ขั้นตอนปฎิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
" ก่อนเกิดแผ่นดินไหว "
1.สิ่งที่ควรจัดเตรียมเอาไว้เผื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมีดังต่อไปนี้ค่ะ
1.1 เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
1.2 เครื่องรับวิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
1.3 เตรียมอุปกรณ์นิรภัยสำหรับการช่วยชีวิต ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์อื่นๆให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและควรมีความรู้พื้นฐานเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วย
1.4 ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย หากเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ไว้พร้อมแล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องให้ทุกคนในครอบครัวทราบด้วยค่ะว่าสิ่งของ เหล่านี้เก็บอยู่ที่ไหน...ไม่ใช่พอต้องใช้จริงๆดันหาไม่เจอ - -"
2. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วเปิด-ปิดน้ำและตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำและไฟฟ้า
3. ควรยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้าน ที่ทำงานและในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกแยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
4. ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆไว้ในที่สูง เพราะอาจล่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
5. ควรมีการเตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
6. ควรมีการวางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษามีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติมีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง
8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
" ขณะเกิดแผ่นดินไหว "
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
2.ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก ทางที่ดี ควรมุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือหมอบอยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา หรือยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง
3.ให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง สายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวน เพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพังที่อาจร่วงหล่นลงมา อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ ๆ มีน้ำหนักมาก
4. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้ หากมีคนอยู่จำนวนมากอย่าแย่งกันออกที่ประตู เพราะจะเกิดอันตรายจากการเหยียบกัน
5. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
6.คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินหยุดไหว
7.อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้นเพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟอาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
8.หากกำลังขับรถให้จอดรถในที่โล่งแจ้งห้ามหยุดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ให้อยู่ภายในรถและจนกว่าการสั่นสะเทือนผ่านพ้นไป
9. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวไฟฟ้ามักจะดับจึงไม่ควรใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด
10. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
" หลังเกิดแผ่นดินไหว "
1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
3.ให้ไปรวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่
4.ใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้ายางเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
5. ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้าหากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหายให้ปิดวาล์วเพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อต ที่สำคัญ ..... อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วมทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาออกมาทำลายสุขภาพจิต
6. ตรวจเช็คระบบแก๊สโดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส(มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่างแล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทรายในโอกาสต่อไป
7. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
8.ควรเปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
9. อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
10. ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหายผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆหากไม่ได้รับการอนุญาตอย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
11. อย่าแพร่ข่าวลือ
ข้อมูลจากกรมทรัพยากรและสนุกดอทคอม
1.สิ่งที่ควรจัดเตรียมเอาไว้เผื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมีดังต่อไปนี้ค่ะ
1.1 เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
1.2 เครื่องรับวิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
1.3 เตรียมอุปกรณ์นิรภัยสำหรับการช่วยชีวิต ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์อื่นๆให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและควรมีความรู้พื้นฐานเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วย
1.4 ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย หากเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ไว้พร้อมแล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องให้ทุกคนในครอบครัวทราบด้วยค่ะว่าสิ่งของ เหล่านี้เก็บอยู่ที่ไหน...ไม่ใช่พอต้องใช้จริงๆดันหาไม่เจอ - -"
2. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วเปิด-ปิดน้ำและตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำและไฟฟ้า
3. ควรยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้าน ที่ทำงานและในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกแยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
4. ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆไว้ในที่สูง เพราะอาจล่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
5. ควรมีการเตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
6. ควรมีการวางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษามีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติมีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง
8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
" ขณะเกิดแผ่นดินไหว "
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
2.ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก ทางที่ดี ควรมุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือหมอบอยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา หรือยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง
3.ให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง สายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวน เพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพังที่อาจร่วงหล่นลงมา อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ ๆ มีน้ำหนักมาก
4. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้ หากมีคนอยู่จำนวนมากอย่าแย่งกันออกที่ประตู เพราะจะเกิดอันตรายจากการเหยียบกัน
5. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
6.คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินหยุดไหว
7.อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้นเพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟอาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
8.หากกำลังขับรถให้จอดรถในที่โล่งแจ้งห้ามหยุดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ให้อยู่ภายในรถและจนกว่าการสั่นสะเทือนผ่านพ้นไป
9. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวไฟฟ้ามักจะดับจึงไม่ควรใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด
10. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
" หลังเกิดแผ่นดินไหว "
1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
3.ให้ไปรวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่
4.ใส่รองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้ายางเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
5. ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้าหากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหายให้ปิดวาล์วเพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อต ที่สำคัญ ..... อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วมทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาออกมาทำลายสุขภาพจิต
6. ตรวจเช็คระบบแก๊สโดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส(มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่างแล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทรายในโอกาสต่อไป
7. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
8.ควรเปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
9. อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
10. ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหายผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆหากไม่ได้รับการอนุญาตอย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
11. อย่าแพร่ข่าวลือ
ข้อมูลจากกรมทรัพยากรและสนุกดอทคอม
ความคิดเห็น