บทความ

หลักสูตรประกาศนียบัตรการบ่มเพาะธุรกิจระดับพื้นฐาน BUSINESS INCUBATION

รูปภาพ
หลักสูตรประกาศนียบัตรการบ่มเพาะธุรกิจ ของ Thai-BISPA Thai-BISPA ได้ตระหนักความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของหน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์              จึงได้ร่วมกับ InfoDev ที่เป็นหน่วยงานภายใต้ ธนาคารโลก จัดการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรการบ่มเพาะธุรกิจนี้ขึ้น ผู้เข้า  อบรมครบทุกโมดูลจะได้รับประกาศนียบัตรจาก Thai-BISPA และ InfoDev หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบจากการนำความต้องการในเชิงลึกของการบ่มเพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริบทของประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ เป็นสำคัญ มาพัฒนาหลักสูตรเพื่อความเหมาะสม โดยสำรวจการบ่มเพาะธุรกิจจากทั่วแอฟริกา , เอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ยุโรปและเอเชียกลาง , ลาตินอเมริกาและแคริเบียนตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ ด้วยผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ท่าน หัวข้อที่ออกแบบมานั้นมีครอบคลุม ตั้งแต่มือใหม่ถึงมืออาชีพที่ผ่านประสบการณ์มาแล้ว แบ่งออกเป็น 3 ระดับ 11 โมดูล หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรสากลที่ใช้ในต่างประเทศ ผู้เข้าอบรมครบหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรที่ออกโดย Thai-BISPA และ InfoDev กลุ่มเป้าหมาย ·         ผู้บริหารของหน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจและอุ

Comfort Zone เรื่องราวที่น่าสนใจจากจดหมายฉบับสุดท้ายที่คุณธนา เธียรอัจฉริยะ เขียนถึงเพื่อนร่วมงานก่อนจากDtac

ช่วงนี้มีหลายเรื่องเข้ามาในหัวให้ครุ่นคิดทั้งที่ไม่น่าจะใช่เรื่องที่จะเอามาคิดเลยเรื่องคนอื่นทั้งนั้นและเราคงช่วยตัดสินใจให้ไม่ได้แต่แล้วจู่ๆก็นึกถึงคุณธนาขึ้นมาค้นเจอจดหมายฉบับสุดท้ายที่เขียนถึงพนักงานDtac เลยอยากหยิบมาอ่านให้ฟัง สวัสดีครับ พี่ๆเพื่อนๆและน้องๆทุกคนครับ วันนี้มีข่าวว่าผมลาออกในหนังสือพิมพ์ ซึ่งผิดแผนไปหน่อยเพราะกะว่าจะบอกทุกๆคนภายในก่อนต้นอาทิตย์หน้าแล้วค่อยบอกภายนอก พอมีข่าวออกไปก็เลยต้องเขียนและแจ้งกันฉุกละหุกพอสมควร ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ คุณบุญชัยเพิ่งทราบเมื่อวาน ผมเองก็เพิ่งบอกคุณทอเร่วันพุธนี้ ก็ถึงเวลาแล้วน่ะครับ ผมอยู่ดีแทคมาจะสิบห้าปีแล้ว เป็นคนรุ่นเก่าโบราณ (แต่หน้าเด็ก 555) ก็ได้ลองทำอะไรมาหมดแล้วแทบทุกฝ่ายในบริษัท ถึงจุดนึงก็รู้สึกว่าตัวเองทำงานได้น้อยลง รู้สึกสะดวกสบายเกินไป รู้ทุกอย่างไปหมด ทำอะไรคนก็เกรงใจ และไฟก็มอดลงพอสมควร เมื่อไม่นานมานี้ ผมอ่านประโยคนึงของคุณประภาส ชลศรานนท์ ซึ่งเป็นขวัญใจทางความคิดของผม คุณประภาสบอกประมาณว่า “รู้อะไรให้รู้ให้กระจ่าง แล้วลืมมันให้หมด” ผมก็มานั่งคิดกับตัวเอง ความยากของการรู้เยอะๆก็คือผมติดกับดักชีวิตของตั

SMEs รับมืออย่างไรดี?....เมื่อสินค้าจากเพื่อนบ้านรุกเข้ามาทดแทนสินค้าไทย

รูปภาพ
SMEs รับมืออย่างไรดี?....เมื่อสินค้าจากเพื่อนบ้านรุกเข้ามาทดแทนสินค้าไทย สมัครรับบทวิเคราะห์ธุรกิจดีๆอย่างนี้ได้ฟรีที่ KSME STARTUP http://goo.gl/EXFDb ธุรกิจ SMEs ของไทยมีมูลค่าเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 37 ของ GDP นอกภาคเกษตรกรรมของไทย ปัจจุบันต้องเผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้นของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าคู่แข่งจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการผลิตและส่งออกสินค้าในรายการที่คล้ายคลึงกับ SMEs ไทย โดยไทยการนำเข้าสินค้า SMEs จากจีนเป็นอันดับ 2 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 15.8 ของการนำเข้าสินค้า SMEs ของไทย(ญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 มีสัดส่วนร้อยละ 18.2) ซึ่งผลของการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน( AFTA) และกรอบอาเซียน-จีน( ACFTA) ทำให้การค้าของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านสะดวกมากขึ้น ทำให้การค้า SMEs  ของไทยอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึง มีความเป็นไปได้ว่าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยไม่ว่าจะเป็น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ สปป.ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา จะมีโอกาสเข้ามาทดแทนสินค้าในไทย โดยอาศัยความได้เปรีย

ความรู้รอบตัว SME (8) อย่าทิ้งลูกค้า80%และดูแลลูกค้าแค่20% ในยุค Online

รูปภาพ
หลายคนคงรู้จัก  " หลักการ พาเรโต " หรือกฎ 20/80ซึ่งคิดค้นโดย  " วิลเฟรโด  พาเรโต  "  ตั้งแต่ ในปี ค.ศ. 1895 แต่หลายคนนำมาใช้ในยุคนี้ในความหมายที่ผิดพลาดอย่างน่าเสียดาย เมื่อยุคทองของ internet และ Social media เกิดขึ้น บางมุมของหลักการพาเรโตน่าจะนำมาปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย   ได้เจอบทความนี้จึงอยากนำมาแชร์ต่อให้ความเข้าใจกับเพื่อนๆนักธุรกิจครับ  "กลยุทธ์หางยาว"  Long Tail Strategy    -- วันนี้คุณกำลังตัดลูกค้าทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย อยู่หรือเปล่า!!! กฎ 80/20 ที่ว่า “ ยอดขาย 80% มาจากลูกค้าชั้นดีเพียงแค่ 20%” ทำให้ตัดลูกค้าทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย จากที่เคยกล่าวถึงเกี่ยวกับ  “ กฎของพาเรโต ” หรือที่เรียกกันว่า “ กฎ 80/20” ที่นำมาใช้กับโลกธุรกิจนั้น มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า  “ ยอดขาย 80% มาจากลูกค้าชั้นดีเพียงแค่ 20%” ดังนั้นทฤษฎีการตลาดสมัยใหม่ที่มีรากฐานอยู่บนแนวคิดนี้จึงเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้าชั้นดี เราให้การเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เพื่อที่จะสร้างกลไกซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นให้ลูกค้าชั้นดีดังกล่าวซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำนั่นเอง ไม่ว่าจะด้วยระบบ CR