง' และยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายอบรมภาษาที่ 3 มีทั้งจีนและอังกฤษ โดยรุ่นแรกที่อบรมแล้วประมาณ 190 คน และจะมีการสอนภาษาพม่า ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะรู้เขารู้เรา เพื่อว่าเราจะก้าว เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์"
หลังการสัมมนาถือโอกาสเดินทางต่อไปสำรวจความพร้อมของคนในพื้นที่ ตลอดเส้นทางหลวงหมายเลข 1016 (แม่จัน-เชียงแสน) กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างขยายถนนจาก 2 เลน เป็น 4 เลน เพราะในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เชียงของเมืองหน้าด่านตรงนี้ไม่เพียงเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจภาคการท่องเที่ยว แต่ยังเป็นฐานสำคัญเป็นจุดพักของสินค้าที่จะไหลมาเทมาจากประเทศจีน
แม้ว่าการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมทั้งอาคารที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง ยังไปได้ไม่ถึงครึ่ง สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งจมอยู่ในความเงียบเหงา เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว ประกอบกับนักท่องเที่ยวย่านนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตกไปเกาะขอบจอลุ้นการแข่งขันบอลยูโร 2012
แต่ที่ท่าเรือน้ำลึก อำเภอเชียงของวันนี้กิจการแพขนานยนต์ยังคงคึกคัก ด้วยเส้นทาง อาร์ 3 เอ ทำให้การขนส่งสินค้าสามารถทำได้โดยรถบรรทุกวิ่งไปรับสินค้าที่ด่านจีน-สปป.ลาว ที่เมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำท่า ลงแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ำโขง พอขึ้นฝั่งก็พร้อมที่จะขับออกนำสินค้ากระจายไปส่งตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศได้สะดวกทันใจ
นี่ขนาดสะพานทอดข้ามยังไม่แล้วเสร็จ ประตูเออีซียังเปิดไม่เต็มที่ สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านยังพาเหรดเข้ามากันคึกคัก การ "รู้เขา-รู้เรา" เสียแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญนัก
เพราะแล้วถ้าถึงวันนั้นแล้วเรายังไม่พร้อม นั่นหมายถึงการสูญเสียซึ่งโอกาส-โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในฐานะของเมืองหน้าด่าน
บรรยายใต้ภาพ
อาคารที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย
หลายช่วงบนเส้นทางไปเชียงของกำลังอยู่ในระหว่างการขยายถนน เพิ่มสะพาน
พ่อค้าบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรวันนี้เหงาหงอย
จุดชมวิวแห่งหนึ่งบนเส้นทางเลียบลำน้ำโขงไปเชียงของ
สุรพล เศวตเศรณี
--จบ--
--มติชน ฉบับวันที่ 4 ก.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--
Tuesday, July 03, 2012 11:34
15301 XTHAI XECON XCOMMER XFINSV IKEY V%MAGL P%TCCQ
ธุรกิจของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน จากทุกภาคของไทยเป็นที่นิยมค่อนข้างสูงในกลุ่มชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทย นอกจากนี้ ยังมีการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศจนสามารถนำเงินตราเข้าประเทศไทยได้ปีละประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 10,000 ล้านบาท โดยมีสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกหลักคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 70 โดยอาศัยจุดเด่นที่สำคัญคือการเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ แสดงภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นของประเทศ รวมถึงชิ้นงานที่ผลิตออกมาก็มีความประณีตสวยงาม ละเอียดอ่อน และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จึงทำให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ประมาณ 1,950 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในกลุ่ม SME ถึงกว่าร้อยละ 95 ส่วนอีกร้อยละ 5 จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อีกทั้งมีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นแรงงานในภาคการผลิตสินค้าถึงประมาณ 250,000 คน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจของขวัญของชำร่วยและของตกแต่งบ้านของไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากคู่แข่งที่มีจุดเด่นทางด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ซึ่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีต้นทุนค่าจ้างแรงงาน และต้นทุนวัตถุดิบต่ำกว่าไทย อาทิ จีน อินเดีย รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านของไทย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มขยายตัวลดลง ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรต้องเร่งพัฒนารูปแบบสินค้า ให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแทนการแข่งขันทางด้านราคารวมทั้งการพัฒนาตราสินค้าของตนเอง เพื่อให้ชื่อสินค้าติดตลาดโลก ในขณะเดียวกันก็ควรเร่งแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ทดแทนการพึ่งพาตลาดดั้งเดิมเพื่อขยายโอกาสไปสู่ตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะตลาดที่ไทยมีข้อตกลงทางการค้าที่จะช่วยทำให้สินค้าไทยขยายตลาดได้ โดยไม่มีข้อจำกัดจากมาตรการภาษี ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นประเทศคู่แข่งทางด้านการส่งออกสินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านของไทย แต่จากการที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้กำลังมีการเติบโตสูงต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น และมีความต้องการสินค้าเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของตนเอง โดยให้ความสำคัญทางด้านคุณค่าและคุณภาพของสินค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึง กลุ่มประเทศอาเซียน (AEC) ซึ่งจะช่วยให้สินค้าของไทยมีศักยภาพและโอกาสในการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มสูงขึ้น
ตลาดอาเซียน มีหลายประเทศที่ถือเป็นคู่แข่งขันทางด้านการส่งออกสินค้าของขวัญที่สำคัญของไทย อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามประเทศในอาเซียนเองก็เหมือนกับจีน และอินเดีย กล่าวคือ เศรษฐกิจมีการเติบโตในอัตราสูงต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น ฉะนั้นจึงถือได้ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนนอกจากจะเป็นคู่แข่ง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นคู่ค้าและตลาดส่งออกสินค้าประเภทของขวัญ ที่น่าสนใจสำหรับไทย โดยเฉพาะในปี 2558 ทั้ง 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน จะมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งถือเป็นตลาดเดียวที่มีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน จึงเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการของขวัญของไทย น่าจะเข้าไปขยายตลาดได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรรายได้ปานกลางขึ้นไปในสัดส่วนที่สูง อาทิ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งมีการเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ภายใต้แรงจูงใจจากค่าร้างแรงงานที่ต่ำ รวมทั้งการมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าทั้งน้ำมัน แร่ธาตุและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จนทำให้ประเทศเหล่านี้ มีประชากรกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมา ไทยจะมีปัญหาเรื่องต้นทุนการแข่งขันด้านราคาจึงมักเน้นการทำตลาดแบบรับคำสั่งซื้อในปริมาณมากเพื่อลดต้นทุน และสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่น เช่น จีน และสินค้าท้องถิ่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยรูปลักษณ์สินค้าที่โดดเด่น มีคุณภาพ ช่วยสร้างความแตกต่างเมื่อเทียบกับสินค้าคู่แข่ง ประกอบกับวัฒนธรรมประเพณีที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงทำให้รูปแบบสินค้าของไทยน่าจะสอดคล้อง และเป็นที่ต้องการของตลาดในอาเซียนโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
ตลาดอาเซียนโอกาสส่งออกไทย
อาเซียน นับว่าเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกสินค้าของขวัญของไทยมีโอกาสขยายตลาดค่อนข้างสูง แม้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มของขวัญของไทยไปยังตลาดอาเซียนในปี 2554 ยังคงมีมูลค่าส่งออกเพียง 22.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.1 ของมูลค่าการส่งออกของขวัญทั้งหมด แต่อัตราการขยายตัวในการส่งออกสูงถึงร้อยละ 23.5 (YoY) ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงหากเทียบกับการขยายการส่งออกไปยังตลาดหลักเดิม ทั้งนี้ อาเซียนเป็นตลาดที่มีความต้องการนำเข้าสินค้าในกลุ่มของขวัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขยายการนำเข้าสินค้าดังกล่าวในปี 2554 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีอัตราสูงถึงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยคาดว่าการนำเข้าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ความต้องการของสินค้าในกลุ่มของขวัญที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และระดับรายได้ต่อหัวของประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ยกเว้นประเทศบรูไน) โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 9-12 ต่อปี
โอกาสในการขยายตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มของที่ระลึก และของชำร่วย โดยในช่วงที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในอาเซียนโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 78 ล้านคน โดยประเทศที่มีโอกาสขยายตลาดสินค้าของขวัญสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรมองข้ามกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งกำลังเปิดประเทศรับการลงทุนตลอดถึงนักท่องเที่ยว ทำให้จำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางไปประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นในอัตราสูง และจะเป็นตลาดรองรับสินค้าของขวัญ ของชำร่วย ที่มีอนาคตสำหรับไทย
นอกจากนี้ การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ยิ่งเป็นปัจจัยหนุนในการขยายตลาดของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนได้เพิ่มขึ้น เนื่องจาก AEC จะช่วยให้การเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบระหว่างประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนได้สะดวกและเสรีมากขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันสินค้าในกลุ่มของขวัญจากไทย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นแหล่งนำเข้าหลักของประเทศในกลุ่มอาเซียน (เป็นแหล่งส่งออกอันดับ 8 ของอาเซียน) แต่อย่างไรก็ตาม จากโอกาสที่กล่าวมาข้างต้น อาจทำให้ไทยมีแนวโน้มที่จะสามารถขยายมูลค่าการส่งออกมายังตลาดอาเซียนได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับสินค้าของขวัญของไทยซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดอาเซียน คือ สินค้าพวกประทีปโคมไฟ (คิดเป็นร้อยละ 83 ของมูลค่าส่งออกของขวัญไปยังอาเซียน) และสินค้าที่ใช้ในการตกแต่งสำหรับช่วงเทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ (ร้อยละ 10)
ความต้องการสินค้า ของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านในตลาดโลกแม้ว่าจะมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น ตามจำนวนประชากรและกำลังซื้อของโลกที่ปรับสูงขึ้นแต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้ก็นับว่ามีแนวโน้มการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะการแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตโดยประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า ที่เข้ามาแข่งขันในตลาดส่งออกหลัก จนทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลเป็นแรงผลักดันทำให้ผู้ประกอบการของไทย จำเป็นต้องการลดการแข่งขันในตลาดที่เน้นปัจจัยทางด้านราคาและหันมาพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งรูปแบบและความหลากหลายของสินค้าอย่างตื่อเนื่อง
ทั้งนี้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม ในขณะเดียวกัน ก็ควรเร่งแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ที่มีศักยภาพเพิ่มเติม เพื่อเป็นการรองรับในกรณีที่ตลาดดั้งเดิมมีปัญหา และยังช่วยขยายตลาดส่งออกให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประการสำคัญ เพื่อเรียนรู้และเข้าถึงความต้องการของลูกค้า ผู้ประกอบการไทยควรหาโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การผลิตสินค้าสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงในแต่ละตลาด ซึ่งจะช่วยให้สินค้าไทยมีศักยภาพการส่งออกอย่างยั่งยืน
--Thai COMMERCE ฉบับที่ 26 วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2555--
Thursday, July 05, 2012 17:28
56930 XTHAI XECON XCORP XTRANS V%RESEARCHL P%TFRC
ตั้งแต่ต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ธุรกิจโลจิสติกส์กลับมามีความคึกคักมากขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่ได้กลับมาเร่งผลิตและเร่งกระจายสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลน นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ยังได้รับปัจจัยหนุนเฉพาะของธุรกิจที่มาจากการพัฒนาระบบเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ สำหรับเส้นทางที่มีกิจกรรมการขนส่งที่คึกคักนั้น จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เส้นทาง R3A ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน เส้นทาง R8 R9 และ R12 ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน เป็นต้น เห็นได้จากสถิติการค้าชายแดน และจำนวนรถยนต์ที่ผ่านชายแดนตามเส้นทางดังกล่าวเติบโตเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ภาครัฐมีแผนการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการคมนาคมทั่วประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็วและรองรับปริมาณขนส่งระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านที่น่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 ซึ่งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะช่วยเสริมโอกาสในการขยายตลาดของธุรกิจไทย รวมทั้งกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมตัดผ่าน นอกจากนี้ จะเป็นการลดปัญหาคอขวดที่มีอยู่ เช่น ศักยภาพในการให้บริการของท่าเรือและสนามบิน อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันของธุรกิจไทยในด้านต่างๆได้อย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ โอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ที่จะได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาเครือข่ายระบบขนส่งสาธารณะ ดังนี้
โครงข่ายคมนาคมส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโลจิสติกส์...เร่งพัฒนาสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน
การพัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศได้นำพาความเจริญและส่งเสริมเศรษฐกิจในภาคต่างๆของไทย อีกทั้งประเทศไทยต้องการผลักดันบทบาทในการเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน จากจุดแข็งในด้านทำเลที่ตั้งซึ่งที่เป็นเส้นทางผ่านที่เชื่อมไปถึงเกือบทุกประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน
ด้วยความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์นี้ ส่งผลให้ไทยมีบทบาทสูงในด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมทั้งสามารถส่งต่อไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เวียดนามและมณฑลตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านด่านชายแดนสำคัญที่กระจายตัวอยู่ตามขอบชายแดนในภาคต่างๆ ของไทย เห็นได้จากรายงานของด่านศุลกากรในหลายๆ จังหวัด พบว่า สถิติการค้าชายแดนของไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดที่มีโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคจะมีอัตราการขยายตัวที่โดดเด่น
แนวโน้มการค้าชายแดนยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดที่มีสะพานข้ามแม่น้ำ อาทิ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร และหนองคาย อีกทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ. เชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า ซึ่งจังหวัดเหล่านี้เป็นประตูตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น เส้นทาง R3A ที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างประเทศ ไทย ลาว และจีน และเส้นทาง R1 R9 R12 ที่จะมีความสำคัญมากขึ้นในการขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออกและตะวันตก และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าในอนาคต
นอกจากโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพแล้ว การผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการคมนาคมขนส่งข้ามพรมแดน ภายใต้กรอบ AEC ก็จะยิ่งเอื้ออำนวยให้การไหลเวียนของโลจิสติกส์ในภูมิภาคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจขนส่งทางถนนเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีปริมาณการขนส่งระหว่างประเทศเติบโตเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเพียง 2 ปี (จาก 11.2 ล้านตัน ในปี 2550 เป็น 21.3 ล้านตัน ในปี 2552) ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการค้าชายแดนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามชายแดน
สำหรับโอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้บริการโลจิสติกส์ผ่านเส้นทางทางบกที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของการค้าและการลงทุนภายใต้ AEC แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากหลายๆด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากการแข่งขันที่จะสูงขึ้น เมื่อต้องเผชิญคู่แข่งที่เป็นธุรกิจต่างชาติที่มีเงินทุนและเทคโนโลยีที่เพรียบพร้อม ซึ่งกลยุทธ์ในการปรับตัวอาจมีหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเป้าหมายทางธุรกิจและทรัพยากรของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยแนวทางที่เป็นไปได้ เช่น การหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อที่จะเติมเต็มช่องว่างในการบริการให้สามารถให้บริการธุรกิจได้อย่างครบวงจรในระดับเดียวกับบริษัทต่างชาติ หรืออาจวางตำแหน่งการตลาดสร้างความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการเฉพาะด้าน เช่น การขนส่งและจัดเก็บเคมีภัณฑ์ หรือสินค้ามีมูลค่าสูง รวมไปถึงการรับช่วงให้บริการกับบริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่หรือบริษัทต่างชาติ
แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งหลัง ปี 2555
ธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งปีหลังน่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากความต้องการใช้บริการขนส่งในภาคการเกษตร ก่อสร้าง และค้าปลีก ขณะเดียวกัน แม้ว่าอุปสงค์ในต่างประเทศมีแนวโน้มอ่อนแรงลง แต่ในแง่อัตราการขยายตัวก็อาจยังอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งธุรกิจประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรง นอกจากนี้ ธุรกิจโลจิสติสก์ยังได้รับปัจจัยเสริมจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง แต่อย่างไรก็ดีธุรกิจโลจิสติกส์ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 40 และการบริหารจัดการคนขับรถ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ ณ ราคาปีปัจจุบัน จะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.3-8.0 ในปี 2555 (สูงขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2554) และจากการที่ภาครัฐที่มีนโยบายการลงทุนในระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคต่างๆ อาทิ การจัดตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขง เป็นต้น ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดใช้การได้ตามแผนการที่ภาครัฐวางไว้จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการได้มากขึ้น
จากแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ด้านการพัฒนาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในปี 2555-2559 ได้เน้นลงทุนในด้านสาขาการขนส่งกว่าร้อยละ 70 และส่วนใหญ่จะเป็นในด้านการขนส่งทางบก ซึ่งจะส่งเสริมการขนส่งทางบก ที่มีอัตราส่วนกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการขนส่งสินค้าในประเทศทั้งหมด ประกอบกับโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ในไทยที่เป็น SMEs เป็นสัดส่วนสูงถึง 99.9 (และเป็นขนาดเล็กถึง 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมด) ซึ่งอยู่ในธุรกิจขนส่งทางรถยนต์กว่าร้อยละ 80 โดยการขนส่งผู้โดยสารทางถนนมีสัดส่วนรวมร้อยละ 59.4 และการขนส่งสินค้าทางถนนมีสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งหมด
หากแผนพัฒนาด้านลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นไปตามนโยบายจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่ง จากการใช้วิธีการขนส่งรูปแบบเดียว เช่น ใช้รถยนต์ขนส่งไปยังท่าเรือเพื่อส่งออก เปลี่ยนมาเป็นการใช้หลายรูปแบบในการขนส่ง (Intermodal Transportation) เช่น การขนส่งโดยใช้รถยนต์แล้วเปลี่ยนเป็นทางรถไฟ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไปยังท่าเรือ ซึ่งในปัจจุบันการส่งด้วยวิธีทางรถไฟยังไม่มีประสิทธิภาพพอ แต่หากได้มีการปรับปรุงและก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง อาจทำให้คนหันมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำลงกว่าเดิมมาก และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความสามารถให้บริการหลายรูปแบบดังกล่าวจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อตอบสนองการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งของภาคธุรกิจต่างๆ
เพิ่มศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคต่างๆมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในการใช้เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสินค้าและขนส่งสินค้า และยังช่วยตอบสนองต่อการขยายตัวของความต้องการในภูมิภาคต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น การขยายตัวของการค้าชายแดนจะทำให้ความต้องการสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้ามีศูนย์กระจายสินค้าย่อยในการกระจายสินค้าในภาคต่างๆ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและความต้องการจากประเทศเพื่อนบ้านได้ แม้ว่าธุรกิจคลังสินค้าในบริเวณที่ประสบอุทกภัยชะลอตัวลง แต่โดยรวมธุรกิจให้บริการคลังสินค้ามีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากอุทกภัย อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศ ได้รับผลบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศ การขยายฐานการผลิตและศูนย์กระจายสินค้าสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งการขยายตัวของความเป็นเมือง และการท่องเที่ยวที่มีความคึกคักมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีแผนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ จะช่วยเสริมให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งภาครัฐวางแผนที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงให้เหลือร้อยละ 13 ภายในปี 2560 จากร้อยละ 15.2 ในปี 2553
สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศ คาดว่ามีแรงสนับสนุนมาจากผลของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความร่วมมือในกรอบ ASEAN Plus กับประเทศพันธมิตรนอกอาเซียน เช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งจะส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่นๆ ระหว่างกันภายในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าชายแดนที่จะเติบโตขึ้นอย่างมาก
ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2555 นี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ในตลาดโลกอ่อนแรงลง จากปัญหาวิกฤตหนี้ในยูโรโซน ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย แต่จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งปัจจัยบวกที่มีต่อธุรกิจโลจิสติกส์ดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจช่วยผลักดันธุรกิจโลจิสติกส์ให้เติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็น 569,774-578,732 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 6.3-8.0 จาก 536,059 ล้านบาท ในปี 2554
นอกจากนี้ ในปี 2556 จะมีการเปิดเสรีสาขาบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาบริการที่มีการเร่งรัดเปิดเสรีภายในกรอบ AEC จากการที่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน ดังนั้น นอกเหนือการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังจะมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคโดยใช้เส้นทางผ่านไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีแนวโน้มขยายตัวสูงนับจากนี้และหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคที่จะพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน จะไม่เพียงแต่สนับสนุนการเชื่อมโยงภายในภูมิภาคในด้านการค้าเท่านั้น แต่ยังจะสนับสนุนการเชื่อมโยงของแหล่งอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการลงทุนในอนาคต
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Disclaimer
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
* ผู้สนใจสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ฝ่ายสนับสนุนองค์กร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด อาคารธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. (66 2) 0-2273-1883-5 โทรสาร. (66 2) 0-2270-1218 หรือ 0-2270-1235, 0-2270-1569, 0-2271-4032 Email: kr.info@kasikornresearch.com http://www.kasikornresearch.com
-ดท-
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ Quicktionary
คอลัมน์: พร้อมรับ "AEC" หรือยัง?: กฎหมายการลงทุนพม่า
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th)Wednesday, July 04, 2012 05:31
17661 XTHAI XCLUSIVE XECON DAS V%PAPERL P%PTK
ณกฤช เศวตนันทน์
Thai.attorney@hotmail.com
พม่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากชนิด ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ต่างเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทางอุตสาหกรรม และเป็นที่ต้องการสูงในตลาด นอกจากนี้พม่ายังมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุด และกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างจีนและอินเดีย ดังนั้นเมื่อพม่าเปิดประเทศ โดยมีการปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง พม่าจึงเป็นเป้าหมายที่น่าเข้าไปแสวงหาโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
อย่างไรก็ดี แม้ทรัพยากรและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในพม่าจะดูหอมหวานเพียงใด แต่เท่าที่ผ่านมาการลงทุนในพม่าก็ยังคงมีอุปสรรคอยู่หลายประการ หนึ่งในอุปสรรคที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ระบบกฎหมายที่ล้าสมัยไม่มีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือไม่คุ้มครองนักลงทุน
เดิมทีก่อนพม่าจะปฏิรูปประเทศ รัฐบาลพม่าเคยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment : FDI) โดยมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติ หรือ Myanmar Foreign Investment Law (FIL) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เพื่อจูงใจให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่า
กฎหมายฉบับนี้ได้ผลพอสมควร ผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนนั้นส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับเดิมจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพม่ามีศักยภาพด้านการลงทุนที่สูงกว่านี้ ขณะที่กฎหมายการลงทุนฉบับเดิมมีขีดจำกัดด้านการลงทุนโดย ชาวต่างชาติหลายประการ เช่น ไม่สามารถถือหุ้นในกิจการได้ 100% นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ ต้องเช่าจากรัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลพม่ามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดนักลงทุน จึงเล็งเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนให้ทันสมัย มีสิทธิพิเศษ ต่าง ๆ ดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น และที่สำคัญคือต้องคุ้มครองนักลงทุน ทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจว่ากิจการของตนจะไม่ถูกแทรกแซงโดยรัฐ
ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งพม่า ได้แถลงแผนปฏิรูปขั้นที่สองผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยแผนปฏิรูปขั้นที่สองนี้จะมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจและประชาชน ซึ่งต่างจากแผนปฏิรูปขั้นที่หนึ่ง ที่รัฐบาลเน้นปฏิรูปด้านการเมืองและการปรองดองภายในชาติเป็นสำคัญ
แผนปฏิรูปขั้นที่สอง รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็น 7.7% ต่อปีภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายการลงทุนรองรับแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งประธานาธิบดีเต็ง เส่งแถลงว่า รัฐสภาจะผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ในการประชุมสภาสมัยหน้าที่จะเริ่มวันที่ 4 กรกฎาคมนี้
สำหรับกฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ของพม่านี้ มีรายละเอียดที่แตกต่างจากฉบับเดิมคือ กฎหมายฉบับใหม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35%-100% ในบริษัทท้องถิ่น โดยผู้ที่ต้องการถือหุ้น 100% จะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ในเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษี กฎหมายฉบับใหม่กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติ 5 ปี จากเดิมที่ให้แค่เพียง 2 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ จากเดิมเช่าได้เฉพาะที่ดินของรัฐ อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นการคุ้มครองคนในชาติ เช่น แรงงานไร้ฝีมือทั้งหมดในบริษัทต่างชาติต้องเป็นคนพม่า ห้าปีต่อไปแรงงานฝีมือในบริษัทต้องเป็นคนพม่า 25% เพิ่มขึ้นเป็น 50% ในห้าปีต่อไป และ 75% ภายใน 15 ปีตั้งแต่เริ่มกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะพม่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มการจ้างงานของคนในชาตินั่นเอง
การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลงทุนของพม่าในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนไทย ซึ่งเดิมทีก็มีการเข้าไปลงทุนในพม่าในกิจการหลาย ๆ ประเภทอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี พม่ายังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยที่ปะทุอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทางที่ดีแบบนี้จนถึงเมื่อใด นักลงทุนจึงควรระมัดระวังต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังคำกล่าวเตือนของออง ซาน ซู จี ในงาน World Economic Forum 2012 ที่ไทยว่า "Optimism is good but it should be cautious optimism. I have come across reckless optimism. A little bit of healthy scepticism is in order."
ซึ่งแปลได้ว่า "การมองอะไรในแง่ดีนับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรเป็นการมองในแง่ดีที่ใช้ความระมัดระวัง ดิฉันเคยมองโลกในแง่ดีแบบไม่ระวังมาแล้ว ตอนนี้การมองโลกในเชิงสงสัยตามสมควรน่าจะดีกว่า"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 - 8 ก.ค. 2555--
คอลัมน์: รับมือ AEC: พลวัตพม่าที่จะมีต่อภาคเหนือตอนบนของไทย
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)Monday, July 02, 2012 02:34
32 XTHAI XECON XCORP XINSURE XBANK XFINMKT DAS V%PAPERL P%PTD
...สมภพ มานะรังสรรค์
อธิการบดีสถาบันการจัดการ
ปัญญาภิวัฒน์ (PIM)
ภาคเหนือตอนบนของไทยสามารถเชื่อมกับพม่าผ่านทางด้านต่างๆ เช่น รัฐฉานของไทยใหญ่ที่มีพื้นที่เกือบ 1 ใน 4 ของพม่าทั้งประเทศ ขณะที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของพม่าคือประมาณ10% ของประชากรรวมที่ประมาณ 60 ล้านคนทั่วทั้งประเทศ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ดังนี้
- การเชื่อมด่านกิ่วผาวอกที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ไปเมืองตองจีของรัฐฉาน ซึ่งมีระยะทางน้อยกว่า 200 กม.
- จากแม่ฮ่องสอนไปเนย์ปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่าก็มีระยะทางน้อยกว่า 200 กม. เพียงแต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการเปิดด่านถาวรของทั้งสองพื้นที่ข้างต้น และยังขาดการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างกันและกัน
มูลเหตุสำคัญที่พม่าย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปกรุงเนย์ปิดอว์ก็เพื่อกระจายโอกาสในการพัฒนาประเทศเพราะเป็นจุดที่เชื่อมโยงกับรัฐต่างๆ ได้โดยง่าย หรือเป็นข้อได้เปรียบของปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และสามารถบริหารจัดการด้านความมั่นคงของประเทศได้ง่ายกว่าด้วย
นอกจากนี้ เมืองหลวงใหม่ของพม่ายังช่วยกระจายโอกาสทางการพัฒนา ให้ถอยห่างจากเมืองหลวงเดิมที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลแต่ห่างจากรัฐอื่นๆทางภาคเหนือหรือพม่าตอนบนมาก
เพราะภายหลังการย้ายเมืองหลวง จะมีการพัฒนาด้านกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบการคมนาคมขนส่งตามมาอีกมาก รวมตลอดถึงการเร่งการขยายตัวของศูนย์กลางภาคเมืองใหม่ในเมืองหลวงใหม่และอาณาบริเวณรอบๆ เช่น การเชื่อมเมืองหลวงใหม่กับย่างกุ้ง โดยที่ย่างกุ้งจะแปรสภาพเป็นเมืองท่าสำคัญ การเชื่อมเนย์ปิดอว์กับรัฐต่างๆ ทางพม่าส่วนบน และการเชื่อมต่อกับมณฑลยูนนานของจีน ที่มีการเชื่อมโยงกับพม่ามากในช่วงที่ผ่านมาและจะมีมากยิ่งขึ้นในอนาคต เมื่อพิจารณาจากการให้ความสำคัญในด้านต่างๆของจีนต่อพม่า ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง
ในด้านเศรษฐกิจนั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีนและพม่า มีแนวโน้มไปในทางบวก เข้าข่ายต่างคนต่างได้ประโยชน์
เพราะขณะที่จีนมีลำดับขั้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยอาศัยเศรษฐกิจการผลิต เช่น การผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเป็น"หัวหอก"สำคัญในการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องสร้างหลักประกันด้านปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งพลังงานและวัตถุดิบจำพวกผลิตภัณฑ์โภคภัณฑ์พื้นฐานต่างๆ มากนั้น พม่าที่ยังมีลำดับขั้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจการรวบรวม คือ การ "รวบรวม"ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมีอยู่มากมายมาขายให้จีนด้วยสนนราคาที่จูงใจ และเพิ่มโอกาสในการแสวงหาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศมาใช้พัฒนาประเทศพม่าที่เพิ่งเปิดตัวออกปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกภายหลังจากที่ใช้ระบบเศรษฐกิจปิดมาเนิ่นนาน
นอกจากด้านเศรษฐกิจแล้ว พม่ายังมีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารจัดการด้านความมั่นคงของจีน ในการใช้พม่าเป็นทางผ่านในการออกสู่มหาสมุทรอินเดียที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อจีนเป็นอันมาก
ยิ่งจีนมีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆว่าด้วยปัญหาเขตแดนในทะเลจีนตอนใต้ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆของจีนด้วยแล้ว ความจำเป็นในการหาทางออกสู่ทะเลผ่านทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางมณฑลยูนนานที่เป็นมณฑลที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ก็ยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้เป็นเพราะเส้นทางของมหาสมุทรอินเดียที่เชื่อมต่อกับช่องแคบมะละกาและลอมบ็อก ไม่เพียงเป็นเส้นทางลำเลียงสำคัญของสินค้าทั่วๆ ไปเท่านั้น หากยังจำเป็นต่อการลำเลียงขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางอันเป็นแหล่งอุปทานน้ำมันที่สำคัญที่สุดของจีน สู่จีนโดยทางทะเลอีกด้วย
นอกจากการลำเลียงขนส่งผ่านทางทะเลข้างต้นแล้ว พม่ายังเป็นทางเลือกสำคัญของการขนส่งผลิตภัณฑ์พลังงานไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบสู่แผ่นดินมังกร โดยทางมณฑลยูนนาน โดยผ่านระบบการขนส่งทางท่อหรือโดยทางรถไฟอีกด้วย
จากแผนการความร่วมมือในด้านต่างๆ ของพม่าและจีน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และด้านที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เช่น ด้านสังคมการเมือง และความมั่นคง จะยิ่งส่งให้แดนโสร่ง "เนื้อหอม"มากยิ่งขึ้น ที่จะ "กวักมือ"ให้ประเทศมหาอำนาจอื่นๆที่มองว่าจีนเป็นคู่แข่ง ต้องยิ่งหาทางเข้าสู่พม่ามากยิ่งขึ้นไปอีก
พลวัตพม่า ที่ปัจจุบันมีขนาดของมูลค่า GDP เพียงประมาณหนึ่งในสิบของ GDP ไทย ขณะที่มีประชากรไล่เลี่ยกับไทย (พม่าและไทยมีประชากรประมาณ 60 ล้าน และ 65 ล้านคนตามลำดับ) แต่มีขนาดของพื้นที่ใหญ่กว่าไทยมาก (พม่ามีพื้นที่ประเทศประมาณ678,000 ตร.กม. ขณะที่ไทยมีประมาณ 513,500 ตร.กม.) จะส่งแรงกระเพื่อมต่อไทยเป็นอันมากโดยเฉพาะในอาณาบริเวณที่มีเขตแดนติดกับพม่ามากๆ เช่น ภาคเหนือตอนบนของไทยไม่ว่าจะเป็น จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ
ยิ่งรัฐทางด้านเหนือของพม่ายังด้อยพัฒนาค่อนข้างมาก เพราะปิดตัวต่อโลกภายนอกมาเนิ่นนาน และยังมีโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจแห่งการรวบรวมคือการเน้นรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติมาขาย ก็ยิ่งมีโอกาสส่งผลทางด้านบวกต่อการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจที่มีโครงสร้างของเศรษฐกิจการผลิต และเศรษฐกิจที่อิงกับภาคบริการมากขึ้น เช่นเศรษฐกิจไทย m
หมายเหตุ :พบกับคอลัมน์รับมือ AEC ทุกๆ วันจันทร์ โดยจันทร์แรกของเดือนพบกับ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จันทร์ที่สองและที่สามของเดือนพบกับ ดร.เกษมสันต์ วีระกุล นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังจากธรรมศาสตร์จันทร์สุดท้ายของเดือนพบกับ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
คอลัมน์: รายงาน: จัดแถวรับมือ 'เออีซี''พม่า'โอกาสทองธุรกิจเอ็กซิบิชันไทย
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)Saturday, June 30, 2012 06:06
21485 XTHAI XECON XCORP XSALES DAS V%PAPERL P%TSK
สุรีวัลย์ บุตรชานนท์
การเข้าสู่ความร่วมมือตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี2558 สำหรับธุรกิจไมซ์ในขณะนี้ภาพที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือการเริ่มมองเข้าไปปักธงขยายธุรกิจแสดงสินค้าหรือเอ็กซิบิชันของไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน และดูเหมือนตลาดซึ่งเป็นที่จับจ้องอย่างมาก คงหนีไม่พ้นพม่า ขณะเดียวกันเออีซี ก็ยังส่งผลดีต่อการขยายฐานของธุรกิจเอ็กซิบิชันในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ดังจะเริ่มเห็นการปรับตัวของธุรกิจเอ็กซิบิชันและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่จะผลักดันการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากเออีซี
รุกงานคอนซูเมอร์ในพม่า
นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการ บริษัทบางกอก เอ็กซิบิชั่นเซอร์วิสเซส จำกัด หรือ บี.อี.เอส. เปิดเผยว่าการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี2558 ถือเป็นโอกาสดีสำหรับธุรกิจแสดงสินค้าหรือเอ็กซิบิชัน ดังนั้นในขณะนี้บริษัทจึงเตรียมแผนในการเปิดตลาดเอ็กซิบิชันใหม่ โดยเฉพาะในพม่า ที่จะเริ่มจากการจัดงานคอนซูเมอร์ก่อน เพราะจัดงานได้ง่าย ขณะที่การจัดงานเทรดโชว์หรือธุรกิจต่อธุรกิจB2B บางประเทศอาจจะยังไม่พร้อม ทั้งนี้ตลาดที่คนสนใจไปสำรวจมากคือพม่า เพราะกำลังจะเปิดประเทศ รวมถึงมีฐานผู้บริโภคหรือคอนซูเมอร์ขนาดใหญ่กว่ากัมพูชาและลาว
"การมุ่งขยายการจัดเอ็กซิบิชันในพม่า ประเทศไทยจะไม่เสียเปรียบ เพราะเป็นการต่อยอดธุรกิจของประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ พม่า กัมพูชาและลาวเป็นต้น และต่างชาติยังเชื่อมั่นธุรกิจในไทยมากกว่าประเทศเหล่านี้ ขณะที่การแสดงสินค้าในพม่าเบื้องต้นจะเป็นสินค้าพื้นฐานเป็นส่วนมาก เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งประเทศไทยมีการผลิตจำนวนมาก แต่คาดว่าหลังจากพม่าเปิดประเทศเต็มที่และหลังจากเข้าสู่เออีซีราว2-3 ปีแล้วจึงจะเห็นสินค้าจำพวกเครื่องจักรโดยเออีซีจะผลักดันต่อยอดธุรกิจการแสดงสินค้าไทยได้ดี"
ประกอบกับการเปิดเออีซีจะส่งผลดีกับประเทศไทยมากกว่า เนื่องจากโลเกชันของไทยที่เป็นศูนย์กลางและแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่ใกล้เคียงกับไทย
สำหรับผู้ประกอบการก็ต้องมีการปรับตัวโดยจังหวัดที่มีศูนย์แสดงสินค้าอยู่แล้ว เช่นขอนแก่น หาดใหญ่ ก็ต้องส่งเสริมให้มี
งานแสดงสินค้าเพิ่มมากขึ้นและต้องเชื่อมโยงกับนักธุรกิจในท้องถิ่นอย่างอุบลราชธานีก็เป็นจังหวัดที่น่าจับตามอง เนื่องจากอยู่ติดชายแดน สามารถเชื่อมต่อการจัดงานที่ลาวต่อได้ เป็นต้น
ขณะเดียวกันสมาคมการแสดงสินค้า(ไทย)ก็มีการให้ความรู้ให้กับผู้ประกอบการและเข้าร่วมอีเวนต์และโรดโชว์กับกรมส่งเสริมการส่งออก เช่น กรมไปจัดงานที่ลาวปีละ1ครั้งและเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมด้วยโดยการจัดงานอุปโภคบริโภคที่ลาวมีความต้องการมากทั้งนี้ตลาดที่เป็นที่สนใจของผู้ประกอบ
การแสดงสินค้าคือพม่า ลาว และเวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่น่าสนใจเพราะเป็นตลาดใหม่สำหรับธุรกิจเอ็กซิบิชัน ประชาชนมีกำลังซื้อสูงและค่าแรงถูกมาก นับเป็นพื้นที่ที่น่าลงทุน ส่วนตลาดการแสดงสินค้าไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวมากกว่า20%
ศูนย์ประชุมเร่งพัฒนาคน
สำหรับโอกาสของการขยายฐานนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดไมซ์ในประเทศไทยจากเออีซี ทางผู้ประกอบการศูนย์ประชุมต่างก็อยู่ระหว่างการเตรียมรับมือโดยนายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทมีการเข้าไปจัดงานที่เวียดนามพม่าและอินเดีย ส่วนการจัดงานในประเทศก็จะเชิญให้ประเทศต่างๆ มาจัดงานในไทยมากขึ้น และเอ็น.ซี.ซี. ก็มีแผนในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจจากเออีซี โดยได้ฝึกเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษและจัดทำระบบเทรนนิ่งให้กับพนักงานมากขึ้น เพราะต่อไปการจัดงานก็จะเป็นงานระดับอินเตอร์เนชั่นแนลมากขึ้น บริษัทจากต่างประเทศเข้ามาร่วมจัดงานในประเทศไทยง่ายขึ้น มีการเทรดมากขึ้น และไทยจะมีโอกาสมากขึ้นเช่นกัน
ด้านนายอรุณ เทง ผู้จัดการทั่วไปบริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์จำกัด กล่าวว่า แผนในการรองรับการเข้าสู่เออีซีนั้น รอยัล พารากอน ฮอลล์ จะเน้นเตรียมแผนรองรับครอบคลุมในทุกด้านเช่นการเข้าร่วมโรดโชว์กับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ในต่างประเทศ การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ค้นหาข้อมูลได้สะดวกและติดต่อสำรองการจัดงานได้รวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาบุคลากรโดยส่งไปอบรมหลักสูตรต่างๆ เพิ่มเติม เช่นการพัฒนาบุคลิกภาพภาษา และหลักสูตรที่เกี่ยวกับงานบริการ
นอกจากนี้ในอนาคตจะมีการพัฒนาฟังก์ชันที่หลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในแต่ละกลุ่ม โดยขณะนี้มีการจัดงานราว10-12 งานต่อเดือน จึงได้วางกลยุทธ์การตลาดในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ที่จะปรับปรุงห้องประชุมใหม่ทั้งหมดใช้งบราวกว่า15 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายปีนี้เพื่อรองรับตลาดเอกชนและข้าราชการในการจัดประชุมต่างๆ ทั้งตั้งเป้ายอดรวมรายได้ทั้งหมดในปีนี้ราว150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ราว 130 ล้านบาท
28สถาบันผลิตบัณฑิตไมซ์
ในด้านของการพัฒนาบุคลากร ด้านไมซ์ในภาพรวม ขณะนี้ทางสสปน.มีแผนในการเตรียมเข้าสู่เออีซี ทั้งในด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และด้านการพัฒนาบุคลากร ล่าสุดได้ดำเนินการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา 28 แห่ง ในการกำหนดหลักสูตรไมซ์เข้าไปในสถาบันต่างๆโดย โครงการนี้จะเป็นการฝึกอบรมนักศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่เออีซี คาดว่าจนถึงปี2558 จะสามารถผลิตบุคลากรด้านไมซ์ได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นคนหรือเฉลี่ย5 พันคนต่อปีการศึกษา
นายธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สสปน. เปิดเผยว่าสสปน.จะผลักดัน "โครงการพัฒนาหลักสูตรไมซ์มาตรฐานสากล (MICE Curricu lum)" ชูผลสำเร็จผลิต "ตำราไมซ์" ต้นแบบฉบับสมบูรณ์เล่มแรกของภูมิภาคเอเชียในชื่อรายวิชา "การจัดประชุมและนิทรรศการ (Introduction to MICE IndustryMICE 101)"พร้อมผลักดันบรรจุหลัก สูตรเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาแล้วทั้งสิ้น28 สถาบัน ที่จะเริ่มเปิดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ปีการศึกษา2555 เป็นต้นไป โดยเป็นความร่วมมือเพื่อเร่งผลิต "บัณฑิตไมซ์"ป้อนสู่อุตสาหกรรมรับเออีซี
เออีซี เซ็นเตอร์ศูนย์ข้อมูลลงทุน
ขณะที่การเข้าไปขยายการลงทุนในอาเซียน หลังเออีซีนั้น ขณะนี้ก็จะเห็นหลายสถาบันได้มีการจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลสำหรับเรื่องเหล่านี้ด้วย โดย รศ.ดร.เสาวนีย์ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอการค้าไทยได้ร่วมกันจัดตั้ง AEC Strategy Center เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลเชิงลึกด้านธุรกิจ การค้า และการลงทุนของอาเซียน ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจากประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยศูนย์นี้จะเป็นฐานข้อมูลสำคัญด้านเศรษฐกิจและกฎหมายของแต่ละประเทศในเออีซี รวมทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนให้กับผู้ประกอบการตลอดจนมีหน้าที่ในการช่วยจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจและฝึกอบรมเพื่อสร้างให้ผู้ประกอบการมีความรอบรู้อย่างแท้จริงในแต่ละประเทศอาเซียน ทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยด้วย
ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิชคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าAEC Strategy Center จะเริ่มโครงการนำร่องในการศึกษากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในประเทศอาเซียน โดยจะเริ่มศึกษาที่พม่าก่อน ซึ่งภายใน 6 เดือนจะเห็นกรอบของพม่าชัดเจนขึ้น ทั้งนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของพม่าก่อนเข้าสู่เออีซี มีจีดีพีอยู่ที่ราว 6.7% แต่หลังจากเข้าสู่เออีซีแล้วคาดการณ์ว่าจีดีพีจะขยายตัวเพิ่มเป็น 7.6% และมีการขยายตัวเป็นอันดับ 2 เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน (ตารางประกอบ)
อย่างไรก็ดี การให้ความสำคัญกับพม่า เนื่องจากพม่ามีทรัพยากรธรรมชาติมากและยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่สถานการณ์การเมืองคลี่คลาย อีกทั้งพม่ามีการแก้ไขกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องการลงทุน ซึ่งการลงทุนในพม่าต้องจ้างคนพม่ามากที่สุด และมีนักลงทุนไหลไปพม่าจำนวนมาก ตลอดจนพม่ามีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก เช่น ก่อสร้างท่าเรือ 4 แห่ง และก่อสร้างทางรถไฟ 5 พันกิโลเมตร เป็นต้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสการลงทุนที่พม่าหลังเปิดเออีซี โดยหนึ่งในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนคือธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมที่พักหรือธุรกิจการบริการด้านการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในทวายและย่างกุ้งซึ่งกิจการที่รัฐบาลพม่าส่งเสริมให้มีการลงทุนก็มีธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วย
ทั้งหมดเป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเพื่อรับมือเออีซีในขณะนี้
'ตลาดที่คนสนใจไปมาก คือพม่าเพราะกำลังจะเปิดประเทศ รวมถึงมีฐานคอนซูเมอร์ใหญ่กว่ากัมพูชาและลาว'--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 - 4 ก.ค. 2555--
"อินโดนีเซีย"ตลาดใหม่ประตูสู่ก้าวต่อไปของSCGกับการเป็นผู้นำตลาดอย่างยั่งยืน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th)
Friday, July 06, 2012 04:30
36359 XTHAI XECON XCORP XITBUS DAS V%PAPERL P%ASMD
ASTVผู้จัดการรายวัน - "ผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้างในประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียที่มีการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันโดยมากยังลงทุน เพื่อป้อนความต้องการในประเทศ แต่ข้อแตกต่างของ SCG ที่เข้าลงทุนคือ การลงทุนเพื่อส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก ซึ่งเป็นโอกาสของ SCG ที่จะได้เปรียบคู่แข่งในภูมิภาค"
การปรับตัวรับการแข่งขันที่จะตามมาภายหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ของผู้ประกอบการธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน เริ่มเข้มข้นและสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ในแต่ละประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นกลุ่ม SCG หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) นับว่ามีความเคลื่อนไหวทางด้านการรับมือการแข่งขัน และการขยายการลงทุน ออกไปในภูมิภาคอาเซียน โดยวางเป้าหมายว่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า SCG จะเป็นผู้นำทั้งในด้านแบรนด์ผู้ผลิตจำหน่ายวัสดุก่อสร้างอุตสาหกรรมปิโตเคมี และอุตสาหกรรมกระดาษโดยมีเป้าหมายที่การผู้นำทางธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยอาศัยโอกาสจากการเปิด AEC สร้างประโยชน์ให้แก่ธุรกิจมากที่สุดอีกรายหนึ่ง
แม้ว่า SCG จะไม่มีการประกาศอย่างเป็นที่การว่า การว่างเป้าหมายว่าเป็นผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืน ในภูมิภาค คือ การเตรียมพร้อมรับมือด้านการแข่งขันจากผู้ประกอบการจากประเทศในภูมิภาค แต่เป้าหมายที่วางไว้นั้น ไม่ต่างอะไรกับการประกาศการเป็นผู้นำธุกิจวัสดุก่อสร้างและธุรกิจที่ทั้งเครือมีอยู่ SCG
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG กล่าวว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพ และเหมาะสมในการลงทุนมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ซึ่ง
ที่ผ่านมาอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสามารถแซงหน้าประเทศเวียดนามโดยมีจีดีพีเติบโตต่อปี 6% และมีสเถียรภาพด้านการเมืองที่ดี ทำให้เป็นประเทศที่นักธุรกิจมองอินโดนีเซียในด้านบวกมากๆ ขณะที่ AEC กำลังจะเปิดในปี 2558 การลงทุนของผู้ประกอบการในอินโดนีเซียเพียงเพื่อป้อนความต้องการในประเทศ ดังนั้นการไหลเข้าไปลงทุนของนักธุรกิจจึงมีโอกาสขยายตัวสูง เพราะสามารถป้อนความต้องการในประเทศควบคู่ไปกับการส่งออก
ดังนั้น การที่ SCG เข้าไปซื้อ กิจการของKIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิก และกระเบื้องหลัง และซื้อกิจการบริษัท KOKOH บริษัท จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ซึ่งใช้เม็ดเงินในการซื้อธุรกิจดังกล่าว 200 ล้านดอลลาร์ และก่อนหน้านั้น ได้เข้าซื้อหุ้นในสัดส่วน 30% ของบริษัท Chandra Asri Petrochemicals (CAP) ผู้ประธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรในอินโดนีเซียโดยใช้เม็ดเงิน400ล้านดอลลาร์ ทำให้ปัจจุบัน SCG มีสินทรัพย์รวมในอินโดนีเซียรวมมูลค่า 29,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เป้าหมายการลงทุนในต่างประเทศจากนี้ไป บริษัทจะเน้นให้น้ำหนักในการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก เนื่องจากโอกาสในการเติบโตของตลาดในอินโดนีเซียยังมีอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ทั้งการขยายตัวจากการลงทุนในประเทศและการเข้าไปลงทุนจากนักธุรกิจต่างชาติ และในอนาคตการขยายการลงทุนด้านสาธารณูปโภคมีอยู่มาก
ขณะที่ในประเทศเวียดนามนั้นจะมีการลงทุนเป็นอันดับ 2 ส่วนการลงทุนในประเทศอื่นๆเช่น พม่า นั้นยังต้องรอดูความพร้อมในด้านอื่นๆเช่น ระบบคมนาคมขนส่งและด้านพลังงานไฟฟ้าที่สามารถรองรับการตั้งโรงงานได้ส่วนในประเทศมาเลเซียแม้จะมีความพร้อมด้าน สาธารณูปโภคแต่มีขนาดเล็ก และมีจำนวนประชากรจำกัดตลาดขยายตัวได้ไม่มาก ทำให้ในอนาคตการลงทุนของ SCG จะเทไปที่อินโดนีเซีย เวียดนามและการลงทุนในประเทศรองลงไป
แหล่งข่าวจากบริษัท KIA กล่าวว่า สำหรับประเทศ อินโดนีเซีย มีจำนวนประชากรสูงถึง250 ล้านคน และมีการขยายตัวของจีดีพี 6%ต่อปี โดยการขยายตัวดังกล่าวเกิดจากนโยบายการส่งเสริมด้านการแข่งขันของรัฐบาลอินโดนีเซีย และการขยายการลงทุนของนักธุรกิจจากต่างประเทศ ทั้งนี้ประชากรในประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ในตลาดงานมีกลุ่มชั้นกลางสูงถึง56% ของจำนวนประชากร ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็ว จากจำนวนประชากรซึ่งเป็นกลุ่มของชนชั้นกลางสูงถึง 56%นี้ ทำให้ในอนาคตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างจะขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากกลุ่มคนชั้นกลางเหล่านี้มีกำลังซื้อและมีความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในวัยของการสร้างครอบครับ
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาการขยายตัวของตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างในอินโดนีเซียมีการขยายตัวสูงมาก ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีอัตราการขยายตัวสูงกว่า 100% ส่วนราคาซื้อขายที่ดินในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศก็มีการปรับตัวสูงมาก โดยในปี 2554 ที่ผ่านมาราคาที่ดินมีการปรับตัวสูงถึง 100% เช่นเดียวกันการขยายตัวของตลาด ซึ่งที่ดินเขตซีบีดีของกรุงจาการ์ตามีราคาขายสูงขึ้น 1.5 แสนบาทต่อตารางเมตร
หากแนวโน้มและภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงโอกาสในการขยายตัวของตลาดอสังหาฯ รวมถึงตลาดก่อสร้างดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามการคาดการณ์ของ SCG แน่นอนว่าการลงทุนของ SCG ในประเทศอินโดนีเซียนับเป็นก้าวสำคัญที่จะก้าวไปสู่การเป็นบริษัทผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศอาเซียนตลาดตามเป้าหมายได้อย่างไม่ยากเย็นนัก--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
ททท.ติวเข้ม'เมืองหน้าด่าน'กระตุ้นภาคท่องเที่ยวตั้งรับเออีซี ก่อนรื้อรั้วประตูอาเซียน
Source - มติชน (Th)Tuesday, July 03, 2012 05:53
20695 XTHAI XGEN MIDD DAS V%PAPERL P%MTCD
เหลือเวลาอีกเพียง 2 ปีครึ่ง เท่านั้น รั้วประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ก็จะเปิดออก หลอมรวม 10 ประเทศในอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศสมาชิกไปสู่ตลาดโลก ภายใต้กรอบการค้าแบบเสรี
ฐานการผลิตที่ว่า เฉพาะขนาดประชากรก็มีรวมกันกว่า 600 ล้านคน เท่ากับ 1 ใน 10 ของประชากรโลก มีจีดีพีรวมเกือบ 30,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 12 ภาคบริการที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ ฉะนั้น ถ้าผู้ประกอบการท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวขาดทักษะและประสบการณ์ ไม่สามารถแข่งขันในตลาดที่แข็งแกร่งขึ้นนี้ได้ อาจต้องปิดกิจการในที่สุด
ห้วงระยะเวลานี้จึงเหมือนเป็นช่วงเวลาของการติวเข้ม เตรียมความพร้อมประเทศก่อนประตูเออีซีจะเปิด ล่าสุด การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนท้องถิ่น จัดสัมมนาหัวข้อ "เตรียมความพร้อมท่องเที่ยวไทย ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)" ใน 5 เมืองท่องเที่ยวหลักที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับกลุ่มประเทศอาเซียน คือ เชียงราย นครพนม ตราด กาญจนบุรี และสงขลา โดยเริ่มที่ จังหวัดเชียงรายเป็นแห่งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา
เป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้าใจถึงโอกาสและอุปสรรคในการเปิดเสรีการค้าและเตรียมพร้อมสู่ เออีซี โดยนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการตลาด ท่องเที่ยว
สุรพล เศวตเศรณี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) บอกว่า ภาคบริการมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนอย่างมาก โดยมีสัดส่วนสูงถึง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพีประเทศสมาชิก จากรายงานของ ยูเอ็นดับเบิลยูทีโอ ให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทาง ท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2554 มีจำนวน 980 ล้านคน เดินทางเข้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 217.1 ล้านคน และจากจำนวนดังกล่าวเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนถึง 77.1 ล้านคน
ดังนั้น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ โดยในปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวกว่า 19 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 700,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังประมาณการว่าในปี 2563 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว มากถึง 1,600 ล้านคน โดยกลุ่มประเทศที่มีรายได้และศักยภาพในการ ส่งออกนักท่องเที่ยวในอนาคตคือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน
ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นคือ กลุ่มผู้สูงอายุ และสิ่งที่จะเป็นผลกระทบตามมาคือเรื่องของอาชญากรรม ซึ่งสิ่ง เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจเตรียมความพร้อม
ผู้ว่าการ ททท.บอกอีกว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมากเป็นที่ 2 รองจากประเทศมาเลเซีย แต่รายได้เรายังเป็นที่ 1 ของภูมิภาคนี้ ซึ่งเมื่อประตูเศรษฐกิจอาเซียนเปิดแล้ว สิ่งที่เราควรจะให้ความสำคัญประการหนึ่งคือการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของไทย เพราะเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วความคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านอาจทำให้นักท่องเที่ยวแยกเราไม่ออก
ทางด้าน ธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย บอกว่า กว่า 30 ปีที่ผ่านมา ทางจังหวัดพยายามส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวมา ตลอด แต่ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะเรายังไม่พร้อม โดยเฉพาะในเรื่อง ของการท่องเที่ยวมีปัญหามาก เช่น การออกวีซ่า เนื่องจากพื้นที่บางส่วน ที่ยังมีปัญหาเรื่องความไม่สงบ ช่วงนี้นับเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจาก รัฐฉานมีการเจรจาหยุดยิงระหว่างพม่ากับชนกลุ่มน้อย ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น นอกจากนี้การเปิดเมืองลา เขตปกครองพิเศษของพม่าเป็นเมือง ท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา ยังช่วยส่งเสริมให้สถานการณ์การท่องเที่ยวดีขึ้น
พ่อเมืองเชียงรายบอกอีกว่า ในส่วนของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ซึ่งจะเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับเมือง ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น แม้ว่าจะติดขัดล่าช้าไปบ้าง แต่คาดว่าไม่น่าจะเกินกลางปีหน้า (พ.ศ.2556) จะช่วยให้การเดินทางจากไทยที่อำเภอเชียงของ ข้ามแม่น้ำโขงไปห้วยทราย ไปสิ้นสุดที่จีนที่เมืองคุนหมิงทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
"ผมได้ไปแขวงบ่อแก้วแล้วถนนที่นั่นดี นั่งรถไปพักที่ซือเหมาหรือ ผู่เอ๋อ (ยูนนาน) ซึ่งเป็นเมืองที่จะเปิดรับกับถนนเส้นอาร์ 3 เอ เป็น ถนนสายหลักจากเชียงรายวิ่งตรงไปจีนได้เลย
"...เชียงรายเราในขณะนี้ได้เตรียมรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยขอให้คนที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวไทย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน 'อู้คำเมือง กินอาหารเมือง และแต่งกายพื้นเมือง' และยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายอบรมภาษาที่ 3 มีทั้งจีนและอังกฤษ โดยรุ่นแรกที่อบรมแล้วประมาณ 190 คน และจะมีการสอนภาษาพม่า ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะรู้เขารู้เรา เพื่อว่าเราจะก้าว เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์"
หลังการสัมมนาถือโอกาสเดินทางต่อไปสำรวจความพร้อมของคนในพื้นที่ ตลอดเส้นทางหลวงหมายเลข 1016 (แม่จัน-เชียงแสน) กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างขยายถนนจาก 2 เลน เป็น 4 เลน เพราะในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เชียงของเมืองหน้าด่านตรงนี้ไม่เพียงเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจภาคการท่องเที่ยว แต่ยังเป็นฐานสำคัญเป็นจุดพักของสินค้าที่จะไหลมาเทมาจากประเทศจีน
แม้ว่าการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมทั้งอาคารที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง ยังไปได้ไม่ถึงครึ่ง สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งจมอยู่ในความเงียบเหงา เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว ประกอบกับนักท่องเที่ยวย่านนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตกไปเกาะขอบจอลุ้นการแข่งขันบอลยูโร 2012
แต่ที่ท่าเรือน้ำลึก อำเภอเชียงของวันนี้กิจการแพขนานยนต์ยังคงคึกคัก ด้วยเส้นทาง อาร์ 3 เอ ทำให้การขนส่งสินค้าสามารถทำได้โดยรถบรรทุกวิ่งไปรับสินค้าที่ด่านจีน-สปป.ลาว ที่เมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำท่า ลงแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ำโขง พอขึ้นฝั่งก็พร้อมที่จะขับออกนำสินค้ากระจายไปส่งตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศได้สะดวกทันใจ
นี่ขนาดสะพานทอดข้ามยังไม่แล้วเสร็จ ประตูเออีซียังเปิดไม่เต็มที่ สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านยังพาเหรดเข้ามากันคึกคัก การ "รู้เขา-รู้เรา" เสียแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญนัก
เพราะแล้วถ้าถึงวันนั้นแล้วเรายังไม่พร้อม นั่นหมายถึงการสูญเสียซึ่งโอกาส-โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในฐานะของเมืองหน้าด่าน
บรรยายใต้ภาพ
อาคารที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย
หลายช่วงบนเส้นทางไปเชียงของกำลังอยู่ในระหว่างการขยายถนน เพิ่มสะพาน
พ่อค้าบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรวันนี้เหงาหงอย
จุดชมวิวแห่งหนึ่งบนเส้นทางเลียบลำน้ำโขงไปเชียงของ
สุรพล เศวตเศรณี
--จบ--
--มติชน ฉบับวันที่ 4 ก.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--
คอลัมน์: AEC Report: ของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้าน : โอกาสเติบโตในตลาดอาเซียน
Source - Thai Commerce (Th/Eng)Tuesday, July 03, 2012 11:34
15301 XTHAI XECON XCOMMER XFINSV IKEY V%MAGL P%TCCQ
ธุรกิจของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน จากทุกภาคของไทยเป็นที่นิยมค่อนข้างสูงในกลุ่มชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทย นอกจากนี้ ยังมีการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศจนสามารถนำเงินตราเข้าประเทศไทยได้ปีละประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 10,000 ล้านบาท โดยมีสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกหลักคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 70 โดยอาศัยจุดเด่นที่สำคัญคือการเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ แสดงภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นของประเทศ รวมถึงชิ้นงานที่ผลิตออกมาก็มีความประณีตสวยงาม ละเอียดอ่อน และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จึงทำให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ประมาณ 1,950 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในกลุ่ม SME ถึงกว่าร้อยละ 95 ส่วนอีกร้อยละ 5 จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่อีกทั้งมีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นแรงงานในภาคการผลิตสินค้าถึงประมาณ 250,000 คน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจของขวัญของชำร่วยและของตกแต่งบ้านของไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากคู่แข่งที่มีจุดเด่นทางด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ซึ่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีต้นทุนค่าจ้างแรงงาน และต้นทุนวัตถุดิบต่ำกว่าไทย อาทิ จีน อินเดีย รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านของไทย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มขยายตัวลดลง ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรต้องเร่งพัฒนารูปแบบสินค้า ให้มีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแทนการแข่งขันทางด้านราคารวมทั้งการพัฒนาตราสินค้าของตนเอง เพื่อให้ชื่อสินค้าติดตลาดโลก ในขณะเดียวกันก็ควรเร่งแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ทดแทนการพึ่งพาตลาดดั้งเดิมเพื่อขยายโอกาสไปสู่ตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะตลาดที่ไทยมีข้อตกลงทางการค้าที่จะช่วยทำให้สินค้าไทยขยายตลาดได้ โดยไม่มีข้อจำกัดจากมาตรการภาษี ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นประเทศคู่แข่งทางด้านการส่งออกสินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านของไทย แต่จากการที่เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้กำลังมีการเติบโตสูงต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น และมีความต้องการสินค้าเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของตนเอง โดยให้ความสำคัญทางด้านคุณค่าและคุณภาพของสินค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึง กลุ่มประเทศอาเซียน (AEC) ซึ่งจะช่วยให้สินค้าของไทยมีศักยภาพและโอกาสในการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มสูงขึ้น
ตลาดอาเซียน มีหลายประเทศที่ถือเป็นคู่แข่งขันทางด้านการส่งออกสินค้าของขวัญที่สำคัญของไทย อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามประเทศในอาเซียนเองก็เหมือนกับจีน และอินเดีย กล่าวคือ เศรษฐกิจมีการเติบโตในอัตราสูงต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น ฉะนั้นจึงถือได้ว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนนอกจากจะเป็นคู่แข่ง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นคู่ค้าและตลาดส่งออกสินค้าประเภทของขวัญ ที่น่าสนใจสำหรับไทย โดยเฉพาะในปี 2558 ทั้ง 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน จะมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งถือเป็นตลาดเดียวที่มีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน จึงเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการของขวัญของไทย น่าจะเข้าไปขยายตลาดได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรรายได้ปานกลางขึ้นไปในสัดส่วนที่สูง อาทิ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งมีการเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ภายใต้แรงจูงใจจากค่าร้างแรงงานที่ต่ำ รวมทั้งการมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าทั้งน้ำมัน แร่ธาตุและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จนทำให้ประเทศเหล่านี้ มีประชากรกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าที่ผ่านมา ไทยจะมีปัญหาเรื่องต้นทุนการแข่งขันด้านราคาจึงมักเน้นการทำตลาดแบบรับคำสั่งซื้อในปริมาณมากเพื่อลดต้นทุน และสามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่น เช่น จีน และสินค้าท้องถิ่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยรูปลักษณ์สินค้าที่โดดเด่น มีคุณภาพ ช่วยสร้างความแตกต่างเมื่อเทียบกับสินค้าคู่แข่ง ประกอบกับวัฒนธรรมประเพณีที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงทำให้รูปแบบสินค้าของไทยน่าจะสอดคล้อง และเป็นที่ต้องการของตลาดในอาเซียนโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
ตลาดอาเซียนโอกาสส่งออกไทย
อาเซียน นับว่าเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกสินค้าของขวัญของไทยมีโอกาสขยายตลาดค่อนข้างสูง แม้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มของขวัญของไทยไปยังตลาดอาเซียนในปี 2554 ยังคงมีมูลค่าส่งออกเพียง 22.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.1 ของมูลค่าการส่งออกของขวัญทั้งหมด แต่อัตราการขยายตัวในการส่งออกสูงถึงร้อยละ 23.5 (YoY) ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงหากเทียบกับการขยายการส่งออกไปยังตลาดหลักเดิม ทั้งนี้ อาเซียนเป็นตลาดที่มีความต้องการนำเข้าสินค้าในกลุ่มของขวัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขยายการนำเข้าสินค้าดังกล่าวในปี 2554 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีอัตราสูงถึงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยคาดว่าการนำเข้าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ความต้องการของสินค้าในกลุ่มของขวัญที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และระดับรายได้ต่อหัวของประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ยกเว้นประเทศบรูไน) โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 9-12 ต่อปี
โอกาสในการขยายตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในอาเซียน โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มของที่ระลึก และของชำร่วย โดยในช่วงที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในอาเซียนโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 78 ล้านคน โดยประเทศที่มีโอกาสขยายตลาดสินค้าของขวัญสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรมองข้ามกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งกำลังเปิดประเทศรับการลงทุนตลอดถึงนักท่องเที่ยว ทำให้จำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางไปประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นในอัตราสูง และจะเป็นตลาดรองรับสินค้าของขวัญ ของชำร่วย ที่มีอนาคตสำหรับไทย
นอกจากนี้ การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ยิ่งเป็นปัจจัยหนุนในการขยายตลาดของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนได้เพิ่มขึ้น เนื่องจาก AEC จะช่วยให้การเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบระหว่างประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนได้สะดวกและเสรีมากขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันสินค้าในกลุ่มของขวัญจากไทย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นแหล่งนำเข้าหลักของประเทศในกลุ่มอาเซียน (เป็นแหล่งส่งออกอันดับ 8 ของอาเซียน) แต่อย่างไรก็ตาม จากโอกาสที่กล่าวมาข้างต้น อาจทำให้ไทยมีแนวโน้มที่จะสามารถขยายมูลค่าการส่งออกมายังตลาดอาเซียนได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับสินค้าของขวัญของไทยซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดอาเซียน คือ สินค้าพวกประทีปโคมไฟ (คิดเป็นร้อยละ 83 ของมูลค่าส่งออกของขวัญไปยังอาเซียน) และสินค้าที่ใช้ในการตกแต่งสำหรับช่วงเทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ (ร้อยละ 10)
ความต้องการสินค้า ของขวัญ ของชำร่วย และของตกแต่งบ้านในตลาดโลกแม้ว่าจะมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น ตามจำนวนประชากรและกำลังซื้อของโลกที่ปรับสูงขึ้นแต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้ก็นับว่ามีแนวโน้มการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะการแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตโดยประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า ที่เข้ามาแข่งขันในตลาดส่งออกหลัก จนทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลเป็นแรงผลักดันทำให้ผู้ประกอบการของไทย จำเป็นต้องการลดการแข่งขันในตลาดที่เน้นปัจจัยทางด้านราคาและหันมาพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งรูปแบบและความหลากหลายของสินค้าอย่างตื่อเนื่อง
ทั้งนี้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม ในขณะเดียวกัน ก็ควรเร่งแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ๆ ที่มีศักยภาพเพิ่มเติม เพื่อเป็นการรองรับในกรณีที่ตลาดดั้งเดิมมีปัญหา และยังช่วยขยายตลาดส่งออกให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประการสำคัญ เพื่อเรียนรู้และเข้าถึงความต้องการของลูกค้า ผู้ประกอบการไทยควรหาโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การผลิตสินค้าสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงในแต่ละตลาด ซึ่งจะช่วยให้สินค้าไทยมีศักยภาพการส่งออกอย่างยั่งยืน
--Thai COMMERCE ฉบับที่ 26 วันที่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2555--
ธุรกิจโลจิสติกส์ครึ่งหลังปี 2555: ปัจจัยบวกจากการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค…รองรับ AEC
Source - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจ. (Th)Thursday, July 05, 2012 17:28
56930 XTHAI XECON XCORP XTRANS V%RESEARCHL P%TFRC
ตั้งแต่ต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ธุรกิจโลจิสติกส์กลับมามีความคึกคักมากขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ที่ได้กลับมาเร่งผลิตและเร่งกระจายสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าขาดแคลน นอกจากนี้ การเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ยังได้รับปัจจัยหนุนเฉพาะของธุรกิจที่มาจากการพัฒนาระบบเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญ สำหรับเส้นทางที่มีกิจกรรมการขนส่งที่คึกคักนั้น จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เส้นทาง R3A ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน เส้นทาง R8 R9 และ R12 ที่เชื่อมโยงไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน เป็นต้น เห็นได้จากสถิติการค้าชายแดน และจำนวนรถยนต์ที่ผ่านชายแดนตามเส้นทางดังกล่าวเติบโตเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ภาครัฐมีแผนการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะการคมนาคมทั่วประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็วและรองรับปริมาณขนส่งระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านที่น่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 ซึ่งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะช่วยเสริมโอกาสในการขยายตลาดของธุรกิจไทย รวมทั้งกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมตัดผ่าน นอกจากนี้ จะเป็นการลดปัญหาคอขวดที่มีอยู่ เช่น ศักยภาพในการให้บริการของท่าเรือและสนามบิน อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันของธุรกิจไทยในด้านต่างๆได้อย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ โอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ที่จะได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาเครือข่ายระบบขนส่งสาธารณะ ดังนี้
โครงข่ายคมนาคมส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโลจิสติกส์...เร่งพัฒนาสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน
การพัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศได้นำพาความเจริญและส่งเสริมเศรษฐกิจในภาคต่างๆของไทย อีกทั้งประเทศไทยต้องการผลักดันบทบาทในการเป็นศูนย์กลาง (Hub) ด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน จากจุดแข็งในด้านทำเลที่ตั้งซึ่งที่เป็นเส้นทางผ่านที่เชื่อมไปถึงเกือบทุกประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน
ด้วยความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์นี้ ส่งผลให้ไทยมีบทบาทสูงในด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมทั้งสามารถส่งต่อไปยังประเทศข้างเคียง เช่น เวียดนามและมณฑลตอนใต้ของประเทศจีน ผ่านด่านชายแดนสำคัญที่กระจายตัวอยู่ตามขอบชายแดนในภาคต่างๆ ของไทย เห็นได้จากรายงานของด่านศุลกากรในหลายๆ จังหวัด พบว่า สถิติการค้าชายแดนของไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดที่มีโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคจะมีอัตราการขยายตัวที่โดดเด่น
แนวโน้มการค้าชายแดนยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดที่มีสะพานข้ามแม่น้ำ อาทิ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร และหนองคาย อีกทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ. เชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า ซึ่งจังหวัดเหล่านี้เป็นประตูตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น เส้นทาง R3A ที่เชื่อมการคมนาคมระหว่างประเทศ ไทย ลาว และจีน และเส้นทาง R1 R9 R12 ที่จะมีความสำคัญมากขึ้นในการขนส่งระหว่างประเทศอาเซียนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออกและตะวันตก และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าในอนาคต
นอกจากโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพแล้ว การผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการคมนาคมขนส่งข้ามพรมแดน ภายใต้กรอบ AEC ก็จะยิ่งเอื้ออำนวยให้การไหลเวียนของโลจิสติกส์ในภูมิภาคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจขนส่งทางถนนเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีปริมาณการขนส่งระหว่างประเทศเติบโตเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเพียง 2 ปี (จาก 11.2 ล้านตัน ในปี 2550 เป็น 21.3 ล้านตัน ในปี 2552) ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการค้าชายแดนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามชายแดน
สำหรับโอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้บริการโลจิสติกส์ผ่านเส้นทางทางบกที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของการค้าและการลงทุนภายใต้ AEC แต่ขณะเดียวกัน ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากหลายๆด้าน โดยเฉพาะแรงกดดันจากการแข่งขันที่จะสูงขึ้น เมื่อต้องเผชิญคู่แข่งที่เป็นธุรกิจต่างชาติที่มีเงินทุนและเทคโนโลยีที่เพรียบพร้อม ซึ่งกลยุทธ์ในการปรับตัวอาจมีหลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเป้าหมายทางธุรกิจและทรัพยากรของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยแนวทางที่เป็นไปได้ เช่น การหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อที่จะเติมเต็มช่องว่างในการบริการให้สามารถให้บริการธุรกิจได้อย่างครบวงจรในระดับเดียวกับบริษัทต่างชาติ หรืออาจวางตำแหน่งการตลาดสร้างความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการการบริการเฉพาะด้าน เช่น การขนส่งและจัดเก็บเคมีภัณฑ์ หรือสินค้ามีมูลค่าสูง รวมไปถึงการรับช่วงให้บริการกับบริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่หรือบริษัทต่างชาติ
แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งหลัง ปี 2555
ธุรกิจโลจิสติกส์ในครึ่งปีหลังน่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากความต้องการใช้บริการขนส่งในภาคการเกษตร ก่อสร้าง และค้าปลีก ขณะเดียวกัน แม้ว่าอุปสงค์ในต่างประเทศมีแนวโน้มอ่อนแรงลง แต่ในแง่อัตราการขยายตัวก็อาจยังอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งธุรกิจประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรง นอกจากนี้ ธุรกิจโลจิสติสก์ยังได้รับปัจจัยเสริมจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง แต่อย่างไรก็ดีธุรกิจโลจิสติกส์ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 40 และการบริหารจัดการคนขับรถ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ ณ ราคาปีปัจจุบัน จะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีขึ้น โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.3-8.0 ในปี 2555 (สูงขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2554) และจากการที่ภาครัฐที่มีนโยบายการลงทุนในระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคต่างๆ อาทิ การจัดตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขง เป็นต้น ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดใช้การได้ตามแผนการที่ภาครัฐวางไว้จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการได้มากขึ้น
จากแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ด้านการพัฒนาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในปี 2555-2559 ได้เน้นลงทุนในด้านสาขาการขนส่งกว่าร้อยละ 70 และส่วนใหญ่จะเป็นในด้านการขนส่งทางบก ซึ่งจะส่งเสริมการขนส่งทางบก ที่มีอัตราส่วนกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการขนส่งสินค้าในประเทศทั้งหมด ประกอบกับโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ในไทยที่เป็น SMEs เป็นสัดส่วนสูงถึง 99.9 (และเป็นขนาดเล็กถึง 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมด) ซึ่งอยู่ในธุรกิจขนส่งทางรถยนต์กว่าร้อยละ 80 โดยการขนส่งผู้โดยสารทางถนนมีสัดส่วนรวมร้อยละ 59.4 และการขนส่งสินค้าทางถนนมีสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งหมด
หากแผนพัฒนาด้านลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นไปตามนโยบายจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการขนส่ง จากการใช้วิธีการขนส่งรูปแบบเดียว เช่น ใช้รถยนต์ขนส่งไปยังท่าเรือเพื่อส่งออก เปลี่ยนมาเป็นการใช้หลายรูปแบบในการขนส่ง (Intermodal Transportation) เช่น การขนส่งโดยใช้รถยนต์แล้วเปลี่ยนเป็นทางรถไฟ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไปยังท่าเรือ ซึ่งในปัจจุบันการส่งด้วยวิธีทางรถไฟยังไม่มีประสิทธิภาพพอ แต่หากได้มีการปรับปรุงและก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง อาจทำให้คนหันมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำลงกว่าเดิมมาก และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความสามารถให้บริการหลายรูปแบบดังกล่าวจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อตอบสนองการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่งของภาคธุรกิจต่างๆ
เพิ่มศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาคต่างๆมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญในการใช้เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสินค้าและขนส่งสินค้า และยังช่วยตอบสนองต่อการขยายตัวของความต้องการในภูมิภาคต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น การขยายตัวของการค้าชายแดนจะทำให้ความต้องการสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้ามีศูนย์กระจายสินค้าย่อยในการกระจายสินค้าในภาคต่างๆ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและความต้องการจากประเทศเพื่อนบ้านได้ แม้ว่าธุรกิจคลังสินค้าในบริเวณที่ประสบอุทกภัยชะลอตัวลง แต่โดยรวมธุรกิจให้บริการคลังสินค้ามีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากอุทกภัย อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ธุรกิจโลจิสติกส์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศ ได้รับผลบวกจากการลงทุนจากต่างประเทศ การขยายฐานการผลิตและศูนย์กระจายสินค้าสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งการขยายตัวของความเป็นเมือง และการท่องเที่ยวที่มีความคึกคักมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีแผนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ จะช่วยเสริมให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งภาครัฐวางแผนที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงให้เหลือร้อยละ 13 ภายในปี 2560 จากร้อยละ 15.2 ในปี 2553
สำหรับปัจจัยภายนอกประเทศ คาดว่ามีแรงสนับสนุนมาจากผลของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความร่วมมือในกรอบ ASEAN Plus กับประเทศพันธมิตรนอกอาเซียน เช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งจะส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่นๆ ระหว่างกันภายในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าชายแดนที่จะเติบโตขึ้นอย่างมาก
ทั้งนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2555 นี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากอุปสงค์ในตลาดโลกอ่อนแรงลง จากปัญหาวิกฤตหนี้ในยูโรโซน ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย แต่จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งปัจจัยบวกที่มีต่อธุรกิจโลจิสติกส์ดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจช่วยผลักดันธุรกิจโลจิสติกส์ให้เติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มูลค่าจีดีพีในภาคขนส่งและโลจิสติกส์ในปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็น 569,774-578,732 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 6.3-8.0 จาก 536,059 ล้านบาท ในปี 2554
นอกจากนี้ ในปี 2556 จะมีการเปิดเสรีสาขาบริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาบริการที่มีการเร่งรัดเปิดเสรีภายในกรอบ AEC จากการที่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน ดังนั้น นอกเหนือการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังจะมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคโดยใช้เส้นทางผ่านไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีแนวโน้มขยายตัวสูงนับจากนี้และหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคที่จะพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน จะไม่เพียงแต่สนับสนุนการเชื่อมโยงภายในภูมิภาคในด้านการค้าเท่านั้น แต่ยังจะสนับสนุนการเชื่อมโยงของแหล่งอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการลงทุนในอนาคต
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Disclaimer
รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
* ผู้สนใจสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ฝ่ายสนับสนุนองค์กร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด อาคารธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. (66 2) 0-2273-1883-5 โทรสาร. (66 2) 0-2270-1218 หรือ 0-2270-1235, 0-2270-1569, 0-2271-4032 Email: kr.info@kasikornresearch.com http://www.kasikornresearch.com
-ดท-
ความคิดเห็น