มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี SME ของธนาคารต่างๆ ช่วยเต็มที่ ไม่มีหุบร่ม

มักมีคนกล่าวหาธนาคารว่า

ธนาคารคือ คนที่เอาร่มมาให้เราตอนที่ฝนไม่ตก แต่พอฝนจะตกรีบมาเอาร่มคืน

จากประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงธนาคารมานานในยุคที่มีการแข่งขันกันดุเดือนที่สุดขออยากบอกว่า ไม่จริงเสมอไป ธนาคารดีๆหลายแห่ง พร้อมร่วมมือกันช่วยเหลือเมื่อภัยมา วันนี้เลยขอรวบรวมข้อมูลการช่วยเหลือของธนาคารต่างๆมาให้ได้ชมกันครับ

รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า สินเชื่อเอสเอ็มอี ซึ่งมีสัดส่วน 37.8% ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 11.75 จากที่เคยขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่อง 2-3 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ธนาคารต่างๆได้ออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีมากมายมาลองดูกันนะครับ

เครดิตรูปภาพประกอบจาก NOW26 ช่องรายการธุรกิจคุณภาพจากเครือเนชั่น


มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME ธนาคารกสิกรไทย (แถลงข่าว วันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557)
ขอรับมาตรการช่วยเหลือจาก KBank คลิ๊ก http://www.kasikornbank.com/TH/SME/Pages/assistance_measures_for_SME_customers.aspx 
    นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ปลายที่ปีแล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจติดลบ การลงทุนชะลอตัว ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของประชาชนลดลง ทำให้เอสเอ็มอีมีรายได้ลดลงกว่า 40% หลายรายมีความเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่อง เนื่องจากไม่มีกระแสเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ให้คำปรึกษาและพิจารณาช่วยเหลือแก่เอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบตามความจำเป็นของแต่ละราย
          อย่างไรก็ตาม จากปัญหาที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ทำให้เอสเอ็มอี 3 กลุ่ม คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรงเป็นวงกว้าง เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศลดลงเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย การลงทุนของภาครัฐและเอกชนชะลอตัวลง อีกทั้งชาวนาได้รับเงินจากการขายข้าวล่าช้ากว่ากำหนด โดยธนาคารกสิกรไทยมีฐานลูกค้าเอสเอ็มอีใน 3 กลุ่มดังกล่าวประมาณ 19,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินเร่งด่วน เพราะเป็นกลุ่มที่มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเทียบกับภาระหนี้ที่มีกับธนาคารอยู่ในสัดส่วนที่สูง ประมาณ 15,000 ราย
          ดังนั้นธนาคารกสิกรไทย จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่เอสเอ็มอีทั้ง 3 กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนด้วยการลดดอกเบี้ยวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (โอดี) ทุกรายทันที 3% เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่  1 มิถุนายน-31 สิงหาคมนี้ และพักชำระหนี้เงินต้นเป็นเวลา 6 เดือนให้กับลูกค้าในกลุ่มนี้ นอกจากนี้ธนาคารยังได้เตรียมวงเงินกู้อีก 75,000 ล้านบาทเพื่อปล่อยกู้ใหม่ให้เอสเอ็มอีอื่นที่ได้รับผลกระทบและต้องการเงินลงทุนหรือวงเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
          มาตรการช่วยเหลือด้วยการลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 3% และพักชำระหนี้เงินต้นนาน 6 เดือน จะทำให้ลูกค้าใน 3 กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนมีเงินเพิ่มขึ้นต่อเดือนราว 55% จากภาระหนี้ของธนาคารที่ลดลง ซึ่งลูกค้าสามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวไปหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจได้มากขึ้น

นายพัชร กล่าวทิ้งท้ายว่า มาตรการช่วยเหลือในครั้งนี้ ธนาคารเชื่อว่าจะช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้โดยไม่กระทบกับกำไรของผู้ถือหุ้นเพราะธนาคารจะบริหารจัดการด้วยการลดค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ของธนาคารทดแทน

มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME  ธนาคารภาครัฐ

แบงก์รัฐเข็นมาตรการเร่งด่วนกู้ชีพเอสเอ็มอี หวังปลุกเศรษฐกิจครึ่งปีหลังกระเตื้อง "ออมสิน" มาแรงชงแพ็กเกจ "10 : 10 : 10" ปล่อยสินเชื่อ 10 ล้าน/ราย วงเงิน 2 หมื่นล้าน ฟาก "เอสเอ็มอีแบงก์" ให้ลูกค้าพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ขณะที่ บสย.ขน 5 มาตรการต่อลมหายใจ

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ได้มีการหารือกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และมีนโยบายที่ให้ช่วยเหลือสภาพคล่อง

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นการเร่งด่วนนั้น ขณะนี้คลังได้รวบรวมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและรากหญ้าของ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) เสนอให้ คสช.เรียบร้อยแล้ว หากได้รับการอนุมัติก็สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันทีตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป เพื่อให้มีผลต่อเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง

"แต่ละ แบงก์มีเป้าหมายอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมาปล่อยสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งโครงการที่เสนอมาจะระบุชัดเจนว่าหลังจากนี้จะปล่อยสินเชื่อได้เท่าไหร่" นายสมชัยกล่าว

มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME ออมสิน ชงสูตร 10-10-10

นายธัชพล กาญจนกูล รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส กลุ่มลงทุนและบริหารเงิน รักษาการแทนผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารอยู่ระหว่างจัดทำมาตรการช่วยเหลือรายย่อยและเอสเอ็มอี ซึ่งอยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคาร คือ "10 ล้าน 10 ปี 10 วัน" เป็นโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อยรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 10 ปี และจะใช้เวลาพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ หลังยื่นเอกสารเรียบร้อยแล้วภายใน 10 วัน

เบื้องต้นจะปล่อยสินเชื่อ ให้ลูกค้ารายย่อยและเอสเอ็มอีเฉลี่ยรายละ 2 ล้านบาท พร้อมเตรียมสภาพคล่องไว้รองรับการโครงการดังกล่าว 20,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากมีผู้สนใจเกินวงเงินที่ตั้งไว้ ธนาคารก็สามารถเพิ่มวงเงินได้อีก เพราะสภาพคล่องส่วนเกินยังมีอีกเหลือเฟือ ซึ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาก็ต้องอนุโลมบ้าง เพื่อให้รายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะ เข้าบอร์ดภายในสัปดาห์หน้า (2-6 มิ.ย.) โดยจะกำหนดให้ยื่นเอกสารขอสินเชื่อภายในสิ้นเดือน ก.ค. 2557 และคาดว่าจะส่งเงินเข้าสู่ระบบได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้

มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME ธนาคารอิสลาม
ไอแบงก์ฉีด 1.48 หมื่นล้าน

ด้าน นายครรชิต สิงห์สุวรรณ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ กล่าวว่า ได้เสนอ 4 มาตรการเร่งด่วนให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ทุกภาคส่วนโดยเร็ว ในวงเงินรวมกว่า 14,850 ล้านบาท มาตรการแรกคือ เร่งรัดอนุมัติสินเชื่อใหม่ที่คงค้างตั้งแต่ต้นปี 2557 ประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นทั้งสินเชื่อรายย่อย เอสเอ็มอี และรายใหญ่ ด้านที่สอง ปล่อยสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน หนี้อเนกประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งให้รายย่อยโดยตรง วงเงินปล่อยกู้ไว้ 800 ล้านบาท

มาตรการที่สาม วงเงิน 1,050 ล้านบาท เป็นสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายรัฐเดิม อาทิ สินเชื่อเพื่อหาบเร่แผงลอย อาชีพอิสระ สินเชื่อเพื่อนำไปรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบ สินเชื่อที่เกี่ยวกับการแต่งกายมุสลิม สินเชื่อกับโรงเรียนในเขตจังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น และสี่ เร่งรัดปล่อยสินเชื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพ SMEs ในอุตสาหกรรมฮาลาล วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท

มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME ธนาคารเอสเอ็มอี เปิดพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน

แหล่ง ข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า ธพว.ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าของธนาคาร โดยเปิดให้ลูกหนี้ที่ขาดชำระในช่วง 1-3 เดือน ยื่นความจำนงเข้าร่วม "มาตรการพักชำระหนี้เงินต้น" สำหรับลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการชุมนุมทางการ เมือง ซึ่งจะได้รับการพักชำระเงินต้น 6 เดือน (นับรวมกับช่วงเวลาที่ขาดชำระ) โดยจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย มูลหนี้ส่วนนี้มีทั้งสิ้นประมาณ 500 ล้านบาท จำนวนลูกหนี้ 500-600 ราย โดยจะเปิดให้ยื่นเรื่องขอเข้าร่วมโครงการได้จนถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้

มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME บสย.ขน 5 มาตรการต่อลมหายใจ

ขณะ ที่นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ได้จัดทำ 5 มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือเอสเอ็มอี ประกอบด้วย
 1) ช่วยเหลือลูกค้าเดิม 8 หมื่นราย ที่ปัจจุบันมียอดค้ำสินเชื่อคงค้าง 2.5 แสนล้านบาท จะได้รับการพักชำระค่าธรรมเนียม 1.75% นาน 6 เดือน
 2) โครงการค้ำประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สนับสนุนเงินค่าธรรมเนียมในปีแรกให้กับลูกค้าวงเงิน 262.50 ล้านบาท
 3) โครงการค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท ผ่านโครงการ PGS-5 ซึ่งขอให้รัฐจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันปีแรกแทนผู้ประกอบการ โดยใช้งบประมาณ 962.50 ล้านบาท
4) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย วงเงิน 5,000 ล้านบาท เสนอขอให้รัฐสนับสนุนงบประมาณ วงเงิน 1,150 ล้านบาท และ
5) โครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ OTOP วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่ง บสย.เสนอขอรัฐสนับสนุนงบประมาณ 1,600 ล้านบาท ทั้งนี้ 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค.) บสย.มียอดค้ำประกันสินเชื่อใหม่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 50% เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อลดลง จากปกติ 4-5 แสนล้านบาท แต่ปีนี้มีเพียงหลักหมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ มีรายงานว่ากระทรวงการคลังและสมาคมธนาคารไทยอยู่ระหว่างเจรจากับบรรษัทการ เงินระหว่างประเทศ (IFC) ในการเข้ามาช่วยเพิ่มระดับการค้ำประกันความสูญเสียสูงสุด จากปัจจุบันที่ บสย.ค้ำประกันอยู่ 18% เพิ่มเป็น 50% ของสินเชื่อ ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์กล้าปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้มาก ขึ้น โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือน มิ.ย.นี้

มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME สสว.งัด 8 มาตรการช่วยเหลือ

ด้าน นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า เตรียมนำมาตรการเกี่ยวกับการช่วยเหลือ แก้ไขเหตุวิกฤต รวมทั้งป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับ SMEs ต่อ คสช.ในวันจันทร์นี้ โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ออกมาตรการช่วยเหลือใน 3 ด้านหลัก คือ ในด้านการเงิน การตลาด และการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ประกอบด้วย 8 โครงการ วงเงินงบประมาณ 12,783.70 ล้านบาท โครงการที่สามารถปฏิบัติได้เลย ได้แก่ โครงการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ บสย.ให้กับผู้ประกอบการจำนวน 5,000 ราย วงเงินงบประมาณ 262.8 ล้านบาท และโครงการ SMEs Restart เพื่อเสริมสภาพคล่องและลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายธนาคาร โดยร่วมกับ ธพว., ธนาคารออมสิน และกรุงไทย ชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ SMEs ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี วงเงิน 1 ล้านบาทต่อราย จำนวน 10,000 ราย เป็นเวลา 3 ปี วงเงินงบประมาณ 800 ล้านบาท


นาย พัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า กรณีที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ขอเบิกเงินเกินบัญชี (O/D) ซึ่งที่ผ่านมาได้ขยายเต็มเพดานแล้ว และต้องการขอเพิ่มนั้น กลุ่มนี้ดูแลลำบาก เนื่องจากการขอโอ/ดีเต็มเพดานอาจเกิดทั้งจากขายของเยอะมาก หรืออาจขายของไม่ได้เลยจนสภาพคล่องไม่มี ดังนั้นธนาคารจึงต้องเข้าไปดูและสนับสนุนเป็นรายกรณี ซึ่งเบื้องต้น หากลูกค้าขาดสภาพคล่อง แบงก์จะเปิดวงเงินระยะสั้น 2-3 เดือน เพื่อให้พอมีสภาพคล่องหมุนเวียน และหากธุรกิจเข้าสู่ภาวะปกติก็ค่อยเปิดวงเงินโอ/ดีใหม่

ส่วนมาตรการ ช่วยเหลือเอสเอ็มอีอื่น ๆ นอกจากพักชำระเงินต้น ให้ลูกค้าสามารถผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยนาน 3-6 เดือน หรือยืดหนี้ 6 เดือนแล้ว ธนาคารยังพิจารณายืดหนี้ต่อให้เป็น 1 ปี อย่างไรก็ตาม ในต้นเดือน มิ.ย.จะมีมาตรการอื่น ๆ ออกมาช่วยเรื่องดอกเบี้ย สภาพคล่อง เป็นต้น

มาตรการช่วยเหลือสินเชื่อ SME ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

นาย จิรัชยุติ์ อัมยงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ออกแพ็กเกจช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีทั้งที่ได้รับผลกระทบทางตรงและ ทางอ้อม โดยผู้ที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีการชุมนุมทางการเมือง หากสภาพคล่องถูกกระทบไม่น้อยกว่า 30% ธนาคารจะมีแพ็กเกจช่วยเหลือ เช่น ชำระดอกเบี้ยเพียงบางส่วน การยืดระยะเวลาชำระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ให้ เป็นต้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน