รวม ข่าว AEC August
ส.ไลฟ์สไตล์ชี้รับมือ AEC หนุนSMEsส่งออก- นำเข้า
นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย เปิดเผยว่า เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งส่งผลให้ตลาดอาเซียนกลาย เป็นหนึ่งเดียวกัน ทางสมาพันธ์ฯ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีทั้งผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้าน เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งส่งออกและนำเข้า
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา การช่วยเหลือ หรือการจัดงานแสดงสินค้าจะมุ่งเป้าไปที่กลุ่มของผู้ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ในขณะที่กลุ่มผู้นำเข้าไม่เคยมีเวทีในการจัดแสดง สินค้า และเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการในทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มผู้นำเข้า ทางสมาคมฯ จึงได้จัดงาน Thailand Gift and Premium Fair 2011 ขึ้นในวันที่ 1-3 กันยายน นี้ ที่ไบเทค บางนา ทั้งนี้ คาดหวังว่า การจัดงานดังกล่าว จะมีผู้เข้าชมงานไม่ต่ำกว่า 2,500 คน เกิดการซื้อขายไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท มีผู้ตอบรับเข้าร่วมแสดงงานประมาณ 200 บูธ ซึ่งกลุ่ม ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัท ห้าง ร้าน ที่ต้องการของพรี่เมียมเพื่อนำไปมอบในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยสินค้าที่ให้ความสำคัญในปีนี้ จะกลุ่ม Eco Product ส่วนหนึ่งมาจาก ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้มีทุกคนสนใจหันมาเลือกสินค้า Eco Product ภายในงานยังได้มีการจัดประกวด Gift and Premium Design Award ภายใต้หัวข้อ Eco Product ส่วนราคาสินค้ามีการปรับราคาเพิ่มขึ้นในปีนี้ประมาณ 10-15% มูลค่ารวมของตลาดอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 10 ส.ค.54 |
|
|
|
ปีที่แล้วตัวเลขจากการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าปรากฏออกมาว่ามีคนไทยไม่รู้จักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC นั้นมีสูงถึง 85% สร้างความตกใจให้กับภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ที่มีหน้าที่ดูแลการเจรจาและให้ความรู้แก่ประชาชน ปีที่ผ่านไปจึงเป็นปีที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศทำงานอย่างหนัก ขณะนี้ยังไม่มีการสำรวจตัวเลขใหม่แต่ผมเชื่อว่าตัวเลขคงเท่าเดิม คนไทยส่วนใหญ่ใช้หลัก "ปลอดภัยไว้ก่อน" คือตอบไม่รู้จะปลอดภัยดี เอาเป็นว่าควรถามคำถามใหม่ว่าเคยได้ยิน AEC หรือไม่? ผมเชื่อว่าตัวเลขจะดีขึ้น ในความเห็นของผมแล้วการแค่ได้ยินก็พอแล้วเพราะจะให้รู้นั้นยากมากเนื่องจากรายละเอียดมีมากมาย คนที่ "ได้ยิน" แล้ว ก็ขอให้หาข้อมูลเพิ่มในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจของตนต่อไป สำหรับคนรู้จริงก็ขอถามว่าปี ค.ศ. 2015 นั้นมีความหมายอะไรกันแน่? ลองตอบกันเองนะครับ
ในระหว่างนี้ผมขอเสนอให้เตรียมตัวเพิ่มอีก 6 เรื่อง ดังนี้คือ 1) การประสานข้อมูลของอีกสองเสาหลักที่เรียกว่า การเมืองและความมั่นคง ประชาสังคมและวัฒนธรรม กับเสาเศรษฐกิจ แต่ในขณะนี้ผมยังไม่เห็นมีการดำเนินการซึ่งเป็นความเสี่ยงเนื่องจากไม่มีใครจะแก้ไขข้อบกพร่องได้หากข้อตกลงในแต่ละเสาขัดแย้งกัน 2) การให้ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงอย่างมีประสิทธิภาพยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม การใช้ประโยชน์จาก AEC จะต้องเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตของสินค้าแต่ละชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ 3) การสรุปข้อตกลงมาตรฐานสินค้าและบริการร่วมกันระหว่างประเทศอาเซียนจะต้องบรรลุผลให้เร็วที่สุดเพื่อขจัดอุปสรรคการนำเข้าสินค้าระหว่างกัน 4) การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าโดยเฉพาะภาคเกษตรจะต้องดำเนินการทันทีเพื่อการแข่งขัน ผู้บริโภคจะต้องได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การจัด Zoning การรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ หรือเป็นบริษัทใหญ่โดยการรวมพื้นที่เข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องมือทางการเงินอุดหนุนเกษตรกรจะต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ 5) พื้นที่อาเซียนจะเป็นพื้นที่ลงทุนที่สำคัญจากประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นญี่ปุ่นซึ่งจะย้ายฐานการผลิตเนื่องจากมีปัญหาพลังงาน การลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีชิ้นส่วนมากๆ จะถูกกระจายไปยังหลายประเทศและนำไปประกอบในประเทศสุดท้ายเพื่อส่งออก หลายประเทศในอาเซียนยังเป็นประเทศพัฒนาน้อยสุด (Least Developed Countries) ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรจากประเทศพัฒนาบางประเทศ ดังนั้นผู้ลงทุนจะตัดสินใจในการส่งออกจากประเทศเหล่านี้ (ซึ่งไม่ใช่ประเทศไทย) เราต้องเตรียมพร้อมเรื่องแรงงาน เครื่องจักร เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก ความมั่นคงทางการเมืองอย่างไร?
6) เรื่องอาเซียนเป็นเรื่องเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนไทยในทุกด้าน เยาวชนรุ่นหลังต้องเป็นชาวอาเซียนเชื้อชาติไทย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริงต้องมีการเตรียมตัวและสร้างศักยภาพตั้งแต่เด็กดังนั้นมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนจะต้องมีหลักสูตรอาเซียนในปีหน้าเป็นต้นไปเพราะอาเซียนไม่มีแค่เพียง 10 ประเทศแต่ยังได้ผนวกกับอีก 6 ประเทศคือจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ประชากรรวมกันเท่ากับครึ่งหนึ่งของโลกและขนาดเศรษฐกิจจะยิ่งใหญ่ขึ้นแทนตะวันตกในไม่ช้าครับ
การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ภารกิจคือ สร้างคนไทยรุ่นใหม่ให้เป็นหนึ่งในอาเซียนให้ได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,663 21- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
"กิตติรัตน์" ปลุกเอกชนไทยรับมือเปิดเสรี AEC ปี 2558 ระบุหมดยุคค่าแรงถูก อ้อนอย่าตื่นตูมนโยบายขึ้นค่าแรงจะแข่งขันลำบาก พร้อมหนุนธุรกิจไทยลงทุนอาเซียน เชื่อหากรัฐ-เอกชนร่วมมือดี ส่งออกโตเกิน 20% แน่
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษ 1 ปีของเออีซีกับทิศทางประเทศไทย ว่า ที่ผ่านมาเอกชนได้มีการเตรียมความพร้อมต่อการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 นอกจากการลดภาษีสินค้าทุกรายการเหลือ 0% แล้ว การเคลื่อนย้ายภาคแรงงานในอาเซียนจะทำได้เสรีระหว่างกันมากขึ้น
โดยในส่วนของไทย ยืนยันว่าจะไม่มีแรงงานราคาถูกอย่างในปัจจุบันอีกต่อไป เพราะไทยไม่ได้แข่งขันในเรื่องอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานราคาถูกเหมือนอดีต ดังนั้น ใครก็ตามที่มาลงทุนในไทย ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเรื่องค่าแรงของไทย ขณะที่ธุรกิจไทย หากเห็นประเทศอื่นในอาเซียน เช่น กลุ่ม CLMV คือ เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา มีค่าแรงที่ถูกกว่าไทย ก็สามารถเคลื่อนย้ายไปลงทุนประเทศเหล่านี้ได้เช่นกัน ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุน
ทั้งนี้ ไม่อยากให้ธุรกิจกังวลเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงแล้วจะแข่งขันไม่ได้ เพราะการเพิ่มค่าแรงจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของแรงงานควบคู่ไปด้วย หากปรับขึ้นค่าแรงแล้วแรงงานไม่มีทักษะหรือเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันเพิ่มขึ้น ก็ไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งภาครัฐพร้อมจะสนับสนุนเอกชนในเรื่องการเพิ่มทักษะแรงงานด้วยเช่นกัน และไม่ขัดข้องหากแรงงานที่มีฝีมือของไทยจะเคลื่อนย้ายไปทำงานในอาเซียนที่มีค่าจ้างสูงกว่า
สำหรับการดูแลภาคธุรกิจเอสเอ็มอีนั้น รัฐบาลมีแผนอยู่แล้วที่จะเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการรองรับเปิดเออีซี ด้วยการปรับมาตรฐานของธุรกิจให้เป็นสากล พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ภาษาต่างประเทศ และภาษาเพื่อนบ้าน แก้ปัญหาด้านการตัดราคาระหว่างผู้ประกอบการ สร้างความเชื่อมโยงหาพันธมิตรในอาเซียน และผลักดันการบังคับใช้กฎหมายภายในอย่างเข้มงวดขึ้นนอกจากนี้ ยังสนับสนุนงบประมาณเพื่อแก้ไขและปรับปรุงธุรกิจให้เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งเชื่อว่าหลังเปิดเออีซีในปี 2558 จะทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไทยภาพรวมโตไม่ต่ำกว่า 20-30% หากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันมองหาตลาดในต่างประเทศมากขึ้น.
NEC AEC เชียงใหม่
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จัดงานสัมมนา
กำหนดการสัมมนาวิชาการ OIE FORUM ประจำปี 2554
“AEC 2015 ความท้าทายและโอกาสอุตสาหกรรมไทย”
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554
ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
----------------------------------------------------
ช่วงเช้า
08.30 - 09.30 น. ลงทะเบียน
09.30 - 09.45 น. กล่าวรายงาน
โดย นางสุทธินีย์ พู่ผกา
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
09.45 - 10.30 น. ปาฐกถาเปิดการสัมมนา “AEC 2015 : ความท้าทายและโอกาสอุตสาหกรรมไทย”
โดย นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
10.30 - 11.15 น. ปาฐกถาพิเศษ Changes in Geo Global Economics
(การเปลี่ยนแปลงในภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ)
โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รอการยืนยัน)
11.15 - 12.00 น. ปาฐกถาพิเศษ Changes in Geo Demographic
(การเปลี่ยนแปลงในประชากรโลก)
โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TRDI) (รอการยืนยัน)
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
ช่วงบ่าย สัมมนากลุ่มย่อย
13.00 - 15.30 น. ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยใน AEC
ห้อง 1 สิ่งแวดล้อม : อุตสาหกรรมไทยกับเป้าหมายเติบโตยั่งยืน
ภาครัฐ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ภาคอุตสาหกรรม
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
และวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากภาคเอกชน
ห้อง 2 ผู้บริโภค : ผู้บริโภคเปลี่ยนไป อุตสาหกรรมไทยจะปรับตัวอย่างไร
ภาครัฐ
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ
และผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคอุตสาหกรรม
นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)
นักการตลาด
นายสรณ์ จงศรีจันทร์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กลุ่มบริษัท ยังก์ แอนด์ รูบิแคม แบรนด์
ห้อง 3 ยุทธวิธี “รุกเออีซี” เอสเอ็มอีไทย
ภาครัฐ
นางนันทวัลย์ สกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก หรือผู้แทน
ภาคอุตสาหกรรม
วิทยากรที่มีชื่อเสียงจากภาคเอกชน 2 ท่าน
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
จังหวัดพะเยาพัฒนากระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพ สู่มาตรฐาน GMP สู้คู่แข่งในกลุ่ม GMS และ AEC ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ที่มีกลุ่มผู้บริโภคกว่า 500 ล้านคน
Mari Elka Pangestu รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นประธานหมุนเวียนอาเซียน และประธานที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 43 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Jakarta Post ถึงความคืบหน้าของ “ประชาคมอาเซียน” ตามกำหนดปี 2015
ถาม: ตอนนี้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มีความคืบหน้าอย่างไร
ตอบ: ตอนนี้ทิศทางของ AEC ดำเนินไปตามแผนพิมพ์เขียว (Blueprint) โดยเราพยายามเฝ้าระวังประเด็นที่ล่าช้ากว่าแผน นั่นคือ ด้านสุขภาพและลอจิสติกส์
เราทำงานเรื่องการลดกำแพงภาษีเสร็จแล้ว และกำลังเดินหน้าเรื่องภาคบริการ โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องยืนยันว่าจะร่วมมือในเซคเตอร์ไหนบ้าง
ส่วนประเด็นเรื่อง “หน้าต่างภาษีเดียว” (Single Window) เราเพิ่งได้รับความร่วมมือจากลาว ที่จะเข้าร่วมหลังสิ้นปีนี้ ตอนนี้มีประเทศที่เข้าร่วม 8 ประเทศแล้ว เป็นกลไกสำคัญต่อการค้าขนาดใหญ่
ถาม: เรามีเป้าหมายว่าจะเพิ่มเงินลงทุนขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
ตอบ: เราไม่ได้มีเป้าหมายชัดเจนขนาดนั้น ปีที่แล้วเงินลงทุนที่มาจากภายในอาเซียนเองเพิ่มขึ้น 12% และถ้ารวมกับประเทศใกล้เคียงคือ ASEAN+6 (ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ตัวเลขจะขึ้นเป็น 30%
ถาม: อาเซียนจะแก้ปัญหาระดับรายได้ที่ต่างกันของประชากรในแต่ละประเทศอย่างไร
ตอบ: อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน สนใจประเด็นที่สามในแผน AEC มากเป็นพิเศษ นั่นคือการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคภายในอาเซียน เราได้ทำงานหลายอย่างที่จะลดช่องว่างในการพัฒนาของกลุ่มประเทศอาเซียน
สิ่งแรกที่เราเน้นคือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งคิดเป็นธุรกิจจำนวน 96% ของอาเซียน และจ้างแรงงาน 30-60% ของแรงงานทั้งหมดของอาเซียน
อาเซียนยังมีโครงการ ASEAN Investment Area (AIA) สำหรับช่วยลดความเหลื่อมล้ำในประเทศสมาชิก โดยเฉพาะ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม โครงการนี้จะเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิก
สาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นอีกประเด็นที่จะช่วยลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจได้ อาเซียนมีแผนแม่บท ASEAN Master Plan of Connectivity ที่รัฐมนตรีการคลังของทุกประเทศจะต้องตัดสินใจสนับสนุนการพัฒนาสาธารณูปโภค เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนคือโครงการทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง ที่จะต่อเชื่อมกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม นอกจากนี้เรายังมีเรื่องการคมนาคมทางทะเลด้วย
ถาม: อะไรคือแผนการที่จับต้องได้ในการพัฒนา SME ในอาเซียน
ตอบ: เรามีแผนจะสร้างฐานข้อมูลของผู้ประกอบการ SME เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการส่งออก ฐานข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถดูรายการสินค้าที่มีขายได้ และจะสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่ม SME ด้วยกัน เรายังจะพัฒนาผู้ประกอบการเหล่านี้ให้ผ่านมาตรฐานของประเทศที่นำเข้าสินค้า
SME ควรจะได้ประโยชน์จากการรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้า โดยจัดหาข้อมูลที่จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง FTA และกฎเกณฑ์ต่างๆ ของแต่ละประเทศที่ซื้อสินค้า
ถาม: เราต้องปรับตัวอย่างไรจึงจะอยู่รอดในวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้น
ตอบ: นี่เป็นช่วงเวลาที่เราควรรวมตัวกันเพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน โลกด้วยกัน ในปี 2009 อัตราการเติบโตของอาเซียนทั้งหมดลดลง 1.6% เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เริ่มขึ้นในปี 2008 แต่ปีถัดมา 2010 อัตราก็กลับมาเติบโตขึ้น 7.6%
แนวโน้มนี้แสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะมีปัญหา แต่เราสามารถกลับมาได้เร็ว และเราควรสร้างตลาดภายในอาเซียนให้มากขึ้น
ถาม: กลไกด้านการเงินอย่าง Chiang Mai Initiative (การแลกเปลี่ยนเงินทุนสำรองระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน) และการแลกเปลี่ยนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสมาชิกเป็นคู่ๆ จะพร้อมรับมือวิกฤตทางการเงินแค่ไหน
ตอบ: นี่เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีการคลังของอาเซียน แต่พื้นฐานแล้ว กลไกเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองวิกฤตทางการเงินเอเชียปี 1997-1998 โดยหวังจะเป็น “เข็มขัดนิรภัย” ถ้าหากมีเงินลงทุนขนาดใหญ่มากไหลออกจากกลุ่มประเทศอาเซียน แต่กลไกลนี้ยังเป็นแค่กลไกระดับภูมิภาค โดยการร่วมมือกับ IMF
ต้นฉบับจาก The Jakarta Post
ความคิดเห็น