6 มาตรการช่วยเหลือ SME ปัญหาค่าแรง 300 บาท อยากบอกรัฐบาลว่าเลื่อนง่ายกว่ามั๊ย
การประกาศวิสัยทัศน์ และดำเนินการตามเป้าหมายเป็นหน้าที่สำคัญของผู้นำ(ตามตำรา) แต่ในการปฎิบัติจริง หากวิสัยทัศน์นั้นไม่เข้ากับวัฒนธรรมหรือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงผู้นำที่ดีต้องกล้าตัดสินใจปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม หาใช่ดิ้นรนดื้อดึง ดำเนินการไปแก้ไขไป จะเดือดร้อนกันทั้งประเทศ
ล่าสุดกับเรื่อง "ค่าแรง300บาท" นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ที่จะมีการประกาศขึ้นราคาค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ใน 70 จังหวัดที่เหลือ ภายหลังมีการปรับไปแล้วใน 7 จังหวัดนำร่อง เมื่อเมษายน 2555 พร้อมกันนี้ยังมอบให้คณะกรรมการค่าจ้าง พิจารณาดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ กับภาคเอกชน รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเภทมาตรการใหญ่ และ 27 มาตรการย่อย ดังนี้
1.มาตรการลดภาระต้นทุนจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เช่น การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง, การจัดตั้งกองทุนการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นให้ผู้ประกอบ การ, การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
2.มาตรการยกระดับผลิตภาพแรงงาน อาทิ การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เฉพาะผู้ประกอบการ SMEs, การให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.มาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง อาทิ สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สำหรับเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการเสริมสร้างสภาพคล่องสถานประกอบการ และเพิ่มผลผลิตแรงงาน, สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต เป็นต้น
4.มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ SMEs อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, การหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เป็นต้น
5.มาตรการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ เช่น การปรับเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ, การหาตลาด/เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น
6.มาตรการช่วยลดค่าครองชีพให้ลูกจ้างและประชาชนทั่วไป เช่น การออกบัตรลดราคาสินค้าให้ลูกจ้าง การลดภาระหนี้สินนอกระบบ และการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
จากที่สัมผัสเอสเอ็มอีมานาน เชื่อมั่นว่า SME รายใหญ่ได้รับผลกระทบรุนแรงแน่นอนเพียงแต่เค้าจะเลือกจัดการกับปัญหาอย่างไรและมีเวลาเพียงพอหรือไม่
ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารซาบีน่า เค้าบอกต้นทุนค่าแรงเพิ่มเดือนละ 8 ล้าน หากเริ่มใช้ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ แต่ก็เห็นวิกฤติเป็นโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ไม่ได้ลดคนแต่เพิ่มประสิทธิภาพของคน และพัฒนาตลาด จากหนึ่งสายการผลิตชุดชั้นในใช้คน 20กว่าคน ลดลงเหลือ 18 คนต่อสายการผลิต แต่ก็ไม่ทิ้งคนแต่สามารถเพิ่มสายการผลิตได้ เมื่อมีกำลังการผลิตที่มากขึ้น ก็สามารถผลิตได้มากขึ้น แต่ด้วยค่าแรงที่สูงซาบีน่าจึงมุ่งเน้นในการพัฒนาตลาดสร้างแบรนด์ทำสินค้าในตลาดที่สร้างมูลค่าได้สูง แทนที่จะเป็น OEM กลับมุ้งเน้นไปที่การสร้างแบรนด์
จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาแบบนี้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ไม่ใช่การนั่งรอรับมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ ซึ่งเป็นมาตรการแบบใส่ท่ออ๊อกซิเจน ถอดเมื่อไหร่ก็ตาย เพราะไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น การนำภาษีประชาชนมาเยียวยาลักษณะนี้อาจไม่ใช่วิธีที่ดีนัก
สู้ยอมกลืนน้ำลาย เลื่อนการใช้ออกไป(ไม่ใช่ให้เลิก) และส่งเสริมการปรับปรุงอย่างจริงจัง ทั้งด้านProductivity และ Marketing หรือปรับปรุงไปถึง BusinessModel ที่มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องกว่า
Update พอดีได้มีโอกาสฟัง ceo vision เห็นว่าเป็นแนวทางเดียวกันเลยขอรวบรวมไว้ในนี้
ล่าสุดกับเรื่อง "ค่าแรง300บาท" นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ที่จะมีการประกาศขึ้นราคาค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ใน 70 จังหวัดที่เหลือ ภายหลังมีการปรับไปแล้วใน 7 จังหวัดนำร่อง เมื่อเมษายน 2555 พร้อมกันนี้ยังมอบให้คณะกรรมการค่าจ้าง พิจารณาดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ กับภาคเอกชน รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ซึ่งประกอบด้วย 6 ประเภทมาตรการใหญ่ และ 27 มาตรการย่อย ดังนี้
1.มาตรการลดภาระต้นทุนจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น เช่น การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง, การจัดตั้งกองทุนการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นให้ผู้ประกอบ การ, การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
2.มาตรการยกระดับผลิตภาพแรงงาน อาทิ การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เฉพาะผู้ประกอบการ SMEs, การให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.มาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง อาทิ สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สำหรับเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการเสริมสร้างสภาพคล่องสถานประกอบการ และเพิ่มผลผลิตแรงงาน, สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต เป็นต้น
4.มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ SMEs อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, การหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เป็นต้น
5.มาตรการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ เช่น การปรับเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ, การหาตลาด/เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น
6.มาตรการช่วยลดค่าครองชีพให้ลูกจ้างและประชาชนทั่วไป เช่น การออกบัตรลดราคาสินค้าให้ลูกจ้าง การลดภาระหนี้สินนอกระบบ และการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
จากที่สัมผัสเอสเอ็มอีมานาน เชื่อมั่นว่า SME รายใหญ่ได้รับผลกระทบรุนแรงแน่นอนเพียงแต่เค้าจะเลือกจัดการกับปัญหาอย่างไรและมีเวลาเพียงพอหรือไม่
ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารซาบีน่า เค้าบอกต้นทุนค่าแรงเพิ่มเดือนละ 8 ล้าน หากเริ่มใช้ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ แต่ก็เห็นวิกฤติเป็นโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ไม่ได้ลดคนแต่เพิ่มประสิทธิภาพของคน และพัฒนาตลาด จากหนึ่งสายการผลิตชุดชั้นในใช้คน 20กว่าคน ลดลงเหลือ 18 คนต่อสายการผลิต แต่ก็ไม่ทิ้งคนแต่สามารถเพิ่มสายการผลิตได้ เมื่อมีกำลังการผลิตที่มากขึ้น ก็สามารถผลิตได้มากขึ้น แต่ด้วยค่าแรงที่สูงซาบีน่าจึงมุ่งเน้นในการพัฒนาตลาดสร้างแบรนด์ทำสินค้าในตลาดที่สร้างมูลค่าได้สูง แทนที่จะเป็น OEM กลับมุ้งเน้นไปที่การสร้างแบรนด์
จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาแบบนี้เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ไม่ใช่การนั่งรอรับมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ ซึ่งเป็นมาตรการแบบใส่ท่ออ๊อกซิเจน ถอดเมื่อไหร่ก็ตาย เพราะไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น การนำภาษีประชาชนมาเยียวยาลักษณะนี้อาจไม่ใช่วิธีที่ดีนัก
สู้ยอมกลืนน้ำลาย เลื่อนการใช้ออกไป(ไม่ใช่ให้เลิก) และส่งเสริมการปรับปรุงอย่างจริงจัง ทั้งด้านProductivity และ Marketing หรือปรับปรุงไปถึง BusinessModel ที่มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องกว่า
Update พอดีได้มีโอกาสฟัง ceo vision เห็นว่าเป็นแนวทางเดียวกันเลยขอรวบรวมไว้ในนี้
ความคิดเห็น