มิตรแท้โชห่วย (​ Makro ) มาอยู่รวมกับศัตรูสำคัญของโชห่วย (CP ALL) ได้ยังไง

วันนี้ 23-4-56  วันเลขสวยวันก้าวหน้า เป็นวันที่ประกาศดีลการซื้อธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย คือ ซีพีออลล์  CP All ประกาศซื้อ สยามแม็คโคร Makro ในราคาหุ้นละ 787 บาทต่อหุ้น
สูงกว่าราคาตลาด 682 บาทต่อหุ้น ถึง 17% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 189,000 ล้านบาท การขาย Makro มีข่าวมานานตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งผู้สนใจซื้อมีตั้งแต่ คุณเจริญ,เซ็นทรัล แต่ไม่มีข่าวเรื่อง CP จะซื้อ แหล่งข่าวบอกว่าการเจรจาใช้เวลาเพียงแค่ 10 วันและบินไปเซ็นต์สัญญากันที่ฮ่องกง เมื่อเรียบร้อยแล้วบินกลับมาแถลงข่าวที่เมืองไทยทันที

ข้อมูลธุรกิจของ Makro ในมุมที่น่ารู้จัก

  • Makro เป็นธุรกิจจำหน่ายสินค้าด้วยเงินสด ลูกค้าบริการตนเอง Cash and Carry 
  • ปัจจุบันมี 57 สาขา ตั้งแต่เปิดสาขามาไม่เคยปิดลงไปเลยแม้สาขาเดียว ( อ่านเพิ่มเติม กลยุทธ์การเปิดสาขา ของ Makro )
  • ยอดขายรวมต่อปี 100,000 ล้านบาท เป็นหนึ่งใน4ยักษ์ค้าปลีกค้าส่งของเมืองไทย  (อันดับที่1 7-11 ยอดขาย 150,000  ล้านบาทต่อปี ,อันดับที่2 เทสโกโลตัส ยอดขาย 148,000  ล้านบาทต่อปี ,อันดับที่3 BigC ยอดขาย 121,000  ล้านบาทต่อปี)
  • กลุ่มลูกค้าหลัก แม็คโคร คือผู้ประกอบการร้านค้าปลีก หรือโชห่วย และ กลุ่ม HoReCa = Hotel Restaurant Catering
  • กลยุทธสำคัญที่ใช้ในการมัดใจลูกค้าคือ Markro LoveMark ( อ่านเพิ่มเติม แม็คโคร มุ่งมั่นเพื่อเป็นที่1ในใจคุณ จับมือ KBank ช่วยเต็มที่ Makro Love Mark )
  • ในแต่ละสาขา Makro จะมีเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ ไปคอยดูแลลูกค้าในพื้นที่ช่วยดูการจัดร้านการจัดการใน
จากการวิเคราะห์เหตุผลที่ได้มีการแถลงข่าวไปบวกกับฐานความรู้ที่มีพอจะให้เหตุผลของการซื้อแม็คโครได้ดังนี้
  • แม็คโครไม่ใช่ใครอื่นเป็นเสมือนพี่ชายพ่อเดียวกันของเซเว่นอีเลเว่น คุณธนินทร์ เป็นคนเลือกนำเข้ามาในเมืองไทยเพื่อสร้างช่องทางจัดจำหน่ายให้กับเครือซีพี การขายออกไปเพื่อรักษาชีวิตครอบครัวไว้ตอนปี40 ทำให้จิกซอร์ยังไม่สมบูรณ์เมื่อมีโอกาสก็ซื้อกลับเข้ามาอยู่ในครอบครัว
  • แม็คโครเป็นธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดเข้ามาได้ดีมากๆ คล้ายเซเว่นอีเลเว่น ลูกค้าซื้อของด้วยเงินสด แม้จะมีรับบัตรเครดิต แต่ก็จำกัดเฉพาะบัตรของMakroเอง
  • ที่ตั้งสาขาที่ีมีศักยภาพ ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่าเสี่ยเจริญอยากจะซื้อเพราะชอบที่ทำเล แมคโครมี 57 สาขา มีถึง 53 สาขาที่เป็นพื้นที่ของตัวเอง
  • การเจรจาดีลนี้ใช้เวลาแค่ 10 วัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ข่าวว่า TCC สนใจจะซื้อแต่เจรจาไม่เป็นผล ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหาร Makro กับ CP รู้จักกันดีอยู่แล้ว
  • องค์ความรู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดจาก Makro ทำให้CP ได้รูปแบบการบริหารที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าเหมาะกับประเทศไทย สยามแม็คโครเป็น Makro ที่เหลืออยู่ไม่กี่ประเทศและทีมบริหารเป็นคนไทยเกือบทั้งหมด
  • เงื่อนไขการซื้อ สยามแมคโคร ไม่ได้มาแค่สิทธิการทำ Makro ในประเทศไทยแต่ได้ทั้งอาเซียน
  • ขนาดของ Makro เหมาะกับการขยายไปเปิดในต่างประเทศ เพราะหากจะใช้ 7-11 ไปเปิดตลาดต่างประเทศต้องใช้เวลานานกว่าจะตั้งตัวได้
  • จำนวนลูกค้า Makro กว่า 600,000 รายที่เป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นลูกค้าสำคัญในธุรกิจอาหารของซีพี
  • กลยุทธ์ มิตรแท้โชห่วย และ Love mark เป็นกลยุทธ์ที่สร้างพันธมิตรเชิงลึกในการเติมเต็มธุรกิจให้ลูกค้าซึ่งกันและกัน ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างนาน ทั้ง Makro KBank  AIS เมืองไทยประกันชีวิต
    ลูกค้าแม็คโครได้รับการพิจารณาสินเชื่อพิเศษจากธนาคารกสิกรไทย เป็นกรณีศึกษาที่ดีในการทำ Partnership CRM

จะเห็นได้ว่า CP ซื้อแม็คโคร จึงไม่ใช้เรื่องแปลก แต่ที่แปลกอย่างเดียวคือ Makro ทำไมจึงอยากขาย และ CP ทำไมจึงยอมซื้อด้วยราคาที่แพงขนาดนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

รับชำระเงินด้วย อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ทำยังไง