เอสเอ็มอี “Go online” ให้ Success ในมุมมองของ @iczz @doctorpisak
ในยุคที่ใครๆ ต่างก็ลุกขึ้นมาสนับสนุนเอสเอ็มอีให้ “Go online” แต่จะ “Go” แบบไหนไม่ให้แป้ก ไปร่วมหาทางคว้าชัยในสนาม “Online” ด้วยกัน
-->
การปรากฏตัวของเว็บไซต์ “Go online” (http://www.goonline.in.th/) ผลผลิตจากโครงการ "ธุรกิจไทย Go Online" พันธกิจยักษ์ ที่ยกทัพโดย “Google” ธุรกิจสายพันธุ์มะกันร่วมกับพันธมิตรแดนสยาม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.),สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, ดอท อะไร และเว็บบิส กำลังอ้าแขนต้อนรับเอสเอ็มอีไทยไปมี “ตัวตน” บนโลกออนไลน์
“จัดทำเว็บไซต์ได้รวดเร็วภายใน 15 นาที ง่าย และฟรี พร้อมเครือข่ายสนับสนุนระยะยาวทั่วประเทศ” กลายเป็นคำโฆษณาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคน “มืดบอด” ในสนามออนไลน์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่คุ้นกับโลกเทคโนโลยี และการตลาดดอทคอมมากนัก หากเป็นไปตามเป้า ภายใน 12 เดือนนับจากนี้ จะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย ก้าวเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์โดยฝีมือผู้ช่วยพระเอกอย่าง Google
เหลี่ยมยุทธ์ของพวกเขา คือ รู้จุดอ่อนของเอสเอ็มอี แล้วหาวิธีกำจัด และนั่นก็น่าจะเรียกความสนใจในการเข้ามาใช้พื้นที่ออนไลน์ของเอสเอ็มอีให้เพิ่มขึ้นได้
“มร.จูเลียน เพอร์ซูด” กรรมการผู้จัดการ Google เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกเราว่า ลูกค้าคนไทยจำนวนถึง 8 ใน 10 ราย ที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ ในขณะที่ผลสำรวจล่าสุด ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และ สสว. กลับพบว่า...
มีธุรกิจเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น ที่มีเว็บไซต์ให้ลูกค้าเยี่ยมชมได้
เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจไทยยังเข้าสู่โลกออนไลน์ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะคิดว่าสินค้าของตัวเองไม่เหมาะจะขายผ่านช่องทางนี้ ไม่คิดว่าจะมีใครผ่านมาซื้อช่องทางนี้ หรือคิดเอาว่าการเข้าสู่โลกออนไลน์คงจะมีค่าใช้จ่ายสูงลิบ หรือไม่ก็ยุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าที่คนพันธุ์เล็กอย่างพวกเขาจะเข้าใจได้
“Google เชื่อในพลังของอินเทอร์เน็ตว่าจะสามารถช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กเติบโต และช่วยให้ชีวิตของผู้คนสะดวกสบายขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ Google ตระหนักถึงปัญหาที่ท้าทายของธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีตัวตนบนโลกออนไลน์ และเราอยากช่วยขจัดปัญหาเหล่านั้น”
พวกเขาเชื่ออย่างนั้น จึงได้ขยายแคมเปญนี้ไปในหลายๆ ประเทศ เริ่มต้นที่สหราชอาณาจักร จากนั้นก็ไปประเทศอื่นในแถบยุโรป ตั้งแต่สเปน, ฮังการี, โปแลนด์ รวมถึงในออสเตรเลีย จนมาเอเชีย ที่มีไทยร่วมด้วยในวันนี้
ในขณะที่เอสเอ็มอี ก็ยังมีความต้องการที่จะเข้าสู่หนทางนี้ สะท้อนได้จากผลวิจัยของ สสว. ที่ระบุว่า เอสเอ็มอีไทย มองว่าการเข้าสู่ตลาดออนไลน์จะช่วยส่งเสริมการขายสินค้าและบริการของพวกเขาได้มากยิ่งขึ้น และกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ยังต้องการวิธีการใช้งานที่ง่ายขึ้นในการทำธุรกิจออนไลน์ รวมถึงการสนับสนุนในระยะยาวเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากอินเทอร์เน็ต
“วิรัตน์ พรเจริญโรจน์” ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากผ้าและเทียนหอม แบรนด์ “ฝ้ายซอคำ” ผู้เชื่อในพลังอินเทอร์เน็ต เขาเป็นคนหนึ่งที่ใช้ช่องทางออนไลน์ปิดจุดอ่อนธุรกิจ จากสินค้าที่มีลูกค้าถึง 70% อยู่ในต่างประเทศ สร้างรายได้หลักให้กับธุรกิจ แต่การค้าขายในช่วงเริ่มต้น หนีไม่พ้นมีแต่ค่าใช้จ่ายออกจากกระเป๋า
“ก่อนที่จะมีเว็บไซต์ เราใช้วิธีเดินทางไปพรีเซ้นท์สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงมาก ระยะหลังการจะดูสินค้า ถ้าไม่ใช่เราบินไปหาลูกค้า เขาก็จะบินมาหาเรา เรียกว่าหนักทั้งคู่ แต่พอเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ทุกอย่างมันง่ายขึ้น เขามาดูสินค้าในเว็บและโทรติดต่อเข้ามา มันเพิ่มความสะดวกให้กับทั้งเราและลูกค้า”
แม้การซื้อขายจะไม่จบบนหน้าเว็บไซต์ แต่เขายอมรับว่าความสะดวกสบายจากการมีเว็บของตัวเอง ทำให้ยอดขายฝ้ายซอคำเพิ่มขึ้น สังเกตจากมีลูกค้ารายใหม่ๆ ในประเทศใหม่ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นจากการเห็นหน้าตาสินค้าในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ที่ World wide ที่สุดแล้วสำหรับเอสเอ็มอีอย่างพวกเขา
ทว่าแค่มีหน้าร้านออนไลน์ใช่ว่าจะทำให้ธุรกิจขยับขยายไปได้ “วิรัตน์” บอกว่า ต้องพยายาม "อัพเดทสินค้าใหม่ๆ" อย่างต่อเนื่อง และสื่อสารตัวสินค้าให้ลูกค้าเข้าใจ เพราะพวกเขาไม่สามารถไปนั่งอธิบายสรรพคุณสินค้าได้ด้วยตัวเองอีกต่อไป จึงต้องใช้วิธีใส่รายละเอียดสินค้าให้มากขึ้น
ขณะที่การแข่งขันสุดเข้มข้นในตลาดงานหัตถกรรมไทย ทำให้ผู้ประกอบการก็ต้องกลับมาพัฒนาสินค้าของตัวเอง เขาบอกว่าวิธีรักษาตลาดของฝ้ายซอคำ คือพยายามทำให้เป็นสินค้า “Unique” และมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ให้ลูกค้าไม่ผิดหวังในตัวสินค้า ไม่ว่าจะรู้จักจากช่องทางไหน แต่เมื่อสินค้าส่งถึงมือลูกค้าแล้วก็จะมีคำตอบเดียวในใจ คือ “ความพึงพอใจ” ของลูกค้า นั่นเอง
เว็บไซต์ไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่จะสร้างโอกาสให้กับเอสเอ็มอีในยุคนี้ ยังมีสื่อฮอต “Social Media” ที่พร้อมให้เอสเอ็มอีเข้ามาพิสูจน์กึ๋นอีกเพียบ
“ดร.ภิเษก ชัยนิรันดร์” ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ ที่กรุงเทพธุรกิจเชิญมาเปิดเวทีสัมมนาเอสเอ็มอีในหัวข้อ “การตลาดออนไลน์ยุคใหม่สำหรับธุรกิจ SMEs” ในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ บอกกับเราว่า สื่อโฆษณาในอดีตกับเอสเอ็มอีเป็นสิ่งที่ห่างไกลกันสุดขั้ว เพราะไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือกระทั่งสื่อสิ่งพิมพ์ ล้วนมีค่าใช้จ่ายมหาศาลทั้งนั้น
แต่วันนี้เครื่องมือ “Social Media” อย่าง Facebook , Twitter หรือ Youtube ได้เข้ามาเปิดโลกเอสเอ็มอีให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น เรียกว่าแม้ไม่มีงบในกระเป๋า ก็สามารถเข้าสู่โลกโฆษณาในวงกว้างได้
“ยกตัวอย่างเคสที่น่าสนใจในต่างประเทศ อย่างเครื่องปั่นน้ำผลไม้ Blendtec ที่เขาโฆษณาผ่าน Youtube โดยเอาไอโฟน ไอแพดมา มาปั่น เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของสินค้า ปรากฏมีคนเข้ามาดูเยอะมากเป็นร้อยล้านคน ทำให้แบรนด์ของเขาเป็นที่รู้จักได้ในเวลารวดเร็ว และดังไปทั่วโลก”
ใกล้ตัวขึ้นอีกนิด “เจ๊กเม้ง” ร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ ในจังหวัดเพชรบุรี ของคนหนุ่มรุ่นใหม่ “ธีรศานต์ สหัสสพาศน์” ที่พาตัวเองไปเป็นที่รู้จักของผู้คนด้วย Social Media ทำให้เกิดการบอกต่อในโลก Social Media
“คนมีชื่อเสียงหลายคนมาทานเจ๊กเม้งแล้วประทับใจ ก็ไปพูดต่อใน Twitter ซึ่งมีคนติดตามคนเหล่านี้อยู่มากมาย จึงเกิดการบอกต่อ แน่นอนว่าถ้าไม่ใช้ Social Media การบอกต่อนี้อาจเกิดขึ้นแค่ในกลุ่มคน 5-10 คน แต่พอมันเป็น Social Media มันคือคนจำนวนมหาศาล ทำให้ร้านเล็กๆ ได้รับความสนใจในเวลารวดเร็ว"
“เจ๊กเม้ง” ไม่ได้ใช้ Social Media เป็นแค่แฟชั่นที่ต้องมีตามชาวบ้าน แต่พวกเขาใช้มันอย่างมีกลยุทธ์และทำมันอย่างต่อเนื่อง ก้าวให้ทันกับพฤติกรรมของคนในยุคนี้ ซึ่งจะเห็นความเคลื่อนไหวมากมายของเจ๊งเม้ง ใน Facebook ใน Twitter หรือกระทั่ง Youtube เรียกว่าทุก “สื่อฟรี” ที่พวกเขาจะเข้าไปใช้ได้ โดยการตลาด Social Network ก็เพิ่มยอดขายให้เจ๊กเม้ง ได้มากถึง 3-4 เท่าตัว
“เจ๊กเม้งใช้ Facebook เป็นช่องทางจัดกิจกรรมให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม ปกติเวลามีคนดังไปกินร้านต่างๆ ก็จะเห็นเจ้าของร้านติดรูปเต็มผนังไปหมด แน่นอนพื้นที่ร้านมีจำกัด และคนที่จะได้เห็นภาพเหล่านั้นก็แค่คนมากินที่ร้านเท่านั้น ขณะที่คนยุคนี้ใครก็อยากเป็น มินิเซเลบ กันทั้งนั้น ไปไหนมาก็ถ่ายรูปมาอวดกัน เจ๊กเม้งรู้อารมณ์เหล่านี้ เลยเอาภาพมาลงใน Facebook และคนที่มาเห็นมันก็ไม่ใช่แค่คนที่มาทานที่ร้าน แต่คือฐานลูกค้าของพวกเขาบนโลกออนไลน์”
สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น คือ ไม่ใช่แค่มี Social Media เปิดใช้แต่นั่งรออยู่เฉยๆ หากต้องใช้มันอย่างมีกลยุทธ์ ต้องมีกิจกรรม ต้องดูแลเอาใจใส่ลูกค้า อย่าง “เจ๊กเม้ง” มีการทำ CRM มีแบบสอบถามหน้าร้าน มีการส่ง SMS ขอบคุณลูกค้า แจ้งข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ใน Social Media ของพวกเขา
ทั้งหมดเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเจ้าของกิจการ ที่เข้าใจ ยอมรับในพลังของสื่อใหม่ และเลือกเรียนรู้ที่จะใช้มันในโลกธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์
ถ้าเจ้าของกิจการยังเพิกเฉย ไม่สนใจ อาจเกิดกรณีแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ Dell ก่อนหน้านี้ก็เป็นได้ ก่อนจะเล่าว่า จุดเริ่มต้นเล็กๆ จากลูกค้าคนหนึ่งที่ได้รับการบริการแสนแย่จาก Dell แล้วไปต่อว่าพวกเขาในโลกออนไลน์ จนเกิดการบอกต่อเป็นเรื่องราวใหญ่โต กระทบกับธุรกิจของ Dell อย่างหนัก
สุดท้ายพวกเขาก็ต้องปรับตัวเอง โดยเปลี่ยนมาทำความเข้าใจกับ Social Media นำไปสู่การเปิดเว็บไซต์สำหรับบริการหลังการขายลูกค้า Dell โดยเฉพาะ เป็นการปรับตัวโดยรู้ว่า “ประโยชน์” และ “พิษสง” ของ Social Media มันทรงพลังกับพวกเขามากแค่ไหน "ดร.ภิเษก" เล่า
“ธุรกิจเล็กๆ ก็เหมือนกัน อย่างลูกค้าไปทานแล้วไม่อร่อย ได้รับการบริการไม่ดี เขาก็ไปบอกต่อให้ทุกคนรับทราบ ก็ย่อมกระทบกับธุรกิจเรา ดังนั้นถ้าเราสามารถไปค้นหาความไม่พอใจเหล่านี้ได้ ก็สามารถขอโทษ ชี้แจง และแสดงความใส่ใจต่อลูกค้า ซึ่งมันจะช่วยพลิกสถานการณ์ให้ลูกค้ากลับมาพอใจได้ เรียกว่าต้องเข้าไปแก้ปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเล่นงานเรา”
สำหรับคนที่มีเว็บไซต์อยู่แล้ว เขาบอกว่า “Social Media” จะสร้างพลังให้กับธุรกิจมากขึ้น
“การทำให้เรามีตัวตนบนออนไลน์ได้ มีหน้าร้านบนโลกออนไลน์ มันไม่ได้เป็นข้อเสีย และถ้าเราจะมีทั้งเว็บไซต์และ Social Media ก็ยิ่งสนับสนุนธุรกิจ แต่ต้องทำให้เชื่อมโยงกันให้ได้ ต้องบอกว่าในเว็บไซต์ว่าเรามี Facebook ด้วยนะ เพื่อให้เขาเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเราได้”
แม้จะมีคนทำสำเร็จ แต่เขาก็บอกว่า ที่ล้มเหลวก็มีมาก อยู่ที่ความเข้าใจและการเรียนรู้ที่จะหยิบมาใช้ ใช้อย่างถูกต้อง และมองเป็นกลยุทธ์ ทำให้เกิดความต่อเนื่อง และเรียนรู้ที่จะนำศาสตร์ด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้ให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามเขายังเชื่อว่า Social Media ไม่ได้เป็นแค่แฟชั่นที่คนจะเห่อใช้เป็นพักๆ แต่เป็นสื่อที่มีอะไรใหม่ๆ ออกมาต่อเนื่องเข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ ขอเพียงเอสเอ็มอีเรียนรู้ และตามกระแสเหล่านี้ให้ทันเท่านั้น
“Social Media มันเหมือนบ่อปลาขนาดใหญ่ และเป็นบ่อที่มีปลาเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน เอสเอ็มอีที่ยืนมองอยู่บนปากบ่อ ใครจะเอาแต่มองอย่างลังเล ไม่ลงมาจับ หรือใครที่มีความกล้าและกระโดดลงมาทันที หรือจะรอให้คนอื่นมาเอาปลาไปจนหมดแล้ว เราอยากเป็นเอสเอ็มอีแบบไหน แต่ต้องไม่ลืมว่าถ้าจะกระโดดลงบ่อมันต้องมาจากการที่เราได้เรียนรู้ Social Media อย่างดีแล้ว เรียนรู้และศึกษา ก่อนที่คนอื่นจะแย่งปลาจากบ่อนี้ไปจนหมด”
หลากมุมคิดดีๆ ที่พร้อมนำพาเอสเอ็มอีไทย “Go online” ให้ Success
การปรากฏตัวของเว็บไซต์ “Go online” (http://www.goonline.in.th/) ผลผลิตจากโครงการ "ธุรกิจไทย Go Online" พันธกิจยักษ์ ที่ยกทัพโดย “Google” ธุรกิจสายพันธุ์มะกันร่วมกับพันธมิตรแดนสยาม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.),สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, ดอท อะไร และเว็บบิส กำลังอ้าแขนต้อนรับเอสเอ็มอีไทยไปมี “ตัวตน” บนโลกออนไลน์
“จัดทำเว็บไซต์ได้รวดเร็วภายใน 15 นาที ง่าย และฟรี พร้อมเครือข่ายสนับสนุนระยะยาวทั่วประเทศ” กลายเป็นคำโฆษณาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคน “มืดบอด” ในสนามออนไลน์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่คุ้นกับโลกเทคโนโลยี และการตลาดดอทคอมมากนัก หากเป็นไปตามเป้า ภายใน 12 เดือนนับจากนี้ จะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย ก้าวเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์โดยฝีมือผู้ช่วยพระเอกอย่าง Google
เหลี่ยมยุทธ์ของพวกเขา คือ รู้จุดอ่อนของเอสเอ็มอี แล้วหาวิธีกำจัด และนั่นก็น่าจะเรียกความสนใจในการเข้ามาใช้พื้นที่ออนไลน์ของเอสเอ็มอีให้เพิ่มขึ้นได้
“มร.จูเลียน เพอร์ซูด” กรรมการผู้จัดการ Google เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกเราว่า ลูกค้าคนไทยจำนวนถึง 8 ใน 10 ราย ที่ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ ในขณะที่ผลสำรวจล่าสุด ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และ สสว. กลับพบว่า...
มีธุรกิจเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น ที่มีเว็บไซต์ให้ลูกค้าเยี่ยมชมได้
เหตุผลสำคัญที่ธุรกิจไทยยังเข้าสู่โลกออนไลน์ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะคิดว่าสินค้าของตัวเองไม่เหมาะจะขายผ่านช่องทางนี้ ไม่คิดว่าจะมีใครผ่านมาซื้อช่องทางนี้ หรือคิดเอาว่าการเข้าสู่โลกออนไลน์คงจะมีค่าใช้จ่ายสูงลิบ หรือไม่ก็ยุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าที่คนพันธุ์เล็กอย่างพวกเขาจะเข้าใจได้
“Google เชื่อในพลังของอินเทอร์เน็ตว่าจะสามารถช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กเติบโต และช่วยให้ชีวิตของผู้คนสะดวกสบายขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ Google ตระหนักถึงปัญหาที่ท้าทายของธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีตัวตนบนโลกออนไลน์ และเราอยากช่วยขจัดปัญหาเหล่านั้น”
พวกเขาเชื่ออย่างนั้น จึงได้ขยายแคมเปญนี้ไปในหลายๆ ประเทศ เริ่มต้นที่สหราชอาณาจักร จากนั้นก็ไปประเทศอื่นในแถบยุโรป ตั้งแต่สเปน, ฮังการี, โปแลนด์ รวมถึงในออสเตรเลีย จนมาเอเชีย ที่มีไทยร่วมด้วยในวันนี้
ในขณะที่เอสเอ็มอี ก็ยังมีความต้องการที่จะเข้าสู่หนทางนี้ สะท้อนได้จากผลวิจัยของ สสว. ที่ระบุว่า เอสเอ็มอีไทย มองว่าการเข้าสู่ตลาดออนไลน์จะช่วยส่งเสริมการขายสินค้าและบริการของพวกเขาได้มากยิ่งขึ้น และกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ยังต้องการวิธีการใช้งานที่ง่ายขึ้นในการทำธุรกิจออนไลน์ รวมถึงการสนับสนุนในระยะยาวเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากอินเทอร์เน็ต
“วิรัตน์ พรเจริญโรจน์” ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากผ้าและเทียนหอม แบรนด์ “ฝ้ายซอคำ” ผู้เชื่อในพลังอินเทอร์เน็ต เขาเป็นคนหนึ่งที่ใช้ช่องทางออนไลน์ปิดจุดอ่อนธุรกิจ จากสินค้าที่มีลูกค้าถึง 70% อยู่ในต่างประเทศ สร้างรายได้หลักให้กับธุรกิจ แต่การค้าขายในช่วงเริ่มต้น หนีไม่พ้นมีแต่ค่าใช้จ่ายออกจากกระเป๋า
“ก่อนที่จะมีเว็บไซต์ เราใช้วิธีเดินทางไปพรีเซ้นท์สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงมาก ระยะหลังการจะดูสินค้า ถ้าไม่ใช่เราบินไปหาลูกค้า เขาก็จะบินมาหาเรา เรียกว่าหนักทั้งคู่ แต่พอเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ทุกอย่างมันง่ายขึ้น เขามาดูสินค้าในเว็บและโทรติดต่อเข้ามา มันเพิ่มความสะดวกให้กับทั้งเราและลูกค้า”
แม้การซื้อขายจะไม่จบบนหน้าเว็บไซต์ แต่เขายอมรับว่าความสะดวกสบายจากการมีเว็บของตัวเอง ทำให้ยอดขายฝ้ายซอคำเพิ่มขึ้น สังเกตจากมีลูกค้ารายใหม่ๆ ในประเทศใหม่ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นจากการเห็นหน้าตาสินค้าในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ที่ World wide ที่สุดแล้วสำหรับเอสเอ็มอีอย่างพวกเขา
ทว่าแค่มีหน้าร้านออนไลน์ใช่ว่าจะทำให้ธุรกิจขยับขยายไปได้ “วิรัตน์” บอกว่า ต้องพยายาม "อัพเดทสินค้าใหม่ๆ" อย่างต่อเนื่อง และสื่อสารตัวสินค้าให้ลูกค้าเข้าใจ เพราะพวกเขาไม่สามารถไปนั่งอธิบายสรรพคุณสินค้าได้ด้วยตัวเองอีกต่อไป จึงต้องใช้วิธีใส่รายละเอียดสินค้าให้มากขึ้น
ขณะที่การแข่งขันสุดเข้มข้นในตลาดงานหัตถกรรมไทย ทำให้ผู้ประกอบการก็ต้องกลับมาพัฒนาสินค้าของตัวเอง เขาบอกว่าวิธีรักษาตลาดของฝ้ายซอคำ คือพยายามทำให้เป็นสินค้า “Unique” และมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ให้ลูกค้าไม่ผิดหวังในตัวสินค้า ไม่ว่าจะรู้จักจากช่องทางไหน แต่เมื่อสินค้าส่งถึงมือลูกค้าแล้วก็จะมีคำตอบเดียวในใจ คือ “ความพึงพอใจ” ของลูกค้า นั่นเอง
เว็บไซต์ไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่จะสร้างโอกาสให้กับเอสเอ็มอีในยุคนี้ ยังมีสื่อฮอต “Social Media” ที่พร้อมให้เอสเอ็มอีเข้ามาพิสูจน์กึ๋นอีกเพียบ
“ดร.ภิเษก ชัยนิรันดร์” ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ ที่กรุงเทพธุรกิจเชิญมาเปิดเวทีสัมมนาเอสเอ็มอีในหัวข้อ “การตลาดออนไลน์ยุคใหม่สำหรับธุรกิจ SMEs” ในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ บอกกับเราว่า สื่อโฆษณาในอดีตกับเอสเอ็มอีเป็นสิ่งที่ห่างไกลกันสุดขั้ว เพราะไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หรือกระทั่งสื่อสิ่งพิมพ์ ล้วนมีค่าใช้จ่ายมหาศาลทั้งนั้น
แต่วันนี้เครื่องมือ “Social Media” อย่าง Facebook , Twitter หรือ Youtube ได้เข้ามาเปิดโลกเอสเอ็มอีให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น เรียกว่าแม้ไม่มีงบในกระเป๋า ก็สามารถเข้าสู่โลกโฆษณาในวงกว้างได้
“ยกตัวอย่างเคสที่น่าสนใจในต่างประเทศ อย่างเครื่องปั่นน้ำผลไม้ Blendtec ที่เขาโฆษณาผ่าน Youtube โดยเอาไอโฟน ไอแพดมา มาปั่น เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของสินค้า ปรากฏมีคนเข้ามาดูเยอะมากเป็นร้อยล้านคน ทำให้แบรนด์ของเขาเป็นที่รู้จักได้ในเวลารวดเร็ว และดังไปทั่วโลก”
ใกล้ตัวขึ้นอีกนิด “เจ๊กเม้ง” ร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ ในจังหวัดเพชรบุรี ของคนหนุ่มรุ่นใหม่ “ธีรศานต์ สหัสสพาศน์” ที่พาตัวเองไปเป็นที่รู้จักของผู้คนด้วย Social Media ทำให้เกิดการบอกต่อในโลก Social Media
“คนมีชื่อเสียงหลายคนมาทานเจ๊กเม้งแล้วประทับใจ ก็ไปพูดต่อใน Twitter ซึ่งมีคนติดตามคนเหล่านี้อยู่มากมาย จึงเกิดการบอกต่อ แน่นอนว่าถ้าไม่ใช้ Social Media การบอกต่อนี้อาจเกิดขึ้นแค่ในกลุ่มคน 5-10 คน แต่พอมันเป็น Social Media มันคือคนจำนวนมหาศาล ทำให้ร้านเล็กๆ ได้รับความสนใจในเวลารวดเร็ว"
“เจ๊กเม้ง” ไม่ได้ใช้ Social Media เป็นแค่แฟชั่นที่ต้องมีตามชาวบ้าน แต่พวกเขาใช้มันอย่างมีกลยุทธ์และทำมันอย่างต่อเนื่อง ก้าวให้ทันกับพฤติกรรมของคนในยุคนี้ ซึ่งจะเห็นความเคลื่อนไหวมากมายของเจ๊งเม้ง ใน Facebook ใน Twitter หรือกระทั่ง Youtube เรียกว่าทุก “สื่อฟรี” ที่พวกเขาจะเข้าไปใช้ได้ โดยการตลาด Social Network ก็เพิ่มยอดขายให้เจ๊กเม้ง ได้มากถึง 3-4 เท่าตัว
“เจ๊กเม้งใช้ Facebook เป็นช่องทางจัดกิจกรรมให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม ปกติเวลามีคนดังไปกินร้านต่างๆ ก็จะเห็นเจ้าของร้านติดรูปเต็มผนังไปหมด แน่นอนพื้นที่ร้านมีจำกัด และคนที่จะได้เห็นภาพเหล่านั้นก็แค่คนมากินที่ร้านเท่านั้น ขณะที่คนยุคนี้ใครก็อยากเป็น มินิเซเลบ กันทั้งนั้น ไปไหนมาก็ถ่ายรูปมาอวดกัน เจ๊กเม้งรู้อารมณ์เหล่านี้ เลยเอาภาพมาลงใน Facebook และคนที่มาเห็นมันก็ไม่ใช่แค่คนที่มาทานที่ร้าน แต่คือฐานลูกค้าของพวกเขาบนโลกออนไลน์”
สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น คือ ไม่ใช่แค่มี Social Media เปิดใช้แต่นั่งรออยู่เฉยๆ หากต้องใช้มันอย่างมีกลยุทธ์ ต้องมีกิจกรรม ต้องดูแลเอาใจใส่ลูกค้า อย่าง “เจ๊กเม้ง” มีการทำ CRM มีแบบสอบถามหน้าร้าน มีการส่ง SMS ขอบคุณลูกค้า แจ้งข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ใน Social Media ของพวกเขา
ทั้งหมดเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเจ้าของกิจการ ที่เข้าใจ ยอมรับในพลังของสื่อใหม่ และเลือกเรียนรู้ที่จะใช้มันในโลกธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์
ถ้าเจ้าของกิจการยังเพิกเฉย ไม่สนใจ อาจเกิดกรณีแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ Dell ก่อนหน้านี้ก็เป็นได้ ก่อนจะเล่าว่า จุดเริ่มต้นเล็กๆ จากลูกค้าคนหนึ่งที่ได้รับการบริการแสนแย่จาก Dell แล้วไปต่อว่าพวกเขาในโลกออนไลน์ จนเกิดการบอกต่อเป็นเรื่องราวใหญ่โต กระทบกับธุรกิจของ Dell อย่างหนัก
สุดท้ายพวกเขาก็ต้องปรับตัวเอง โดยเปลี่ยนมาทำความเข้าใจกับ Social Media นำไปสู่การเปิดเว็บไซต์สำหรับบริการหลังการขายลูกค้า Dell โดยเฉพาะ เป็นการปรับตัวโดยรู้ว่า “ประโยชน์” และ “พิษสง” ของ Social Media มันทรงพลังกับพวกเขามากแค่ไหน "ดร.ภิเษก" เล่า
“ธุรกิจเล็กๆ ก็เหมือนกัน อย่างลูกค้าไปทานแล้วไม่อร่อย ได้รับการบริการไม่ดี เขาก็ไปบอกต่อให้ทุกคนรับทราบ ก็ย่อมกระทบกับธุรกิจเรา ดังนั้นถ้าเราสามารถไปค้นหาความไม่พอใจเหล่านี้ได้ ก็สามารถขอโทษ ชี้แจง และแสดงความใส่ใจต่อลูกค้า ซึ่งมันจะช่วยพลิกสถานการณ์ให้ลูกค้ากลับมาพอใจได้ เรียกว่าต้องเข้าไปแก้ปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเล่นงานเรา”
สำหรับคนที่มีเว็บไซต์อยู่แล้ว เขาบอกว่า “Social Media” จะสร้างพลังให้กับธุรกิจมากขึ้น
“การทำให้เรามีตัวตนบนออนไลน์ได้ มีหน้าร้านบนโลกออนไลน์ มันไม่ได้เป็นข้อเสีย และถ้าเราจะมีทั้งเว็บไซต์และ Social Media ก็ยิ่งสนับสนุนธุรกิจ แต่ต้องทำให้เชื่อมโยงกันให้ได้ ต้องบอกว่าในเว็บไซต์ว่าเรามี Facebook ด้วยนะ เพื่อให้เขาเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับเราได้”
แม้จะมีคนทำสำเร็จ แต่เขาก็บอกว่า ที่ล้มเหลวก็มีมาก อยู่ที่ความเข้าใจและการเรียนรู้ที่จะหยิบมาใช้ ใช้อย่างถูกต้อง และมองเป็นกลยุทธ์ ทำให้เกิดความต่อเนื่อง และเรียนรู้ที่จะนำศาสตร์ด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้ให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามเขายังเชื่อว่า Social Media ไม่ได้เป็นแค่แฟชั่นที่คนจะเห่อใช้เป็นพักๆ แต่เป็นสื่อที่มีอะไรใหม่ๆ ออกมาต่อเนื่องเข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ ขอเพียงเอสเอ็มอีเรียนรู้ และตามกระแสเหล่านี้ให้ทันเท่านั้น
“Social Media มันเหมือนบ่อปลาขนาดใหญ่ และเป็นบ่อที่มีปลาเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน เอสเอ็มอีที่ยืนมองอยู่บนปากบ่อ ใครจะเอาแต่มองอย่างลังเล ไม่ลงมาจับ หรือใครที่มีความกล้าและกระโดดลงมาทันที หรือจะรอให้คนอื่นมาเอาปลาไปจนหมดแล้ว เราอยากเป็นเอสเอ็มอีแบบไหน แต่ต้องไม่ลืมว่าถ้าจะกระโดดลงบ่อมันต้องมาจากการที่เราได้เรียนรู้ Social Media อย่างดีแล้ว เรียนรู้และศึกษา ก่อนที่คนอื่นจะแย่งปลาจากบ่อนี้ไปจนหมด”
หลากมุมคิดดีๆ ที่พร้อมนำพาเอสเอ็มอีไทย “Go online” ให้ Success
บริการทางการเงินครบวงจรสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ e-commerce ธนาคารกสิกรไทยร่วมสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจ online ด้วยบริการบัญชี เพื่อธุรกิจ E-Commerce ซึ่งจะประกอบไปด้วยบริการต่างๆ ของธนาคาร เพื่อช่วยทำให้การทำธุรกิจบนโลก online ง่ายขึ้น ได้แก่
1) Internet Shopping by K-Debit Card บริการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเดบิตกสิกรไทยใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์ได้ไม่อั้น ด้วยบัตรเดบิตกสิกรไทย สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มั่นใจทุกการใช้จ่าย
2) K-Cyber Banking บริการทางอินเทอร์เน็ต สะดวก เหมือนไปธนาคารด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง
3) K-Mobile Banking บริการธนาคารส่วนตัวบนมือถือ ทุกที่ ทุกเวลา หลายหลากบริการในที่เดียวทั้งเช็ค โอน เติม จ่าย
4) SMS ขยันบอก บริการแจ้งรายการเดินบัญชีเงินฝากผ่าน SMS รู้ทุกความเคลื่อนไหวบัญชีด้วยตนเอง ไม่ต้องรอ Update สมุดคู่ฝาก
5) K- E-Mail Statement บริการรับรายการเดินบัญชีทางอีเมล์กสิกรไทย ให้ทุกความเคลื่อนไหวทางการเงิน ส่งตรงถึง อีเมล์ ง่าย สะดวก และปลอดภัย ผู้ช่วยคนใหม่สำหรับการเงินของคุณ
6) K-SME Start-up Solution วงเงินสินเชื่อสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจพร้อมให้องค์ความรู้สำหรับต่อยอดธุรกิจ เพียงมีประสบการณ์ 1-3 ปี ไม่มีหลักประกันก็สามารถขอสินเชื่อได้ และการอบรมสัมมนาเพื่อให้ธุรกิจเริ่มต้นได้อย่างถูกวิธี
7) Online Business Matching เปิดโอกาสให้เข้าสู่ระบบ B2B Online Business Matching เพื่อเพิ่มโอกาสขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าองค์กร
8) K-SME Analysis บทวิเคราะห์ธุรกิจ ที่ย่อยข่าวสาร ข้อมูลสำคัญทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจสำหรับผู้ประกอบการ SME โดย ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย
พิเศษ เมื่อเปิดบัญชีเพื่อธุรกิจ อี-คอมเมิร์ช และสมัครบริการภายในงานธุรกิจไทย Go Online ระหว่างวันที่ 29 -30 กรกฎาคม 2554 ณ.ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- ฟรี ! ค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อสมัครบัตรเดบิตกสิกรไทย
พิเศษ เมื่อเปิดบัญชีเพื่อธุรกิจ อี-คอมเมิร์ช และสมัครบริการภายในงานธุรกิจไทย Go Online ระหว่างวันที่ 29 -30 กรกฎาคม 2554 ณ.ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- ฟรี ! ค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อสมัครบัตรเดบิตกสิกรไทย
- ฟรี ! บริการ SMS ขยันบอก รู้ทุกยอดเงินเคลื่อนไหวในบัญชีทางมือถือ นาน 3 เดือน
- ฟรี ! ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินบน K-Cyber Banking 10 ครั้ง ภายใน 3 เดือน
- ฟรี ! สมุดโน้ต K-Exellence เมื่อสมัครบริการ K-Cyber Banking และ K-Mobile Banking
ความคิดเห็น