SMEs รับมืออย่างไรดี?....เมื่อสินค้าจากเพื่อนบ้านรุกเข้ามาทดแทนสินค้าไทย


SMEs รับมืออย่างไรดี?....เมื่อสินค้าจากเพื่อนบ้านรุกเข้ามาทดแทนสินค้าไทย
สมัครรับบทวิเคราะห์ธุรกิจดีๆอย่างนี้ได้ฟรีที่ KSME STARTUP http://goo.gl/EXFDb


ธุรกิจ SMEs ของไทยมีมูลค่าเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 37 ของ GDP นอกภาคเกษตรกรรมของไทย ปัจจุบันต้องเผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้นของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการผลิตและส่งออกสินค้าในรายการที่คล้ายคลึงกับ SMEs ไทย โดยไทยการนำเข้าสินค้า SMEs จากจีนเป็นอันดับ 2 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 15.8 ของการนำเข้าสินค้า SMEs ของไทย(ญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 มีสัดส่วนร้อยละ 18.2) ซึ่งผลของการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) และกรอบอาเซียน-จีน(ACFTA) ทำให้การค้าของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านสะดวกมากขึ้น ทำให้การค้า SMEs  ของไทยอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยไม่ว่าจะเป็น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ สปป.ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา จะมีโอกาสเข้ามาทดแทนสินค้าในไทย โดยอาศัยความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ  ซึ่งการรุกเข้ามาของสินค้านำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีอย่างต่อเนื่องก็อาจกระทบให้ SMEs ในไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากจีนซึ่งครองความสามารถเป็นแหล่งนำเข้า SMEs ของไทยเกือบทุกรายการ
อย่างไรก็ตาม การไหลเข้ามาของสินค้านำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านก็อาจสร้างประโยชน์ต่อภาคการผลิตของไทยได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบขั้นต้น สินค้าขั้นกลางและสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดผลิตและส่งออกไปยังต่างประเทศสร้างรายได้ให้แก่ไทย ดังนั้น ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น นักธุรกิจไทยควรเร่งปรับตัวเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs  ของไทยโดยรวม ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ไทยควรศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละประเทศ เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวรองรับการแข่งขัน โดยประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV ส่วนใหญ่มีข้อได้เปรียบเด่นชัดในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและต้นทุนแรงงานที่ค่อนข้างต่ำกว่าไทยโดยเปรียบเทียบ จึงควรใช้ประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบขั้นต้นมาต่อยอดการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและจำหน่ายทั้งในไทย หรืออาจส่งกลับไปขายยังประเทศ CLMV หรือประเทศอื่นๆได้อีกทางหนึ่ง ส่วนมาเลเซียและสิงคโปร์มีจุดแข็งในเรื่องเทคโนโลยีการผลิต นวัตกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานสินค้า ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งยกระดับประสิทธิภาพแรงงานควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ ขณะที่จีนเป็นประเทศคู่แข่งรายสำคัญที่มีข้อได้เปรียบหลายด้าน อีกทั้งยังมีความสามารถในการผลิตสินค้าค่อนข้างครอบคลุมห่วงโซ่การผลิตโดยรวม จึงนับว่าจีนเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพและมีโอกาสที่จะก้าวมาทดแทนสินค้าในตลาดประเทศไทยได้ค่อนข้างมาก นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายของนักธุรกิจไทยที่จะรักษาตลาดนอกเหนือจากการใช้กลยุทธ์ด้านสินค้าคุณภาพเพราะจีนได้เร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น  สำหรับการปรับตัวด้านอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของ SMEs ไทย ได้แก่ การรุกตลาดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTA ภายใต้กรอบต่างๆช่วยบริหารต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้  รวมทั้งการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคมช่วยเพิ่มโอกาสแข่งขันทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป(EU) สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ซึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งยังมีกำลังซื้อสูงด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน