AEC News






1 ปี เออีซีนำร่องลดภาษีเหลือ 0% ดันการค้าในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศพุ่งกว่า 32% สิงคโปร์แชมป์มีมูลค่าการค้ากับอาเซียนมากที่สุด ขณะไทยรั้งอันดับ 3 แต่ยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 สินค้าส่งออกสำคัญ 18 รายการ ข่าวดีแย่งแชร์ข้าวในฟิลิปปินส์ได้เพิ่ม แต่ข่าวร้ายเสียแชร์ตลาดยางพาราให้ฟิลิปปินส์ ผักผลไม้ให้พม่าดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการศึกษา "ประเมิน 1 ปีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)" จากกรณีที่สมาชิกเดิมอาเซียนประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ได้ทำการลดภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันลงเป็น 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ขณะที่สมาชิกที่เข้ามาภายหลังประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV ได้ทยอยลดภาษีลง และจะลดลงเป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจ ว่า ในภาพรวมการค้าระหว่างกันของอาเซียน 10 ประเทศ(ส่งออก-นำเข้า) ในปี 2553 ที่ผ่านมา มีมูลค่าทั้งสิ้น 496,015 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับปี 2552 ที่มูลค่า 375,930 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 32%ในส่วนของประเทศไทยมีมูลค่ากับกลุ่มอาเซียนในปี 2553 มูลค่าทั้งสิ้น 70,006 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซียที่มีมูลค่าการค้ากับอาเซียน 181,305 และ95,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ โดยในส่วนการค้าของไทยกับอาเซียนในปี 2553 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 44,328 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 36.9% เป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซียที่มีการส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน มูลค่า 106,605 และ 50,518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับ ส่วนการนำเข้าสินค้าของไทยจากอาเซียนในปี 2553 มีมูลค่า 30,678 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นอันดับ 4 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่มีมูลค่าการนำเข้า 74,700 , 44,694 และ 38,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับ ขณะที่ดุลการค้าของไทยกับอาเซียน ในปี 2553 ไทยเกินดุลการค้า 13,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ที่เกินดุลอาเซียน 31,906 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเวียดนามเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้าอาเซียนในปี 2553 มากที่สุดโดยขาดดุล 10,906 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขณะที่จากการเปรียบเทียบส่วนแบ่งตลาดหลัง AEC มีผล 1 ปี ใน 18 กลุ่มสินค้าสำคัญที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ที่อาเซียนค้าขายกัน ได้แก่ ข้าวสาร, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ผักและผลไม้, ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง, เนื้อสัตว์, น้ำตาล, เครื่องดื่มยาสูบ, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง, ผลิตภัณฑ์ไม้, ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์, ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน, ผลิตภัณฑ์ยาง, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เหล็ก และผลิตภัณฑ์จากเหล็ก,ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ขนส่งต่างๆ , เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นจากมูลค่า 25,981 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 36,239 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขยายตัวเพิ่มขึ้น 39.5% โดยมีส่วนแบ่งตลาด 35.8% ถือมีส่วนแบ่งตลาด 1 ส่วนอันดับ 2 และ 3 เป็นอินโดนีเซียกับเวียดนาม ที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้า 18 กลุ่มข้างต้นในปี 2553 มูลค่า 22,858 และ 6,879 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับทั้งนี้ในจำนวนสินค้าสำคัญ 18 รายการที่ค้าขายกันในปีที่ผ่านมา ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในอาเซียนเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้น 4 กลุ่มที่มีส่วนแบ่งตลาดลดลง ได้แก่ ยางพารา, ผักและผลไม้, ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยยางพารา เนื่องจากสินค้าของไทยได้มุ่งส่งออกไปจีนเป็นส่วนใหญ่ เปิดโอกาสให้เวียดนามส่งออกไปอาเซียนได้เพิ่มขึ้น ส่วนผักและผลไม้ เนื่องจากพม่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้น และรัฐบาลของพม่ามีนโยบายสนับสนุนส่งออกเพิ่มขึ้นทำให้แย่งส่วนแบ่งตลาดไทยได้เพิ่มขึ้น"ในส่วนของสินค้าที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นเช่น ในสินค้าข้าวที่มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก 22.4 เป็น27.6% เนื่องจากเราสามารถส่งออกไปฟิลิปปินส์ได้เพิ่มขึ้น ขณะที่เวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดข้าวในเวียดนามลดลง แต่เขาก็ยังมีส่วนแบ่งตลาดข้าวมากที่สุดในฟิลิปปินส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่เรามีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก 31.2 เป็น 34.5% เพราะมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และมีการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่แบรนด์เสื้อผ้าไทย และสินค้าเสื้อผ้าไทยในภาพรวมได้รับความนิยมในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย ทำให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น"








สสว. ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขนทัพเอสเอ็มอีเครื่องจักรกลลุยจับคู่ธุรกิจญี่ปุ่นSource - ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (Th)
Monday, July 04, 2011 18:0054309 XTHAI XECON XCORP V%WIREL P%ASMO
กรุงเทพฯ--4 ก.ค.--ASTVผู้จัดการออนไลน์
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสมาคมเครื่องจักรกลไทย นำผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมสนับสนุน ร่วมงานแสดงสินค้า SME EXPO SOUGOUTEN 2011 in OSAKA ประเทศญี่ปุ่น หวังใช้เป็นช่องทางสร้างเครือข่ายการตลาด และช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ญี่ปุ่น ที่ประสบภัยสึนามิ ผ่านกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว. ได้ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสมาคมเครื่องจักรกลไทย ในการนำผู้ประกอบการ SMEs ไทย เข้าร่วมงานแสดงสินค้า SME EXPO SOUGOUTEN 2011 in Osaka เมื่อเร็วๆนี้ ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งงานดังกล่าวถือเป็นการแสดงสินค้าของผู้ประกอบการ SMEs รวมไปถึงนวัตกรรมใหม่ๆ จากทั่วประเทศญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้มาโดยตลอด “วัตถุประสงค์ในความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงานในครั้งนี้ เพราะต้องการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่มีศักยภาพและมีสินค้าที่ตรงตามความต้องการในตลาดประเทศญี่ปุ่น ได้มีโอกาสในการแสดงศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนของประเทศไทย และสามารถขยายตลาดสู่ประเทศญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นได้ประสบภัยพิบัติสึนามิ ทำให้ผู้ประกอบการ SME ในประเทศญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก เราจึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้เข้าร่วมแสดงงานในครั้งนี้ จะได้เข้าช่วยเหลือ อุ้มชู และฟื้นฟูด้านการผลิตให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบภัยดังกล่าวในประเทศญี่ปุ่น ผ่านกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ซึ่งนับว่าจะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศ” ด้านนายปรีชา เต็มพร้อม นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย กล่าวว่า สมาคมเครื่องจักรกลไทยในฐานะผู้ดำเนินงาน จะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพ เข้าร่วมงานทั้งสิ้น จำนวน 20 ราย โดยได้ทำการคัดเลือกจากผู้ที่มีความพร้อมด้านการผลิตในอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้มีความหลากหลาย รวมไปถึงอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ “การดำเนินการครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ของไทย และญี่ปุ่น โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ญี่ปุ่น เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 40 ราย มีมูลค่าการเจรจาธุรกิจกว่า 20 ล้านบาท นอกจากนี้ เรายังได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับจากการไปร่วมงาน เพื่อเป็นการขยายช่องทางการค้าให้กับผู้ที่สนใจร่วมค้ากับประเทศญี่ปุ่น และเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs” นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย กล่าว--จบ--

Cover Story: AEC 2558 "วิกฤติ" หรือ "โอกาส"?Source - มาร์เก็ตเธียร์ (Th)
Tuesday, July 05, 2011 11:4360255 XTHAI XECON XCORP XSALES DAS V%MAGL P%MKTM
เรื่อง : อรวรรณ บัณฑิตกุล ภาพ : เมธี ชูเชิด นับจากนี้ไป ผู้ประกอบการชาวไทยต้องให้ความสนใจต่อคำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC มากขึ้นอย่างแน่นอน AEC เป็นการรวมกลุ่มกันของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วย 6 ประเทศบนพื้นดินคือ บรูไน ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา ไทย และ 4 ประเทศในทะเลคือสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจให้สำเร็จภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมายการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ผู้ประกอบการระดับบิ๊กเนม บิ๊กแบรนด์ ส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจติดตามในความเคลื่อนไหวของเรื่องนี้มานาน การวางยุทธศาสตร์เพื่อชิงความเป็น 1 ในตลาดอาเซียน จึงถูกกำหนดไว้ชัดเจน เช่น การเข้าไปทำวิจัยหาความเหมือน หรือความแตกต่างของผู้บริโภค เข้าไปเรียนรู้คู่แข่ง ไปติดต่อเอเย่นต์ที่แข็งแรง ไปตั้งสำนักงานสาขา รวมทั้งหาคนเก่งในประเทศนั้นๆ มาร่วมทีม แต่สำหรับผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอี พลังสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของเมืองไทย ส่วนใหญ่ ยังมึนๆ งงๆ ไม่เข้าใจว่าคืออะไร อย่างไร จะ"รุก" หรือ"รับ"แบบไหน จะเป็น"วิกฤติ"หรือ"โอกาส" อย่างไร ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า ภาครัฐควรมีบทบาทในการกระตุ้นเรื่อง AEC ให้มากกว่านี้ ซึ่งทางกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้ชี้แจงว่า การร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเดินสายให้ความรู้ในเรื่องนี้มีขึ้นนับ 100 ครั้งในปีที่ผ่านมา แต่ยอมรับว่าต้องเพิ่มให้มากขึ้นไปอีก รวมทั้งต้องหาวิธีการสื่อสารกับผู้คนในระดับกว้างให้มากขึ้นด้วย สถาบันการเงินเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่กำลังระดมความคิดเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในเรื่อง AEC อย่างเข้มข้น ปฏิบัติการเพื่อ"ได้ใจ"เอสเอ็มอี คงมีให้เห็นในครึ่งปีหลัง เพราะแบงก์เองก็รู้ดีว่า"วิกฤติ" ของเอสเอ็มอีคือ"วิกฤติ"ของแบงก์และ"โอกาส" ของเอสเอ็มอีคือ"โอกาส" ของแบงก์เหมือนกัน ส่วนผู้ประกอบการเอง ก็คงต้องย้อนกลับไปถามตัวเองว่า วันนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะยืนหยัดอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าปี 2558 จะเกิดอะไรขึ้น ไทย จะก้าวอย่างไรในยุค AEC ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center EIC ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) ไว้อย่างน่าสนใจวิธาน เจริญผล นักวิเคราะห์หลักทรัพย์อาวุโส ผู้รับผิดชอบหลักในงานวิจัยชิ้นนี้ได้สรุปหัวข้อที่น่าสนใจไว้ดังนี้คือ AEC ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไรบ้าง การรวมตัวของ 10 ประเทศในอาเซียนมีจุดมุ่งหมายหลักคือ การนำเอาอาเซียนไปสู่การรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน(Single Market And Single Production Base)คล้ายๆ กับการรวมตัวของกลุ่มประเทศในยุโรปหรือ EU โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีใน 5 สาขา ได้แก่ 1.สินค้า 2. บริการ 3. การลงทุน4. เงินทุน และ 5. แรงงานฝีมือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ จะทำให้อาเซียนเป็นที่สนใจ มีบทบาทและอำนาจต่อรองมากขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลกแบบเดียวกับสหภาพยุโรป (EU) ด้วยตลาดที่มีขนาดประชากรกว่า580 ล้านคน มากกว่าทั้งสหภาพยุโรป มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับเพียงเกาหลีใต้ แต่เป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมกันคิดเป็นอันดับสองของโลกอะไรจะเกิดขึ้นในปี 2015 การดำเนินงานตามแผนงานเพื่อมุ่งสู่ AEC ปี 2015 นั้น เป็นการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและทยอยบังคับใช้เป็นระยะๆ โดยมุ่งหวังจะให้เสร็จสิ้นภายในปี 2015 เช่น การลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้ามีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ต้นปี 2010 หรือการขยายเพดานสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนอาเซียนเป็น 70% สำหรับธุรกิจบริการในสาขาเร่งรัดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2010 ที่ผ่านมา กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามข้อตกลงต่างๆ ได้แก่ เพดานสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนอาเซียนในภาคบริการอื่นๆ ขยายไปถึง 70% การลดขั้นตอนเอกสารและการตรวจสอบสินค้า ณ จุดตรวจสินค้าของประเทศสมาชิกที่ใช้มาตรฐานกลางเดียวกันในการตรวจสอบสินค้า เป็นต้น ในขณะที่บางส่วนของ AEC เป็นลักษณะของความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จับต้องได้ยากและอาจไม่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมมากนักเช่น การสร้างเครือข่ายระหว่าง SMEs การสร้างเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและเทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเกษตร อาหาร และป่าไม้ เป็นต้น ดังนั้น ความเป็นหนึ่งเดียวกันทางเศรษฐกิจที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้นจริงๆ นั้น อาจจะเห็นหรือยังไม่เห็นในปี 2015 เพราะนอกจากหลายส่วนของ AEC ยังเป็นเพียงความร่วมมือ แล้วแต่ละประเทศยังมีการสงวนสิทธิ์บางอย่างไว้ เช่น การประกอบธุรกิจในบางสาขา การให้เคลื่อนย้ายแรงงานเฉพาะแรงงานฝีมือหรือแรงงานวิชาชีพที่มีทักษะ เป็นต้นความเหมือน และแตกต่างของ AEC และ EU ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจริงจาก AEC ในปี2015 ไม่สามารถเทียบเคียงกับรูปแบบและภาพของสหภาพยุโรป (EU) ที่มุ่งหวังไว้ เนื่องจากมีปัจจัยความสำเร็จแตกต่างกันมาตั้งแต่เริ่มแรกกล่าวคือมี Supra-national Authority ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนรัฐสมาชิกภายในขอบอำนาจขององค์กรและมีผลผูกพันรัฐสมาชิกซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นเอกภาพระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกันและสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปได้อย่างสะดวก ในขณะที่โครงสร้างการทำงานของอาเซียนนั้นเป็นแบบ Intergovernmental Method ซึ่งรัฐแต่ละรัฐมีฐานะเท่าเทียมกันและทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย การตัดสินใจและการขับเคลื่อนองค์กรจึงเป็นไปได้ช้าหรือบางครั้งอาจเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอาจจะต้องได้รับความยินยอมจากรัฐสมาชิกทุกฝ่ายไปในทิศทางเดียวกัน วิธาน อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า เท่าที่มีข้อมูลมา AEC มีแนวคิดที่จะมีองค์กรที่จะอยู่เหนือรัฐ แต่ในแนวปฏิบัติทำไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาคุยกันแบบเท่าเทียมมาตลอด ดังนั้นจะปฏิบัติให้เป็นแนวนั้นค่อนข้างยาก ในขณะเดียวกัน เงินสกุลอาเซียน หรือภาษากลางของอาเซียนก็เป็นเรื่องที่ยังต้องพูดคุยกันอีกมากผลกระทบของAEC ต่อธุรกิจบริการในไทย ในขณะที่ข้อตกลงการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้ามีผลบังคับใช้ไปแล้วนั้น ปัจจุบันการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ การลงทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะอยู่ระหว่างการเจรจาและจัดทำข้อตกลง ธุรกิจภาคบริการจึงเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยส่วนของ AEC ที่จะนำมาวิเคราะห์ผลกระทบเป็นส่วนของข้อตกลง ซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจมากกว่าส่วนที่เป็นความร่วมมือ การเปิดเสรีด้านธุรกิจบริการจะมีผลกระทบหลักๆ ต่อธุรกิจใน 2 เรื่อง คือ 1. เรื่องการเปิดให้ผู้ลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนลงทุนถือหุ้นได้มากขึ้น 2. การอนุญาตให้แรงงานวิชาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจบริการสามารถเดินทางไปให้บริการได้ ธุรกิจบริการในประเทศไทยที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากจากการเปิดให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้มากขึ้น ได้แก่ ธุรกิจบริการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ร้านค้าปลีกอาหารบริการบรรจุภัณฑ์ และโรงแรมและรีสอร์ทเพราะเป็นธุรกิจบริการที่มีสัดส่วนผู้ลงทุนต่างชาติโดยรวมค่อนข้างสูงอยู่แล้วในปัจจุบัน โดยเฉลี่ยประมาณ 39% หากมีการขยายเพดานให้นักลงทุนจากอาเซียนถือหุ้นเป็นสัดส่วนได้เพิ่มขึ้นเป็น70% ก็จะมีแนวโน้มที่ต้องเผชิญกับกลุ่มทุนต่างชาติที่จะเข้ามาได้มากขึ้น ตรงกันข้ามกับกลุ่มธุรกิจบริการที่ปัจจุบันมีสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติไม่มากในปัจจุบันซึ่งอาจจะสื่อให้เห็นว่าไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมากนัก ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านขายเสื้อผ้า บริการการพิมพ์สื่อโฆษณาบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะมีการลงทุนในสัดส่วนน้อย โดยเฉลี่ยประมาณ 4% ทั้งๆที่เพดานสำหรับธุรกิจบริการส่วนใหญ่กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้เป็นสัดส่วนเฉลี่ย 49%รีบบุกด้วยจุดแข็งของCore Competency ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ยังให้ความสำคัญในเรื่องแก่นของความสามารถ (Core Competency) หรือใช้สิ่งที่เราเก่งอย่างเต็มรูปแบบดูจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขยายธุรกิจในตลาดอาเซียนในยุค AEC ที่เอื้อให้มีฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ (Critical Mass Of Consumer) ในภูมิภาคที่ทุกธุรกิจสามารถเข้าถึงได้แต่ละธุรกิจต้องเริ่มมองหาว่าแก่นความสามารถของธุรกิจตนเองคืออะไร เช่น 1. การมีชื่อเสียงและจุดเด่นของไทยทางด้านบริการสุขภาพทั้งด้านโรงพยาบาลและบุคลากรจะเป็นโอกาสที่ดีในการเจาะตลาดผู้สูงอายุในอาเซียนที่จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 12% อีก 10 ปีข้างหน้าจาก 9% ในปัจจุบันทั้งในส่วนของผู้ป่วยและผู้เกษียณอายุ ซึ่งไทยและมาเลเซียเป็นประเทศในเอเชียสองอันดับแรกที่ติดการจัดอันดับ 30 ประเทศที่น่าไปใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ ส่งผลให้เริ่มเห็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่พยายามเจาะกลุ่มเหล่านี้มากขึ้นทั้งในบางแสน หัวหิน เชียงใหม่และภูเก็ต 2.การบริหารจัดการโรงแรมของไทยเป็นอีกตัวอย่างที่จะเป็นการขยายธุรกิจจากความสามารถที่เป็นจุดเด่นและได้เปรียบของธุรกิจไทย ทั้งนี้แบรนด์การจัดการโรงแรมจากประเทศในภูมิภาคเดียวกันมีแนวโน้มเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับธุรกิจบริหารโรงแรมจากต่างประเทศในกระแสที่จะมีการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเพิ่มขึ้นมากกว่าการเดินทางระหว่างอาเซียนกับนอกภูมิภาค โดยมีการคาดการณ์ว่า การเดินทางภายในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 8% ในช่วง 20 ปีข้างหน้า ในขณะที่การเดินทางระหว่างอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6%ถึงแม้ว่าเชนบริหารโรงแรมต่างประเทศจะมีชื่อเสียงด้านมาตรฐานเดียวกันและมีฐานข้อมูลลูกค้าที่ดี แต่การเพิ่มขึ้นของกลุ่มลูกค้าที่เต็มใจจ่ายตามความพึงพอใจมากขึ้นน่าจะเป็นกระแสที่สร้างช่องทางและโอกาสให้แบรนด์ไทยมากขึ้น 3.ความเชี่ยวชาญในธุรกิจแปรรูปอาหารและการเป็นแหล่งวัตถุดิบจะเป็นข้อได้เปรียบในการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลมากขึ้น และเป็นแนวทางที่มีศักยภาพสูงในการเพิ่มรายได้จากตลาดอาเซียนที่มีประชากรมุสลิมมากถึง 270 ล้านคน อีกทั้งอัตราขยายตัวของมูลค่าการค้าอาหารฮาลาลโลก โดยเฉลี่ยยังคงสูงกว่าการค้าอาหารโดยรวมของโลก โดยในช่วงปี 2005 - 2009 ที่ผ่านมาอัตราขยายตัวของการค้าอาหารฮาลาลโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ต่อปี สูงกว่าอัตราขยายตัวของการค้าอาหารโลกที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ10.4 ต่อปีเท่านั้น ทั้งนี้การส่งออกจากไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้สูง โดยปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารฮาลาลเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน วิธาน ยังสรุปว่า ต่อจากนี้ไปความลำบากของธุรกิจจะไม่ใช่เรื่องการหาตลาดรองรับเพราะAEC จะช่วยสร้างตลาดและฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ (Critical Mass Of Consumer) พร้อมไว้สำหรับทุกธุรกิจ จากการค้าบริการรูปแบบเดิมๆจะเพิ่มรูปแบบใหม่ๆ และขยายขอบเขตได้มากขึ้น เช่น ธุรกิจจัดงานแต่งงานที่เดิมจำกัดอยู่เพียงตลาดในประเทศก็เริ่มดึงดูดลูกค้าจากต่างประเทศ ก้าวต่อไปของธุรกิจไทยคงจะเป็นการพยายามเจาะกลุ่มตลาดและกลุ่มธุรกิจที่เราเก่ง และใช้แก่นความสามารถอย่างเต็มรูปแบบเร่งยึดพื้นที่หัวหาด หยิบชิ้นปลามัน สร้างรอยเท้าของธุรกิจไทยในระดับอาเซียนให้พร้อมก้าวไกลสู่ระดับโลกต่อไปในอนาคต ธุรกิจที่น่าจับตามองโอกาสที่ต้องคว้า การมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกันในภูมิภาคอาเซียนตามเป้าหมายของ AEC จะสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดกระแสที่น่าจับตามอง3 กระแสคือ 1.การรวมศูนย์การผลิตสินค้าในแหล่งที่มีศักยภาพทางวัตถุดิบและการตลาด ทำนองเดียวกับวิวัฒนาการการเป็นศูนย์ผลิตรถกระบะของไทยที่เริ่มต้นด้วยตลาดขนาดใหญ่จากความนิยมใช้ของคนไทยและพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค และเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อีกด้านหนึ่งคือความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่นอินโดนีเซียมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาทูน่าและกุ้งและเป็นแหล่งประมงนอกน่านน้ำที่ใหญ่ที่สุดของโลก แม้ไม่มีความชำนาญในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเล แต่ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจัง ทำให้ผู้ประกอบการด้านส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ต่างปรับแผนเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย 2. ยุคแห่งการค้าบริการในรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น (Non-tradables Become Tradables) ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้ป่วยสามารถเลือกใช้บริการโรงพยาบาลในประเทศอื่นๆ ผู้เกษียณอายุเลือกไปใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งที่มีบริการที่เหมาะสมคู่แต่งงานจากต่างประเทศมาจัดงานแต่งงานในไทยที่ราคาถูกลง แต่อลังการมากขึ้น และต่อยอดสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวไทยต่อได้ รวมถึงการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ซึ่งนำมาสู่การสร้างแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนรูปแบบใหม่ๆ เช่น มารีน่าเบย์ในสิงคโปร์ เป็นต้น การสนับสนุนการมีบ้านแห่งที่สองในมาเลเซีย เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของแนวทางสร้างรายได้จากสาขาบริการสำหรับผู้เกษียณอายุที่เดิมเคยจำกัดอยู่แค่ตลาดในประเทศ โดยหันไปมุ่งเน้นตลาดกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวโยงตามมา ทั้งการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการทางด้านสุขภาพ หรือการที่สิงคโปร์ก้าวข้ามข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ของประเทศ โดยการลงทุนด้านโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในไทย พร้อมกับพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานเดียวกับในประเทศเพื่อรองรับทั้งนักเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นและการส่งออกนักเรียนจากประเทศตนเองในอนาคต 3. การเกิดขึ้นของกลุ่มชนชั้นใหม่ในประเทศจากการย้ายถิ่นของแรงงานอาเซียน (ASEAN Expatriate Class) เช่น การเพิ่มขึ้นของผู้บริหารสัญชาติสิงคโปร์ในลาวและกัมพูชา โดยเฉพาะประเทศที่มีความขาดแคลนและต้องการแรงงานที่มีทักษะสูงเช่น บริษัทที่ลงทุนและตั้งอยู่ในลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องอาศัยผู้บริหารและการจัดการจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ ซึ่งกลายเป็นการเกิดของอีกกลุ่มชนชั้นและตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูงกว่าคนในท้องถิ่น ดังจะเห็นได้จากกลุ่มลูกค้าของโรงพยาบาลชั้นนำในไทย โอกาสของไทยในมาเลเซียฟิลิปปินส์ อินโดฯ ธุรกิจบริการของไทยจะมีโอกาสลงทุนมากขึ้นในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งเดิมสงวนเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเฉลี่ยอยู่ที่ 30%, 40% และ 49% ตามลำดับ การเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้AEC ที่ผลักดันให้นักลงทุนจากอาเซียนถือหุ้นได้เป็นสัดส่วน 70% จึงนับเป็นโอกาสที่เพิ่มขึ้นสำหรับธุรกิจไทย ในขณะที่สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชานั้นเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มากอยู่แล้ว แต่การเปิดโอกาสการลงทุนมากขึ้นอาจเป็นเพียงข้อตกลงที่ปฏิบัติได้ยาก เพราะในทางปฏิบัติจริงยังมีกฎเกณฑ์อื่นๆ ภายในประเทศที่นักลงทุนต่างชาติต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคหรือกำแพงที่ทำให้การลงทุนจากต่างชาติไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่การเปิดเสรีการค้าบริการตั้งใจไว้ ตัวอย่างที่พูดถึงกันมากคือเรื่องสิทธิ์การถือครองที่ดินโดยบุคคลต่างด้าวที่หลายประเทศสงวนไว้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ในขณะที่บางประเทศหาทางออกให้กับนักลงทุนต่างชาติในเรื่องนี้ด้วยการอนุญาตให้สิทธิ์การเช่าระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดเรื่องขนาดการลงทุนขั้นต่ำและรูปแบบการลงทุน ข้อกำหนดให้มีกรรมการบริษัทเป็นคนท้องถิ่น การทดสอบความต้องการทางเศรษฐกิจ การกำหนดให้มีการลงทุนในลักษณะร่วมทุน (Joint Venture) และการมีข้อบังคับให้ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ เป็นต้น
บรรยายใต้ภาพ วิธาน เจริญผลนักวิเคราะห์หลักอาวุโสศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC)ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
--Marketeer 136/ มิถุนายน 2554--

กสอ.เผยยุทธศาสตร์ครึ่งปีหลัง ระดมความรู้ AEC สร้างโอกาสเหนือคู่แข่งSource - ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (Th)
Monday, June 20, 2011 13:2035616 XTHAI XECON XCORP V%WIREL P%ASMO
กรุงเทพฯ--20 มิ.ย.--ASTVผู้จัดการออนไลน์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยยุทธศาสตร์เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระดมองค์ความรู้เรื่อง AEC หวังสร้างโอกาสเหนือประเทศคู่แข่ง ชู 4 สาขาอุตสาหกรรมหลักนำร่องพัฒนาตามยุทธศาสตร์ประเทศ ด้านอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ถอดด้าม รับไม่กังวลปัญหาขาดแคลนแรงงาน นำร่องใช้ระบบอัตโนมัติแทนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง ยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในครึ่งปีหลัง ว่า เน้นพัฒนาความรู้ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความพร้อม ในการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC) ในปี 2558 โดยล่าสุดทางกรมฯ ได้สำรวจความเป็นไปได้ในการทำความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเน้นดำเนินการในระยะแรกมี 4 สาขา ได้แก่ สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผักและผลไม้ อัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน “ในการเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในครั้งนี้ ทางกรมฯ มุ่นเน้นเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการใน 2 ส่วน คือ ผู้ประกอบการใหม่ (NEC) และผู้ประกอบการรายเดิม ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น พร้อมทั้งจะพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์หลักของประเทศ และจังหวัด โดยจะเพิ่มการพัฒนาความรู้ให้มากขึ้น” อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าว นอกจากนี้ทางกรมฯ ยังขายการส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป, ส่งเสริมผู้ประกอบการในเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พัฒนารูปแบบสินค้าภายใต้โครงการนวัตกรรมอุตสาหกรรมสู่เชิงพาณิชย์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน, มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ Lean Manufacturing, เน้นการดำเนินการในเชิงคุณภาพมากขึ้น, ให้ประกอบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ, เร่งสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอุตโนมัติ และบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนความร่วมมือในต่างประเทศทางกรมฯ มีการสร้างเครือข่ายความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหลักของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งผู้ประกอบการไปศึกษากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมหลักๆ หวังสร้างความร่วมมือให้เป็นโอกาสแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างแท้จริง ส่วนปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ถือเป็นปัญหาหลักที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ดังนั้นทางกรมฯ จึงได้นำระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมมาใช้ โดยได้มีการนยำร่องในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซี่งในอนาคตจะพัฒนาให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อลดอัตราการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไทย--จบ--




ดร. ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ หัวหน้าโครงการ ASEAN Economic Community: AEC วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสก้าวเข้าสู่สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ว่า ในปี พ.ศ.2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) จะก้าวไปสู่การตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี 5 สาขา ได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุน ซึ่งผลของการจัดตั้ง AEC ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศในทุกด้าน ทั้งการค้า การบริการ การเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงาน โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางด้านบริการจะส่งผลต่อการแข่งขันในภาคบริการรุนแรงขึ้นและการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีจะส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดแรงงานอย่างเข้มข้น ดังนั้น บุคลากรในวิชาชีพต่างๆ ของไทยจึงจำเป็นต้องมีการเร่งการพัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการแข่งขันดังกล่าว รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานสากล โดยเฉพาะ การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีที่เกิดขึ้น อาจส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวในการบริหารต้นทุนและปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้ดี เหตุนี้วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักพัฒนาผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยให้มีความรู้ความเข้าใจ กฎระเบียบ ข้อบังคับ และข้อควรรู้ต่างๆ ในการทำธุรกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียน และพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมรองรับการเปิดเสรีทางการค้า และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีความพร้อมที่จะทำการค้าร่วมกัน ร่วมลงทุนเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างประเทศกับกลุ่มประเทศอาเซียน และเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เห็นประโยชน์และช่องทางในการสร้างโอกาสให้เกิดการค้า การลงทุน การจ้างงาน และการใช้ทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียน โดยโครงการนี้จะมีกิจกรรมต่อเนื่องไป 4 กิจกรรม เช่น การจัดสัมมนาชี้แจงโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ : เจาะลึกการทำธุรกิจในประเทศเวียดนาม 5 วัน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการDoing Business in Vietnamน และ การจัดกิจกรรมศึกษาการทำธุรกิจในประเทศเวียดนาม โดยเป็นการนำผู้ประกอบการไปศึกษาดูงานยังนครโฮจิมินห์ / Ho Chi Minh ประเทศเวียดนามด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาวน์โหลดหนังสือมานี มานะ ไฟล์ PDF ฟรี ขอบคุณ (ครูเชียงรายดอทเน็ต www.kruchiangrai.net)

รวมมุกขำขำ มุกตลก มุกงานเลี้ยง มุกพิธีกร

K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน