business extended เตรียมพร้อมธุรกิจ...ก่อนคิดจะขยาย


ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของคุณพิภวัตว์ ภัทรนาวิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการขยายธุรกิจและเตรียมตัวจะขอกู้เงินกับธนาคาร
คุณพิภวัตว์ ภัทรนาวิก
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย 


คุณพิภวัตว์ ภัทรนาวิก กว่าวไว้ว่า สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการ SME ทุกคนต่างคาดหวังจากการทำธุรกิจ ก็คือเรื่องการขยายและเติบโตของธุรกิจ แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราต้องการเติบโตอย่างมั่นคง สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการเตรียมความพร้อมของธุรกิจ ซึ่งมีผู้ประกอบการเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เตรียมความพร้อม หลายคนรอเวลาให้ความสำเร็จมาถึงบริษัทของตนเสียก่อนจึงค่อยลงมือเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเติบโตที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะผู้ประกอบการสามารถพบเจอกับความเสี่ยงและผลกระทบภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเตรียมตนเองให้พร้อมก่อนขยายธุรกิจจะทำให้การบริหารจัดการภายในองค์กรมีความเข้มแข็งมั่งคง และเติบโตอย่างยั่งยืน เรามาดูกันว่าการเตรียมตนเองให้พร้อมก่อนขยายธุรกิจต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. จดทะเบียนนิติบุคคล เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME บริหารงานได้ง่ายและเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ทางภาษีและความน่าเชื่อถือในมุมมองของสถาบันการเงิน  ซึ่งผู้ประกอบการควรพิจารณาว่ารูปแบบใดเหมาะสมกับธุรกิจและได้ประโยชน์สูงสุด
  2. จัดทำแผนธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจมีความจำเป็นกับผู้ประกอบการ SME  เนื่องจากจะช่วยให้เรารู้ว่าปัจจุบันธุรกิจของเราอยู่ตรงจุดไหน อนาคตจะอยู่ที่ใด และด้วยวิธีการอย่างไร โดยจะต้องมีความชัดเจนของเป้าหมาย มีแผนสำรองเตรียมไว้ในกรณีที่ธุรกิจมีความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในทุกด้าน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน การพยากรณ์ ติดตาม และการจัดการด้านการเงินในอนาคต
  3. วางแผนทางการเงิน ผู้ประกอบการจะต้องมีการวางแผนการเงินที่ดีในเรื่องของแหล่งเงินทุน การบริหารสภาพคล่อง และการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
    1. แหล่งเงินทุน ผู้ประกอบการควรวางแผนการลงทุนหรือประมาณการงบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสดและงบดุล ด้วยการพยากรณ์ว่าหากขยายธุรกิจแล้วจะมีความคุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ โดยเงินทุนที่จะนำมาขยายธุรกิจควรศึกษาและเปรียบเทียบแหล่งเงินทุนแต่ละแห่งประกอบด้วย โดยแหล่งเงินทุนมี 2 ลักษณะ ได้แก่
      ลักษณะที่ 1 แหล่งเงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้น หมายถึง เงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนชำระค่าหุ้นเข้ามาในธุรกิจ ซึ่งเจ้าของเงินจะมีสถานะเป็นเจ้าของ


      ลักษณะที่ 2 แหล่งเงินทุนที่ได้จากการกู้ยืม เป็นเงินทุนที่กู้ยืมจากบุคคลหรือแหล่งเงินทุนต่างๆ มีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้นคืน 

      ซึ่งการหาแหล่งเงินทุนเพื่อมาขยายธุรกิจควรมาจากทั้ง 2 แหล่ง ในสัดส่วนที่เหมาะสมประเภทของเงินกู้สามารถแบ่งออกเป็นเงินกู้ระยะสั้น ที่ใช้สำหรับการหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น ซื้อวัตถุดิบ และเงินกู้ระยะยาว ที่ใช้สำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่มักพบเสมอว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในช่วงคิดที่จะขยายธุรกิจ บางส่วนอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของหลักประกันที่มีมูลค่าไม่เพียงพอสำหรับการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการหมุนเวียนหรือขยายกิจการ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยก็มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ โดยให้วงเงินมากกว่ามูลค่าหลักประกัน หรือบางโปรแกรมให้วงเงินโดยไม่ต้องมีหลักประกัน หรือมีการสนับสนุนวงเงินประเภทที่ให้ระยะเวลากู้นานมากกว่าปกติเพื่อลดภาระการผ่อนชำระของผู้ประกอบการ 
    2. การบริหารสภาพคล่อง หมายถึงการบริหารเจ้าหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสำหรับใช้ดำเนินงาน และมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของธุรกิจเมื่อถึงกำหนด ถ้าหากธุรกิจมีความสามารถในการบริหารสภาพคล่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพแล้วอาจไม่ต้องแสวงหาเงินทุนเพื่อใช้สนับสนุนในส่วนนี้ได้ 
    3. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้เรารู้ถึงความสัมพันธ์ของการขายปริมาณการขาย ต้นทุน (ทั้งต้นทุนแปรผัน และต้นทุนคงที่) และกำไร เพื่อให้ทราบว่าการลงทุนในการขยายธุรกิจ ธุรกิจจะมีจุดที่เป็นกำไรส่วนเกินนำไปชดเชยต้นทุนคงที่ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นจุดที่ปลอดภัยจากการลงทุน


การเตรียมพร้อมใน 3 เรื่องข้างต้นนั้น เป็นการปิดจุดอ่อนที่อาจกลายเป็นปัญหาบานปลายในอนาคตได้สำหรับผู้ประกอบการที่จะขยายธุรกิจ เพราะส่วนใหญ่สิ่งเหล่านี้มักถูกละเลยและไม่แสดงตัวเป็นปัญหาตั้งแต่ต้น หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ SME ทุกท่าน ได้คิดเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มขยายธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจของท่านมีการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน