คาถาการทำธุรกิจSME ปี2559


สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 นั้น แม้จะคาดว่า กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆน่าจะสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้สอดคล้องกันมากขึ้น โดยมีแรงหนุนจากการลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมีมุมมองเชิงระมัดระวัง และประเมินกรอบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2559 ในเบื้องต้นไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.5-3.5 (ค่ากลางกรณีพื้นฐานที่ร้อยละ 3.0) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้


- การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ อาจขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2559 ผ่านการใช้จ่ายและแรงกระตุ้นในส่วนที่มาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความต่อเนื่องของการเร่งเบิกจ่ายเม็ด( หลายหน่วยงานตั้งเป้าใช้จ่าย 70%ในสองไตรมาสแรก ตั้งแต่ ต.ค.58-  มี.ค.59)  เงินจากงบประมาณ และการลงทุนในโครงการต่อเนื่องต่างๆ ของภาครัฐ นอกจากนีhคาดว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะมอร์เตอร์เวย์และรถไฟทางคู่บางเส้นทาง ตลอดจนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ก็น่าจะสามารถเริ่มดาเนินการได้ในปี 2559 ซึ่งสัญญาณบวกในส่วนนี้นอกจากจะช่วยเสริมจังหวะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีภาพที่ชัดเจนขึ้นในปี 2559 แล้วยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยหนุนให้บรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศในส่วนอื่นๆ ทยอยฟื้นตัวขึ้นตามมาตามลำดับ
- แนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกในปี 2559 อาจจะยังอยู่ในกรอบที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (โดยเฉพาะจีน และคู่ค้าสำคัญอื่นๆ ในเอเชีย) และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมัน) ยังคงเปราะบาง ประกอบกับสินค้าส่งออกในหลายหมวด อาทิ ในกลุ่มสินค้าเกษตร ก็ยังคงต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่เข้มข้นจากประเทศคู่แข่ง และข้อจากัดเชิงโครงสร้างของภาคการผลิต ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องตามโจทย์ความต้องการในตลาดโลก
- ทิศทางการบริโภคภาคเอกชนในปี 2559 อาจขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียง หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสถานการณ์การบริโภคในปี 2558 เนื่องจากมองว่า ครัวเรือนในหลายๆ ส่วนจะยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ท่ามกลางภาระค่าใช้จ่ายและหนีสิ้นที่อาจจะยังไม่ลดน้อยลง ขณะที่สถานการณ์ด้านรายได้ก็อาจจะยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมาก นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งที่ลากยาวข้ามปี จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันผลผลิตและรายได้ในภาคการเกษตร ด้วยเช่นกัน
ประเด็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในปี 2559 ประกอบด้วย
1) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีนัยต่อเนื่องต่อภาคการส่งออกของไทย เพราะจีนเป็นทั้งคู่ค้าสำคัญและเป็นตัวแปรหลักที่จะมีผลต่อการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกและราคาสินค้าส่งออกของไทย
2) สถานการณ์ภัยแล้งภายในประเทศ ซึ่งระดับความรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้น หากช่วงฤดูฝนมาล่าช้ากว่าช่วงเวลาปกติ เนื่องจากระดับน้ำในเขื่อนหลักสาหรับจัดสรรในช่วงฤดูแล้ง(ระหว่างเดือนพ.ย. 2558-เม.ย. 2559) มีปริมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหลายปี ก่อนหน้านี้และ 3) ความผันผวนของอัตราแลกเปลยี่ น ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นภาพที่สวนทางกับการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางชั้นนำแห่งอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางจีน และธนาคารกลางญี่ปุ่น

สรุปคาดการณ์ปี 2559 ธุรกิจไทย ยังเหนื่อย แต่ยังไหวอยู่

เจ้าของธุรกิจควรท่องคาถานี้ให้แม่น
  1. กระจายความเสี่ยงเรื่องตลาด มีลูกค้าหลายกลุ่มเพื่อรองรับการขาย  
  2. มีความรู้เรื่องการเงินสด เพื่อไม่ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์
  3. ให้ความสำคัญกับเรื่องการเงินและเรื่องบัญชี อย่าคิดว่ามีพนักงานทำบัญชีแล้วจะไม่ดูเรื่องเงิน
  4. บริหารต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดแล้วลดอีกให้ได้ 
  5. สร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจ เพราะเครือข่ายจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเดินต่อไปอย่างไม่สะดุด
  6. คิด Product Innovation ที่ตลาดต้องการ  เพราะการมี Innovation แต่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด สินค้าก็ขายไม่ได้
  7. อย่าหลบเลี่ยงภาษี เพราะเห็นแก่กำไรฉาบฉวย เพราะจะทำให้ SME เติบโตยาก

เพราะเครือข่ายธุรกิจสำคัญเสมอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน