รวมข่าว AEC 16 - 20 July 2012 #Aseantwt




CLMV…ตลาดเป้าหมายของไทยกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC
Source - EXIM Bank (Th/Eng)


          ปํจจุบันสถานการณ์การค้าการลงทุนของโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปที่ลุกลามรุนแรงขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยที่ทำการค้าหรือเข้าไปลงทุนในประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวโดยเฉพาะจากปญั หาความล่าช้าในการชำระค่าสินค้าและบริการ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรมองหาโอกาสและตลาดใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียงอย่างกลุ่มประเทศCLMV ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม เนื่องจากเป็นตลาดที่กำลังพัฒนาและมีความพร้อมในหลายด้านทั้ง เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม อีกทั้ง โอกาสทางการค้าและการลงทุนยังเปิดกว้างอยู่มาก กล่าวคือ เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งแรงงานที่มีค่าจ้างไม่สูงมากนัก จึงทำให้กลุ่มประเทศ CLMV เป็นทั้งแหล่งผลิตและตลาดใหม่ที่นักลงทุนทั้ว โลกให้ความสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยความได้เปรียบด้านการแข่งขันในกลุ่มประเทศ CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) รวมทั้งจากปัจจัยที่กลุ่มประเทศ CLMV มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งทางด้านภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
          กระแสการรวมตัวสู่การเป็น AEC ในปัจจุบันเข้มข้นขึ้นทุกขณะ ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศต่างตื่นตัวและเร่งเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ AEC ในปี 2558 ไม่เว้นแม้กระทั้ง กลุ่มประเทศ CLMVทั้งนี้ สำหรับการติดตามความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในการก้าวสู่ AEC สามารถพิจารณาได้จากเครื่องมือติดตามและประเมินผล หรือที่เรียกว่า “AEC Scorecard” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เพื่อเป็นกลไกในการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของสมาชิกอาเซียนเป็นรายประเทศ รวมทั้งภาพรวมการดำเนินงานในระดับภูมิภาค โดยโครงสร้างของ AEC Scorecard ประกอบด้วยแผนงานที่สำคัญ 4 ประการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเป็น AEC ในปี 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
          1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) โดยมีแผนงานที่จะส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี
          2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Competitive Economic Region) โดยส่งเสริมกรอบนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ นโยบายการแข่งขัน นโยบายด้านภาษี สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
          3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค (Equitable Economic Development) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก โดยสนับสนุนการพัฒนา SMEs ตลอดจนการส่งเสริมโครงการต่างๆภายใต้กรอบการริเริ่มการรวมกลุ่มอาเซียน
          4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Integration into the Global Economy) โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนที่มีต่อประเทศภายนอกภูมิภาค อาทิ การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายด้านการผลิตและจำหน่าย เป็นต้น
          การจัดทำ AEC Scorecard เป็นการประเมินผลคะแนนในรูปของเปอร์เซ็นต์ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถทำได้ตามแผนงาน โดยเทียบกับแผนงานที่ต้องทำทั้งหมด นอกจากนี้ ยังแบ่งการประเมินผลการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (ปี 2551-2552) ระยะที่ 2 (ปี 2553-2554) ระยะที่ 3 (ปี 2555-2556)และระยะที่ 4 (ปี 2557-2558) ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนจะเสนอ AEC Scorecard ให้ผู้นำอาเซียนทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ของทุกปีทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ เดือนมีนาคม 2555 พบว่าการประเมินผลของ AEC Scorecard ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ในภาพรวมประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศสามารถปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานเพื่อจัดตั้ง AEC ได้คะแนนเฉลี่ยที่86.7% และ 55.8% ตามลำดับ ส่งผลให้ในช่วงระหว่างปี 2551-2554 ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศสามารถปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานได้คะแนนเฉลี่ยที่ 67.5% ซึ่งแบ่งเป็นการบรรลุเป้าหมายในด้านต่างๆดังนี้
          - การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน 65.9%
          - การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 67.9%
          - การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 66.7%
          - การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก 85.7%
          เป็นที่น่าสังเกตว่าการดำเนินงานภายใต้แผนการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกของอาเซียนมีความคืบหน้ามากที่สุด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาเซียนมีการรวมกลุ่มกับเศรษฐกิจโลกโดยการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น(Closer Economic Partnership : CEP) กับหลายประเทศ อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งการลงนามในข้อตกลงดังกล่าวนับเป็นการขับเคลื่อนบทบาทของอาเซียนในเวทีการค้าโลกโดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                              AEC Scorecard (ปี 2551-2552) จำแนกรายประเทศ
          ประเทศ           ลำดับ           คะแนนที่ทำได้ตามแผนงาน   จำนวนแผนงานที่ทำได้ต่อแผนงานที่ต้องทำทั้งหมด
          สิงคโปร์            1                     96.30%                     103/107
          บรูไน               2                     95.40%                     103/108
          เวียดนาม          3                     95.30%                     102/107
          ฟิลิปปินส์          4                     94.50%                     103/109
          ไทย                 5                     94.40%                     102/108
          มาเลเซีย           6                     93.52%                     101/108
          พม่า                 7                     91.60%                     98/107
          กัมพูชา             8                     86.92%                     93/107
          สปป.ลาว           9                     85.80%                     91/106
          อินโดนีเซีย       10                     85.19%                     92/108
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          สำหรับความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ AEC ของกลุ่มประเทศ CLMV หากพิจารณาจาก AEC Scorecard (ปี 2551-2552) พบว่าเวียดนามสามารถดำเนินการตามแผนงานได้มากที่สุด โดยได้คะแนนเฉลี่ย 95.3% อยู่ในลำดับที่ 3 ของอาเซียน รองลงมา ได้แก่ พม่า กัมพูชา และ สปป.ลาว โดยอยู่ในลำดับที่ 7-9 ของอาเซียน ตามลำดับ ส่วนไทยสามารถทำได้คะแนนเฉลี่ย 94.4% อยู่ในลำดับที่ 5 ของอาเซียนซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มประเทศ CLMV ส่วนใหญ่ยังมีความล่าช้าในการปฏิบัติตามแผนงานที่จะก้าวสู่ AECในปี 2558 สะท้อนจากลำดับคะแนนที่อยู่ค่อนข้างรั้งท้าย อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มประเทศ CLMV จะมีความล่าช้าในการปฏิบัติตามแผนงานอยู่บ้างภายใต้การประเมินผลของ AEC Scorecard แต่ในช่วงที่ผ่านมาในทางปฏิบัติทุกประเทศได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามและการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ AEC โดยมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
          กัมพูชา : รัฐบาลกัมพูชาได้เร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากการเมืองในประเทศเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นเป็นลำดับ โดยรัฐบาลกัมพูชามุ่งให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกในภาคส่งออกและภาคการลงทุนผ่านช่องทางการใช้หลักธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถของการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ ยังเน้นการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnerships : PPPs) ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นซึ่งรัฐบาลกัมพูชาพร้อมให้การสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันการสนับสนุนทางการเงิน และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นสำคัญ
          สปป.ลาว : จุดอ่อนที่สำคัญของ สปป.ลาว อยู่ที่ข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเชิงคุ้มครองมากกว่าเชิงส่งเสริม อีกทั้งยังขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติมองว่าการลงทุนใน สปป.ลาว ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ดังนั้น ในช่วงที่ผานมารัฐบาล สปป.ลาว ได้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ AEC โดยเร่งแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวด้วยการปฏิรูปข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของอาเซียน รวมทั้งการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (ปี 2554-2558) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ สปป.ลาว บรรลุเป้าหมายในการก้าวสู่ AEC อย่างสมบูรณ์
          พม่า : แม้ว่าการเปิดประเทศของพม่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่รัฐบาลพม่าได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการนำพาประเทศให้ยืนหยัดอย่างมั่น คงบนเวทีการค้าโลก ซึ่งนับตั้งแต่รัฐบาลพม่าปฏิรูปการเมืองและนางออง ซาน ซูจี ได้รับอิสรภาพ ทุกความเคลื่อนไหวของพม่าได้ถูกจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลกโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้ง การที่หลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประกาศผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า โดยในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลพม่าได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงความมุ่งมั่น ในการก้าวสู่ AEC สะท้อนจากการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นแบบแผนกล่าวคือ ในด้านการปกครอง พม่ายึดสิงคโปร์เป็นต้นแบบ ในด้านการลงทุนมีจีนและเกาหลีใต้เป็นต้นแบบในด้านการพัฒนาตลาดทุนมีญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ และในด้านเกษตรกรรมมีเวียดนามเป็นต้นแบบ เป็นต้นนอกจากนี้ การที่พม่าจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2557 ยังเป็นสัญญาณที่มีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของพม่า เพื่อเตรียมก้าวสู่ AEC ในปีถัดไป
          เวียดนาม : เวียดนามมีความพร้อมค่อนข้างมากในการก้าวสู่ AEC เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในหลายด้านทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลเวียดนามได้เร่งปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ทั้งด้านภาษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้เวียดนามมีความพร้อมในทุกๆ ด้านก่อนก้าวสู่ AEC ในปี 2558
          ทั้งนี้ แม้ว่าในภาพรวมการก้าวสู่ AEC ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมีความคืบหน้าในด้านต่างๆ ไปมาก แต่ทุกประเทศก็ยังมีความล่าช้าในบางประเด็นซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการก้าวสู่ AEC ซึ่งย่างก้าวสู่ AEC ที่เหลือในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจำเป็นต้องอาศัยการรวมพลังครั้ง ใหญ่ของประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้ง ความมุ่งมั่น ของประเทศสมาชิกทั้ง หมดที่จะผลักดันให้การดำเนินการตามแผนงานต่างๆ บรรลุเป้าหมายได้ตามที่วางไว้
          Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆที่อาจเกิดขึ้นจากการทีมี่บุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

          --ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--

-พห-


ปลุกแบรนด์ไทยสู้ AEC 3 กูรู ชูแนวคิดพัฒนาสินค้า/รุก-รับอย่างยั่งยืน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)


          3กูรูแนะผู้ประกอบการไทยสร้างแบรนด์สู้ศึกเออีซีนายกสมาคมการตลาดฯเน้นพัฒนาสินค้าสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนเครือสหพัฒน์ ติวเข้มด้านข้อมูลศึกษาตลาดตามรอยหน่วยงานรัฐ ก่อนเดินหน้าเต็มสูบด้านแบรนด์บีอิ้งกระตุ้นเอสเอ็มอีไทยเสริมแกร่ง ปั้นแบรนด์รับมือธุรกิจเทศ ตบเท้าบุกไทย
          นายอนุวัตรเฉลิมไชยนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแบรนด์ บริษัทเอสซีจีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจำกัด เปิดเผยว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 เป็นการสร้างฐานตลาดและผู้บริโภคให้ใหญ่ขึ้นจากประชากร 67 ล้านคนจะเพิ่มเป็น600ล้านคนส่วนภาษีสินค้าและบริการจะลดเหลือเกือบ0%จากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟต้า)เปิดโอกาสให้สินค้าและบริการไหลเข้ามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ขณะเดียวกันจะพบว่าคู่แข่งไม่ได้มีแค่อาเซียนแต่ควรมองไปถึงจีน และประเทศอื่นทั่วโลก
          ทั้งนี้การที่ผู้ประกอบการจะตั้งรับการเปิดเออีซีในเวลานี้ถือว่าช้าเกินไปโดยเครือเอสซีจีมีการมองธุรกิจไปสู่ตลาดระดับภูมิภาคหรือรีจินัลตั้งแต่ปี2547โดยนำเสนอสินค้าไปยังผู้บริโภคแต่ละประเทศรวมทั้งขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนมีมูลค่าสินทรัพย์ราว1.8พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว5.29หมื่นล้านบาทคิดเป็น14%ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด เช่น การลงทุนในเวียดนาม(RMC)มูลค่า1.15 หมื่นล้านบาทฟิลิปปินส์7.1พันล้านบาทอินโดนีเซีย 2.9หมื่นล้านบาท และพม่า150ล้านบาทโดยการสร้างแบรนด์จะแตกต่างกัน ได้แก่ แบรนด์ตราช้างเจาะตลาดโลคัลหรือในประเทศSCGเจาะตลาดรีจินัล และCOTTO เป็นแบรนด์ระดับโลก
          "เครือเอสซีจีมองตลาดรีจินัลมานานและมุ่งสร้างสินค้ามูลค่าเพิ่มสูงพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้าให้ผู้บริโภคจริงๆและสร้างการรับรู้ไปยังผู้บริโภค เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับแบรนด์และสินค้า"
          นายสันติวิลาสศักดานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้งจำกัด(มหาชน)กล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วงเมื่อเปิดเออีซีคือการลอกเลียนแบบสินค้าไทยแล้วผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดอาเซียนด้วยราคาที่ต่ำกว่า บางประเทศอาจผลิตสินค้าชนิดเดียวกันไปจำหน่ายในตลาดก่อนและสร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างมากจึงต้องการให้รัฐบาลแต่ละประเทศร่วมมือกันหามาตรการป้องกันเรื่องดังกล่าวให้ได้รวมทั้งกำหนดมาตรฐานสินค้าให้ชัดเจน
          ขณะเดียวกันเครือสหพัฒน์มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์สินค้าไว้หมดแล้วเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ทั้งพม่า กัมพูชาโดยเลี่ยงการลงทุนตั้งโรงงานบริเวณชายแดนเพราะกังวลว่าหากฝึกฝนแรงงานจนมีความสามารถและเชี่ยวชาญแล้วจะไหลกลับเข้ามาในประเทศไทย เพราะค่าแรงสูงกว่า
          "ผู้ประกอบการที่สนใจจะบุกตลาดอาเซียนจะต้องรีบทำการบ้านอย่างรวดเร็วเพื่อศึกษาตลาด และพฤติกรรม รสนิยมความต้องการของผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมมีการเดินสายไปยังประเทศต่างๆสามารถตามไปเก็บข้อมูลและดูโอกาสทางการตลาดว่าสินค้าของเราที่นั่นจะขายได้หรือไม่ขณะที่การจะเข้าไปลงทุนก็ต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ดีเพราะบางประเทศอย่างพม่ายังไม่มีความชัดเจนเลยทั้งราคาที่ดินการถือครองสิทธิ์การถือหุ้นและร่วมทุนต่างๆ แต่เครือก็มีการส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายหลายรายการอาทิมาม่าซึ่งตั้งโรงงานกว่า10ปีแล้วเครื่องสำอางบีเอสซีก็เติบโตเป็นสิบเท่าตัวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและภายใน  5ปีคาดว่ายังเติบโตได้อีกเท่าตัว"
          ด้านดร.ศิริกุลเลากัยกุลประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบรนด์บีอิ้ง จำกัดกล่าวว่าการที่ผู้ประกอบการไทยจะบุกตลาดเออีซีสิ่งสำคัญคือสินค้าจะต้องมีมาตรฐานเดียวกันเพราะการผลิตจะเป็นหนึ่งเดียวทั้งหมด(OneProductBase)
          สินค้าและบริการต่างๆจะต้องลุกขึ้นมาดูแลแบรนด์ของตัวเองให้แข็งแกร่งเพราะเมื่อตลาดใหญ่และมีโอกาสมากขึ้นแต่คู่แข่งก็จะมีมากขึ้นเช่นกันซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดมีแบรนด์สินค้าที่ไม่แข็งแกร่งก็จะถูกบีบให้อยู่ในธุรกิจยากลำบากขณะเดียวกันจะต้องกำหนดว่าจะเป็นแบรนด์ระดับโลกหรือระดับสากล
          ทั้งนี้การเปิดเออีซีมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ2กลุ่มคือผู้รับจ้างผลิต(โออีเอ็ม) โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพและมาตรฐานการผลิตสินค้าบุคลากรมีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ ก็จะได้โอกาสถูกเลือกเป็นพาร์ตเนอร์แบ่งโนว์ฮาวจากแบรนด์ระดับโลกแต่ถ้าสื่อสารไม่รู้เรื่องก็อาจหันไปเลือกผู้ประกอบการเวียดนามแทนและกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีแบรนด์สินค้าของตัวเองก็ต้องเตรียมรับมือกับสินค้าที่จะเข้ามาต้องรักษาฐานตลาดในประเทศให้ได้โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและบริการซึ่งฟิลิปปินส์มีความเชี่ยวชาญมากและจำหน่ายอาหารแบบสากลหากเข้ามาบุกตลาดไทย แบล็คแคนยอน, เอสแอนด์พีต้องเตรียมพร้อมสร้างเอกลักษณ์และมีความเป็นรีจินัลมากขึ้นเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการเปิดเออีซีให้เต็มที่
          "ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่มีแบรนด์หรือไม่หากไม่พัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปธุรกิจก็จะสูญพันธุ์จะปรับก่อนหรือให้อนาคตมาไล่ตามเพราะเมื่อเปิดเออีซีแบรนด์ไทยไปบุกประเทศเพื่อนบ้านได้แบรนด์อื่นก็เข้ามาทำตลาดในไทยได้ง่ายขึ้นเช่นกันขณะเดียวกันต้องพิจารณาคอนเซ็ปต์หลักว่าเออีซีคือการขายสินค้าที่มีสแตนดาร์ดเดียวกันทุกอย่างคือซิงเกิลมาร์เก็ตต้องแยกความเข้าใจด้านการลงทุน เพราะนักลงทุนที่ไหนก็เข้าไปได้ที่ผ่านมาจะเห็นว่าแบรนด์สินค้าจากต่างประเทศล้วนรอความชัดเจนของกฎหมายก่อนเข้ามาทำตลาดส่วนโลคัล แบรนด์ก็จะต้องกำหนดลูกค้าให้ชัดมากขึ้นว่าจะเจาะโลคัลหรือผลิตสินค้าขายข้ามพื้นที่ได้ เช่น รีจินัลแบรนด์ รีจอยซ์ขายได้ทั้งไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์"

          บรรยายใต้ภาพ
          oสันติวิลาสศักดานนท์
          oดร.ศิริกุลเลากัยกุล
          oอนุวัตรเฉลิมไชย--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 - 18 ก.ค. 2555--


'มิตรผล'สยายปีกรับเสรีอาเซียน วางแผนลงทุนขยายกำลังผลิต-การตลาด 'เอทานอล-ชีวมวล'
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th)


          กลุ่มมิตรผล เตรียมแผนลงทุนรุกสู่เออีซี ประเดิมขยายกำลังผลิตเอทานอล และจับมือพันธมิตรผุดโรงงานแห่งใหม่ ส่งเอทานอลขายให้เวียดนามและฟิลิปปินส์ หลังทั้ง 2 ประเทศดันนโยบายใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้น และรองรับการยกเลิกเบนซิน 91 ต.ค.นี้ พร้อมทุ่มอีก 3,200 ล้านบาท สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล 32 เมกะวัตต์ หากการเจรจากับกฟผ.สำเร็จภายในปีนี้ ส่วนการลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลในกัมพูชา รอลุ้นอีก 3 ปี
          นายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน กลุ่มมิตรผล เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงการรองรับในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ว่า ขณะนี้กลุ่มมิตรผลอยู่ระหว่างการศึกษาลู่ทางการลงทุนต่างๆ แล้ว โดยเฉพาะการขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพื่อรองรับการส่งออกมากขึ้น จากปัจจุบันกลุ่มมิตรผลผลิตเอทานอลอยู่ประมาณ 900,000 ลิตรต่อวัน โดยมีสัดส่วนการส่งออกประมาณ400,000 ลิตรต่อวัน หรือราว 45 % ส่วนที่เหลือจำหน่ายภายในประเทศ
          ทั้งนี้แรงจูงใจสำคัญในการขยายโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากประเทศเวียดนามได้มีนโยบายที่จะนำเอทานอลไปผสมน้ำมันเบนซินหรือแก๊สโซฮอล์ในสัดส่วน 5%ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปีหน้าตามเมืองใหญ่ๆก่อน ซึ่งทำให้มีความต้องการใช้เอทานอลในปริมาณที่มากขึ้น จากปัจจุบันมีกำลังกาผลิตอยู่ 900,000 ลิตรต่อวัน ประกอบกับรัฐบาลฟิลิปปินส์เองมีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนการผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซินจาก 5% เป็น 10% ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้น่าจะเป็นโอกาสให้กลุ่มมิตรผลส่งออกเอทานอลได้มากขึ้นด้วยจากปัจจุบันมีกำลังผลิตอยู่ 300,000 ลิตรต่อวัน
          อีกทั้งเพื่อเป็นการรองรับนโยบายของรัฐบาล ที่จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ในเดือนตุลาคม 2555 นี้จะทำให้ปริมาณการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นมากอีก800,000 ลิตรต่อวันจากปัจจุบันใช้อยู่ 1.2 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งจะเป็นตลาดหลักสำคัญในการขยายกำลังการผลิตเอทานอลของกลุ่มมิตรผลได้ โดยในช่วง6เดือนที่ผ่านมากลุ่มมิตรผลได้ทำการส่งออกเอทานอลไปแล้วประมาณ80 ล้านลิตรจากทั้งหมดที่มีการส่งออกราว120 ล้านลิตร และคาดว่า 6 เดือนหลังจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เนื่องจากกรมสรรพสามิตได้ผ่อนผันระเบียบการส่งออก จากการรวมปริมาณของโรงงานต่างๆทำการส่งออกร่วมกันได้
          นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ส่วนการขยายกำลังการผลิตนั้นในปีหน้า จะดำเนินการที่โรงงานผลิตเอทานอลจังหวัดชัยภูมิเพิ่มขึ้นอีก 270,000 ลิตรต่อวัน จากที่ผลิตอยู่230,000 ลิตรต่อวัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 700-800 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงงานผลิตเอทานอลที่จังหวัดตาก จากปัจจุบันผลิตอยู่200,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งระหว่างนี้กำลังศึกษาว่าจะนำอ้อยจากสหภาพพม่าเข้ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลได้มากน้อยเพียงใด
          นอกจากนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตร 2-3 ราย ที่จะร่วมมือในการตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ขนาดกำลังผลิต300,000 ลิตรต่อวันขึ้นมาอีก ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาท ที่คาดว่าน่าจะได้ข้อยุติภายในปีนี้ หากดำเนินการตามแผนได้ จะทำให้กลุ่มมิตรผลมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 1.2-1.5 ล้านลิตรต่อวัน
          นายประวิทย์ กล่าวเสริมอีกว่า ส่วนการลงทุนด้านโรงไฟฟ้าชีวมวลนั้น ขณะนี้กลุ่มมิตรผลมีโรงไฟฟ้าอยู่5 แห่งมีกำลังผลิตรวม 307 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.) ในการป้อนไฟฟ้าเข้าระบบของพื้นที่จังหวัดเลย หากได้ข้อยุติได้ภายในปีนี้ ก็จะสามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดเลยขึ้นได้อีก1 แห่ง ขนาดกำลังการผลิต 32 เมกะวัตต์ใช้เงินลงทุนประมาณ 3,200 ล้านบาท
          นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉายประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า สำหรับการลงทุนหลังเปิดเออีซีแล้ว กลุ่มมิตรผลมีแผนที่จะเข้าไปก่อสร้างโรงงานน้ำตาลในกัมพูชา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขอสัมปทานพื้นที่ถาวรในการปลูกอ้อยประมาณ 18,000 เฮกเตอร์หรือประมาณ108,000 ไร่ หากมีความชัดเจนภายในปีนี้จะใช้ระยะเวลาการปลูก 3 ปี และพร้อมจะตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นมา ส่วนจะมีกำลังการผลิตเท่าใดนั้น ต้องรอผลการศึกษาก่อน
          ส่วนในสหภาพพม่าเองก็มีการศึกษาพื้นที่การปลูกอ้อยไว้หลายพื้นที่เพราะรัฐบาลมีการส่งเสริมการปลูกอ้อยมากขึ้นแต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปและความชัดเจนว่าจะเลือกพื้นที่ใด
          อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเปิดรับเออีซีดังกล่าวทางกลุ่มมิตรผลได้มีการปรับภาพลักษณ์และโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจใหม่ จากเดิมที่ธุรกิจบริษัท ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล พลังงาน ปาร์ติเกิลบอร์ด และธุรกิจการปลูกอ้อย จะแยกกันเป็นบริษัททำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพ และการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าในขณะที่การใช้ชื่อกลุ่มมิตรผลจะได้รับความไว้วางใจมากกว่า จึงได้มีการปรับชื่อของกลุ่ม ธุรกิจในเครือและโลโกเพื่อให้มีความสอดคล้องกับชื่อและรูปแบบสัญลักษณ์ของกลุ่มมิตรผลในภาพรวม

          บรรยายใต้ภาพ
          o ประวิทย์  ประกฤตศรี--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 - 18 ก.ค. 2555--


‘คอนวูด’ ชิงไหวชิงพริบธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ลุยขยายตัวแทนขายใน พม่า ลาว กัมพูชา รับมือเปิด AEC
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ (Th)


          รับชมข่าว VDO -->
          P { margin: 0px; }
          นายสุทธิพันธ์ วัชโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอนวูด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุทดแทนไม้ภายใต้ชื่อ “คอนวูด” กลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวง เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทฯ ได้ขยายตลาดวัสดุทดแทนไม้คอนวูดไปยังตลาดต่างประเทศ โดยชูจุดเด่นด้านสินค้าวัสดุทดแทนไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และง่ายต่อการติดตั้งคล้ายกับไม้จริง เพื่อสร้างการรับรู้ผ่านงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ พร้อมร่วมกับตัวแทนจำหน่ายจัดสัมมนาให้ความรู้ถึงจุดเด่นตัวสินค้า ให้แก่กลุ่มสถาปนิก กลุ่มดีเวลลอปเปอร์ในต่างประเทศมาโดยตลอด ส่งผลให้ยอดขายสินค้าวัสดุทดแทนไม้คอนวูดประสบความสำเร็จ โดยสามารถทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          โดยเฉพาะยอดขายในประเทศแถบเอเชียใต้ 10 ประเทศที่คอนวูดได้รุกเข้าไปขยายตลาด อาทิเช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อินเดีย บรูไน ซึ่งมีอัตราขยายตัวต่อเนื่อง โดยสัดส่วนยอดขายส่วนใหญ่มาจากตลาดเวียดนาม อินเดียและอินโดนีเซีย ที่คิดเป็นสัดส่วนยอดขายสูงถึง 75% ของตลาดส่งออกทั้งหมด โดยมีสินค้ากลุ่มสินค้าไม้พื้น ไม้ผนังและกลุ่มสินค้าในหมวดตกแต่ง ที่ลูกค้าไว้วางใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คอนวูดมาเป็นอันดับหนึ่ง
          ทั้งนี้ จากความสำเร็จดังกล่าว บริษัทฯ มีแผนขยายตลาดในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย เช่น พม่า ลาว กัมพูชา รวมถึงอินเดียและอินโดนีเซียให้มากขึ้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้ มีศักยภาพการเติบโตจากความต้องการใช้วัสดุทดแทนไม้เพิ่มขึ้น โดยบริษัทฯ จะพิจารณาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพแข็งแกร่งเพื่อช่วยกระจายสินค้าไปยังกลุ่มลูกค้าในประเทศดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 1-2 ราย โดยมีเป้าหมายต้องการขยายตลาดและสร้างรากฐานให้แข็งแกร่งครอบคลุมพื้นที่ขายทั่วประเทศ พร้อมการสร้างรับรู้ด้านตราสินค้าและจุดเด่นผลิตภัณฑ์ผ่านงานแสดงสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างและการลงสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นในแต่ละประเทศ เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง กลุ่มสถาปนิกและกลุ่ม     ดีเวลลอปเปอร์ เพื่อให้ทราบถึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์วัสดุทดแทนไม้คอนวูดให้มากขึ้น
          ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอนวูด จำกัด  กล่าวว่า จากแผนงานดังกล่าว บริษัทฯ มั่นใจว่า จะสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศที่มีคู่แข่งเป็นแบรนด์ท้องถิ่น รวมถึงแบรนด์ไทยที่เข้าไปขยายในตลาดต่างประเทศ ที่ต่างชูเรื่องของราคาสินค้ามาเป็นปัจจัยการทำตลาด ซึ่งต่างจากคอนวูดที่เน้นเรื่องคุณภาพและบริการที่ดีกว่าคู่แข่ง จึงมั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี
          “ในปีนี้ เรามุ่งสร้างรากฐานความแข็งแกร่งในตลาดประเทศ ที่คอนวูดมองเห็นศักยภาพการเติบโตของตลาด โดยชูจุดเด่นด้านคุณภาพสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการติดตั้ง ช่วยลดระยะเวลาการทำงานและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง รวมถึงทีมบริการที่พร้อมให้การอบรมแก่ลูกค้าเพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้งานวัสดุทดแทนไม้คอนวูดได้ดียิ่งขึ้น ที่ช่วยหนุนตราสินค้าคอนวูดให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น จึงมั่นใจว่า เป้าหมายส่งออกในปีนี้จะมีอัตราเติบโตขึ้น 70% เมื่อเทียบกับยอดส่งออกของปีที่ผ่านมา” นายสุทธิพันธ์ กล่าว--จบ--

          --ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 9 - 11 ก.ค. 2555--

          ที่มา: http://www.matichon.co.th/prachachart

 
  
     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน