12อุตสาหกรรมไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจาก AEC

อุตสาหกรรมไทยในตลาดอาเซียนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจาก AEC
1. อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง
2. อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
4. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
6. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
7. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
8. อุตสาหกรรมยาง
9. อุตสาหกรรมพลาสติก
10. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้
11. อุตสาหกรรมเหล็ก
12. อุตสาหกรรมอโลหะ

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ
Link http://www.oknation.net/blog/chainoy70/2011/06/06/entry-1
"การรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเป็นตลาดเดียวในปี 2558 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า
จะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีมากขึ้น
ดังนั้นทุกภาคส่วนของสังคมไทยจะต้องเตรียมพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
เพื่อสร้างโอกาสต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชาติ"
การรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะเป็นตลาดเดียวกันภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
หรือ AEC ในอีก 4 ปีข้างหน้าหรือในปี 2558 ถือเป็นส่วนสำคัญที่ภาคธุรกิจไทย รวมถึงคนไทย
ต้องปรับตัว เพราะจะเป็นการเปิดประตูตลาดการค้าระหว่างกัน โดยอาเซียนมีประชากรรวมกัน
มากกว่า 700 ล้านคน โดยการรวมกลุ่มอาเซียนจะเป็นจุดเปลี่ยนทำให้เศรษฐกิจโลกมีอัตราการ
ปรับตัวที่ดีขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจไทย
ไทยมีเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้าภายใน Inclusion List ทั้งหมดให้กับ
ประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2553 ซึ่งไทยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว การรวมตัวเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนจึงไม่ทำให้ไทยต้องลดภาษีใด ๆ เพิ่มเติมอีก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้า
อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (single market and production
base) และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากขึ้น
(free flows of goods, services, investment, skilled labors and free flow of capital)
องค์ประกอบสำคัญของ AEC
1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน
และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการสร้างความสามารถ
ในด้านต่าง ๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ)
3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลด
ช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs
4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ด้วยการร่วมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก เน้นการประสาน
นโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี
และการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่าย เป็นต้น
การเตรียมตัวของภาคประชาชนและภาคการผลิต
1. ต้องเรียนรู้ว่า AEC คืออะไร เพื่อให้ทราบว่าจะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไร และพร้อม
รับการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งจากสินค้าและแรงงานต่างชาติ
2. เรียนรู้ความต้องการของตลาดอาเซียน เพื่อพัฒนาสินค้าให้มีความเหมาะสมกับความ
ต้องการ และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
3. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ให้มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้
4. ปรับปรุงทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพในการผลิต การบริหาร และสามารถออกสู่
ตลาดระดับนานาชาติได้
5. เรียนรู้ถึงแหล่งช่วยเหลือด้านผลกระทบจากภาครัฐต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้
เมื่อมีความจำเป็น
6. ให้ข้อมูลข่าวสารต่อภาครัฐ เมื่อประสบปัญหาจากการค้าขายในอาเซียน เพื่อภาครัฐจะ
ได้นำไปเจรจาแก้ไขปัญหา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน