KBank กสิกรไทยร่วมกับ 8 พันธมิตร เปิดโครงการ AEC วาระแห่งชาติ SME สร้างเอสเอ็มอีก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
กสิกรไทยร่วมกับ 8 พันธมิตร เปิดโครงการ AEC วาระแห่งชาติ SME สร้างเอสเอ็มอีก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
8 หน่วยงานพันธมิตรที่เข้าร่วมมือกันใน AEC วาระแห่งชาติ SME |
กสิกรไทยจับมือ 8 พันธมิตรเสริมเขี้ยวเล็บเอสเอ็มอีไทย รับตลาดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 58 เปิดโครงการ “AEC วาระแห่งชาติ SME” สนับสนุนองค์ความรู้ทุกมิติภายใต้โครงการ K SME Care เพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอีไทย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเอสเอ็มอีไทยก้าวไปสู่ AEC ได้อย่างมั่นใจ
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการที่กลุ่มประเทศอาเซียน ได้ประกาศตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) โดยจะมีผลในปี 2558 (ค.ศ.2015) เพื่อให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว (Single market and production) ซึ่งเป็นวาระสำคัญของชาติในการสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ยังมีข้อจำกัดด้านเงินทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบ รวมถึงการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้นธนาคารกสิกรไทย จึงร่วมกับ 8 องค์กร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดโครงการ AEC วาระแห่งชาติ SME ซึ่งเป็นองค์ความรู้ภายใต้โครงการ K SME Care เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยก้าวไปสู่การรวมเป็นตลาดเดียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งความร่วมมือภายใต้โครงการนี้ ประกอบด้วย
1.การพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินความพร้อม AEC หรือ AEC Self Assessment Tool บนเว็บ www.ksmecare.com เพื่อวัดความพร้อมของผู้ประกอบการให้รู้ถึงสถานะและความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีการเปรียบเทียบความพร้อม 3 ระดับ ได้แก่ เปรียบเทียบกับตัวเอง เปรียบเทียบในกลุ่มธุรกิจ/อุตสาหกรรม และเปรียบเทียบในการแข่งขันระดับภูมิภาค ทำให้เอสเอ็มอีสามารถรู้สถานะ เพื่อจะได้รับองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเองได้มากขึ้น
2.การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ แก่ผู้ประกอบการ ตามความพร้อมและศักยภาพ ดังนี้
- การให้ความรู้ในระดับเริ่มต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังขาดความรู้และศักยภาพเกี่ยวกับ AEC โดยปรับรูปแบบการอบรม Training Series ของโครงการ K SME Care ในปี 2555 ภายใต้แนวคิด “SME Readiness for AEC 2015” โดยเน้นหลักสูตรการเรียนรู้การบริหารจัดการธุรกิจ 5 มิติ โดยเพิ่มมุมมองในแต่ละมิติให้ครอบคลุมเกี่ยวกับ AEC อย่างเข้มข้น
โดยในปี 2555 จะเปิดการอบรมจำนวน 3 รุ่น รุ่นละประมาณ 500 คน ครอบคลุม 10 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง อุดรธานี ขอนแก่น ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี เริ่มเปิดรับสมัครรุ่น 16 รุ่นแรกปี 2555 ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2554 ถึง 16 มกราคม 2555 และจัดตั้งศูนย์ K SME AEC Flagship Knowledge Center ให้เป็นศูนย์รวบรวมแหล่งข้อมูล ข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ AEC ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการอย่างครบวงจร ซึ่งนับเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เช่น มีมุมหนังสือและนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับ AEC และสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากพันธมิตรที่หมุนเวียนมาให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับ AEC ที่เป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีผ่านเว็บไซต์ www.ksmecare.com เพื่อให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
- การให้ความรู้ในระดับกลาง สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ AEC แล้ว แต่ยังขาดศักยภาพในบางเรื่องที่ต้องพัฒนา โครงการจะมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ความรู้ในเชิงลึกเฉพาะด้าน และความรู้ตามรายอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้มากยิ่งขึ้น
- การให้ความรู้ในระดับสูง สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีความรู้ และมีศักยภาพในการเข้าสู่ AEC เป็นอย่างดี โครงการได้จัดทำแบบแผน ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในการวางแนวทางในด้านต่างๆ และสร้างเป็นแบบอย่างสำหรับกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการแข่งขันทางธุรกิจในระดับภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้น
นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะต้องปรับตัวเพื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ จากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยได้รับประโยชน์จากการลดกำแพงภาษีเหลือ 0% ลดการกีดกันการค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มาตรการภาษี สร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออก ลดต้นทุนโดยการย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า รวมถึงสร้างโอกาสในการร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจอื่นในประเทศสมาชิกได้มากขึ้น ขณะนี้เดียวกันก็จะต้องพบกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศที่มีเงินทุนมากกว่า การถูกแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ในการส่งสินค้าเข้ามาตีตลาดในไทย รวมถึงการแย่งชิงบุคลากรที่มีฝีมือไปยังประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
สำหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ AEC วาระแห่งชาติ SME สามารถติดต่อเข้าร่วมโครงการได้ที่ ศูนย์ K SME AEC Flagship Knowledge Center โทร 0 2160 5203-4 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ K-BIZ Contact Center 0 2888 8822
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. อัจฉรา จันทร์ฉาย กรรมการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
คุณจินตนา ชัยยวรรณาการ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ |
คุณบุญเจือ วงษ์เกษม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม |
คุณปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย |
คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย |
คุณพิกุล ทักษิณวราจาร รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า |
คุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) |
คุณวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
คุณวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก |
ทีมงานประสานงานพันธมิตร |
K Group e-girl มาในชุด AEC |
KBank
and eight business partners introduce “AEC: National Agenda for SMEs” in order
to enhance SMEs’ readiness for the AEC.
KASIKORNBANK and eight business partners intend to enhance
the readiness of Thai small and medium enterprises (SMEs) for upcoming trade
liberalization under the ASEAN Economic Community (AEC) in 2015 by launching “AEC:
National Agenda for SMEs” to provide intensive knowledge via training courses
of K SME Care. The move is aimed at preparing Thai SMEs for market
liberalization under the AEC in 2015 with confidence.
Mr. Pakorn Partanapat, Executive Vice President, KASIKORNBANK
said ASEAN has established the AEC, which will take effect in 2015, in order to
integrate ASEAN into a single market and production base. This is a crucial
national agenda which Thai business operators, including SMEs in particular, must
understand and prepare for, as they presently have constraints in terms of
capital, knowledge and adjustment for the direct and indirect changes.
Thus, KBank has joined hands with eight organizations,
including the Department of Trade Negotiation, the Department of Business
Development, the Department of Export Promotion, the Department of Industrial
Promotion, the Office of SMEs Promotion, the Federation of Thai Industries, the
Thai Chamber of Commerce and Chulalongkorn University, to present
“AEC: National Agenda for SMEs” in order to prepare Thai SME operators for the single
market of the AEC in 2015. The intensive training courses under K SME Care will
provide content related to AEC as follows:
1. AEC Self-Assessment Tool is
available on the website www.ksmecare.com for
assessment of SMEs in terms of their status and readiness to enter the AEC. The
assessment tool is divided into 3 stages based on firstly, measuring individual
entrepreneur’s capability amongst themselves, secondly, evaluating
entrepreneur’s capability within their respective industries and thirdly,
assessing competition within a regional level. This assessment tool seeks to
enable SME entrepreneurs to gain sufficient knowledge in order to enhance their
business capabilities further a field.
2. Knowledge
support will be provided for SME preparedness and business potential as
follows:
- Basic knowledge will be provided
for those who currently have insufficient knowledge and market potential regarding
AEC. The K SME Care platform has been adjusted accordingly for 2012 under the
concept of “AEC Readiness for SMEs 2012”, with an emphasis on business
management courses in five key dimensions completed with comprehensive perspective
on AEC. These courses will be offered via the K SME Care program in 2012, with
three classes available for 500 SMEs each in 10 provinces nationwide, namely Bangkok, Chiang Mai, Chiang Rai,
Lampang, Udon Thani, Khon Kaen, Phuket, Chon Buri, Rayong and Chanthaburi. Applications
for the first class of 2012 can be made from December
14, 2011,
to January 16, 2012. Additionally, the K SME AEC
Flagship Center for SMEs has been established as a center of information, news
and activities related to the AEC, a beneficial and complete source of such
knowledge for business operators. KBank is the first bank in Thailand to establish such a center,
where AEC-related book corners as well as consistent advisory service by
business partners will be provided. Beneficial AEC-related information and news
will also be publicized via the website www.ksmecare.com, for an up-to-date and
convenient news source.
-
Intermediate
knowledge is
provided for SMEs already having some knowledge and understanding about
AEC but in need of fulfilling their potential. Workshops will be held to give
in-depth and specific knowledge as well as industrial knowledge for their
capability enhancement.
-
Advanced
knowledge is
provided for SMEs with existing knowledge and high business potential related
to AEC. Common business models will be created as guidelines to enhance their
competitiveness at a regional level.
Mr.
Pakorn added that Thai SMEs need to adjust themselves for the new challenges of
the AEC establishment, which will benefit them in terms of tariff reduction to
zero percent, decrease of non-tariff trade barriers, market expansion,
operation costs cut through the relocation of manufacturing bases to other
countries with cheaper costs, and creation of investment opportunity with other
business groups among country members. Meanwhile, they will soon face intense
competition, particularly from countries with greater capital. Some SMEs may
lose market share to goods with lower production costs in the domestic market,
and lose skilled labor to countries with higher wages.
Interested business operators can apply to join “AEC: National Agenda for SMEs” at the AEC Flagship Center for SMEs at Chanchuri Square by calling 0 2160 5203-4, or
ask for more information at the K-Biz Contact Center, 0 2888 8822.
ความคิดเห็น