อินาโมริ คาซึโอะ กับ หลักการบริหาร 12 ประการ ของ Inamori kazuo
หลักการบริหาร 12 ประการ ของ อินาโมริ คาซึโอะ
1. ทำให้วัตถุประสงค์ของงาน สิ่งที่ตั้งใจสื่อสาร มีความชัดเจน2. ตั้งเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม
3. รักษาเจตจำนงอันแรงกล้า
4. มุ่งมั่นที่จะไม่แพ้ใคร
5. เพิ่มยอดขายอย่างเต็มที่ ลดรายจ่ายให้น้อยที่สุด
6. การตั้งราคาเป็นการบริหารจัดการ
7. การบริหารจัดการขึ้นกับความตั้งใจที่แน่วแน่
8. วิญญาณนักสู้ที่ลุกโชน
9. สู้งานด้วยความกล้าหาญ
10. ทำงานอย่างสร้างสรรค์อยู่เสมอ
11. คบหากันอย่างซื่อสัตย์ด้วยน้ำใจไมตรี
12. มีฝันและมุ่งหวังด้วยใจใสบริสุทธิ์ ทำงานเชิงรุกอย่างสดใสอยู่เสมอ
หนังสือเล่มนี้นับเป็นหนังสือจุดไฟในตัวมากๆครับ สำหรับช่วงเวลาเศรษฐกิจดิ่งยังไม่รู้ว่าก้นเหวอยู่ไหน ทางที่ดีที่สุดคือจุดพลังนักสู้ในตัวขึ้นมา หนังสือเล่มนี้ไม่มีเทคนิค ตารางวิธีทำงาน หรือ ใช้เป็นคู่มืออ้างอิงอะไรได้นอกจาก หลักการบริหาร 12 ประการนี้ แต่ถ้าอยากเข้าใจลึกซึ้ง แนะนำให้อ่านครับเป็นเหมือนเรื่องราวช่วงต่างๆของชีวิตนักบริหารในตำนานที่ยังมีชีวิต อินาโมริ คาซึโอะ เป็นคนธรรมดาที่สร้างธุรกิจจาก SME จนกลายเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆของญี่ปุ่น มูลค่าหุ้นแซง SONY และขยายไปเปิดที่อเมริกา
ปรัญชาการบริหารที่เรียบง่าย ที่นักบริหารสามารถทำตามได้ คือ จิตวิญญาณนักสู้ที่ลุกโชน และ ทำสิ่งที่ถูกต้องในฐานะมนุษย์ สองคำนี้จะมีให้เห็นทุกบทตอกย้ำแนวทางการบริหารธุรกิจที่เรียบง่ายและได้ผลช่วงที่ 1 ความเจริญรุ่งเรืองและเสือมถอยของญึ่ปุ่น
เนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องให้เห็นถึงนิสัยพื้นฐานของคนญี่ปุ่น ชาวตะวันออกอย่างเราควรอ่านแล้วประเมินตนเอง เป็นการมองย้อนอดีตมาถึงปัจจุบัน
ช่วงที่ 2 การบริหารจัดการด้วยจิตวิญญาณนักสู้ที่ลุกโชน
บทนี้จะสอนเรื่องการบริหารด้วยจิตวิญญาณนักสู้ ตอนที่ประทับใจที่สุดในเรื่องนี้คือ ตอนที่คุณ อินาโมริ คาซึโอะ ไปสมัครเข้าอบรมหลักสูตรนักบริหารหลักสูตรหนึ่ง เพื่อจะได้เจอตำนานธุรกิจอย่าง ฮอนดะ โซอิจิโร่ ผู้ก่อตั้ง HONDA คุณฮอนดะ โซอิจิโร่ เดินเข้ามาในห้องสัมมนา แล้วตวาดใส่ผู้เข้าร่วมสัมมนา
ทุกคนมาทำอะไรกันที่นี่ ดูเหมือนจะมาศึกษาเรื่องการบริหารสินะ ถ้าว่างทำเรื่องอย่างนั้นล่ะก็ รีบกลับไปทำงานที่บริษัทให้เร็วที่สุดเถอะ คิดว่ามาเข้าออนเซ็นกินดื่มแบบนี้จะศึกษาเรื่องบริหารได้รึไง...
รีบกลับไปบริษัทและทุ่มเททำงานซะ |
จิตวิญญาณนักสู้ที่ลุกโชน ต้องส่งไปให้ถึงพนักงานและมีเป้าหมายเดียวกัน ต้องเปลี่ยนความปรารถณาของผู้บริหารที่เรียกว่าเป้าหมายในการบริหารให้เป็นความปรารถณาของพนักงานทุกคน
การจะได้ใจพนักงานทุกคนที่คือการลงมือทำด้วยกัน และ ปกป้องหมู่คณะด้วยชีวิต ในยามเศรษฐกิจวิกฤติ โรงงานของเค้ายอดขาดเหลือแค่ 10% สิ่งที่เข้าไม่ทำแน่นอนคือจ้างพนักงานออก แต่เค้าเปลี่ยนมุ่งมั่นที่จะทำของที่มีคุณภาพ คนที่ว่างจากงานที่ลดลง ก็ไปทำความสะอาดโรงงาน รดน้ำต้นไม้ เอาวิศวะกรเอาคนผลิตไปเจอลูกค้า เพื่อให้เกิดไอเดียในการทำสินค้า และเข้าใจกันระหว่างคนหางานเข้ามากับคนผลิตของไปขาย
4 ข้อที่นำมาใช้ได้ในยามวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ
ข้อที่1 สร้างสายสัมพันธ์กับพนักงานให้แน่นแฟ้นขึ้น
ข้อที่2 ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการที่ไม่ใช่วัตถุดิบทางตรงและค่าแรงงานทางตรงทั้งหมด
ข้อที่3 เป็นพนักงานขายทุกคน
ข้อที่4 มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าใหม่
ช่วงที่ 3 เพื่อโลก เพื่อมนุษยชาติ
เป็นช่วงที่ทำให้เข้าใจในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับธุรกิจคือการทำเพื่อมนุษย์ ใช้ความเป็นมนุษย์ ระบบทุนนิยมไม่ใช่ปัญหา แต่อยู่ที่จิตใจ หากต้องการมากเกินไปจนทำร้ายคนอื่นสุดท้ายธุรกิจก็จะพัง จงใช้ความคิดแบบมนุษย์ จัดการตัดสินใจด้วยความเป็นมนุษย์
ช่วงที่ 4 ดำเนินการด้วยคุณธรรม
มาตรฐานการตัดสินใจการบริหารทั้งหมดได้ถูกรวบรวมไว้อยู่ในคำถามว่า "อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องในฐานะมนุษย์" แล้วจงถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องในฐานะมนุษย์ และนำคำตอบที่ออกมาด้วยตัวของมันเองไปทุ่มเทปฎิบัติให้สำเร็จ
ช่วงที่ 5-6 เป็นช่วงของการพื้นฟู JAL และ การฟื้นฟูญี่ปุ่น อาจไม่เห็นกระบวนการมากมาย นำหลักการเดียวกับที่บริหารบริษัทตัวเองมาใช้ ซึ่งก็ได้ผลสามารถฟื้นฟูกิจการกลับมาสง่าผ่าเผยได้อีกครั้ง ถือว่าเสียดายที่ไม่ได้ลงรายละเอียด แต่กว่าจะอ่านมาถึงบทนี้ ก็คุ้มยิ่งกว่าคุ้มแล้วสำหรับการได้อ่านแนวคิดการบริหารงานที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที
แนะนำซื้อเลยครับ ถอยก็ตาย วิกฤติยังไงก็ต้องสู้ ราคา 200 บาท
***********************************************
โอ วีระ เจียรนัยพานิชย์
นักการตลาด นักสร้างเครือข่ายธุรกิจ นักสร้างพันธมิตรธุรกิจSME
ติดตามข่าวสารได้ในช่องทางต่างๆดังนี้
Twitter @oweera
LINE@ @oweera อย่าลืมมี @ ด้วยนะครับ http://line.me/ti/p/%40oweera
BLOG http://oweera.blogspot.com
Fanpage https://facebook.com/SMENetworkingThailand
ความคิดเห็น