[วิจารณ์ข่าว]คลังชงพ.ร.ก.ซอฟท์โลน3แสนล้านช่วยSMEอ่วมน้ำท่วม : ทำไมSoftloanไทยไม่ตอบโจทย์SME
"คลัง" ชง พ.ร.ก.ซอฟท์โลน 3 แสนล้าน ช่วย "เอสเอ็มอี" อ่วมน้ำท่วม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
"คลัง" ชง ครม. คลอด พ.ร.ก.ฉุกเฉินซอฟท์โลน วงเงิน 3 แสนล้าน ในอัตราดอกเบี้ย 0.1% ให้แบงก์พาณิชย์นำไปปล่อยกู้ให้แก่เอสเอ็มอีประสบอุทกภัย ในอัตราดอกเบี้ย3% คงที่ 5 ปี
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงนาม ร่าง พ.ร.ก. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) วงเงิน 3 แสนล้านบาท เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้ ธปท. จัดซอฟท์โลนให้ธนาคารพาณิชย์ นำไปปล่อยสินเชื่อต่อ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.1 % ซึ่งร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวจะเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนเพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
โดยการยกร่าง พ.ร.ก. ให้ชัดเจนว่าเป็นซอฟท์โลน เพราะเป็นเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวนี้ ไม่ได้ทำทุกปี และไม่ให้นำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ แต่จะปล่อยสินเชื่อเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) รวมถึงบุคคลทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาจากเหตุน้ำท่วม และให้ใช้เฉพาะกรณีน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 เท่านั้น
สำหรับการกำหนดวงเงินปล่อยสินเชื่อต่อให้เป็นสัดส่วนซอฟท์โลนของ ธปท. 70 % และธนาคารพาณิชย์ใช้เงินตนเอง 30 % คิดอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้า 3 % คงที่ 5 ปี เชื่อว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจและระยะเวลาชำระหนี้ที่เพียงพอในการ ฟื้นฟูธุรกิจ หรือที่อยู่อาศัยของประชาชน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ่านข่าวนี้แล้วรู้สึกว่าจะรัฐบาล ราชการจะคิดทำเรื่องเงินๆทองๆ ที่เกี่ยวกับสินเชื่อ คนแรกที่เค้าควรไปถามความเห็นคือ แบงค์ชาติ และธนาคารพาณิชย์ ดูก่อน หรือใกล้ๆตัวอย่างสสว. น่าจะรู้เรื่องนี้ดีว่าทำไมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SME ทำออกมายังไงก็ไม่เคย Work ซักกะที
ที่ผ่านมามีโครงการลักษณะนี้ออกมาให้ภาคประชาชนไม่ค่อยมีปัญหาแต่ถ้าเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่รัฐจะออกให้ภาคธุรกิจมักสะดุดปัญหาทุกที และก็จะมีเสียงจาก สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าออกมาว่ารัฐบาลไม่ช่วย SME
อย่างแรกต้องเข้าใจกระบวนการออกสินเชื่อของระบบธนาคารก่อน ซึ่งอยู่ภายใต้ระเบียบของแบงค์ชาติ โดยการพิจารณาสินเชื่อนั้นพิจารณาตามความเสี่ยง จะเห็นได้ว่าธนาคารพาณิชย์ต่างๆก็แข่งขันกันให้สินเชื่ออยู่แล้วโดยแข่งกันทั้งจำนวนเงินที่ให้และดอกเบี้ยที่จะคิดกับลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่มีกับลูกค้า เพราะอัตราดอกเีบี้ยที่คิดกับธุรกิจSMEนั้น เพียงไม่กี่% (ประมาณไม่ถึง8-16%ต่อปี) นั้น คงไม่คุ้มกับความเสี่ยง และยังมีเพดานความเสี่ยงของแบงค์ชาติและกฎหมายคุ้มครองต่างๆอีกด้วยเพราะกฎหมายต่างๆออกมาเพื่อป้องกันและคุ้มครองเงินฝากที่ธนาคารรับฝากไว้จากประชาชน
แนวทางที่จะให้เกิด Softloan และนำมาใช้ได้จริง ที่ใกล้เคียงที่สุดตอนนี้คือมีบสย.มาช่วยค้ำประกันแต่โดยปกติก็มีอยู่แล้วโดยบสย.จะมาค้ำประกันให้ลูกค้าเพื่อให้ธนาคารปล่อยเงินให้ได้มากขึ้นและบสย.ก็คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าอีก2-3% แต่การค้ำของบสย.ก็ไม่ได้เป็นการรับความเสียงแบบเต็มจำนวน รับเพียงแค่ 20%-30% ก็ยังคงกลับไปที่ข้อแรกนั้นแหล่ะคือความเสียงของ SME ที่มีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินก็ยังไม่ถูกแก้อยู่ดี
ดังนั้นควรจะทำการแก้กฎหมายข้อบังคับต่างๆและปล่อยSoftloanผ่านแบงค์รัฐ เท่านั้นแต่ก็ต้องไปประเมินความเป็นไปได้ที่จะได้คืนด้วย แต่นี่คือหน้าที่ของรัฐ Softloan ที่ต่างประเทศได้ผลก็แก้ปัญหาอย่างนี้ คือแก้ไปที่คนที่ขอกู้ไม่ได้ กับคนที่ขอกู้ได้แต่ประสบภัยก็ให้ดอกเบี้ยที่ต่ำสุดๆ และต้องระวังไม่ให้กลายเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการใช้Re-finance ซึ่งจะทำให้เสียระบบการเงินของประเทศ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
"คลัง" ชง ครม. คลอด พ.ร.ก.ฉุกเฉินซอฟท์โลน วงเงิน 3 แสนล้าน ในอัตราดอกเบี้ย 0.1% ให้แบงก์พาณิชย์นำไปปล่อยกู้ให้แก่เอสเอ็มอีประสบอุทกภัย ในอัตราดอกเบี้ย3% คงที่ 5 ปี
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงนาม ร่าง พ.ร.ก. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) วงเงิน 3 แสนล้านบาท เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้ ธปท. จัดซอฟท์โลนให้ธนาคารพาณิชย์ นำไปปล่อยสินเชื่อต่อ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.1 % ซึ่งร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวจะเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนเพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
โดยการยกร่าง พ.ร.ก. ให้ชัดเจนว่าเป็นซอฟท์โลน เพราะเป็นเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นเฉพาะคราวนี้ ไม่ได้ทำทุกปี และไม่ให้นำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ แต่จะปล่อยสินเชื่อเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) รวมถึงบุคคลทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาจากเหตุน้ำท่วม และให้ใช้เฉพาะกรณีน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 เท่านั้น
สำหรับการกำหนดวงเงินปล่อยสินเชื่อต่อให้เป็นสัดส่วนซอฟท์โลนของ ธปท. 70 % และธนาคารพาณิชย์ใช้เงินตนเอง 30 % คิดอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้า 3 % คงที่ 5 ปี เชื่อว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจและระยะเวลาชำระหนี้ที่เพียงพอในการ ฟื้นฟูธุรกิจ หรือที่อยู่อาศัยของประชาชน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ่านข่าวนี้แล้วรู้สึกว่าจะรัฐบาล ราชการจะคิดทำเรื่องเงินๆทองๆ ที่เกี่ยวกับสินเชื่อ คนแรกที่เค้าควรไปถามความเห็นคือ แบงค์ชาติ และธนาคารพาณิชย์ ดูก่อน หรือใกล้ๆตัวอย่างสสว. น่าจะรู้เรื่องนี้ดีว่าทำไมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SME ทำออกมายังไงก็ไม่เคย Work ซักกะที
ที่ผ่านมามีโครงการลักษณะนี้ออกมาให้ภาคประชาชนไม่ค่อยมีปัญหาแต่ถ้าเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่รัฐจะออกให้ภาคธุรกิจมักสะดุดปัญหาทุกที และก็จะมีเสียงจาก สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าออกมาว่ารัฐบาลไม่ช่วย SME
อย่างแรกต้องเข้าใจกระบวนการออกสินเชื่อของระบบธนาคารก่อน ซึ่งอยู่ภายใต้ระเบียบของแบงค์ชาติ โดยการพิจารณาสินเชื่อนั้นพิจารณาตามความเสี่ยง จะเห็นได้ว่าธนาคารพาณิชย์ต่างๆก็แข่งขันกันให้สินเชื่ออยู่แล้วโดยแข่งกันทั้งจำนวนเงินที่ให้และดอกเบี้ยที่จะคิดกับลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่มีกับลูกค้า เพราะอัตราดอกเีบี้ยที่คิดกับธุรกิจSMEนั้น เพียงไม่กี่% (ประมาณไม่ถึง8-16%ต่อปี) นั้น คงไม่คุ้มกับความเสี่ยง และยังมีเพดานความเสี่ยงของแบงค์ชาติและกฎหมายคุ้มครองต่างๆอีกด้วยเพราะกฎหมายต่างๆออกมาเพื่อป้องกันและคุ้มครองเงินฝากที่ธนาคารรับฝากไว้จากประชาชน
แนวทางที่จะให้เกิด Softloan และนำมาใช้ได้จริง ที่ใกล้เคียงที่สุดตอนนี้คือมีบสย.มาช่วยค้ำประกันแต่โดยปกติก็มีอยู่แล้วโดยบสย.จะมาค้ำประกันให้ลูกค้าเพื่อให้ธนาคารปล่อยเงินให้ได้มากขึ้นและบสย.ก็คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าอีก2-3% แต่การค้ำของบสย.ก็ไม่ได้เป็นการรับความเสียงแบบเต็มจำนวน รับเพียงแค่ 20%-30% ก็ยังคงกลับไปที่ข้อแรกนั้นแหล่ะคือความเสียงของ SME ที่มีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินก็ยังไม่ถูกแก้อยู่ดี
ดังนั้นควรจะทำการแก้กฎหมายข้อบังคับต่างๆและปล่อยSoftloanผ่านแบงค์รัฐ เท่านั้นแต่ก็ต้องไปประเมินความเป็นไปได้ที่จะได้คืนด้วย แต่นี่คือหน้าที่ของรัฐ Softloan ที่ต่างประเทศได้ผลก็แก้ปัญหาอย่างนี้ คือแก้ไปที่คนที่ขอกู้ไม่ได้ กับคนที่ขอกู้ได้แต่ประสบภัยก็ให้ดอกเบี้ยที่ต่ำสุดๆ และต้องระวังไม่ให้กลายเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการใช้Re-finance ซึ่งจะทำให้เสียระบบการเงินของประเทศ
ความคิดเห็น