บทความ

สร้างความประทับใจในสี่วินาที Make people like you in 4 seconds

รูปภาพ
รู้หรือไม่ ตัดสินคนแปลกหน้าตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้เห็น ว่าเค้าเป็นคนยังไง น่าคบ น่ากลัว เข้าถึงยาก หรือ น่ารู้จัก ดังนั้นเราควรต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อสร้าง the best impression possible — before it's too late. หากเรายังต้องการสร้าง Networking Nicholas Boothman. เขียนบทความไว้ในหนังสือ "How to Make People Like You in 90 Seconds or Less" กลยุทธในการสร้างความประทับใจให้คุณก้าวสู่ผู้นำในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และเปิดให้ผู้คนอยากเจรจาด้วย ไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอเรียบเรียงมา4ข้อดังนี้ ขั้นที่ 1 เปิดตัว เปิดใจ Be open เราต้องเปิดทั้งตัวและหัวใจ มีทัศนคติที่ดีพร้อมอยากจะสร้างมิตรภาพ ใช้ภาษาร่างกายที่พร้อมเปิดรับ อาทิ  - อย่าใช้แขนปิดกั้นหัวใจ นั่นคือ ไม่กอดอกนั่นเอง - หากใส่เสื้อสูท หรือ เจ็คเก็ต การปลดกระดุมออกทำให้เราดูเป็นคนเปิดเผยมากขึ้น ที่สำคัญที่สุดทัศคติต้องมากก่อน "จงเปิดใจ" ขั้นที่2 สื่อสารด้วยสายตา Make eye contrct คุณได้พูดออกไปแล้วตั้งแต่คุณสบตาครั้งแรก มันบ่งบอกทัศนคติของคุณ หากคุณยังไม่เชี่ยวชาญในการใช้สายตา Boothman บอกว่า สามารถ

Startup เสี่ยยุคใหม่ มีจำหน่ายแล้วในรูปแบบ e-book

Startup เสี่ยยุคใหม่ หนังสือที่ผมและเพื่อนๆร่วมกันเขียน เป็นแนวทางการสร้างธุรกิจ Startup หรือ สร้างธุรกิจ SME ในยุคใหม่  เดี๋ยวนี้มีคำใหม่ที่เรียกว่า Innovation-driven Entrepreneur (IDE) หมายถึง ผู้ประกอบการที่ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ยังไม่มีในโลกนี้ ถือเป็นกลุ่มนักรบเศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรมเป็นอาวุธทางธุรกิจ แต่พื้นฐานไม่ต่างจากในหนังสือเล่มนี้ครับ ปัจจุบันเล่มที่เป็นหนังสือน่าจะไม่ได้พิมพ์แล้ว แต่มี e-book ขายแล้ว เหมาะกับเป็นของขวัญเด็กจบใหม่ หรือ หัวหน้าซื้อให้ลูกน้องเพื่อช่วยกันพลิกฟื้นธุรกิจปัจจุบันให้ทันสมัยขึ้น สั่งซื้อได้จาก Link ข้างล่างนี้เลยครับ หรือ สั่งซื้อได้จาก OOKBEE

คาถาการทำธุรกิจSME ปี2559

รูปภาพ
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 นั้น แม้จะคาดว่า กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆน่าจะสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้สอดคล้องกันมากขึ้น โดยมีแรงหนุนจากการลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมีมุมมองเชิงระมัดระวัง และประเมินกรอบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2559 ในเบื้องต้นไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.5-3.5 (ค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 3.0) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้ - การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ อาจขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2559 ผ่านการใช้จ่ายและแรงกระตุ้นในส่วนที่มาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความต่อเนื่องของการเร่งเบิกจ่ายเม็ด ( หลายหน่วยงานตั้งเป้าใช้จ่าย 70%ในสองไตรมาสแรก ตั้งแต่ ต.ค.58-  มี.ค.59)  เงินจากงบประมาณ และการลงทุนในโครงการต่อเนื่องต่างๆ ของภาครัฐ นอกจากนีhคาดว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะมอร์เตอร์เวย์และรถไฟทางคู่บางเส้นทาง ตลอดจนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ก็น่าจะสามารถเริ่มดาเนินการได้ในปี 2559 ซึ่งสัญญาณบวกในส่วนนี้นอกจากจะช่วยเสริมจังหวะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีภาพที่ชัดเจนขึ้นในปี 2559 แ

10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประเทศไทย Thailand industrial target

รูปภาพ
สำหรับเจ้าของธุรกิจ SME ในประเทศไทยที่มองหาแนวทางกำหนดทิศทางธุรกิจในอนาคตควรไปในทิศทางใด ผมอ่านบทความ จากกรุงเทพธุรกิจ  10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ที่ทางครมอนุมัติแนวทางแล้ว ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Innovation และ Digital Economy เป็นส่วนใหญ่ และจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engine) ของประเทศในอนาคต โดยได้มีการแบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1.การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) ประเทศมีพื้นฐานอยู่แล้วพัฒนาต่อได้ด้วยการวิจัยพัฒนา  ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) มีการพัฒนาเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ขยายธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะการออกแบบและจัดทำต้นแบบ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นเทรนใหม่ของโลกไทยมีความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนอยู่แล้ว คนที่เกี่ยวข้อง SME ที่ทำการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2) อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ผลิตระบบอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้ในยานยนต์ อุปกรณ์โทรคมนาคม ออกแบบที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ

วันนี้ ความฉลาดเท่ากับศูนย์เลย

รูปภาพ
เป็นเรื่องดีๆของวันนี้ครับเปิดกะโหลกมากมาย ปกติจะได้รับเชิญไปให้แชร์ความรู้การพัฒนาSMEแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาSMEหลายครั้ง นี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง แต่ต่างไปเพราะเป็นครั้งที่ รวมระดับหัวกะทิของธนาคารต่างๆ ทำเอาความรู้เราเท่ากับศูนย์ไปเลย ไปร่วมประชุมเป็นตัวแทนธนาคารกสิกรไทย ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับหัวกะทิจากหลายๆธนาคาร  ในการประชุมสมาคมธนาคารไทย เจอคนร่วมประชุมระดับด๊อกเตอร์หลายคน เรียนรู้การโน้มน้าวและการดึงผู้เข้าร่วมประชุมให้ช่วยกันโยนความคิดเห็น ในประเด็นที่เชื่อว่าแต่ละคนน่าจะรู้ ขณะที่หลายๆคนเริ่มพูดกันเยอะๆ ดร.ท่านหนึ่งก็ลุกขึ้นหยิบกระดานมาเขียน เอาสิ่งที่ทุกๆคนพูดกันออกมาเป็นโมเดลเข้าใจง่ายๆ Startup / Small / Medium / กลุ่มไหนธนาคารเข้าไปช่วยได้กลุ่มไหนยังเข้าไม่ถึง นี่คือภาพที่เขียนง่ายๆ สีเขียวคือSME ที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ และสีแดงคือไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากไอเดียฟุ้งๆในอากาศ สรุปเป็นภาพเร็วมากๆ ถกเถียงกันไปมา Model  เริ่มเปลี่ยนแปลงไป นี่คือโมเดลใหม่ แกนตั้งคือขนาดธุรกิจ แกนนอนคืออายุกิจการ สีเขียวคือโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธนาคาร สีแดง

3โรคร้ายที่สร้างความ Shipหายให้เจ้านาย หากลูกน้องมีโรคแบบนี้

รูปภาพ
ภาพประกอบไม่เกี่ยว  หากเจอลูกน้องอย่างนี้อย่าปล่อยไว้  1.นี่ไม่ใช่งานของฉัน หากนายมีปัญหาไปอ่าน JD สิครับนาย ความร้ายแรง (6/10) โรคนี้มักเจอในองค์กรใหญ่แบ่งฝ่ายงานชัดเจน หากจะให้ทำเพิ่มขอทรัพยากรเพิ่ม หนักกว่านั้นคือพวกนี้มักจินตนาการสูง คิดว่าจ้างมาเพื่อทำสิ่งนี้จึงต้องทำแค่สิ่งนี้ จะร้ายแรงขึ้นมากหากขาดศิลปะและมารยาทการขอความร่วมมือกับคนอื่น 2.งานข้าใครอย่าแตะ #นายก็เช่นกัน ความร้ายแรง (5/10) มีความเป็นเจ้าของงานสูง(มาก) นายสั่งมาเลย สั่งทีเดียวให้จบนะ แล้วไม่ต้องยุ่งรอดูที่ผลลัพท์ ฟังดูน่าจะดีแต่ลูกน้องแบบนี้ ความรุนแรงปัญหาขึ้นกับการไม่เปิดใจรับฟัง ยิ่งความสามารถในการเปิดใจรับฟังยิ่งน้อยเท่าไหร่ ความรุ่นแรงยิ่งมาก 3. Shipหายล่ะ แต่ไม่เป็นไร เอาอยู่ค่ะ ความร้ายแรง(8/10) เวลาถามมีปัญหามั๊ย ไม่มีค่ะ สบายมากครับ ภาพลักษณ์ต้องดี เสียหายไม่ได้ แก้เองลุยเอง สุดท้ายเจ้านายต้องคว้าชุดดับเพลิงไปลุยเสมอ สามโรคร้ายนี้ทำเจ้านายตายในสนามรบมามากแล้ว หากลูกน้องมีอาการแบบนี่ต้องรีบปรับทัศนคติโดยด่วน ข่าวดีโรคร้ายนี้มักเกิดจากเจ้านายตัวดีนี่แหละสร้างไว้โดยไม่รู้ตัว(โปรดติดตาม

กรณีศึกษา SME4.0 ในไทย Builk และ KBank

รูปภาพ
โมเดลการส่งเสริมSME  ในฝันเลยครับ SME4.0 เมื่อธุรกิจปรับตัวด้วยเทคโนโลยีสิ่งดีๆจะเข้ามาอย่างมากมาย กรณีศึกษา สำคัญบทแรกกำลังเริ่มต้น เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้างหนึ่งในประเภทธุรกิจที่ห่างไกลคำว่าเทคโนโลยี หรือ software มากที่สุดธุรกิจหนึ่ง ด้วยภาระหนักหน้างาน ไม่มีเวลาหันมามองหาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจ Startup ไทยแท้ Builk.com เปิดโลกทัศน์ให้เห็นว่าหากใช้Softwareมาช่วยจัดการ ลดต้นทุนได้จริงๆ และให้ใช้ฟรี คนเริ่มมาใช้เริ่มได้ผลเริ่มบอกต่อ บวกการส่งเสริมร่วมกันกับKBank ผลักดันให้เกิดผู้ใช้จำนวนมาก ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา ช่วยให้เห็นเทรนด์การบริหารงานได้แล้วว่าเมื่อผู้รับเหมาเข้ามาใช้Softwareบริหารต้นทุนอย่างจริงๆลดต้นทุนได้ สุขภาพธุรกิจดีขึ้น KBank  ก็ช่วยสนับสนุนธุรกิจให้ขยายได้ด้วยความเสี่ยงที่ลดลงดอกเบี้ยก็ลดลงด้วย นับเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาดีๆของ SME ยุคใหม่ เรียกว่า SME4.0 ส่งเสริมSMEให้ใช้เทคโนโลยีมาบริหารต้นทุนการดำเนินงานลดลง + การบริหารจัดการดีขึ้น + ธุรกิจแข็งแรงขึ้น = ธนาคารก็ลดเสี่ยงน้อยลงดอกเบี้ยก็ลดลงได้ #WinWinWin