บทความ

รวมข่าวความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC 1-15 Aug

รูปภาพ
ประเด็นข่าว AEC ที่น่าสนใจ   ศศินทร์ชี้ธุรกิจ SME ไม่จำเป็นต้องลุยตลาดต่างประเทศ เตือนพัฒนาบริการเพื่อรองรับผู้บริโภคหลั่งไหลเข้าไทย เผยมีจุดเด่นที่ได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้าน และสามารถดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงจากทั่วโลก ยืนยันธุรกิจโลจิสติกส์และท่องเที่ยวรับอานิสงส์การเปิด AEC           ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการดำเนินธุรกิจในภาคบริการหลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ว่า จะต้องมีการปรับตัวทั้งการบริการภายในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะบริการภายในประเทศที่ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลาย เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมที่ไม่มีศักยภาพในการบุกตลาดต่างประเทศ จะมีโอกาสที่ดีในการรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่คาดว่าจะไหลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้ธุรกิจบริการต่าง ๆ มีโอกาสเติบโตโดยไม่ต้องไปลงทุนในต่างประเทศ แต่ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเพ

ความรู้รอบตัว SME (10) เครื่องมือการตลาดที่เหมาะสำหรับSME

รูปภาพ
ทรัพยากรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัดของSME หากจะต้องใช้เครื่องมือทางการตลาดในการส่งเสริมธุรกิจก็ควรเลือกเครื่องมือที่น่าจะได้ประโยชน์สูงสุด จากการสำรวจ ว่าเครื่องมือการตลาดตัวใดท ี่ใช้ได้ผลสำหรับธุรกิจเล็ก  พบว่า เครื่องมือการตลาดสำหรับSME แบบ B2Cที่ได้ผลสูงเรียงตามลำดับดังนี้ Email_Marketing  Website  การใช้พนักงานขายตรง Direct Sales  Social_Marketing  Event_Marketing Road show  เครื่องมือการตลาดสำหรับSME แบบ B2Bที่ได้ผลสูงเรียงตามลำดับดังนี้ Email  การใช้พนักงานขายโดยตรง/ Sales Telemarketing  Web ในรูปแบบ Search Marketing  ดังนั้นควรเลือกเครื่องมิอและวิธีการให้เหมาะกับธุรกิจและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 

ธุรกิจSME 6สาขาที่จะได้รับผลกระทบจากAEC (high-impact sector)

รูปภาพ
เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า หนทางข้างหน้าสำหรับ SMEs ไทย จะเห็นหนทางที่ยากลำบากขึ้นแน่นอน เพราะแม้กระทั่งทุกวันนี้ปัญหาที่ SMEs ต้องเผชิญก็หนักหนาสาหัสอยู่ไม่น้อยแล้ว แต่ในอนาคตจะสาหัสสากรรจ์ขึ้นเพียงใดเมื่อไทยต้องเข้าสู่ เอทีซี ก็ขึ้นอยู่กับว่า SMEs มีการเตรียมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนี้ มากน้อยเพียงใด แผนและยุทธศาสตร์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2555-2559 ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มีแนวทางการดำเนินงาน เพื่อที่คนไทยจะได้รับรู้ทั้งเรื่องโอกาส ผลกระทบ และแนวทางการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อไทยและอาเซียนภาคนี้ สาขาธุรกิจที่ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษภายใต้แผนและยุทธศาสตร์ของ สสว. ได้แก่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง และธุรกิจบริการและการ ท่องเที่ยว หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีหลายประการด้วยกัน เช่น เป็นสาขาธุรกิจที่สร้างประโยชน์และรายได้ให้ประเทศได้มากและใช้วัตถุดิบในประเทศ เป็นสาขาธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพ

แฟรนไชส์ คืออะไร Franchise in Thailand

รูปภาพ
เก็บตกข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ให้คำนิยาม แฟรนไชส์ไว้อ่านเข้าใจง่าย ธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์หากออกแบบธุรกิจให้ยุติธรรมทุกฝ่าย จะเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตได้มากและลดโอกาสการเดินทางผิดพลาดทางธุรกิจได้มาก เพราะเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจและให้ใช้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจโดยแบ่งผลตอบแทนกลับไปให้ผู้คิดค้นพัฒนากระบวนการ “ เสริมสร้างความรู้แฟรนไชส์แก่ผู้ประกอบการ ” 1.        แฟรนไชส์ คืออะไร 1.1   นิยามของคำว่า แฟรนไชส์   ( franchise )                 แฟรนไชส์คือกระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรธุรกิจหนึ่ง ๆ ได้พัฒนาวิธีการและรูปแบบจนได้รับการพิสูจน์ด้วยระยะเวลาแล้วว่า ประสบความสำเร็จในการประกบอการและการจัดการธุรกิจในระดับหนึ่งและได้ถ่ายทอดสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจตามวิธีการและรูปแบบดังกล่าวพร้อมกับตัวสินค้าหรือบริการให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นภายใต้ตราเครื่องหมายการค้า/บริการอันหนึ่งอันใดโดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมระหว่างบุคคล2 กลุ่ม ในข้างต้น ในบางกรณีอาจรวมถึงบุคคลอื่นด้วย 1.2   นิยามของคำว่าแฟรนไชส์ซอ                 แฟรนไชส์ซอคือบุคคลผู้เป็นเจ้าของตราห

SMEภาคการผลิตควรปรับตัวเพื่อรับ AEC

รูปภาพ
การปรับโครงสร้างภาคการผลิตเพื่อรับ AEC สมัครรับบทวิเคราะห์ธุรกิจดีๆอย่างนี้ได้ฟรีที่ KSME STARTUP http://goo.gl/EXFDb ปัจจุบันโลกแห่งการค้ามีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลของแต่ละประเทศได้มีการทำข้อตกลงการค้าขายระหว่างประเทศให้มีความเป็นเสรีมากขึ้น กฎระเบียบ ภาษีที่เปรียบเสมือนกำแพงที่ปกป้องผู้ประกอบการในประเทศก็ถูกผ่อนปรน มีการเคลื่อนย้าย สินค้า การบริการ การลงทุนและเงินทุนระหว่างประเทศ กลายเป็นโลกเศรษฐกิจที่ไม่มีพรมแดน อย่างไรก็ดี การเปิดการค้าเสรีให้ผลทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อเศรษฐกิจไทย โดยผลในด้านบวก อาทิ การขยายตลาดการค้าในประเทศคู่สัญญา โอกาสการขยายการลงทุน และการรองรับการลงทุนจากประเทศคู่สัญญา อย่างไรก็ดี ผลด้านลบจากการเปิดการค้าเสรี เช่น สินค้าที่ผลิตในประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงจากสินค้านำเข้า เนื่องจากกำแพงภาษีสินค้าบางประเภทถูกปรับลดลง หรือยกเลิก ส่งผลให้สินค้านำเข้าอาจมีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ เป็นต้น และภาวะดังกล่าวนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยและธุรกิจให้ต้องปรับตัว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของโลกการค้าย