ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาบัญชี AEC โอกาสธุรกิจSME

โอกาสธุรกิจจาก AEC 2558 ทีี่กำลังจะมาถึงนอกจากการซื้อขายกับประเทศเพื่อนบ้านแล้วธุรกิจที่จะโตจากการบริโภคภายในประเทศอีกหนึ่งธุรกิจคือที่

  • ปรึกษากฎหมายการคัาระหว่างประเทศ
  • ที่ปรึกษาด้านบัญชี

เพราะการจะไปลงทุนหรือการทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศนึ้คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยดังนั้นผู้ให้บริการด้านที่ปรึกษาเหล่านี้จะได้ประโยชน์มาก และการเปิด AEC จะมีการลงทุนจัดตั้งบริษัทใหม่ข้ามประเทศเป็นจำนวนมากหากดังนั้นการรับจดทะเบียนบริษัท และการวางแผนบัญชีภาษีให้นักลงทุนต่างชาติจึงน่าจะมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณผู้สนับสนุนบล๊อกเล็กๆที่อยากให้ธุรกิจไทยเติบโต


ศ.ดร.ศักดา ธนิตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อาชีพนักกฎหมายยังไม่ถูกเปิดให้เคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี แต่อาชีพทนาย นักกฎหมายต่างชาติ จะตามไปกับการลงทุนเสมอ ซึ่งจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ เจ้าของทุนมาตั้งสำนักงานแล้วให้นักกฎหมายในท้องถิ่นมาทำงานด้วย กับประเทศไทยเป็นคนตั้งสำนักงานท้องถิ่น มีหัวหน้าเป็นคนไทยแล้วให้นักกฎหมายต่างชาติเข้ามาทำงาน ซึ่งวิธีการปกป้องวิชาชีพกฎหมายไทย เช่น การไม่ให้คำว่า Lawyer กับนักกฎหมายต่างชาติ หรือเวลาทำงานจะต้องประกบกับนักกฎหมายไทย เป็นต้น



ส่วนลักษณะงานบริการด้านกฎหมาย เช่นตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา กรมราชทัณฑ์ หรือข้าราชการในกฤษฎีกา นั้น คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จะไม่ถูกนักกฎหมายต่างชาติแย่งงาน เพราะเรามีสิทธิที่จะไม่เปิดตลาด เนื่องจากอาชีพเหล่านี้เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของรัฐ แต่งานที่จะถูกแย่งคืองานของภาคเอกชน



“ปัจจุบันมีที่ปรึกษากฎหมายที่เป็นคนต่างชาติอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นลักษณะไม่ผูกพัน (unbound) ทำให้เรายังไม่สามารถกำกับดูแลได้ จึงต้องการการแก้ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าวในอนาคตมาช่วย หรืออาจแก้ พ.ร.บ.ทนายความของเราเอง”



คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมนิสิตที่จบจากนิติศาสตร์จุฬาฯ ให้ออกไปแข่งขันในระดับอาเซียนได้ด้วยว่า ขณะนี้ได้เตรียมการทั้งในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาบาฮาซา เพราะบางส่วนของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์พูดภาษาบาฮาซา ในเรื่องหลักสูตรนั้นก็ได้เปิดวิชากฎหมายอาเซียนในระดับชั้นปีที่ 4 มากว่า 3 ปีแล้ว รวมถึงกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคด้วย



“ด้านวิธีการเรียนการสอน ได้เน้นสอนให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ อย่างน้อยสามแง่มุม ในห้องสมุดมีฐานข้อมูลนิติศาสตร์ระดับนานาชาติ โดยสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม”



เร่งแก้กม.ทนายความ



ด้านศาสตราภิชานบุญมา เตชะวณิช อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ กล่าวถึงการกำกับดูแลมาตรฐานวิชาชีพกฎหมาย ในส่วนของการกำกับดูแลมาตรฐานคนที่จะมาเป็นทนายความนั้น ขณะนี้สภาทนายความได้หารือกันแล้วว่า จะแก้ พ.ร.บ.ทนายความในส่วนใดบ้าง โดยได้ส่งร่างไปที่กระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้เงียบหายไปในขั้นตอนของรัฐสภา



“แนวทางการแก้ เช่น ให้คนต่างด้าวสามารถสอบใบอนุญาตทนายความได้ แต่ต้องสอบเป็นภาษาไทย ในส่วนใบอนุญาตก็เห็นว่า ควรจะแยกเป็นใบอนุญาตทนายความ กับใบอนุญาตที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศอย่างละใบ คนเพื่อกำกับจรรยามรรยาทของทนายต่างประเทศ” อุปนายกฝ่ายวิชาการ สภาทนายความ กล่าว พร้อมแสดงความเป็นห่วงในอนาคต หากมีสำนักงานทนายความต่างประเทศมาตั้งสำนักงานในประเทศไทย ควรให้เข้ามาตั้งแบบหุ้นส่วนกับทนายไทย ไม่ใช่มาเป็นนายจ้าง



เรียนรู้กม.เบื้องต้นประเทศเพื่อนบ้าน



ขณะที่ศาสตราจารย์พิเศษ สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล อดีตเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา กล่าวถึงผลกระทบจาก AEC ต่อวิชาชีพกฎหมายไทย ส่งผลให้คนในวิชาชีพกฎหมายควรต้องรู้พื้นฐานระบบกฎหมายของแต่ละประเทศว่า อิงระบบCommon law หรือระบบประมวลกฎหมายเพื่อเป็นฐานทำความเข้าใจ ควรรู้แนวกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเพื่อนบ้านเพื่ออาจให้ความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับนิติกรรม สัญญา รู้แนวกฎหมายเศรษฐกิจเพื่อให้รู้บรรยากาศของการค้าขายและการลงทุน และควรรู้แนวกฎหมายการลงทุนและการคุ้มครองการลงทุนทั้งขาเข้า-ขาออก เพื่ออาจให้ความเห็นเบื้องต้นกรณีมีข้อพิพาท



“โอกาสของนักกฎหมายไทยจาก AEC คือจะมีงานเข้ามากขึ้น มีโอกาสร่วมทุนหรือร่วมจัดกลุ่มสำนักงานกับสำนักงานกฎหมายในประเทศเพื่อนบ้าน และอาจจำเป็นต้องว่าจ้างนักกฎหมายต่างชาติเข้ามาทำงานเพื่อให้ความเห็นกฎหมายในประเทศที่คนไทยจะไปลงทุน”



ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด กล่าวว่า AEC เป็นโอกาสให้นักกฎหมายไทยก้าวออกไปสู่ระดับนานาชาติ แต่เราต้องปฏิรูประบบกฎหมายครั้งใหญ่ รวมถึงปฏิรูปด้านภาษี และสังคม

สำนักข่าวอิสรา



“ปัจจุบันสำนักงานกฎหมายใหญ่ที่สุดของจีนได้ควบรวมกับสำนักงานกฎหมายใหญ่ของออสเตรเลีย ดังนั้นจีนจึงเป็นอีกหนึ่งตลาดวิชาชีพกฎหมายใหญ่ที่น่าสนใจในอนาคต ส่วนตลาดใหญ่สำหรับอาเซียนในวันนี้คือพม่า” ศ. (พิเศษ) กิติพงศ์ กล่าว พร้อมกับเชื่อว่า นักกฎหมายไทยที่มีความรู้ด้านภาษา จะไม่ตกงานอย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

รับชำระเงินด้วย อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ทำยังไง