บทความ K SME Analysis เรื่อง การปรับตัวของ SME ภายใต้ยุค Social Networkและทีวีดิจิตอล (13 ส.ค. 56)

  ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อผู้คนในสังคมไทยอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Social Network ที่เข้ามามีบทบาทเป็นสื่อกลางในการซื้อสินค้าและบริการ อีกทั้งการเปลี่ยนผ่านจากระบบทีวีอนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิตอล ที่นับได้ว่าเป็นการพลิกโฉมวงการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประมาณการว่า มูลค่าโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์จะมีแนวโน้มสูงขึ้นไปสู่ 128,784 ล้านบาท ในปี 2559 

ทั้งนี้ สามารถจำแนก SME กลุ่มที่มีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจได้ 4 กลุ่ม ได้แก่

1) SME กลุ่มผู้ขายสินค้าและบริการทั่วไป ที่สามารถใช้ Social Network สื่อสารข้อมูลไปยังลูกค้าและโฆษณาผ่านฟรีทีวี

2) SME กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาและเอเจนซี่โฆษณา ที่มีโอกาสสร้างรายได้จากจำนวนโฆษณาที่มากขึ้น

3) SME กลุ่มผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ที่มีช่องทางเผยแพร่ผลงานมากขึ้น และ

4) SME กลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบการเคเบิ้ลท้องถิ่น ผู้ประกอบการภาคการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสาร ความนิยมในการใช้ Social Network ที่เพิ่มขึ้น

และการเปลี่ยนผ่านจากระบบทีวีอนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิตอลดังกล่าว ได้นำพาให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ยุค Multiscreen กล่าวคือ ผู้คนในสังคมมีการรับข้อมูลและมีปฏิสัมพันธ์กับหลากหลายหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ท คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้คนไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานานๆ การซื้อสินค้าและบริการท่ามกลางข้อมูลที่ท่วมท้น ลูกค้ามีบทบาทเป็นผู้โฆษณาสินค้าและบริการ รวมไปถึงลูกค้านิยมหาข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ นำมาซึ่งความจำเป็นในการปรับตัวสำหรับ SME โดยมีแนวทางดังนี้

1. การใช้เทคนิคสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย กะทัดรัด ได้ใจความ

2. การใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing) ที่เน้นสร้างการรับรู้และจดจำในแบรนด์สินค้าและบริการ โดยอาศัยการบอกต่อและพูดถึงไปในวงกว้าง หรือการใช้กลยุทธ์การบอกต่อ (Word-of-Mouth) เพื่อให้ผู้ใช้สินค้าและบริการมีการแนะนำสินค้าและบริการต่อเนื่องกันและขยายเป็นวงกว้างในที่สุด

3. การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์
 เพื่อสร้างความรับรู้และจดจำในแบรนด์สินค้าและบริการ ควบคู่ไปกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการในเชิงลึกผ่านช่องทางออนไลน์หรือบัญชี Social Network ในขณะเดียวกัน SME ก็สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม แสวงหาโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ที่จะหันมาใช้ Social Network มากขึ้น


เนื่องจากการพัฒนาทั้งอุปกรณ์ และ Social Network Application ที่ใช้งานง่าย มีความความเพลิดเพลิน อย่างไรก็ดี SME จำเป็นต้องควบคุมสินค้าและบริการให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอควบคู่กันไป เนื่องจาก หากมีความผิดพลาดหรือความไม่พอใจในสินค้าและบริการจากผู้ใช้แล้ว ข้อมูลในเชิงลบก็จะถูกเผยแพร่จากผู้บริโภคอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน


แหล่งที่มาของข้อมูล 

- Thailand Zocial Award 2013 โดย www.zocialrank.com
- รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2556 โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
- รายงานการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อ โดย บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ประเทศไทย จำกัด
- รายงานสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2555 โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 


สนใจรับข้อมูลฉบับเต็ม สมัครได้ที่ www.ksmecare.com


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน