วันนี้ได้พบ Idol คุณ ศิริวัฒน์ แซนด์วิช คำที่เคยพูดไว้่"จะเข้าตลาดหุ้น" กำลังจะเป็นจริง
ได้พบกันอีกครั้งในงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเชิญคุณศิริวัฒน์มาเติมพลังให้SME บุคลิกยังคงเดิมรู้สึกมีพลังทุกครั้งที่ได้จับมือ วันนี้เค้ากำลังจะสำเร็จตามความฝันและเป็นตัวอย่างให้อีกหลายsme คือแซนด์วิชกำลังจะเข้าตลาดหุ้นแล้ว
ลองอ่านบทสัมภาษณ์ตอนปี46ดูครับ
เซียนหุ้นข้างถนน ศิริวัฒน์ แซนด์วิช SURVIVING THE SLUMP
ครั้งหนึ่ง ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิกุล คือ ตัวแทนบรรดาพงศ์เผ่า "เศรษฐีตกสวรรค์" ผู้เป็นทาสมัวเมาการเสพเศรษฐกิจฟองสบู่ ยุคโถส้วมทองคำขายดี พอๆกับรถเบนซ์
ครั้งนั้น ศิริวัฒน์ เป็นเศรษฐีร้อยล้านเพียงคนเดียว ที่ยอมรับชะตากรรมแต่ ไม่ยอมแพ้กับโชคชะตา และเป็นฮีโร่คนล่า ผู้เป็นตัวแทนของคนไทย ในห้วงวิกฤติศรัทธา จนถูกขนานนามว่า "นักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้"
เสน่ห์ของศิริวัฒน์ นอกจากความมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว ที่ฉาบคลุมไปทั่วร่างแล้วศิริวัฒน์ คือผู้ชายที่มีความหวังเสมอ และความกตัญญู ถือได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษของชายคนนี้
มร.คริส แพลตตั้น อดีตผู้ว่าเกาะฮ่องกงเคยทำนายไว้ว่า ศิริวัฒน์ แซนด์วิชจะกลาย เป็นแบรนด์เนมที่ยิ่งใหญ่ก้องโลก ขณะที่สื่อมวลชนไทย บอกว่า ศิริวัฒน์แซนวิชที่มีค่าน้อยนิดในวันนี้จะมีมูลค่ามหาศาลในวันข้างหน้า
แต่สำหรับ "ศิริวัฒน์" ผู้ถูกกล่าวถึงกลับบอกเพียงสั้นๆ ว่า "ผมจะทำศิริวัฒน์ แซนด์วิชให้เป็นบริษัทมหาชน ระดมทุนจากประชาชน" นั่นคือ สิ่งที่เขาคิด และจะทำต่อไป
วันนี้ธุรกิจแซนด์วิชของ ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ มิใช่เรื่องเพ้อฝัน หรือ เป็นเพียงทางออกสุดท้ายเพื่อผ่าทางตันให้พ้นจากมุมอับของครอบครัววรเวทวุฒิคุณ และลูกน้องที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขอีก 40 ชีวิต แต่แซนด์วิชของศิริวัฒน์ กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ ที่ฉายภาพการสู้ชีวิตของเขา และเป็นแบรนด์เนมสินค้า ที่สร้างชื่อกระฉ่อนไปทั่วโลก
เมื่อก่อนจุดขายแซนด์วิชของศิริวัฒน์ อาจจะอยู่ที่ความสงสาร แต่ ณ วันนี้เวลานี้ ศิริวัฒน์ ยืนยันว่าจุดขายสินค้าของเขา ไม่ได้ตั้งอยู่บนความเห็นอกเห็นใจอย่างเดียว แต่ยังหมาย ถึงรสชาติ ที่ปรับปรุงให้ลูกค้าติดใจและกลับมาซื้อใหม่อีก
"เราต้องซื่อสัตย์กับลูกค้า เพราะแซนด์วิชจะอร่อยได้ ต้องสดและสะอาดเมื่อได้ ส่วนผสมที่ลงตัวรสชาติจะอร่อยมาก ทุกวันนี้คนซื้อแซนด์วิชของผม ไม่ได้เกิดจากกระแสการ เห็นอกเห็นใจอีกต่อไป แต่ซื้อเพราะคุณภาพของสินค้าอย่างแท้จริง" ศิริวัฒน์ กล่าวกับ MISSION THAILAND ช่วงหนึ่งในการให้สัมภาษณ์พิเศษ
ชำแหละแผนสร้างชื่อ "ศิริวัฒน์ แซนด์วิช"
ด้วยความเชี่ยวชาญในด้านการค้าและการตลาดระดับชาติ ศิริวัฒน์ได้ขยายความคิดธุรกิจของเขาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ธุรกิจการขายแซนด์วิชของเขาเป็นมืออาชีพที่ถาวร และสิ่งแรกที่ศิริวัฒน์เริ่มลงมือก็คือ การออกแบบและจัดทำแพ็คเกจจิ้ง หรือสร้างระบบการบรรจุหีบห่อเสียใหม่ โดยออกแบบให้ลูกค้าได้จดจำโลโก้ พร้อมที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ ขณะเดียวกันเขาได้รุกเข้า สู่ระบบ DELIVERY โดยเปิดบริการส่งถึงบ้าน หรือสำนักงาน ในกรณีที่สั่งเกิน 20 ชิ้น
กลยุทธ์ทางการตลาดอีกอันหนึ่ง ที่สร้างยอดขายของแซนด์วิช ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว นั่นคือ การเดินสายรับอภิปรายปลุกขวัญ สร้างกำลังใจให้แก่พนักงานตามองค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ โดยเขาไม่คิดค่าตัว เพื่อแลกกับการออเดอร์แซนด์วิช 300 ชิ้น และการตั้งโต๊ะขายแซนด์วิชที่หน้างาน เมื่อบวกกับการจัดแคมเปญพิเศษให้เด็กๆ ด้วยการจัดพิมพ์สติกเกอร์ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าสะสมได้ครบจามจำนวนที่ตั้งไว้ ก็สามารถนำมาแลกแซนด์วิชได้ฟรี 1 ชิ้น ก็ยิ่งทำให้ยอดจำหน่ายศิริวัฒน์ แซนด์วิช งอกเงยขึ้นไปอีก
จุดเด่นของศิริวัฒน์อีกประการหนึ่งคือเขาเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยม โดยจับจุดอ่อนของโครงสร้างสังคมไทย และสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศ ผสานกับบุคลิก "กล้าคิดกล้าทำ" ทำให้แซนด์วิชของเขาสร้างจุดสนใจที่โดดเด่น จนติดตาผู้คนไม่เฉพาะแต่คนไทย แต่หมายถึงคนทั่วโลกภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน โดยไม่ต้องเสียงบประมาณในการโฆษณาแม้แต่บาทเดียว
เมื่อกิจการแซนด์วิชเริ่มไปได้ดี ศิริวัฒน์ก็เริ่มแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา อาทิ กาแฟ ขาไก่ ปลาสลิด ปลาฉิ้งฉ้าง(ปลาซิวตัวเล็กๆ) คุกกี้ และล่าสุดข้าวปั้น ข้าวห่อสาหร่าย ซึ่งทดลองวางตลาดและได้รับผลตอบรับมาเป็นอย่างดี ซึ่งเขาหวังไว้ว่า สักวันหนึ่งชื่อ ศิริวัฒน์ แซนด์วิช จะเติบใหญ่ถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต และสามารถพาธุรกิจของเขาเข้าตลาดระดมทุนได้ไม่แพ้ เคเอฟซี แม็คโดนัล หรือ พิซซ่า แฟรนไชส์นอกที่เข้ามายึดหัวหาดครองความยิ่งใหญ่ในตลาดเมืองไทยขณะนี้
"เมื่อธุรกิจของผมดีขึ้นในอนาคต วันหนึ่งเมื่อธุรกิจใหญ่โต ผมก็จะระดมทุนจากประชาชนคือเข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอแน่นอนผมต้องเป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่ และเมื่อโตขึ้นไปยิ่งขึ้น เป้าหมายของผมคือ การส่งออกแต่อาจไม่ใช่แซนด์วิช แต่อาจจะเป็นน้ำผลไม้ของไทย ซึ่งสู้เขาได้สบายมาก นี่คือจุดสุดยอดซึ่งวางเป้าหมายไว้ไม่เกิน 10 ปีนับจากนี้"
เค้าลางการเติบโตของศิริวัฒน์แซนด์วิช ก็คือ การเป็นหน่วยจำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคนานาชนิด ที่สะอาดและถูกสุขอนามัย ที่เก็บได้นานและมีรสชาติอร่อยและยิ่งเป็นสินค้าจากชุมชนหรือ คนในชนบท คนตกงาน หรือ คนด้อยโอกาส ศิริวัฒน์ยินดีรับซื้อ และเป็นผู้จัดจำหน่าย หรือทำการตลาดให้ ปัจจุบันศิริวัฒน์ ได้ส่งหน่วยขายออกไปปักหลักตามงานเทศกาลสำคัญและเร่ขาย ตามจุดที่มีผู้คนพลุกพล่าน จนถึงขณะนี้เขามีพนักงานในสังกัดแล้ว 28 คน มีจุดขายที่กระจายอยู่ 10 จุด
กระนั้นศิริวัฒน์ ก็ยังออกตัวว่า รายได้ที่เขาได้รับเข้ามา เพียงแค่ทำให้ครอบครัวและพนักงานของเขาลืมตาอ้าปากเพียงพอต่อการดำรงชีพขั้น พื้นฐาน เท่านั้น แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นทุนรอนก้อนใหญ่ในการขยายกิจการออกไป หรือ ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิต ตามความฝันที่วางไว้ แม้จะมีนายทุนหลายรายเสนอตัวหยิบยื่นโอกาส โดยขอเป็นผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างโรงงานทำแซนด์วิช ในนาม "ศิริวัฒน์ แซนด์วิช" ให้ แต่เขาก็ปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า ยังไม่ถึงเวลา
"รายได้ของการขายแซนด์วิชของผมไม่มากนัก แต่ก็พอที่จะเลี้ยงลูกน้องของผมได้ทั้งหมด คือ มีเงินได้ตามที่เขาเคยได้ นอกจากนี้ผลกำไรของผมก็ไม่มากพอ เพราะวัตถุดิบต้องไปซื้อเขามา ทำให้ต้นทุนสูง ทำให้เงินไม่เหลือพอที่จะทำทุนในการขยายธุรกิจได้"
ยังหลงเสน่ห์ กลิ่นอายหุ้น
อีกก้าวหนึ่งของการโปรโมทตัวเองของศิริวัฒน์ นอกเหนือจากการรับเชิญไปงานบรรยายและออกรายการวิทยุทางคลื่น 97 ทุกเช้าวันจันทร์ก็คือการตั้งชมรม "ศิริวัฒน์ แซนด์วิช แฟนคลับ"ขึ้นมาภายหลังจากภาวะการลงทุนทางตลาดหุ้นเริ่มคึกคัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาหาตามล่าความรู้ในตลาดหุ้นระหว่างเพื่อน สมาชิก ซึ่งล่าสุดมีผู้สนใจแห่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกทั้งสิ้น 91 คน ซึ่งเกินกว่าเป้าที่เขาตั้ง ไว้ถึง 41 คน
โดยกิจกรรมที่กำหนดไว้คือ การเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงเรื่องการลงทุนมาบรรยายให้ความรู้กับสมาชิก เชิญผู้ประกอบการทั้งผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน เจ้าของหุ้น หรือ โบรกเกอร์รวมไปถึงนักวิชาการ ตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย มาบรรยายให้ความรู้และตอบข้อซักถามในเรื่องที่สมาชิกอยากจะทราบ โดยมีคุณศิริวัฒน์ รับหน้าเสื่อเป็นวิทยากรวิเคราะห์เจาะลึกเรื่องการลงทุนพร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้สมาชิกตัดสินใจลงทุนหลงทาง หรือเชื่อข่าวลือที่เกิดขึ้น
สำหรับเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกที่ศิริวัฒน์กำหนดไว้คือ สมาชิกทุกคนต้องจ่ายค่า บำรุงปีละ 5,000 บาท ค่าเข้าร่วมประชุมอีกคนละ 500 บาท โดยเงิน 5,000 บาท ที่เก็บมาจะนำไปเป็นทุนสำหรับว่าจ้างพนักงานระดับปริญญาโท เพื่อให้ทำหน้าที่จัดทำข้อมูลแจกจ่ายสมาชิก เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อไปเก็บรายละเอียดมานำเสนอในการประชุมคราวต่อไป และค้นหาข้อมูลมาประกอบวิเคราะห์ทั้งในอินเตอร์เน็ทและห้องสมุดอื่นๆ
ส่วนเงิน 500 บาท ต่อในการเข้าร่วมประชุมแต่ละครั้ง ส่วนหนึ่งจะนำไปซื้อแซนด์วิชของเขาเพื่อนำมาเป็น อาหาร กาแฟ และเครื่องดื่ม เป็นค่าเช่าห้องประชุม ส่วนเงินที่เหลือ 300 บาท ศิริวัฒน์จะนำไปเป็นทุนในการบริจาคให้กับเด็กนักเรียนยากไร้ในชนบทต่อไป
กระนั้นในเรื่องของหุ้น สำหรับศิริวัฒน์สิ่งที่เขาเหลืออยู่ก็คือ ชื่อเสียงเก่าๆ และ ความภักดีที่ ยังมีคนไว้วางใจให้เขาเป็นผู้ดูแลพอร์ท โดยเฉพาะในช่วงดอกเบี้ยเงินฝาก ตกต่ำ ซึ่งเขามีทั้งลูกค้าทั้งเก่าและใหม
"ช่วงนี้ดอกเบี้ยเงินฝาก 3 % กว่าต่อปี ไม่คุ้ม ทางเลือกก็คือ ลงทุนหุ้น ตอนนี้ผมมีลูกค้าทั้งเก่าและใหม่แต่ก็ไม่เยอะมากนัก โวรุ่มก็ไม่มากเหมือนสมัยก่อนมาให้ผมดูว่าจะลงทุนหุ้นตัวไหนลูกค้าเขาเชื่อมั่น และมั่นใจว่าผมไม่โกง ปีหน้าผมมองว่าค่าคอมโบรกเกอร์จะน้อยลง และการซื้อขายในตลาดไม่ต่ำกว่าวันละ 8,000 ล้านบาท แต่ก็เป็นไปได้ถึงปีหน้าจะไปได้ถึงหมื่นล้านบาทต่อวัน ดังนั้นการลงทุนหุ้นในปีนี้คือซื้อ และถือไปอีกปีหนึ่ง เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝาก 3 % ครึ่ง ผมว่าเราจะได้รับกำไรสิบ เท่าตัว สบายๆ คือจะได้ผลตอบแทน 30 % ขึ้นไปภายในหนึ่งปี"
สำหรับเขาเส้นทางสายนี้ ก็ยังหอมหวล และส่งกลิ่นอายท้าทายความสามารถเขาอยู่ ตลอดเวลา ซึ่งศิริวัฒน์เองก็ไม่ปฏิเสธว่าถ้าเขามีโอกาส เขาก็จะกลับเข้าไปอีกครั้ง แต่ไม่ใช่สภาพนักลงทุน แต่ในฐานะเจ้าของบริษัทโบรกเกอร์
ศิริวัฒน์ถือได้ว่า เป็นกรณีศึกษาปรากฏการณ์ภาวะวิกฤตทางบุคคลที่น่าสนใจเป็น อย่างยิ่ง เพราะใครจะนึกว่าแซนด์วิช ราคาเพียง 30 บาท จะกลายมาเป็นทางออกของผู้ที่เคยบริหารพอร์ทหุ้นหลายร้อยล้านบาท อย่างศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ อดีตเซียนหุ้น ผู้หันมาเอาดีในการขายแซนด์วิชข้างถนน
http://www.sirivatsandwich.com/news/news_detail.asp?id=1
ลองอ่านบทสัมภาษณ์ตอนปี46ดูครับ
เซียนหุ้นข้างถนน ศิริวัฒน์ แซนด์วิช SURVIVING THE SLUMP
ครั้งหนึ่ง ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิกุล คือ ตัวแทนบรรดาพงศ์เผ่า "เศรษฐีตกสวรรค์" ผู้เป็นทาสมัวเมาการเสพเศรษฐกิจฟองสบู่ ยุคโถส้วมทองคำขายดี พอๆกับรถเบนซ์
ครั้งนั้น ศิริวัฒน์ เป็นเศรษฐีร้อยล้านเพียงคนเดียว ที่ยอมรับชะตากรรมแต่ ไม่ยอมแพ้กับโชคชะตา และเป็นฮีโร่คนล่า ผู้เป็นตัวแทนของคนไทย ในห้วงวิกฤติศรัทธา จนถูกขนานนามว่า "นักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้"
เสน่ห์ของศิริวัฒน์ นอกจากความมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว ที่ฉาบคลุมไปทั่วร่างแล้วศิริวัฒน์ คือผู้ชายที่มีความหวังเสมอ และความกตัญญู ถือได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษของชายคนนี้
มร.คริส แพลตตั้น อดีตผู้ว่าเกาะฮ่องกงเคยทำนายไว้ว่า ศิริวัฒน์ แซนด์วิชจะกลาย เป็นแบรนด์เนมที่ยิ่งใหญ่ก้องโลก ขณะที่สื่อมวลชนไทย บอกว่า ศิริวัฒน์แซนวิชที่มีค่าน้อยนิดในวันนี้จะมีมูลค่ามหาศาลในวันข้างหน้า
แต่สำหรับ "ศิริวัฒน์" ผู้ถูกกล่าวถึงกลับบอกเพียงสั้นๆ ว่า "ผมจะทำศิริวัฒน์ แซนด์วิชให้เป็นบริษัทมหาชน ระดมทุนจากประชาชน" นั่นคือ สิ่งที่เขาคิด และจะทำต่อไป
วันนี้ธุรกิจแซนด์วิชของ ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ มิใช่เรื่องเพ้อฝัน หรือ เป็นเพียงทางออกสุดท้ายเพื่อผ่าทางตันให้พ้นจากมุมอับของครอบครัววรเวทวุฒิคุณ และลูกน้องที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขอีก 40 ชีวิต แต่แซนด์วิชของศิริวัฒน์ กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ ที่ฉายภาพการสู้ชีวิตของเขา และเป็นแบรนด์เนมสินค้า ที่สร้างชื่อกระฉ่อนไปทั่วโลก
เมื่อก่อนจุดขายแซนด์วิชของศิริวัฒน์ อาจจะอยู่ที่ความสงสาร แต่ ณ วันนี้เวลานี้ ศิริวัฒน์ ยืนยันว่าจุดขายสินค้าของเขา ไม่ได้ตั้งอยู่บนความเห็นอกเห็นใจอย่างเดียว แต่ยังหมาย ถึงรสชาติ ที่ปรับปรุงให้ลูกค้าติดใจและกลับมาซื้อใหม่อีก
"เราต้องซื่อสัตย์กับลูกค้า เพราะแซนด์วิชจะอร่อยได้ ต้องสดและสะอาดเมื่อได้ ส่วนผสมที่ลงตัวรสชาติจะอร่อยมาก ทุกวันนี้คนซื้อแซนด์วิชของผม ไม่ได้เกิดจากกระแสการ เห็นอกเห็นใจอีกต่อไป แต่ซื้อเพราะคุณภาพของสินค้าอย่างแท้จริง" ศิริวัฒน์ กล่าวกับ MISSION THAILAND ช่วงหนึ่งในการให้สัมภาษณ์พิเศษ
ชำแหละแผนสร้างชื่อ "ศิริวัฒน์ แซนด์วิช"
ด้วยความเชี่ยวชาญในด้านการค้าและการตลาดระดับชาติ ศิริวัฒน์ได้ขยายความคิดธุรกิจของเขาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ธุรกิจการขายแซนด์วิชของเขาเป็นมืออาชีพที่ถาวร และสิ่งแรกที่ศิริวัฒน์เริ่มลงมือก็คือ การออกแบบและจัดทำแพ็คเกจจิ้ง หรือสร้างระบบการบรรจุหีบห่อเสียใหม่ โดยออกแบบให้ลูกค้าได้จดจำโลโก้ พร้อมที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ ขณะเดียวกันเขาได้รุกเข้า สู่ระบบ DELIVERY โดยเปิดบริการส่งถึงบ้าน หรือสำนักงาน ในกรณีที่สั่งเกิน 20 ชิ้น
กลยุทธ์ทางการตลาดอีกอันหนึ่ง ที่สร้างยอดขายของแซนด์วิช ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว นั่นคือ การเดินสายรับอภิปรายปลุกขวัญ สร้างกำลังใจให้แก่พนักงานตามองค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ โดยเขาไม่คิดค่าตัว เพื่อแลกกับการออเดอร์แซนด์วิช 300 ชิ้น และการตั้งโต๊ะขายแซนด์วิชที่หน้างาน เมื่อบวกกับการจัดแคมเปญพิเศษให้เด็กๆ ด้วยการจัดพิมพ์สติกเกอร์ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าสะสมได้ครบจามจำนวนที่ตั้งไว้ ก็สามารถนำมาแลกแซนด์วิชได้ฟรี 1 ชิ้น ก็ยิ่งทำให้ยอดจำหน่ายศิริวัฒน์ แซนด์วิช งอกเงยขึ้นไปอีก
จุดเด่นของศิริวัฒน์อีกประการหนึ่งคือเขาเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยม โดยจับจุดอ่อนของโครงสร้างสังคมไทย และสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศ ผสานกับบุคลิก "กล้าคิดกล้าทำ" ทำให้แซนด์วิชของเขาสร้างจุดสนใจที่โดดเด่น จนติดตาผู้คนไม่เฉพาะแต่คนไทย แต่หมายถึงคนทั่วโลกภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน โดยไม่ต้องเสียงบประมาณในการโฆษณาแม้แต่บาทเดียว
เมื่อกิจการแซนด์วิชเริ่มไปได้ดี ศิริวัฒน์ก็เริ่มแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา อาทิ กาแฟ ขาไก่ ปลาสลิด ปลาฉิ้งฉ้าง(ปลาซิวตัวเล็กๆ) คุกกี้ และล่าสุดข้าวปั้น ข้าวห่อสาหร่าย ซึ่งทดลองวางตลาดและได้รับผลตอบรับมาเป็นอย่างดี ซึ่งเขาหวังไว้ว่า สักวันหนึ่งชื่อ ศิริวัฒน์ แซนด์วิช จะเติบใหญ่ถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต และสามารถพาธุรกิจของเขาเข้าตลาดระดมทุนได้ไม่แพ้ เคเอฟซี แม็คโดนัล หรือ พิซซ่า แฟรนไชส์นอกที่เข้ามายึดหัวหาดครองความยิ่งใหญ่ในตลาดเมืองไทยขณะนี้
"เมื่อธุรกิจของผมดีขึ้นในอนาคต วันหนึ่งเมื่อธุรกิจใหญ่โต ผมก็จะระดมทุนจากประชาชนคือเข้าตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอแน่นอนผมต้องเป็นผู้ถือ หุ้นใหญ่ และเมื่อโตขึ้นไปยิ่งขึ้น เป้าหมายของผมคือ การส่งออกแต่อาจไม่ใช่แซนด์วิช แต่อาจจะเป็นน้ำผลไม้ของไทย ซึ่งสู้เขาได้สบายมาก นี่คือจุดสุดยอดซึ่งวางเป้าหมายไว้ไม่เกิน 10 ปีนับจากนี้"
เค้าลางการเติบโตของศิริวัฒน์แซนด์วิช ก็คือ การเป็นหน่วยจำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภคนานาชนิด ที่สะอาดและถูกสุขอนามัย ที่เก็บได้นานและมีรสชาติอร่อยและยิ่งเป็นสินค้าจากชุมชนหรือ คนในชนบท คนตกงาน หรือ คนด้อยโอกาส ศิริวัฒน์ยินดีรับซื้อ และเป็นผู้จัดจำหน่าย หรือทำการตลาดให้ ปัจจุบันศิริวัฒน์ ได้ส่งหน่วยขายออกไปปักหลักตามงานเทศกาลสำคัญและเร่ขาย ตามจุดที่มีผู้คนพลุกพล่าน จนถึงขณะนี้เขามีพนักงานในสังกัดแล้ว 28 คน มีจุดขายที่กระจายอยู่ 10 จุด
กระนั้นศิริวัฒน์ ก็ยังออกตัวว่า รายได้ที่เขาได้รับเข้ามา เพียงแค่ทำให้ครอบครัวและพนักงานของเขาลืมตาอ้าปากเพียงพอต่อการดำรงชีพขั้น พื้นฐาน เท่านั้น แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นทุนรอนก้อนใหญ่ในการขยายกิจการออกไป หรือ ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิต ตามความฝันที่วางไว้ แม้จะมีนายทุนหลายรายเสนอตัวหยิบยื่นโอกาส โดยขอเป็นผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างโรงงานทำแซนด์วิช ในนาม "ศิริวัฒน์ แซนด์วิช" ให้ แต่เขาก็ปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า ยังไม่ถึงเวลา
"รายได้ของการขายแซนด์วิชของผมไม่มากนัก แต่ก็พอที่จะเลี้ยงลูกน้องของผมได้ทั้งหมด คือ มีเงินได้ตามที่เขาเคยได้ นอกจากนี้ผลกำไรของผมก็ไม่มากพอ เพราะวัตถุดิบต้องไปซื้อเขามา ทำให้ต้นทุนสูง ทำให้เงินไม่เหลือพอที่จะทำทุนในการขยายธุรกิจได้"
ยังหลงเสน่ห์ กลิ่นอายหุ้น
อีกก้าวหนึ่งของการโปรโมทตัวเองของศิริวัฒน์ นอกเหนือจากการรับเชิญไปงานบรรยายและออกรายการวิทยุทางคลื่น 97 ทุกเช้าวันจันทร์ก็คือการตั้งชมรม "ศิริวัฒน์ แซนด์วิช แฟนคลับ"ขึ้นมาภายหลังจากภาวะการลงทุนทางตลาดหุ้นเริ่มคึกคัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาหาตามล่าความรู้ในตลาดหุ้นระหว่างเพื่อน สมาชิก ซึ่งล่าสุดมีผู้สนใจแห่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกทั้งสิ้น 91 คน ซึ่งเกินกว่าเป้าที่เขาตั้ง ไว้ถึง 41 คน
โดยกิจกรรมที่กำหนดไว้คือ การเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงเรื่องการลงทุนมาบรรยายให้ความรู้กับสมาชิก เชิญผู้ประกอบการทั้งผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน เจ้าของหุ้น หรือ โบรกเกอร์รวมไปถึงนักวิชาการ ตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย มาบรรยายให้ความรู้และตอบข้อซักถามในเรื่องที่สมาชิกอยากจะทราบ โดยมีคุณศิริวัฒน์ รับหน้าเสื่อเป็นวิทยากรวิเคราะห์เจาะลึกเรื่องการลงทุนพร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้สมาชิกตัดสินใจลงทุนหลงทาง หรือเชื่อข่าวลือที่เกิดขึ้น
สำหรับเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิกที่ศิริวัฒน์กำหนดไว้คือ สมาชิกทุกคนต้องจ่ายค่า บำรุงปีละ 5,000 บาท ค่าเข้าร่วมประชุมอีกคนละ 500 บาท โดยเงิน 5,000 บาท ที่เก็บมาจะนำไปเป็นทุนสำหรับว่าจ้างพนักงานระดับปริญญาโท เพื่อให้ทำหน้าที่จัดทำข้อมูลแจกจ่ายสมาชิก เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อไปเก็บรายละเอียดมานำเสนอในการประชุมคราวต่อไป และค้นหาข้อมูลมาประกอบวิเคราะห์ทั้งในอินเตอร์เน็ทและห้องสมุดอื่นๆ
ส่วนเงิน 500 บาท ต่อในการเข้าร่วมประชุมแต่ละครั้ง ส่วนหนึ่งจะนำไปซื้อแซนด์วิชของเขาเพื่อนำมาเป็น อาหาร กาแฟ และเครื่องดื่ม เป็นค่าเช่าห้องประชุม ส่วนเงินที่เหลือ 300 บาท ศิริวัฒน์จะนำไปเป็นทุนในการบริจาคให้กับเด็กนักเรียนยากไร้ในชนบทต่อไป
กระนั้นในเรื่องของหุ้น สำหรับศิริวัฒน์สิ่งที่เขาเหลืออยู่ก็คือ ชื่อเสียงเก่าๆ และ ความภักดีที่ ยังมีคนไว้วางใจให้เขาเป็นผู้ดูแลพอร์ท โดยเฉพาะในช่วงดอกเบี้ยเงินฝาก ตกต่ำ ซึ่งเขามีทั้งลูกค้าทั้งเก่าและใหม
"ช่วงนี้ดอกเบี้ยเงินฝาก 3 % กว่าต่อปี ไม่คุ้ม ทางเลือกก็คือ ลงทุนหุ้น ตอนนี้ผมมีลูกค้าทั้งเก่าและใหม่แต่ก็ไม่เยอะมากนัก โวรุ่มก็ไม่มากเหมือนสมัยก่อนมาให้ผมดูว่าจะลงทุนหุ้นตัวไหนลูกค้าเขาเชื่อมั่น และมั่นใจว่าผมไม่โกง ปีหน้าผมมองว่าค่าคอมโบรกเกอร์จะน้อยลง และการซื้อขายในตลาดไม่ต่ำกว่าวันละ 8,000 ล้านบาท แต่ก็เป็นไปได้ถึงปีหน้าจะไปได้ถึงหมื่นล้านบาทต่อวัน ดังนั้นการลงทุนหุ้นในปีนี้คือซื้อ และถือไปอีกปีหนึ่ง เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝาก 3 % ครึ่ง ผมว่าเราจะได้รับกำไรสิบ เท่าตัว สบายๆ คือจะได้ผลตอบแทน 30 % ขึ้นไปภายในหนึ่งปี"
สำหรับเขาเส้นทางสายนี้ ก็ยังหอมหวล และส่งกลิ่นอายท้าทายความสามารถเขาอยู่ ตลอดเวลา ซึ่งศิริวัฒน์เองก็ไม่ปฏิเสธว่าถ้าเขามีโอกาส เขาก็จะกลับเข้าไปอีกครั้ง แต่ไม่ใช่สภาพนักลงทุน แต่ในฐานะเจ้าของบริษัทโบรกเกอร์
ศิริวัฒน์ถือได้ว่า เป็นกรณีศึกษาปรากฏการณ์ภาวะวิกฤตทางบุคคลที่น่าสนใจเป็น อย่างยิ่ง เพราะใครจะนึกว่าแซนด์วิช ราคาเพียง 30 บาท จะกลายมาเป็นทางออกของผู้ที่เคยบริหารพอร์ทหุ้นหลายร้อยล้านบาท อย่างศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ อดีตเซียนหุ้น ผู้หันมาเอาดีในการขายแซนด์วิชข้างถนน
http://www.sirivatsandwich.com/news/news_detail.asp?id=1
ความคิดเห็น