คาถาการทำธุรกิจSME ปี2559
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 นั้น แม้จะคาดว่า กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆน่าจะสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้สอดคล้องกันมากขึ้น โดยมีแรงหนุนจากการลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมีมุมมองเชิงระมัดระวัง และประเมินกรอบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2559 ในเบื้องต้นไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.5-3.5 (ค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 3.0) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
- การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ อาจขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2559 ผ่านการใช้จ่ายและแรงกระตุ้นในส่วนที่มาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความต่อเนื่องของการเร่งเบิกจ่ายเม็ด( หลายหน่วยงานตั้งเป้าใช้จ่าย 70%ในสองไตรมาสแรก ตั้งแต่ ต.ค.58- มี.ค.59) เงินจากงบประมาณ และการลงทุนในโครงการต่อเนื่องต่างๆ ของภาครัฐ นอกจากนีhคาดว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะมอร์เตอร์เวย์และรถไฟทางคู่บางเส้นทาง ตลอดจนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ก็น่าจะสามารถเริ่มดาเนินการได้ในปี 2559 ซึ่งสัญญาณบวกในส่วนนี้นอกจากจะช่วยเสริมจังหวะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีภาพที่ชัดเจนขึ้นในปี 2559 แล้วยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยหนุนให้บรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศในส่วนอื่นๆ ทยอยฟื้นตัวขึ้นตามมาตามลำดับ
- แนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกในปี 2559 อาจจะยังอยู่ในกรอบที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (โดยเฉพาะจีน และคู่ค้าสำคัญอื่นๆ ในเอเชีย) และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมัน) ยังคงเปราะบาง ประกอบกับสินค้าส่งออกในหลายหมวด อาทิ ในกลุ่มสินค้าเกษตร ก็ยังคงต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่เข้มข้นจากประเทศคู่แข่ง และข้อจากัดเชิงโครงสร้างของภาคการผลิต ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องตามโจทย์ความต้องการในตลาดโลก
- ทิศทางการบริโภคภาคเอกชนในปี 2559 อาจขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียง หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสถานการณ์การบริโภคในปี 2558 เนื่องจากมองว่า ครัวเรือนในหลายๆ ส่วนจะยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ท่ามกลางภาระค่าใช้จ่ายและหนีสิ้นที่อาจจะยังไม่ลดน้อยลง ขณะที่สถานการณ์ด้านรายได้ก็อาจจะยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมาก นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งที่ลากยาวข้ามปี จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันผลผลิตและรายได้ในภาคการเกษตร ด้วยเช่นกัน
ประเด็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในปี 2559 ประกอบด้วย
1) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีนัยต่อเนื่องต่อภาคการส่งออกของไทย เพราะจีนเป็นทั้งคู่ค้าสำคัญและเป็นตัวแปรหลักที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกและราคาสินค้าส่งออกของไทย
2) สถานการณ์ภัยแล้งภายในประเทศ ซึ่งระดับความรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น หากช่วงฤดูฝนมาล่าช้ากว่าช่วงเวลาปกติ เนื่องจากระดับน้ำในเขื่อนหลักสาหรับจัดสรรในช่วงฤดูแล้ง(ระหว่างเดือนพ.ย. 2558-เม.ย. 2559) มีปริมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหลายปี ก่อนหน้านี้และ 3) ความผันผวนของอัตราแลกเปลยี่ น ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นภาพที่สวนทางกับการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางชั้นนำแห่งอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางจีน และธนาคารกลางญี่ปุ่น
1) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีนัยต่อเนื่องต่อภาคการส่งออกของไทย เพราะจีนเป็นทั้งคู่ค้าสำคัญและเป็นตัวแปรหลักที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกและราคาสินค้าส่งออกของไทย
2) สถานการณ์ภัยแล้งภายในประเทศ ซึ่งระดับความรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น หากช่วงฤดูฝนมาล่าช้ากว่าช่วงเวลาปกติ เนื่องจากระดับน้ำในเขื่อนหลักสาหรับจัดสรรในช่วงฤดูแล้ง(ระหว่างเดือนพ.ย. 2558-เม.ย. 2559) มีปริมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหลายปี ก่อนหน้านี้และ 3) ความผันผวนของอัตราแลกเปลยี่ น ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นภาพที่สวนทางกับการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางชั้นนำแห่งอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางจีน และธนาคารกลางญี่ปุ่น
เจ้าของธุรกิจควรท่องคาถานี้ให้แม่น
- กระจายความเสี่ยงเรื่องตลาด มีลูกค้าหลายกลุ่มเพื่อรองรับการขาย
- มีความรู้เรื่องการเงินสด เพื่อไม่ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์
- ให้ความสำคัญกับเรื่องการเงินและเรื่องบัญชี อย่าคิดว่ามีพนักงานทำบัญชีแล้วจะไม่ดูเรื่องเงิน
- บริหารต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดแล้วลดอีกให้ได้
- สร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจ เพราะเครือข่ายจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเดินต่อไปอย่างไม่สะดุด
- คิด Product Innovation ที่ตลาดต้องการ เพราะการมี Innovation แต่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด สินค้าก็ขายไม่ได้
- อย่าหลบเลี่ยงภาษี เพราะเห็นแก่กำไรฉาบฉวย เพราะจะทำให้ SME เติบโตยาก
ความคิดเห็น