มิตรแท้โชห่วย (​ Makro ) มาอยู่รวมกับศัตรูสำคัญของโชห่วย (CP ALL) ได้ยังไง

วันนี้ 23-4-56  วันเลขสวยวันก้าวหน้า เป็นวันที่ประกาศดีลการซื้อธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย คือ ซีพีออลล์  CP All ประกาศซื้อ สยามแม็คโคร Makro ในราคาหุ้นละ 787 บาทต่อหุ้น
สูงกว่าราคาตลาด 682 บาทต่อหุ้น ถึง 17% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 189,000 ล้านบาท การขาย Makro มีข่าวมานานตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งผู้สนใจซื้อมีตั้งแต่ คุณเจริญ,เซ็นทรัล แต่ไม่มีข่าวเรื่อง CP จะซื้อ แหล่งข่าวบอกว่าการเจรจาใช้เวลาเพียงแค่ 10 วันและบินไปเซ็นต์สัญญากันที่ฮ่องกง เมื่อเรียบร้อยแล้วบินกลับมาแถลงข่าวที่เมืองไทยทันที

ข้อมูลธุรกิจของ Makro ในมุมที่น่ารู้จัก

  • Makro เป็นธุรกิจจำหน่ายสินค้าด้วยเงินสด ลูกค้าบริการตนเอง Cash and Carry 
  • ปัจจุบันมี 57 สาขา ตั้งแต่เปิดสาขามาไม่เคยปิดลงไปเลยแม้สาขาเดียว ( อ่านเพิ่มเติม กลยุทธ์การเปิดสาขา ของ Makro )
  • ยอดขายรวมต่อปี 100,000 ล้านบาท เป็นหนึ่งใน4ยักษ์ค้าปลีกค้าส่งของเมืองไทย  (อันดับที่1 7-11 ยอดขาย 150,000  ล้านบาทต่อปี ,อันดับที่2 เทสโกโลตัส ยอดขาย 148,000  ล้านบาทต่อปี ,อันดับที่3 BigC ยอดขาย 121,000  ล้านบาทต่อปี)
  • กลุ่มลูกค้าหลัก แม็คโคร คือผู้ประกอบการร้านค้าปลีก หรือโชห่วย และ กลุ่ม HoReCa = Hotel Restaurant Catering
  • กลยุทธสำคัญที่ใช้ในการมัดใจลูกค้าคือ Markro LoveMark ( อ่านเพิ่มเติม แม็คโคร มุ่งมั่นเพื่อเป็นที่1ในใจคุณ จับมือ KBank ช่วยเต็มที่ Makro Love Mark )
  • ในแต่ละสาขา Makro จะมีเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ ไปคอยดูแลลูกค้าในพื้นที่ช่วยดูการจัดร้านการจัดการใน
จากการวิเคราะห์เหตุผลที่ได้มีการแถลงข่าวไปบวกกับฐานความรู้ที่มีพอจะให้เหตุผลของการซื้อแม็คโครได้ดังนี้
  • แม็คโครไม่ใช่ใครอื่นเป็นเสมือนพี่ชายพ่อเดียวกันของเซเว่นอีเลเว่น คุณธนินทร์ เป็นคนเลือกนำเข้ามาในเมืองไทยเพื่อสร้างช่องทางจัดจำหน่ายให้กับเครือซีพี การขายออกไปเพื่อรักษาชีวิตครอบครัวไว้ตอนปี40 ทำให้จิกซอร์ยังไม่สมบูรณ์เมื่อมีโอกาสก็ซื้อกลับเข้ามาอยู่ในครอบครัว
  • แม็คโครเป็นธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดเข้ามาได้ดีมากๆ คล้ายเซเว่นอีเลเว่น ลูกค้าซื้อของด้วยเงินสด แม้จะมีรับบัตรเครดิต แต่ก็จำกัดเฉพาะบัตรของMakroเอง
  • ที่ตั้งสาขาที่ีมีศักยภาพ ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่าเสี่ยเจริญอยากจะซื้อเพราะชอบที่ทำเล แมคโครมี 57 สาขา มีถึง 53 สาขาที่เป็นพื้นที่ของตัวเอง
  • การเจรจาดีลนี้ใช้เวลาแค่ 10 วัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ข่าวว่า TCC สนใจจะซื้อแต่เจรจาไม่เป็นผล ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหาร Makro กับ CP รู้จักกันดีอยู่แล้ว
  • องค์ความรู้ที่จะได้รับการถ่ายทอดจาก Makro ทำให้CP ได้รูปแบบการบริหารที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าเหมาะกับประเทศไทย สยามแม็คโครเป็น Makro ที่เหลืออยู่ไม่กี่ประเทศและทีมบริหารเป็นคนไทยเกือบทั้งหมด
  • เงื่อนไขการซื้อ สยามแมคโคร ไม่ได้มาแค่สิทธิการทำ Makro ในประเทศไทยแต่ได้ทั้งอาเซียน
  • ขนาดของ Makro เหมาะกับการขยายไปเปิดในต่างประเทศ เพราะหากจะใช้ 7-11 ไปเปิดตลาดต่างประเทศต้องใช้เวลานานกว่าจะตั้งตัวได้
  • จำนวนลูกค้า Makro กว่า 600,000 รายที่เป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นลูกค้าสำคัญในธุรกิจอาหารของซีพี
  • กลยุทธ์ มิตรแท้โชห่วย และ Love mark เป็นกลยุทธ์ที่สร้างพันธมิตรเชิงลึกในการเติมเต็มธุรกิจให้ลูกค้าซึ่งกันและกัน ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างนาน ทั้ง Makro KBank  AIS เมืองไทยประกันชีวิต
    ลูกค้าแม็คโครได้รับการพิจารณาสินเชื่อพิเศษจากธนาคารกสิกรไทย เป็นกรณีศึกษาที่ดีในการทำ Partnership CRM

จะเห็นได้ว่า CP ซื้อแม็คโคร จึงไม่ใช้เรื่องแปลก แต่ที่แปลกอย่างเดียวคือ Makro ทำไมจึงอยากขาย และ CP ทำไมจึงยอมซื้อด้วยราคาที่แพงขนาดนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน