คำกล่าวลาอุปสมบท ณ วัดป่าห้วยเดื่อ จังหวัดเลย
นับเป็นโชคดีที่ชีวิตนี้จะมีโอกาสได้บวชทดแทนบุญคุณ.
วันที่15-27ตุลาคม2558 ได้เมตตาจากพระอาจารย์คาน ธัมมธโร ( พระอาจารย์คาน ธมฺมธโร ) วัดป่าห้วยเดื่อ (วัดป่าสันติธรรม) ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย. และพระอาจารย์ทวี ปุญญปัญโญ ให้บวชที่วัดอันแสนสงบนี้
กำหนดการบวช
วันที่ 15 สิงหาคม เข้าวัดปฎิบัติธรรมชำระจิตใจ
วันที่ 16 สิงหาคม 10:00 น. โกนผม
วันที่ 17 สิงหาคม 9:00 น. บรรพชา
วันที่15-27ตุลาคม2558 ได้เมตตาจากพระอาจารย์คาน ธัมมธโร ( พระอาจารย์คาน ธมฺมธโร ) วัดป่าห้วยเดื่อ (วัดป่าสันติธรรม) ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย. และพระอาจารย์ทวี ปุญญปัญโญ ให้บวชที่วัดอันแสนสงบนี้
กำหนดการบวช
วันที่ 15 สิงหาคม เข้าวัดปฎิบัติธรรมชำระจิตใจ
วันที่ 16 สิงหาคม 10:00 น. โกนผม
วันที่ 17 สิงหาคม 9:00 น. บรรพชา
Wat PA Santi Tham
https://goo.gl/maps/U3DUa148v552
“กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าเทอญ”
วัดป่าสันติธรรม หรือวัดป่าห้วยเดื่อ เป็นวัดที่หลวงพ่อขันตี เป็นผู้นำพาสร้างวัดป่าแห่งหนึ่งอยู่ที่บ้านห้วยเดื่อ อ.วังสะพุง จ.เลย และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส โดยท่านพำนักอยู่จำพรรษา ณ วัดป่าห้วยเดื่อ (วัดป่าสันติธรรม) เป็นเวลายาวนานถึง ๒๕ ปี
บทสวด เอสาหัง และคำแปล
จากที่หาข้อมูลใน internet พอจะสรุปได้ดังนี้ ผิดถูกประการใดผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
******************************************************************************************
http://pantip.com/topic/30225493
วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบเอสาหัง (ธรรมยุตนิกาย)
กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งอุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือเข้าไปในสังฆสันนิบาตวางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌายะ แล้วกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้งแล้วนั่งคุกเข่าอุ้มผ้าไตรประนมมือเปล่งวาจา ถึงสรณะและขอบรรพชาด้วยคำมคธ หยุดตามจุดจุลภาคว่า
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง (ละภัยยัง อุบปะสัมปะดัง)
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น)
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภัณเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง (ละภัยยัง อุบปะสัมปะดัง)
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ครั้งที่สอง)
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภัณเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง (ละภัยยัง อุบปะสัมปะดัง)
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ครั้งที่สาม)
อะหัง ภัณเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภัณเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวชเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากความทุกข์)
ทุติยัมปิ อะหัง ภัณเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภัณเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวชเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากความทุกข์ แม้ครั้งที่สอง)
ตะติยัมปิ อะหัง ภัณเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภัณเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวชเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากความทุกข์ แม้ครั้งที่สาม)
ถ้าบวชเป็นสามเณร ยกคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออกเสีย
ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะรับเอาผ้าไตรจากผู้มุ่งบรรพชาวางไว้ตรงหน้าตัก แล้วกล่าวสอนถึงพระรัตนตรัยเป็นต้น และบอก ตะจะปัญจะกะกัมมัฎฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม) (ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง (ตามลำดับ))
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม) (หนัง, ฟัน, เล็บ, ขน, ผม (ทวนลำดับ))
ครั้นสอนแล้วพระอุปัชฌายะชักอังสะออกจากไตร สวมให้แล้ว สั่งให้ออกไปครองไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ 3 หน นั่งคุกเข่า ประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
อะหัง ภัณเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ (กระผมขอสรณคมน์ และศีล ขอรับ)
ทุติยัมปิ อะหัง ภัณเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ (กระผมขอสรณคมน์ และศีล แม้ครั้งที่สอง ขอรับ)
ตะติยัมปิ อะหัง ภัณเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ (กระผมขอสรณคมน์ และศีล แม้ครั้งที่สาม ขอรับ)
ลำดับนั้น พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชา ว่าตามไปดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง)
ว่า 3 หน (พระสวดนำ 3 ครั้ง เราค่อยสวดตาม 3 ครั้ง)
แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ (เธอจงกล่าวตามเรา)
พึงรับว่า อามะ ภัณเต (ขอรับ กระผม)
ครั้นแล้วท่านนำให้เปล่งวาจาว่าสรณคมน์ตามไปทีละพากย์ดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง)
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง)
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง)
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง)
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง )
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม)
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม)
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (กระผม ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม )
เมื่อจบแล้ว ท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฎฐิตัง (ไตรสรณคมน์ จบแล้ว) พึงรับว่า อามะ ภัณเต (ขอรับ กระผม) ลำดับนั้นพระอาจารย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมณ์เพียงเท่านี้ ทีนั้นถึงสมาทานสิกขาบท 10 ประการว่าตามท่านไปดังนี้
ปาณาติปาตา เวระมะณี (งดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์)
อะทินนาทานา เวระมะณี (งดเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)
อะพรัมมะจะริยา เวระมะณี (งดเว้นจากการ ประพฤติ ไม่ประเสริฐ (เสพเมถุน))
มุสาวาทา เวระมะณี (งดเว้นจากการ พูดเท็จ)
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณี (งดเว้นจากการ ดื่มน้ำเมาคือสุรา และเมรัย เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)
วิกาละโภชะนา เวระมะณี (งดเว้นจากการ บริโภคอาหาร ในยามวิกาล)
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี (งดเว้นจากการ ฟ้อนรำขับร้องประโคมและดูการละเล่น)
มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฎฐานา เวระมะณี (งดเว้นจากการ ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้)
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี (งดเว้นจากการนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่)
ชะตะรูปะระชะตะปะฎิคคะหะณา เวระมะณี (งดเว้นจากการรับทอง และเงิน)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทะนิ สะมาทิยามิฯ (ว่า 3 หน) (กระผมของสมาทานสิกขาบท 10)
ในลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตร อุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌายะในสังฆสันนิบาตวางไว้ ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่าน แล้วกราบ 3 หน นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้
อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ (กระผม ขอนิสสัย ขอรับ)
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ (กระผม ขอนิสสัย แม้ครั้งที่สอง ขอรับ)
ตะติยัมปิ อะหัง ภัณเต, นิสสะยัง ยาจามิ (กระผม ขอนิสสัย แม้ครั้งที่สาม ขอรับ)
อุปัชฌาโย เม ภันเต , โหหิ (ขอท่านเป็นอุปัชฌาย์ ของกระผมเถิด ขอรับ) ว่า 3 หน
พระอุปัชฌายะกล่าวว่า โอปายิกัง (ชอบแก่อุบาย), ปะฎิรูปัง (สมควร), ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ (จงยังความปฎิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันความเสื่อมใส) บทใดบทหนึ่ง พึงรับว่า สาธุ ภันเต (ดีล่ะ ขอรับ)ทุกบทไป
แต่นั้นสามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่าน ว่าดังนี้
อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเถระย่อมเป็นภาระของกระผม, แม้กระผมย่อมเป็นภาระของพระเถระ)ว่า 3 หน เสร็จแล้วกราบลง 3 หน
ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะแนะนำสามเณรไปตามระเบียบแล้ว พระอาจารย์ผุ้เป็นกรรมวาจา เอาบาตรมีสายคล้องตัวผู้มุ่งอุปสมบท บอกบาตรและจีวร ผู้มุ่งอุปสมบทพึงรับว่า อามะ ภัณเต 4 หนดังนี้
คำบอกบาตร คำรับ
1. อะยันเต ปัตโต (นี้บาตรของเธอ) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
2. อะยัง สังฆาฎิ (นี้ผ้าสังฆาฎิ) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
3. อะยัง อุตตะราสังโค (นี้ผ้าอุตตราสงค์) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
4. อะยัง อันตะระวาสะโก (นี้ผ้าอันตรวาสก) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
ต่อจากนั้นพระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฎฐาหิ พึงถอยออกลุก
ขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่กำหนดไว้ พระอาจารย์ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถาม อันตรายิกธรรม พึงรับว่า นัตถิ ภัณเต 5 หน อามะ ภันเต 8 หนดังนี้
ถาม ตอบ
1. กุฎฐัง (โรคเรื้อน) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
2. คัณโฑ (โรคฝี) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
3. กิลาโส (โรคกลาก) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
4. โสโส (โรคหืด) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
5. อะปะมาโร (โรคลมบ้าหมู) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
1. มะนุสโสสิ๊ (เธอเป็นมนุษย์หรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
2. ปุริโสสิ๊ (เธอเป็นชายหรือไม่) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
3. ภุชิสโสสิ (เธอเป็นไทมิใช่ทาสหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
4. อะนะโณสิ๊ (เธอไม่มีหนี้หรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
5. นะสิ๊ ราชะภะโฎ (เธอไม่ใช่ราฎักหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
6. อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ (บิดามารดาเธออนุญาติแล้วหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
7. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ (เธออายุครบยี่สิบปีแล้วหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
8. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง (บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
1. กินนาโมสิ (เธอชื่ออะไร) อะหัง ภัณเต........นามะ
(กระผมชื่อ..........ขอรับ)
2. โก นามะ เต อุปัชฌาโย (พระอุปัชฌาย์เธอชื่ออะไร) อุปัชฌาโย เม ภันเต
อายัสสะมา.............นามะ
ถ้าตอบพร้อมกันให้เปลี่ยน เม เป็น โน
ช่องที่.............ไว้ พระอุปัชฌายะหรือพระอาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของ อุปสัมปทาเปกขะ กรอกลงช่องให้ไว้ก่อนบวช และช่องที่..........ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌาย์ ก็เช่นเดียวกัน ให้กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌายะ ซึ่งท่านจะบอกและกรอกไว้ให้ก่อนวันบวช
ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา อุปสัมปทาเปกขะ พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌายะ 3 หน แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบทว่าดังนี้
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภัณเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(กระผม ขอการอุปสมบทต่อสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ ยกกระผมขึ้นสู่ความเป็นภิกษุด้วยเถิดขอรับ)
ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภัณเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(กระผม ขอการอุปสมบทต่อสงฆ์ แม้ครั้งที่สอง ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ ยกกระผมขึ้นสู่ความเป็นภิกษุ ด้วยเถิดขอรับ)
ตะติยัมปิ ภัณเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภัณเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(กระผม ขอการอุปสมบทต่อสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ ยกกระผมขึ้นสู่ความเป็นภิกษุ ด้วยเถิดขอรับ)
ถ้าว่าพร้อมกันให้เปลี่ยน ยาจามิ เป็น ยาจามะ เปลี่ยน มัง เป็น โน
ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว และพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม อุปสัมปทาเปกขะ พึงรับว่า นัตถิ ภัณเต 5 หน อามะ ภันเต 8 หน ตอบชื่อตนและชื่ออุปัชฌายะรวม 2 หนโดยนัยหนหลัง แต่นั่นถึงนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ ครั้นจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัว แล้วพึงกราบ 3 หน นั่งพับเพียบประนมมือฟังอุปัชฌายะบอกอนุศาสน์ไปจนจบแล้วรับว่า อามะ ภัณเต แล้วกราบ 3 หน ถวายไทยทาน กรวดน้ำ เหมือนกล่าวแล้วในแบบ อุกาสะ
********************************จบวิธีอุปสมบทแบบเอสาหัง***************************************
ความคิดเห็น