AEC Move KBank เปิด Business Model พร้อมสนับสนุนลูกค้า AEC+จีน+เกาหลี+ญี่ปุ่น

หลังจากที่ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่ AEC ของ8หน่วยงานพันธมิตร ความเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมเริ่มเห็นได้ชัดขึ้น

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เป็นเจ้าภาพหลักดำเนินโครงการ
“SMEs Roadmap : เปิดแนวรุกบุก AEC”
พาผู้ประกอบการเขียนแผนเตรียมความพร้อม และ Roadmap โดยมีเป้าหมายทั้งสิ้น 8,000 กิจการ
สมัครและดาวโหลด ใบสมัคร กำหนดการ ใบสมัคร และตัวอย่างการเขียน Road map Road Mao AEC by DIP
ธนาคารกสิกรไทยก็ได้ประกาศรูปแบบธุรกิจเพื่อสนับสนุนSME ให้เข้าสู่AEC โดยให้สัมภาษณ์พิเศษกับ logistics2day

Link เกี่ยวข้อง
KBank รับมือ AEC ต่อยอดเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ASEAN+3 พาลูกค้าลุยญี่ปุ่น

จากวิสัยทัศน์ของอาเซียนปี ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) ที่ผู้นำอาเซียนได้ประกาศจุดยืนร่วมกันในการผลักดันให้อาเซียนเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง (Partnership in Dynamic Development) ภายในปี ค.ศ.2020 ส่งผลให้เกิดการประกาศจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2563

ด้วยวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วให้ลึก และกว้างขึ้น ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับเป้าหมายอีก 2 ด้าน ได้แก่ การเป็นประชาคมแห่งความมั่นคง (ASEAN Security Community : ASC) และประชาคมทางสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมเดียวกันอย่างสมบูรณ์แบบทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม

การเดินหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซ๊ยน AEC มีหลากหลายด้านที่ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อม ปรับตัว และสร้างเสริมศักยภาพของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมให้แข็งแกร่ง โดยนอกเหนือจากการสนับสนุนของภาครัฐ และความร่วมมือกันของภาคเอกชน บทบาทของสถาบันการเงินไทยที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านเงินทุน รวมทั้ง ช่วยผลักดันธุรกิจให้พร้อมสยายปีกแห่งการเติบโตยังต่างประเทศ

กฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้ประสานงานภูมิด้านธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ประเทศไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จากลักษณะทางกายภาพหรือตามภูมิศาสตร์ที่ล้อมรอบไปด้วยประเทศเพื่อนบ้านรายสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ด้านซ้าย ได้แก่ พม่า อินโดนีเซ๊ย และด้านขวา คือ เขมร ลาว รวมถึงด้านเหนือ ประกอบด้วย ลาว เวียดนาม จีน และด้านใต้ คือ มาเลเซ๊ย สิงคโปร์ นอกจากนั้นถัดมายังมีประเทศอินโดนีเซ๊ย และฟิลิปปินส์

“วันที่เครือข่ายขนส่งสินค้าสร้างเสร็จ ประเทศไทยจะเป็นทางผ่านของการส่งสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่เราเป็นศูนย์การกระจายสินค้ายังประเทศที่เติบโตอยู่รอบๆประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว กัมพูชา เมื่อนั้นต่างจังหวัดจะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะโลจิสติกส์ส่วนใหญ่จะไม่ผ่านเข้ามาที่กรุงเทพ แต่อยู่รอบกรุงเทพ เช่น พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี โคราช ในการเป็นทางผ่านสำคัญ”

นอกจากนั้น ระบบโทรคมนาคมหรือการเชื่อมโยงทางการสื่อสารยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทยในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซ๊ยน AEC โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน ซึ่งการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศต่างในปัจจุบันยังมีความซับซ้อน เช่น การสื่อสารของไทยไปยังพม่าต้องวิ่งผ่านมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม เข้าไปที่ประเทศจีน ก่อนกลับมายังพม่า ดังนั้น ถ้าเครือข่ายการสื่อสารสามารถเชื่อมโยงได้สำเร็จและรวดเร็ว จุดเชื่อมโยงสำคัญจะเป็นต่างจังหวัดไม่ใช่กรุงเทพฯ

เพราะฉะนั้น ความท้าทายสำคัญด้านการจัดการเพื่อเดินหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อยู่ที่การเชื่อมโยงกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความท้าทาย เรื่องการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ และการปรับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

รวมทั้ง ข้อจำกัดหลักที่ทุกอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาศักยภาพ และความสามารถของคน ตลอดจนการสร้างความเข้าใจในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พร้อมให้เล็งเห็นความสำคัญของการขยายธุรกิจหรืออุตสาหกรรมจากกรุงเทพฯสู่ต่างจังหวัด และต่างประเทศ ตลอดจนพื้นที่ที่ผู้ประกอบการไม่คุ้นเคย

สำหรับธนาคารกสิกรไทยในฐานะสถาบันทางการเงิน พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการรับมือกับโอกาส และความท้าทายในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3 รูปแบบ ได้แก่

รูปแบบแรก

กลุ่มประเทศที่มีฐานการผลิตสำคัญของโลก และกำลังย้ายฐานการผลิต เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี จากการที่จีนเซ็นสัญญา Free Trade Area กับอาเซียน ส่งผลให้ญี่ปุ่นทำการส่งออกไปยังประเทศจีนโดยตรงไม่ได้ และต้องย้ายฐานการผลิตมายังอาเซียน คือ ประเทศไทย พร้อมผลิตสินค้าจากประเทศไทยส่งไประเทศจีน ดังนั้น นักลงทุนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จึงเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก

“เราในฐานะสถาบันทางการเงินพร้อมสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับธนาคารภูมิภาคอย่างประเทศญี่ปุ่น โดยปัจจุบันเรามีธนาคารพันธมิตรญี่ปุ่น 19 กลุ่มธนาคารที่เราเซ็นเป็นพันธมิตรธุรกิจร่วมกัน เมื่อลูกค้าของเขาที่ประเทศญี่ปุ่นต้องการมีบริษัทลูกที่ประเทศไทย บริษัทลูกของเขาก็ใช้ธนาคารกสิกรไทยเป็นเหมือนสาขาของธนาคารแม่ที่ญี่ปุ่นได้”

โดยกสิกรไทยมุ่งเน้นให้บริการความรู้เกี่ยวกับการตั้งธุรกิจ กฎหมายแรงงานของประเทศไทย การจัดหาบุคลากรในองค์กร การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการ และการจับคู่ทางธุรกิจ รวมถึงการให้บริการทางการเงินต่างๆ ส่งผลให้ธนาคารกสิกรไทย และกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นสามารถเติบโตร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีที่ได้มีการเซ็นสัญญากับพันธมิตร 2 กลุ่มธนาคาร เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้น

“คำว่า อาเซียนกับเอเชียไม่เหมือนกัน อาเซียนมี 10 ประเทศ แต่เอเชียนคือ ประเทศในเอเชียมี 49 ประเทศ โดยญี่ปุ่นไม่ได้อยู่ในอาเซียนแต่อยู่ในเอเชีย นั่นคือเงื่อนไขแรกของการทำธุรกิจ”

รูปแบบที่สอง

การขยายตัวทางการค้าและการลงทุนที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเสรี ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า เขมร ลาว โดยความต้องการหลักของผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ ได้แก่ การบริการทางการเงินที่ไม่จำเป็นต้องมีสาขายังต่างประเทศ แต่ต้องสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ทั้งการเบิกจ่ายเงินเดือนพนักงาน การทำธุรกิจเทรดไฟแนนซ์ การซื้อขาย และนำเข้า

ดังนั้น รูปแบบการให้บริการของธนาคารจึงมุ่งไปที่การสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับธนาคารภูมิภาค เช่น ประเทศเวียดนามที่ได้มีการเซ็นสัญญากับธนาคารพันธมิตร 2 กลุ่มธนาคารรวมประมาณ 1,900 สาขาในประเทศเวียดนาม ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการเปรียบเสมือนสาขาของธนาคารกสิกรไทยที่อยู่ในประเทศเวียดนามได้ โดยปัจจุบันกสิกรไทยได้ใช้โมเดลดังกล่าวกับพันธมิตร 7 กลุ่มธนาคาร 4 ประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซ๊ยจำนวน 2 พันธมิตรรวมมากกว่า 2,000 สาขา สอดคล้องกับนโยบายการสนับสนุนลูกค้าบริษัทไทยสามารถเติบโตยังต่างประเทศได้สำเร็จ

“นอกจากนั้น สิ่งที่เราพยายามจัดทำอยู่รับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การจัดตั้งทีมงาน AEC Intelligence Unit ช่วยลูกค้าไทย ซึ่งลูกค้าที่ไปไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ แต่เป็นลูกค้า SME ยอดขาย 400-500 ล้านบาทก็ได้ โดยหลักสำคัญคือเป็นธุรกิจที่ต้องการทำการค้ากับประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC เช่น อินโดนีเซีย พม่า”

ขณะที่ทีมงานจะให้บริการด้านการรับทำ หรือช่วยลูกค้าศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน และการลงทุนธุรกิจ รวมทั้ง ความเป็นไปได้ของเป้าหมาย นอกเหนือจากการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศนั้น ตลอดจนการติดต่อประสานงานกับพันธมิตรธนาคารภูมิภาคในเอเชีย สำหรับผู้ประกอบการไทยสามารถใช้บริการทางการเงินได้อย่างตรงตามความต้องการ

รูปแบบที่สาม

จากการที่ประเทศจีนเซ็นสัญญา Free Trade Area กับอาเซียน ส่งผลให้ประมาณการค้าระหว่างจีนและอาเซียนเพิ่มขึ้นมากว่า 20-30%ต่อปี และปริมาณการค้าของจีนกับประเทศในกล่มอาเซียนมีมากกว่ารายได้ของประเทศไทยต่อสหประชาชาติทั้งชาติ ดังนั้น ประเทศจีนจึงเป็นศูนย์กลางการผลิตเพื่อส่งออกที่สำคัญของอาเซียน รวมทั้ง เป็นคู่ค้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน และไทย ซึ่งธนาคารกสิกรไทยจำเป็นต้องแยกประเทศจีนเป็นรูปแบบสุดท้ายที่สำคัญ

“เนื่องจากจีนเป็น Power House ของโลก และมีธุรกิจ SME ที่ส่งออกยังอาเซียน รวมทั้งส่งออกไปทั่วโลกจำนวนมาก เราจึงมีการตั้งสำนักงานสาขา และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับธนาคารจีน นอกเหนือจากการปล่อยกู้ให้ธุรกิจ SME ที่เราจับคู่เป็นพันธมิตรกับธนาคารจีน โดยปัจจุบันเราปล่อยสินเชื่อจำนวน 800 ล้านหยวน เติบโตเฉลี่ย 4,000 ล้านบาทแต่ละปี พร้อมวางเป้าหมาย 10,000 ล้านบาทในปีหน้า และแสนล้านบาทภายใน 5 ปี”

พร้อมกล่าวสรุปว่า “AEC เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอน ความสามารถไม่สำคัญเท่ากับวิสัยทัศน์ที่ต้องมองไปให้ไกล โดยคิดถึงการทำธุรกิจข้ามเขตแดนหรือ Cross Border ตลอดเวลา เพื่อปรับเปลี่ยนโจทย์ด้านบุคลากร ไอที ความเสี่ยง เรียกว่าเป็น AEC Mindset”

ที่มา
http://www.logistics2day.com/app_website/community/interview.aspx?id=1992

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน