ธุรกิจธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียม แล้วเกี่ยวอะไรจากผู้ประกอบการ SME (1)
ผ่านไตรมาสแรกไปแล้ว สิ่งที่ผ่านไปทั้งน่าจดจำและน่านำมาคิดต่อสำหรับ อีกสามไตรมาสที่เหลือว่าจะนำมาพัฒนาตัวเองและธุรกิจของเราอย่างไร ปลายเดือนมีนาคม คงไม่มีข่าวไหนสำคัญและแรงไปกว่า การที่ธนาคารใหญ่หลายแห่งออกมาประกาศ ยกเลิกค่าธรรมเนียม ขอเรียงลำดับเหตุการณ์ ให้ฟังดังนี้
Timeline ธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียม
27 มีนาคม 2561 ธนาคารกสิกรไทย ฟรีค่าธรรมเนียม ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการที่ใช้บริการช่องทางดิจิทัล 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber, K-Cyber SME ฟรีค่าธรรมเนียมบริการยอดนิยมที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ โอนข้ามเขต/โอนต่างธนาคารแบบทันที จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ เติมเงิน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงสิ้นปี28 มีนาคม 2561 SCBจัดแถลงข่าวใหญ่พร้อมเปิดตัวโฆษณาแก้เกม ประกาศ ยกเลิกค่าธรรมเนียม ย้ำว่าไม่ใช่แค่โปรโมชั่น แต่ "ยกเลิกค่าธรรมเนียม" ไปเลย
16.00 น. 28 มีนาคม 2561 ธนาคารกสิกรไทย ออกประกาศใหม่ เปลี่ยนเป็น “ยกเลิกค่าธรรมเนียมถาวร”
29 มีนาคม 2561 ธนาคารกรุงไทย ไม่คิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต หรือโอนต่างธนาคาร จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ บริการเติมเงิน ผ่าน KTB netbank ตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. จนถึงสิ้นปีนี้
29 มีนาคม 2561 ช่วงบ่าย ธนาคารกรุงเทพ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งผ่านโทรศัพท์มือถือ บัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง และช่องทางอินเทอร์เน็ต บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง โอนเงินข้ามเขต โอนเงินต่างธนาคารแบบทันที โอนเงินพร้อมเพย์ การชำระบิลสินค้าและบริการ บริการเติมเงิน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. เป็นต้นไป ในช่วง 1-30 เม.ย. ธนาคารกรุงเทพยกเว้นค่าธรรมเนียมเอทีเอ็มถอนเงินข้ามเขต และโอนเงินข้ามเขตจากบัญชีภายในธนาคาร และโอนเงินไปยังบัญชีต่างธนาคาร สำหรับการทำธุรกรรมผ่านตู้บัวหลวงเอทีเอ็ม
สี่ธนาคารใหญ่ร่วมกันออกมาประกาศฟรีค่าธรรมเนียมในเวลาใกล้ๆกันอย่างนี้ เรียกได้ว่าเป็นการทุบหม้อข้าวหม้อแกงครั้งใหญ่ รวมๆกันระดับหมื่นล้านบาท
ธนาคารทำอย่างนี้ทำไม คงไม่พ้นคำว่า รีบปรับก่อนโดนบังคับให้ปรับที่มาของค่าธรรมเนียมต่างๆเกิดขึ้นเพราะมีต้นทุนในการดำเนินงาน การเคลื่อนย้ายเงิน การส่งข้อมูล การลงบัญชี การรักษาเงิน และ อื่นๆอีกมากมาย จึงต้องคิดค่าธรรมเนียมการใช้บริการ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปมีเทคโนลีต่างๆมากขึ้น เริ่มมีผู้ให้บริการที่ไม่ใช้ธนาคารมีศักยภาพในการทำธุรกิจเหมือนกัน เข้ามาให้บริการโดยใช้เทคโลโลยีต่างๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่า ทำให้แทบจะไม่จำเป็นต้องคิดค่าธรรมเนียม หรือ คิดค่าธรรมเนียมต่ำมากๆ เช่น AliPay / WechatPay /TrueWallet/ Line Pay โดยธุรกิจเหล่านี้มีรายได้อื่นๆแต่นำระบบกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิคมาทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องคิดค่าธรรมเนียม
ในธุรกิจปัจจุบันไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงหรือโดนทำลายได้ด้วยธุรกิจยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีประกอบ กับข้อมูลที่ทำให้บริหารจัดการได้ดีกว่า ต้องบอกว่าการสร้างรายได้แบบเดิมอาจไม่สามารถทำได้หากยังมีช่องว่างการให้บริการอยู่ หากยังมีคำว่า แพงกว่า ช้ากว่า บริการแย่กว่า
แล้วธุรกิจธนาคารจะหารายได้จากไหน
หากค่าธรรมเนียม การโอนการชำระเงิน ต่างๆไม่มีค่าธรรมเนียม คนก็จะเริ่มเกิดพฤติกรรม เช่นการจ่ายบิล ผ่านมือถือ แทนที่จะต้องไปต่อคิวที่เคาเตอร์จ่าย เพราะไม่เสียค่าธรรมเนียม การจองตั๋วหนัง การซื้อของผ่าน แอปมือถือจะสะดวกขึ้น เมื่อธนาคารเห็นข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่าย ก็สามารถคิดค้นบริการต่างๆได้มากขึ้น รู้พฤติกรรมการใช้เงินเมื่อไหร่ต้องการสินเชื่อ เมื่อไหร่ควรเอาเงินมาลงทุนในกองทุนเพื่อได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าต่างจากเมื่อก่อนที่ลูกค้าเบิกเงินสดออกไปใช้จ่ายบริการต่างๆ แต่ตอนนี้ไม่ต้องกดเงินสดจ่ายด้วยการโอนหรือ QR Code ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาตู้เบิกเงิน หากธนาคารมีข้อมูลที่แม่นยำ ก็สามารถช่วยให้ผู้ผลิตสินค้าหรือเจ้าของธุรกิจต่างๆเสนอบริการให้กับลูกค้าของธนาคารได้มากขึ้นในตอนหน้าจะเสนอแนวทางที่ผู้ประกอบการ SME ควรจะปรับตัวรับกับกระแสนี้
ความคิดเห็น