ถอดบทเรียน 13 ข้อ จาก สุทธิชัย-บัณฑูร “What would Steve Jobs do with AEC?" ถ้าวันนี้ สตีฟจ็อบส์ ยังอยู่โลกเออีซีในมุมมองของเขาจะเป็นอย่างไร มอง เออีซีทะลุมิติกับ สองกูรูเมืองไทย



ครีเอทีฟทอล์กโชว์ 'สุทธิชัย-บัญฑูรถอด13 บทเรียน'สตีฟ จ็อบส์'กับการเตรียมพร้อมรับเออีซี 'พร้อมยก'ทฤษฎีกบต้ม'เตือนเอกชนไทย


สุทธิชัย-บัณฑูร กับบทบาทใหม่ ครีเอทีฟทอล์คโชว์

รุป 13 บทเรียน Steve Jobs ถ่ายทอดโดย สุทธิชัย-บัณฑูร

  1. Focus  มุ่งมั่นแน่วแน่
  2. Simplify ทำให้ง่าย
  3. Take Responsibility End to End รับผิดชอบและเอาใจใส่ตั้งแต่ต้นจนจบ
  4. Put product before profit คุณภาพสินค้าที่ดีมาก่อน
  5. Don't be slave to focus group คำตอบอยู่ในหัวมากกว่าการทำวิจัย
  6. Bend reality อย่าบอกว่าทำไม่ได้
  7. Impute ผู้บริหารมีทิพยญาณเห็นความสำเร็จ
  8. Push for Perfection งานต้องสมบูรณ์แบบพลาดไม่ได้
  9. Toterate only "A" Player ร่วมทีมกับผู้ร่วมงานเกรดเอ
  10. Engate Face to face พูดคุยแก้ปัญหาแบบตัวต่อตัว
  11. Know Big picture and the details รู้ลึกทั้งภาพใหญ่ภาพละเอียด
  12. Combine the humanities with the science ประสาน ศาสตร์​ และ ศิลป์ ให้ลงตัว
  13. Stay Hungry ,Stay Foolish หิวกระหายความสำเร็จและพร้อมพัฒนาคน     
วีดีโองานสัมมนา  ทอล์คโชว์ What would Steve Jobs do with AEC?
มองเออีซีทะลุมิติ กับ 2 กูรูเมืองไทย 
บัณฑูร ล่ำซำ สุทธิชัย หยุ่น ตอนที่ 1 


ทอล์คโชว์ What would Steve Jobs do with AEC?
มองเออีซีทะลุมิติ กับ 2 กูรูเมืองไทย 
บัณฑูร ล่ำซำ สุทธิชัย หยุ่น  ตอนที่ 2




ทอล์คโชว์ What would Steve Jobs do with AEC?
มองเออีซีทะลุมิติ กับ 2 กูรูเมืองไทย 
บัณฑูร ล่ำซำ สุทธิชัย หยุ่น ตอนที่ 3




ตอนสุดท้าย ของ ทอล์คโชว์ What would Steve Jobs do with AEC?
มองเออีซีทะลุมิติ กับ 2 กูรูเมืองไทย 
บัณฑูร ล่ำซำ สุทธิชัย หยุ่น ตอนที่ 4 





คุ้มค่าการรอคอยกับการแสดงทอล์กโชว์ “What would Steve Jobs do with AEC?” งานทอล์กโชว์ครั้งสำคัญของสองผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารและสื่อสารมวลชนของไทย บัณฑูร-สุทธิชัย จัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อช่วงค่ำวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ท่ามกลางผู้สนใจเข้าร่วมรับชมรับฟังคับคั่งนับพันคน
ทอล์กโชว์ครั้งนี้เป็นการโชว์ "คมคารมปะทะ "คมไอเดียระหว่าง นายสุทธิชัย หยุ่น ประธาน บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป และ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อปรุงแต่งแนวคิดนอกกรอบให้คนไทย โดยเฉพาะนักธุรกิจและผู้นำทุกด้าน ใช้รับมือความผันผวนของโลก ทั้งปรากฏการณ์ "สตีฟ จ็อบส์และการเตรียมพร้อมเปิดรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี)
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคาร กสิกรไทย กล่าวถึงกุญแจความสำเร็จของ "สตีฟ จ็อบส์" ผู้สร้างไอโฟนต่อความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี ว่า บทเรียน 13 ข้อ ที่ไทยสามารถนำมาใช้ได้ 
สิ่งแรกคือ "มีโฟกัส" คือ ต้องมีสมาธิแน่วแน่เพื่อสร้างความคิดให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ด้วยการทำสิ่งที่ไม่เคยมีในโลกมาก่อน เป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจไม่ใช่สร้างจากการวิจัยตลาด ขณะเดียวกันต้องสร้างสินค้าให้ง่ายแต่น่าสนใจ เช่นเดียวกับ ไอโฟนที่ใช้ง่าย แต่กระบวนการก่อนหน้าส่งมอบสินค้าจะมีความยุ่งยากซับซ้อนซ่อนอยู่มาก นั่นคือการผนวกให้ครบระหว่างเทคโนโลยีและความสร้างสรรค์
นอกจากนี้ ต้องมีความรับผิดชอบตั้งแต่ต้นจนจบ หรือ Take responsibility End to End คือ ความเอาใจใส่ ไม่ปล่อยให้อะไรที่ไม่เรียบร้อยหลุดไป คุณสมบัตินี้มักอยู่ในเถ้าแก่ที่ต้องตรวจสอบคุณภาพสินค้าแต่ต้องสร้างสมดุลให้คนอื่นได้ทำบ้าง
การทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบอาจทำให้คนอื่นรู้สึกกลัว แต่ถือเป็นเป้าหมาย เพราะการทำธุรกิจระยะยาว หากสุขเอาเผากินคงไม่สามารถสร้างแบรนด์ให้เกิดขึ้นมาได้
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป กล่าวว่า อีกหนึ่งบทเรียนที่น่านำมาใช้ คือ"ทฤษฎีกบต้มหรือ When Behind Leapfrog ทั้งนี้สัญชาตญาณของกบจะกระโดดออกเมื่อถูกโยนลงน้ำร้อน แต่หากเอากบใส่ในน้ำแล้วปล่อยให้น้ำค่อยๆ ร้อน กบจะเคยชินกับน้ำที่อุ่นจนเดือดและตายในที่สุด
"ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมีความสุขหรือเคยชินกับสภาพปัจจุบันจนไม่ปรับตัว เพราะเมื่อสะสมความล้มเหลวผิดพลาด เราจะตายเพราะสบายกับความอุ่นในที่สุด ซึ่งเมื่อเข้าสู่เออีซีเราไม่ใช่จะเจ๊งทันที แต่จะค่อยๆ โดนดูดหายไปนายสุทธิชัย กล่าว
บัณฑูร กล่าวว่า ความคิดของจ็อบส์ เราไม่ควรแค่จะไล่ให้ทันแต่ต้องกระโดดนำหน้า ต้องมีจินตนาการที่สร้างสรรค์และมีความคิดทำสิ่งใหม่ๆ ในธุรกิจหากอยู่เฉยก็มีคนทำตามได้ตลอดเวลา หากเราไม่พัฒนา และเชื่อว่าน้ำจะแค่อุ่นแต่ไม่เดือดถึงตายได้ ซึ่งความจริงแล้วภูมิต้านทานเราไม่มี ในขณะนี้เราอาจคิดว่าพัฒนากว่า แต่ดูจากสถิติจะพบว่าเราโดนไล่หลังจากหลายประเทศที่กำลังพัฒนา
เขา กล่าวว่า สตีฟ จ็อบส์ จะเลือกใช้ทีม A เท่านั้น โดยไม่มีทีม B หรือ C สำรองไว้ หากใครไม่สามารถทำงานได้ก็ไล่ออกได้ทันที เรื่องนี้ขัดแย้งกับสังคมวัฒนธรรมไทยที่ไม่สามารถทำได้ หรือต้องใช้อย่างระมัดระวัง หากมากเกินไปลูกน้องอาจกบฏได้ การบอกว่าต้องทำให้ได้ ผู้นำต้องชี้ให้ลูกน้องเห็นความจำเป็นของเป้าหมาย และสร้างภาพให้ลูกน้องกล้าบุกเข้าไป ผู้นำเองในความเชื่อของจ็อบส์ต้องมีทิพยญาณรู้ด้วยว่าแผนที่ลูกน้องทำมาจะสำเร็จได้หรือไม่ เป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
"ความพร้อมเข้าสู่เออีซีขณะนี้กระจุกตัวอยู่ที่ผู้ประกอบการไม่กี่ราย แต่เอสเอ็มอียังหาจุดยืนในตลาดไม่ได้ การปรับตัวของเอสเอ็มอีไม่มีกูรู หรือสูตรสำเร็จกำหนด ต้องนำข้อมูลที่มีกลับไปหาจุดยืนของตัวเอง ส่วนภาครัฐหากมองผ่านมุมของ จ็อบส์ หรือให้ จ็อบส์ เป็นผู้นำประเทศ ลูกค้าเขาคือประชาชน ที่ต้องการให้เขาสร้างความอยู่ดีกินดีให้นายบัณฑูร กล่าว

นายสุทธิชัย เล่าว่า เมื่อ 18 ปีก่อน นายบัณฑูรเป็นคนไทยอันดับต้นๆ ที่นำแนวคิดกล้าที่จะทำอะไรนอกกรอบมาใช้ ขณะนั้นสตีฟ จ็อบส์ กำลังถูกไล่ออกจากบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งขึ้น ทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างสตีฟ จ็อบส์ กับนายบัณฑูร ขณะที่อีก 3 ปีข้างหน้าไทยจะเข้าสู่สมาคมอาเซียน จึงคิดว่าแนวคิดของนายบัณฑูรน่าจะเป็นแนวทางให้นักธุรกิจไทยสามารถต่อสู้กับเพื่อนบ้านได้ หลังประตูประชาคมอาเซียนเปิดจึงกลายเป็นที่มาของการทอล์กโชว์ครั้งนี้ น่าสนใจในมุมมองของนายบัณฑูรว่า "คนไทยจะอยู่รอดได้หรือไม่ หลังประตูประชาคมอาเซียนเปิด"
นายบัณฑูรให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ครั้งนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ข่าวสารกว้างไกล ที่ผ่านมาสถานการณ์โลกเกิดความเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะ ทั้งเรื่องโลกาภิวัตน์เมื่อ 20 ปีก่อน จีนเปิดประเทศเมื่อ 10 ปีก่อน เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปกลายเป็นเรื่องปกติของคนไทย แต่มาครั้งนี้เออีซีจะเปิด เท่าที่ติดตามพบว่า คนไทยให้ความสนใจมากขึ้น มีการจัดสัมมนา หรือการเตรียมความพร้อมไว้ค่อนข้างมาก แต่เชื่อว่าธรรมเนียมแบบไทยๆ จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไทยไม่สามารถแข่งขันกับประเทศสมาชิกได้ เพราะคนไทยเราสบายกันจนเคยตัว
นายสุทธิชัยได้ชวนคุย โดยเปรียบเทียบแนวคิดการทำธุรกิจของสตีฟ จ็อบส์ ที่ผลิตสินค้าขึ้นตามจินตนาการโดยไม่ได้สนใจการสำรวจความต้องการของตลาด ผลิตสินค้าขึ้นมาตามจินตนาการล่วงหน้า และแน่วแน่ที่จะทำความคิดของตนให้สำเร็จ ในแนวคิดข้อนี้ หากคนไทยยึดมาปฏิบัติจะสามารถต่อสู้ทางธุรกิจในประชาคมอาเซียนได้หรือไม่
นายบัณฑูรให้ทัศนะว่า เท่าที่พูดคุยกับนักธุรกิจและคนไทย ไม่แน่ใจว่า คนไทยเราจะกล้าทำเช่นนั้นหรือไม่
"เพราะทุกคนกลัวและระวัง เพราะหลังประชาคมอาเซียนเริ่มขึ้น ตลาดจะกว้าง คู่แข่งจะมาก อยากให้คนไทยเราสู้ และให้คิดอย่างสตีฟ จ็อบส์ คือการผลิตสินค้าอะไรออกไปนั้นจะต้องคำนึงถึงความง่าย มุ่งสินค้าที่เป็นตัวของตัวเอง คนเห็นแล้วอยากได้ อยากใช้"
นายบัณฑูรย้ำว่า ที่สำคัญคือ คุณภาพต้องเป็นที่ติดใจ ทุกอย่างที่ทำขึ้นสิ่งที่สำคัญสุดคือต้องใช้ง่าย ขณะที่ธุรกิจธนาคารก็เหมือนกัน การจะแข่งขันกับคู่แข่งได้ คืองานบริการจะต้องเป็นเรื่องง่ายที่ใครก็เข้าถึงได้
นายสุทธิชัยยกตัวอย่างไอโฟน และไอแพด ที่ไม่มีปุ่มเปิด-ปิด ตามหลักแนวคิดที่สตีฟ จ็อบส์ นึกได้จากคำถาม "ตายแล้วไปไหนเป็นที่มาของ "ความคิดเกิดง่าย ตายง่ายขณะปฏิบัติตนตามวิถีเซน ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าของแอปเปิล ที่ปิดตัวทันทีที่วางไว้เฉย และเปิดทันทีที่มีการสัมผัส
นายบัณฑูร กล่าวว่า หากจะถอดประสบการณ์จากการทำธุรกิจของสตีฟ จ็อบส์ จะเห็นได้ว่า หลักคิดคือความเรียบง่าย หัวใจของการทำธุรกิจคือ การเอาใจใส่ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และทุกอย่างต้องยึดกฎความสมดุล และต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องเพียรพยายาม ต้องจินตนาการในสิ่งที่ไม่มี ทำขึ้นมาแล้วต้องโดนใจ
ที่สำคัญต้องสามารถต่อสู้แข่งขันกับคู่แข่งได้ ที่สำคัญคือการจะผลิตสินค้าออกมานั้น จะต้องเน้นเรื่องคุณภาพมาก่อนกำไร สิ่งที่คิดจะต้องตอบสนองความต้องการของตลาดได้ การทำธุรกิจจะต้องไม่สุกเอาเผากิน ต้องเน้นคุณภาพ เพราะชื่อเสียงสำคัญในระยะยาว


*หมายเหตุ ข้อมูลบางส่วนได้รับจากการส่งต่อจากe mailหากทราบที่มารบกวนแจ้งด้วยครับเพื่อเป็นการเคารพสิทธิเจ้าของบทความ เบื้องต้นวีดีโอข่าวจากเวปกรุงเทพธุรกิจ และคลิปจากKBank_PR

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน