AEC Thailand บทวิเคราะห์ AEC และรวมข่าว AEC ที่น่าสนใจ กันยายน

AEC ก้าวสำคัญของธุรกิจไทย [วันที่ 19 ก.ย. 2554 ] ต้นทุนการผลิตลด-เพิ่มอำนาจต่อรอง จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ที่มีการพึ่งพิงการส่งออก จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงหากเศรษฐกิจโลกมีความผันผวน สำหรับกรอบความร่วมมือการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ถือเป็นการรวมตัวของเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีการค้าสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายปัจจัย การผลิตเงินลงทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีภายในอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียน (ASEAN) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 สมาชิกเริ่มแรกมี 6 ประเทศ คือ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ภายหลังได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือที่เรียกกันว่า CLMV โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคอันจะนำไปสู่ความเจริญ ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายความร่วมมือและการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เมื่อปี 2535 :เป้าหมายสำคัญของการเป็น AEC การที่อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) อาเซียนได้จัดทำแผนงานในเชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่างๆ หรือพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้ 1.การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น 2.การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน โดยการสร้างความสามารถในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค โดยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า และใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs และ 4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยการร่วมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่าย เป็นต้น :ผลผูกพันไทยกับการรวมตัวเป็น AEC 1.การเปิดเสรีการค้าสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) มาตรการด้านภาษี อาเซียนมีเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้าสำหรับกลุ่มอาเซียน 6 ภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (CLMV) ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ซึ่งไทยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2553 ดังนั้นสามารถกล่าวได้การรวมตัวกันเป็น AEC จึงไม่ทำให้ไทยต้องลดภาษีสินค้าใดๆ เพิ่มเติมอีกโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในปี 2558 ทั้งนี้ มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) อาเซียนได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีการลดมาตรการ NTMs โดยไทยได้ผูกพันการยกเลิกมาตรการ NTMs ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการโควตาภาษีของสินค้าเกษตร 3 ชุด โดยต้องยกเลิกมาตรการโควตาในปี 2551, 2552 และ 2553 ในขณะนี้ไทยได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วเกือบทั้งหมด ยังขาดเพียงแต่ข้าว ที่กำลังอยู่ระหว่างการหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางและ มาตรการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าว 2. การเปิดเสรีการค้าบริการ โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่น้อยกว่า 70% ภายในปี 2553 ในสาขาบริการสำคัญ (Priority Integration Sector) ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ และสาขาการท่องเที่ยว ภายในปี 2556 ในสาขาโลจิสติกส์ และภายในปี 2558 ในสาขาบริการอื่นๆ ทุกสาขา ทั้งนี้ สามารถยกเว้นสาขาที่อ่อนไหวได้ 3. การเปิดเสรีการลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรมที่ตกลงกันและการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ 4.การเปิดเสรีด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย จะเปิดเสรียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้สมาชิกมีมาตรการปกป้องที่เพียงพอเพื่อรองรับผลกระทบ 5.การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ และ 6.การดำเนินการตามความร่วมมือรายสาขาอื่นๆ เช่น ความร่วมมือด้านเหมืองแร่ ความร่วมมือด้าน SMEs การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน) เป็นต้น :ผลกระทบ AEC และการปรับตัวของไทย ผลกระทบเชิงบวก ได้แก่ 1.การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีในปี 2553 เป็น 0% ทั้งหมด ยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวมาก (Sensitive and Highly Sensitive) ของกลุ่มอาเซียน 6 รวมทั้งประเทศไทย และ ปี 2558 สำหรับกลุ่ม CLMV เป็นการอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออกของไทย โดยตลาดอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ทั้งนี้ ในปี 2553 มูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนมีจำนวน 2.37 ล้านล้านบาท หรือ 22.7% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย (เพิ่มจาก 20% ในปี 2552) 2.ต้นทุนในการผลิตของไทยต่ำลง สามารถนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิต ได้ในราคาที่ถูกลง 3.เป็นการสร้างเสริมโอกาสการลงทุนเมื่อประเทศอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรีมากยิ่งขึ้น 4.เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่นๆ และ 5.เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก ส่วนผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ 1.สินค้าของประเทศอาเซียนอื่นเข้าสู่ตลาดไทยได้โดยไม่มีภาระภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาไทยกลับมีมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนสูงกว่าการนำเข้าจากอาเซียน 2.ในด้านการลงทุน หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน (Labor productivity) และไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบกฎหมายให้มีความทันสมัยไม่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุน อาจทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ใน ASEAN ที่เหมาะสมกว่า 3. การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน และต้องจ้างแรงงานต่างด้าวจากประเทศที่ค่าแรงถูกกว่าเข้ามา อาจก่อปัญหาด้านสังคม และเนื่องจากทิศทางนโยบายของไทยคือ การเป็น “รัฐสวัสดิการ” ทำให้งบประมาณของรัฐส่วนหนึ่งจะไปเป็นสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว 4. ตลาดสินค้าในประเทศ (Domestic Market) หากตลาดภายในของไทยยังไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น ก็จะทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยที่มีเป้าหมายในการพัฒนาในอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้นอาจเกิดปัญหาอุปสรรคได้ เนื่องจากไม่มีตลาดภายในประเทศรองรับ รวมทั้งอาจส่งผลทางจิตวิทยาแก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตได้ :ภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัว 1. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านแรงงาน เทคโนโลยี รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดโลก เพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้ 2.การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ 3.หาตลาดส่งออก ปรับปรุงการผลิตให้สามารถปฏิบัติตามกฎถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนได้ รวมถึงการบริหารจัดการ การจัดหาวัตถุดิบราคาถูกและมีคุณภาพดีในภูมิภาค 4.การปรับปรุงโครงสร้างภาษีของไทยทั้งระบบเพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทย 5.ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการผลิต (Production Network) เพื่อให้สามารถสร้าง Economy of Scale เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก 6.ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม 7.มีกลไกที่ก่อให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าสู่ตลาดภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม :มุมมองเครือซีพี ก่อนหน้านี้ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล รองประธานคณะกรรมการบริหารการเงินและกรรมการการลงทุน เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า AEC ทำให้จะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับโอกาสต่างๆ ที่จะช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง มีการค้าระหว่างประเทศโดยมี FTA (เขตการค้าเสรี) ระหว่าง ASEAN กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และยังดึงดูดการลงทุนจากนอกกลุ่ม ASEAN รวมถึงการพัฒนาให้ไทยเป็น Regional Headquarterของการลงทุนใน ASEAN สำหรับแผนและมาตรการเพื่อรองรับ AEC ในปี 2558 รัฐบาลควรจะมีแผนและยุทธศาสตร์ของประเทศทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ประโยชน์จาก AEC ขณะเดียวกัน ควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการค้า การลงทุน การตรวจคนเข้าเมือง การปริวรรตเงินตรา ฯลฯ เพื่อให้นักลงทุนนอกอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยในฐานะ Regional Headquarter ได้สะดวกขึ้น ที่มา : กลุ่มพหุภาคี สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ, 19 ก.ย. 2554 เตรียมพร้อมโลจิสติกส์รับ AECพร้อมเปิดประตูคมนาคม ปี '56 เปิดแผนเตรียมพร้อมการเปิดเสรีบริการสาขาโลจิสติกส์ในปี 2556 รับมือ AEC "แผนหลักด้าน การขนส่งการจราจร" ที่ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการทำแผนหลักด้านการขนส่งการจราจร ... its.in.th/index.php/component/content/.../1.../8153--aec--56- คาด AEC ดันอุตฯลวดสแตนเลสและสายเคเบิลไทยโตต่อเนื่อง เบลิน่า โปรยยาหอมชี้อุตฯ ลวดสแตนเลสและสายเคเบิลไทยศักยภาพสูงสุดในอาเซียน แนะ เร่งเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุน แทนการแข่งขันด้านแรงงาน : ไทยแลนด์อินดัสตรี้ นิวส์. www.thailandindustry.com/news/view.php?id=15125...3 สศก. เผยกองทุน FTA เปิดเกมรุกเตรียมความพร้อมชาวนาไทยรับ AEC เผยกองทุน FTA เปิดเกมรุกเตรียมความพร้อมชาวนาไทยรับ AEC. วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2011 เวลา 00:00 น. ผู้ดูแลระบบ: ผู้ชม: 67. อีเมล · พิมพ์ · PDF · Face ArtLike Button ... www.kehakaset.com/index.php?option=com...view... การรับมือของ HR กับวิธีทำงานในโลกใหม่และ AEC 2015 เราพูดกันมากว่า AEC 2015 ธุรกิจต้องเตรียมตัวอย่างไร มีอะไรเป็นผลกระทบบ้าง โดยเฉพาะ ในด้านการบริหาร HR ต้องรับมือกับวิถีการทำงานในโลกใหม่ และ AEC 2015 อย่างไร ... hrthailand.blogspot.com/2011/09/aec-2015-hr-aec-2015.html มองเทรนด์ผู้บริโภค รถเที่ยวด่วน AEC 20/9 - NewsFTA กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 กันยายน 2554 20:02. http://www.bangkokbiznews.com/home/ detail/business/hr/20110915/409653/มองเทรนด์ผู้บริโภค-รถเที่ยวด่วน-AEC.html ... www.thaifta.com/thaifta/NewsFTA/tabid/67/.../Default.aspx การเปิดเสรีด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ โครงสร้างของ AEC เศรษฐกิจพึ่งพิงการส่งออก ... การส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ AEC ... การปรับตัวและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ AEC ... www.tanitsorat.com/.../พัฒนาการคู่ขนานของอาเซียนAECแล... เอเชียแห่ลงทุนไทยรับ'AEC'
HEMRAJ-AMATAยิ้ม!ขาขึ้น
หุ้น หนังสือพิมพ์หุ้น ข่าวสารรอบด้านเพื่อการลงทุน วิเคราะห์เจาะลึกเรื่องหุ้น หุ้นเด่น หุ้นดิ่ง บริษัทจดทะเบียน การเงิน การคลัง ประกัน กองทุนรวม คอลัมน์วิเคราะห์หุ้น ... www.kaohoon.com/online/index.php?...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน