KBank จับมือ 7 eleven สมาคมFranchise จัดอบรมหลักสูตร "สร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมง" ปั้น Franchisors
ธนาคารกสิกรไทย สมาคมแฟรนไชส์ไทย และ ซีพี ออลล์ ผนึกกำลังครั้งใหญ่ มุ่งส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์(Link ธุรกิจแฟรนไชส์คืออะไร )ในประเทศไทยยุคใหม่ รองรับไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เปิดหลักสูตรให้ความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมงให้กับผู้ที่สนใจ สร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ชนิดเข้มข้น ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยรายใหม่อีก 5-7 %
(ซ้าย)อนิษฐา ธนมิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)(กลาง)สมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย(ขวา)พิภวัตว์ ภัทรนาวิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย |
นายพิภวัตว์ ภัทรนาวิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยได้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศให้ก้าวหน้า และให้การสนับสนุนอย่างจริงจังโดย “ที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยได้เข้ามามีส่วนช่วยในการสนับสนุนและผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2553 โดยการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ K-SME Franchise Credit ซึ่งเป็นการให้วงเงินแก่ผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ (Franchisors ) ซึ่งผ่านเกณฑ์ของธนาคารจำนวน 65 แฟรนไชส์ โดยปัจจุบันมีผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่ได้รับการสนับสนุนวงเงินไปแล้วกว่า 522 ล้านบาท ทั้งนี้ แฟรนไชส์เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างธุรกิจของตนเองให้เติบโตได้อย่างเร็วขึ้น และเป็นธุรกิจที่โตอย่างมีระบบที่สำคัญยังสามารถสร้างรายได้ให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้อย่างมาก สำหรับความร่วมมือในโครงการอบรมระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมง ที่ธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมมือกับ 2 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมแฟรนไชส์ไทย และ บมจ.ซีพี ออลล์ ในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจแฟรนไชส์ไทย เพราะจะร่วมมือกันผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถขยายธุรกิจโดยใช้ระบบแฟรนไชส์เข้ามาบริหารจัดการ ทำให้เกิดแฟรนไชส์ซอร์หน้าใหม่ที่มีศักยภาพในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
โดยธนาคารกสิกรไทยจะให้ความสนับสนุนด้านผลิตภัณฑ์การเงินที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ และองค์ความรู้ในการบริหารจัดการการเงินอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ที่ผ่านการอบรมจะสามารถเข้ามาอยู่ในระบบรายชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ของธนาคาร ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์ มีโอกาสในการขยายธุรกิจได้เร็วขึ้นอีกด้วย
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีการคาดการแนวโน้มตลาดแฟรนไชส์ในประเทศว่า ภายหลังการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี 2558 จะมีตลาดแฟรนไชส์ต่างชาติที่สนใจและเตรียมจะใช้ประเทศไทยเป็นฐานลงทุนระบบแฟรนไชส์เพื่อขยายในตลาดอาเซียน โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน เป็นต้น จากทิศทางดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีโอกาสที่จะโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีปัจจัยที่สนับสนุนจากทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างมาตรฐานให้ระบบแฟรนไชส์ในประเทศให้สามารถที่จะพัฒนาศักยภาพของธุรกิจตัวเองเข้าสู่มาตรฐานเท่าเทียมในระดับสากล และสามารถแข่งขันทั้งตลาดภายในและขยายออกไปนอกประเทศมากขึ้น
ข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย
ตลาดแฟรนไชส์ในปี 2555 มาถึงปี 2556 พบว่าแฟรนไชส์ มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.38 แสนล้านบาท โดยมี
- Franchisors (ผู้ให้สิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ) จำนวนประมาณ 330 ราย
- Franchisee (ผู้รับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ) จำนวน 63,000 สาขา
1. ธุรกิจร้านอาหาร (28%)
2. ธุรกิจร้านเครื่องดื่ม-เบอร์เกอรี่ (15%)
3. ธุรกิจบริการ (12%)
เนื่องจากธุรกิจทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นธุรกิจที่มีการลงทุนไม่สูงมากนัก และมีระบบบการจัดการที่ไม่ซับซ้อน ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับผู้สนใจทำธุรกิจ
น.ส.สมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย และบรรณาธิการ นิตยสาร ฟรี อีแมกกาซีนโอกาสธุรกิจ กล่าวถึงการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยุคใหม่ว่า “สมาคมแฟรนไชส์ไทยมีบทบาทในการส่งเสริม ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ ในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยการเติบโตของแฟรนไชส์ไทยในภาพรวม มีการเติบโตที่ต่อเนื่องประมาณ 15-20% ในแต่ละปี ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของแฟรนไชซี่ ในขณะที่กลุ่มผู้ขายแฟรนไชส์รายใหม่ยังเกิดขึ้นไม่สูงนัก ซึ่งส่วนหนึ่งมีข้อจำกัดในด้านการขาดความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ ดังนั้นสมาคมแฟรนไชส์ไทยจึงจะจัดโครงการอบรมสร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมงเป็นหลักสูตรเข้มข้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสร้างระบบแฟรนไชส์ให้แก่เจ้าของกิจการที่ต้องการขยายธุรกิจ หรือผู้ที่มีความสนใจในเรื่องแฟรนไชส์ โดยผนึกกำลังกันกับคณะกรรมการสมาคมแฟรนไชส์ไทยบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งบริหารการจัดสัมมนาโดย นิตยสารฟรี อี แมกกาซีนโอกาสธุรกิจ และบริษัท แฟรนไชส์โฟกัส เพื่อสร้างสรรค์โครงการที่เปิดกว้างให้ความรู้เรื่องการสร้างระบบ แฟรนไชส์”
การอบรมการสร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมงครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ 3 โดยสมาคมแฟรนไชส์ไทย ซึ่งครั้งล่าสุดที่ผ่านมาได้จัดไปเมื่อเดือนตุลาคม 2555 จากผลสำรวจผู้เข้าอบรม 62 คน พบว่า 98% มีความเห็นว่าเป็นการอบรมที่ดี และ 87% มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคมอีกในกิจกรรมต่อไป ทำให้ทางสมาคมแฟรนไชส์ได้จัดการอบรมสร้างระบบ แฟรนไชส์ 20 ชั่วโมง ต่อเนื่องประจำปี 2556 ขึ้นอีกครั้ง ตลอดเดือนพฤษภาคม ซึ่งหลักสูตรประกอบด้วย ขั้นตอนการสร้างระบบแฟรนไชส์, เรื่องระบบมาตรฐาน, การจัดทำคู่มือ, ระบบการอบรม, การสร้างร้านต้นแบบ, การสร้างแบรนด์, สัญญาแฟรนไชส์ และการเรียนรู้จากผู้มีระสบการณ์จริง เป็นต้น
ด้าน น.ส.อนิษฐา ธนมิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย กล่าวถึงความร่วมมือเพื่อผนึกกำลังสร้างแฟรนไชส์ยุคใหม่ว่า ซีพี ออลล์มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมกับสมาคมแฟรนไชส์ไทยและธนาคารกสิกรไทย จัดอบรมหลักสูตร "สร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมง" เพื่อให้ความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์
เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจในการทำธุรกิจแฟรนไชส์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีระบบมาตรฐานสากลและเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีผู้สนใจจะเข้าร่วมเป็นแฟรนไชส์จำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ สำหรับการจัดอบรมครั้งนี้บริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุน อาทิ สถานที่อบรมโดยจัดขึ้นที่ อาคารซีพี ทาวเวอร์ สีลม วิทยากรที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอดความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ รวมไปถึงการบริหารจัดการสินค้าและบริการ การบริหารการตลาด การบริหารเงินทุน โลจิสติกส์ สต็อกสินค้า การบริหารบุคคล การบริหารการเปลี่ยนแปลงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจแฟรนไชส์
พร้อมทั้งเยี่ยมชมกิจการของบริษัท ซีพีแรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาหารประเภทติ่มซำ, อาหารกล่องพร้อมรับประทาน, เบอเกอร์รี่ต่างๆ ซึ่งได้มาตรฐานสากล ในกลุ่มซีพี ออลล์ อีกด้วย “ปัจจุบันร้านเซเว่น อีเลฟเว่น มีจำนวนร้าน แฟรนไชส์ 3,923 สาขาทั่วประเทศ สัดส่วนร้านแฟรนไชส์คิดเป็น 56 % โดยในปี 2556 ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนของร้านแฟรนไชส์เป็น 58 % สำหรับการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น ซีพี ออลล์ได้พัฒนาระบบงานและทีมงานที่มีคุณภาพ ให้ความรู้และทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ” น.ส.อนิษฐา กล่าว
การผนึกกำลังสร้างแฟรนไชส์ยุคใหม่ครั้งนี้ เป็นการรวมความรู้จากองค์กรที่มีศักยภาพ และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่ายิ่ง ให้กับผู้ที่ต้องการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ รวมไปถึงผู้ที่ต้องการความรู้เพื่อนำไปใช้ในอนาคตด้วย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมสร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมง ติดต่อได้ที่ สมาคมแฟรนไชส์ไทย 02-321-7701-4 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.franchisefocus.co.th/ และ www.opbizmag.com
ตารางการอบรมแฟรนไชส์ "สร้างระบบแฟรนไชส์ 20 ชั่วโมง" (ที่มา : ที่มา http://www.franchisefocus.co.th/index.php/franchise-form.html )
ค่าสมัคร 3,500 บาทต่อคน
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2556
12.30 น. ลงทะเบียน
13.00 น. ความหมายแฟรนไชส์ ข้อดี-ข้อเสีย การเลือกซื้อแฟรนไชส์
14.00 น. การศึกษาความเป็นไปได้ ในการทำแฟรนไชส์
15.00 น กิจกรรมสัมพันธ์
16.00 น การวางแผนธุรกิจ
17.00 น. ถาม-ตอบ จบการอบรม
วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2556
12.30 น. ลงทะเบียน
13.00 น. ขั้นตอนในการสร้างระบบแฟรนไชส์
14.00 น. ร้านต้นแบบ
15.00 น ระบบมาตรฐาน
16.00 น. การจัดทำคู่มือ และการอบรม
17.00 น. ถาม-ตอบ จบการอบรม
วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 (เยี่ยมชมกิจการ)
9.00 น. ลงทะเบียน จุดนัดพบ
9.30 น. ออกเดินทาง รับของว่างในรถบัส
11.00 น. ถึงโรงงานซีพีแรม โรงงานผลิตอาหารของซีพี
( เรียนรู้ระบบการควบคุมคุณภาพอาหาร หัวใจการบริหาร ร้านแฟรนไชซี่)
13.00 น ออกเดินทาง
14.00 น รับประทาน อาหารกลางวัน เยี่ยมชมร้านแฟรนไชส์ชั้นนำ
(ศึกษา การดำเนินในร้าน รอบละ 10 คน)
16.00 น. เดินทางกลับ
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2555
12.30 น. ลงทะเบียน
13.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ และสัญญา แฟรนไชส์
14.00 น. การสร้างแบรนด์
15.00 น กรณีศึกษา การสร้างระบบแฟรนไชส์ จาก ประสบการณ์จริง
16.00 น. สอบความรู้
17.00 น. รับประกาศนียบัตร อบรมความรู้ จากสมาคมแฟรนไชส์ไทยปิดการอบรม
(โปรแกรมอาจมีการปรับเปลี่ยน บ้าง ตามความเหมาะสม)
ความคิดเห็น