อัตราส่วนทางการเงิน ที่ SME ควรรู้



เรื่องบัญชีสำหรับ SME ดูจะเป็นไม้เบื่อไม้เมา เหมือนออกกำลังกาย รู้ว่าดีแต่ไม่อยากทำ
แต่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ วันนี้มาอบรมผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ SME ได้นั่งฟังวิชาการเงินสำหรับ SME เลยอยากสรุปประเด็นสาระสำคัญ

ฺ1.การวิเคราะห์ความเก่งไม่เก่งของธุรกิจ ดูกันจากตัวเลขทางการเงิน หากตัวเลขทางการเงินไม่มีเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าเราเก่งหรือไม่



2.การจะมีตัวเลขทางการเงินต้องเรียนรู้บัญชีสองอย่าง คือ บัญชีกำไรขาดทุน และงบดุล ซึ่งเป็นงบแสดงฐานะทางการเงิน


การจะมีตัวเลขทางการเงินได้ก็จะเป็นต้อง ได้จากการเก็บข้อมูลทางการเงินที่ดีหาก SME จะเริ่มวางแผนทางการเงิน มีตัวอย่างแผนการเกินสำหรับ SMEมาแจกด้วยครับ
ตัวอย่าง Excel แผนการงานสำหรับSME
https://goo.gl/tCqrkq


3.เอาตัวเลขทางการเงินมาทำอะไรได้อีก

การคำนวณจุดคุ้มทุนสำหรับSME
คำถามยอดฮิตที่เจ้าของร้านหลายคนอยากรู้ก็คงหนีไม่พ้น 2 ข้อนี้ เป็นตัวอย่างจาก SellSuKi

1. ต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุน?

2. หรือ ต้องขายชิ้นละกี่บาทถึงจะได้กำไร

แต่ก่อนที่จะไปหาคำตอบ 2 ข้อนี้ เราอยากให้เพื่อนรู้จักและสำรวจตัวเองก่อนว่า ปัจจุบันธุรกิจของเรามี “ต้นทุน” เท่าไหร่ โดยต้นทุนในการทำธุรกิจเราต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

– ต้นทุนผันแปร (Variable Cost – VC) คือ ต้นทุนที่มีการผันแปร/เปลี่ยนแปลงไปตามยอดขาย เช่น ค่าโฆษณาบน Facebook (ยอดขายเพิ่มมากขึ้น ก็เพราะเราลงงบโฆษณามากขึ้น) ค่าคอมของตัวแทนจำหน่าย (ยิ่งขายได้มาก ก็ต้องเสียค่าคอมมาก) ค่าผลิตสินค้า (ราคาที่สั่งผลิต เปลี่ยนไปตามยอดที่เราสั่ง) เอาง่ายๆ คืออะไรก็ได้ ที่มีตัวเลขไม่คงที่นั่นเองค่ะ เพื่อนๆ ลองลิสออกมาให้หมดเลยนะคะ

– ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost – FC) คือ ต้นทุนที่มีเลขตายตัว ไม่แปรผันกับยอดใดๆ ทั้งสิ้น มีจำนวนเท่าๆ กันตลอด เช่น ค่าเช่าที่ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงานประจำ ฯลฯ เช่นเดียวกันค่ะ ลองลิสออกมาให้หมดเลยนะคะ

1. ต้องขายกี่ชิ้นถึงจะคุ้มทุน?
สมมุติว่าเราขายครีม/เครื่องสำอางออนไลน์ ที่มีต้นทุนดังนี้
VC = ต้นทุนครีมที่ไปซื้อจากโรงงาน 60,000 บาท 100 กระปุก, ค่า Packaging 2,000 บาท, ค่าโฆษณาบน Facebook 30,000 บาท ค่าจ้าง Graphic Designer 5,000 บาท ส่วนค่าส่งสินค้าให้ลูกค้าออกเอง XD ฮ่าๆ = 97,000 บาท = กระปุกละ 970 บาท

FC = ค่าจ้าง Admin ตอบลูกค้าเดือนละ 12,000 บาท ค่าทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายรายเดือน 4,000 บาท = 16,000 บาท

โดยสมมุติว่าเราตั้งราคาขายไว้ที่กระปุกละ 1,200 บาท

จะได้ออกมาเป็นสูตร ดังนี้


2. ต้องขายกี่บาทถึงจะคุ้มทุน?
จะได้ออกมาเป็นสูตร ดังนี้



เพียงเท่านี้ เจ้าของกิจการทุกท่านก็จะได้มีเป้าหมายที่ถูกต้อง และยังทำให้เราทราบต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าที่เราขาย

4.เอาตัวเลขทางการเงินมาคำนวนการกู้เงิน
การทำงบกำไรขาดทุนอย่างเดียวไม่สามารถใช้กู้เงินได้ แต่ตัวเลขเอามาคำนวนสินเชื่อได้และต้องประกอบกับ ข้อมูลตัวเลขรายได้กับหนี้จากสถาบันการเงินต่างๆ

ตารางคำนวนสินเชื่อ SME KBank https://www.kasikornbank.com/th/Calculator/SME-Loan 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน