ธุรกิจธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียม แล้วเกี่ยวอะไรจากผู้ประกอบการ SME (2)

ตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคของการใช้  Cashless society  คือการที่ทุกธนาคารใหญ่บุกมาสร้างกระเป๋าเงินออนไลน์ผ่าน Application ของธนาคารและชวนลูกค้ามาใช้บริการ ด้วยการยกเลิกค่าธรรมเนียมที่ทำผ่านช่องทางออนไลน์   ธนาคารก็เข้าสู่ยุค Data Driven อย่างที่เค้าบอกว่า ในยุคใหม่ Data is the new oil เมื่อมีข้อมูลมากก็สร้างประโยชน์ได้มาก โดยเฉพาะประโยชน์จากข้อมูลเพื่อให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น


การยกเลิกค่าธรรมเนียมทางช่องทางดิจิตอลนี้ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศเดินไปสู่สังคมไร้เงินสด ดีต่อประเทศหลายๆด้านแน่นอน แม้จะยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่เชื่อว่า ในปีนี้พฤติกรรมลูกค้าก็จะเปลี่ยนไป ใช้ช่องทางดิจิตอลรับชำระเงินมากขึ้นแน่นอน จากเดิม ถอนเงินสดไปจ่ายใช้บริการต่างๆ ตั้งแต่  เติมเงินมือถือ จ่ายค่าโทรศัพท์ จ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าบัตรเครดิต ค่าเทอมลูก ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ค่าประกัน ค่าตั๋วหนัง ค่าคาราโอเกะ ค่าตั๋วเครื่องบิน ที่จอดรถ ค่ายา ค่าหมอ ค่าทำฟัน  เปลี่ยนมาใช้การจ่ายด้วย QR Code สำหรับบิลเล็กๆ หรือจ่ายด้วยบัตรเครดิตสำหรับรายการใหญ่ๆ 

สำหรับธุรกิจ SME จะปรับตัวรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคอย่างไรบ้างขอแนะนำแนวทางดังนี้

1.ปรับระบบการรับชำระเงิน ให้หลากหลายตามกลุ่มของลูกค้า
รับชำระด้วย QR Code  อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ไม่พกเงินสด ชำระได้ตรงจากบัญชี และร้านค้าก็ไม่เสียค่าธรรมเนียม การรับชำระด้วย

รับชำระด้วย EDC หรือเครื่องรูดบัตรเครดิต เมื่อก่อนการขอเครื่องรูดบัตรเครดิตยุ่งยากมาก เพราะค่าใช้จ่ายสูงธนาคารต้องมั่นใจว่ารับเครื่องไปจะมีการรับชำระในจำนวนเยอะ แต่เดียวนี้มีเครื่องรุ่นใหม่ๆราคาถูก ที่แต่ละธนาคารนำมาให้บริการ เช่น M POS เป็นตัวรูดบัตรเครดิตอ่านชิปการ์ดเชื่อมกับโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องมีค่ารูดขั้นต่ำต่อเดือน / Mini EDC เป็นเครื่องรูดบัตรที่มีหน้าจอแสดง QR Code ได้รองรับการชำระบัตรเครดิต และ QR Code ในเครื่องเดียว
MINI EDC KBank สร้าง QR CODE ได้

รับชำระเงิน AliPay และ Wechat pay การมาของนักท่องเที่ยวจีนที่คุ้นชินกับการชำระด้วย กระเป๋าเงินออนไลน์  ธนาคารในประเทศหลายแห่งอาทิ KBank สร้าง Application KPlus Shop ให้ร้านค้าสร้าง QR Code รับชำระเงินและยังเชื่อมต่อกับ Alipay และ wechat pay ได้ด้วย ในที่เดียว

2.การตลาดดิจิตอลเชื่อมออนไลน์ออฟไลน์ 
นอกจากการขายผ่านหน้าร้านแล้ว การขายผ่านออนไลน์เป็นอีกเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมาก แต่การรับชำระด้วยบัตรเครดิต ร้านค้ารายย่อยขอใช้บริการยาก และลูกค้าอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีบัตรเครดิต  การที่ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนจะช่วยให้การค้าออนไลน์คล่องขึ้น  และปัจจุบันยังมีวิธีอำนวยความสะดวกลูกค้าไม่ต้องมาพิมพ์เลขบัญชีและจำนวนเงินเอง แต่ละธนาคารมี บริการเรียกเก็บเงิน (Request to Pay) ส่งไปยังลูกค้าได้เลย ลูกค้าไม่ต้องกรอกเลขที่บัญชี ลดการผิดพลาดและความยุ่งยากในการใส่เลขที่บัญชีไปได้

การใช้เครื่องรูดบัตรเครดิต และ QR Code ช่วยรับชำระเงินเมื่อผู้สั่งซื้อของออนไลน์แล้วอยากจ่ายตอนได้รับของหรือที่เรียกว่า บริการ Cash on delivery COD เจ้าของร้านมักกลัวพนักงานส่งของไม่นำเงินมาคืน การใช้ เครื่อง Mobile EDC หรือ QR Code เป็นอีกวิธีที่ป้องกันปัญหาการรับเงินสดได้
และในอนาคต ธนาคารต่างๆจะเริ่มสร้าง Marketplace ให้ร้านค้าที่ใช้ QR Code มาประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลกิจการ หรือ การแสดงตำแหน่งร้านค้าให้ลูกค้าหาได้ง่ายๆจากมือถือ ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดการตลาดได้

3.การรักษาความสัมพันธ์ลูกค้า
เมื่อมีการซื้อขายกันแล้วการรักษาความสัมพันธ์ลูกค้า การชวนลูกค้าให้มาซื้อซ้ำ การสะสมแต้มเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อซ้ำ เหมือนร้านกาแฟ ที่ซื้อ 10 แก้ว ฟรี 1 แก้ว แต่ปัจจุบันลูกค้าคงไม่อยากพกบัตรอะไรมากมายในกระเป๋า ทำบัตรสะสมแต้มใน Application ที่อยู่ในมือถือลูกค้า เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันร้านเล็กๆก็สามารถสร้างบัตรสะสมแต้มได้ ง่ายๆ อาทิ การทำบัตรสะสมแต้มใน Line@ และ KPlus shop ของธนาคารกสิกรไทย

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตาม ดังนั้นธุรกิจต่างๆต้องมองหาโอกาสในการพัฒนาให้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้ตกกระแสและรักษาโอกาสในการแข่งขันต่อไป



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน